อำเภอบางไทร อยุธยา
อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ความเป็นมา
ในอดีต อำเภอบางไทย รวมการปกครองอยู่กับ อำเภอเสนา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4
ได้แบ่งการปกครองออกเป็น เสนาใหญ่ (ด้านเหนือ) เสนาน้อย (ด้านใต้)
แต่ใช้ชื่อแขวงราชคราม ตามตำบลที่ตั้งบริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และในปี พ.ศ. 2437
ได้ตั้งที่ทำการแขวงเสนาน้อยเป็นเรือนแพ จอดอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นศูนย์การคมนาคมของราษฎร ซึ่งใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก ต่อมาในปี พ.ศ.2439
จึงได้เปลี่ยนจากแขวงเป็นอำเภอในปี พ.ศ.2441
ทางราชการได้รื้อเรือนแพและขยับขยายขึ้นมาอยู่บนบก โดยปลูกเป็นอาคารไม้ ปี พ.ศ.
2466 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอราชคราม ตามชื่อตำบลในปี พ.ศ. 2468
หลวงประสิทธินรกรรม(เจียม หงษ์ประภาษ)
นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าสถานที่คับแคบและไม่สะดวก จึงย้ายอำเภอมาตั้ง
ที่ใหม่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย หมู่4 ตำบลบางไทรและยังใช้ชื่อว่า อำเภอราชคราม
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางไทร กระทั่ง ในปี พ.ศ.
2538
สำนักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอบางไทรหลังใหม่
จำนวนเงิน 6,595,000 บาท ตัวอาคาร เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น พื้นที่ 1,088 ตารางเมตร
ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 56 เมตร โดยได้กั้นเป็นห้อง แบ่งส่วนราชการต่างๆ
เป็นสัดส่วนและ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2540
คำขวัญอำเภอบางไทร อยุธยา
"ศิลปาชีพเรื่องชื่อ เลื่องลือหลวงพ่อจง
มั่นคงหลวงพ่อน้อย รอยคอยที่ลานเท"
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
ศูนย์ศิลปาชีพนี้มุ่งฝึกอาชีพเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมต่างๆ
วิชาที่สอนให้แก่เกษตรกรได้แก่
-
การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช
-
การแกะสลัก
-
การจักสาน
-
การทำตุ๊กตา
-
การทำดอกไม้ประดิษฐ์
-
การทำเครื่องเรือน
-
การทอผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า การย้อมสี
-
ช่างเชื่อมและเครื่องเคลือบดินเผา
ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วจะส่งไปจำหน่ายที่ร้านจิตรลดาทุกสาขาทั่วประเทศ
|
|
|