วัดไชยวัฒนาราม
มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน
พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง
แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า
บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก
สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ
รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา
ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน
๑๒๐ องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์
ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ
เมรุมุม(เจดีย์รอบๆพระปรางค์ใหญ่)
ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง
ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง
ฝ่าเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน
เมรุทิศเมรุราย
เมรุทิศเมรุราย ตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น ๘ หลัง
โดยผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนก ซึ่งลบเลือนไปมากแล้ว
ผนังด้านนอกของเมรุมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ จำนวน ๑๒ ภาพ
ซึ่งในปัจจุบันเลือนไปแล้วเช่นกัน แต่เมื่อ ๒๐
ปีที่แล้วยังสามารถเห็นได้ชัด
เมรุทิศ (ซ้าย) ปรางค์มุม (ขวา)
เมรุเป็นทรงปราสาท ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๗ ชั้น
รองรับส่วนยอดที่ ชื่อที่มานั้นนำมาจากเมรุ
พระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด
มาจากคติเขาพระสุเมรุอีกต่อหนึ่ง
พระอุโบสถ สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย
นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง ๓ ชั้น และ
มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพื่อในภายหลัง
วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์
จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย
เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้
ก่อนกรุงแตก พ.ศ. ๒๓๑๐
วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา
วัดไชยวัฒนารามจึงได้ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง ผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ
เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย
แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.
๒๕๓๕ |