|
ภูเขาทอง
อยุธยา
เจดีย์ภูเขาทอง
เป็นมหาเจดีย์สำคัญตั้งอยู่นอกเกาะกรุงศรีอยุธยา พงศาวดาร
อยุธยากล่าวว่า วัดภูเขาทอง นั้น สถาปนาในรัชสมัยพระราเมศวร หรือสมัยต้นอยุธยา
เจดีย์ภูเขาทอง
ที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้น่าจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นมหาเจดีย์สูงเด่นในระหว่างรัชสมัยพระมหาธรรมราชาถึงสมัยพระเพทราชา
(ระหว่าง พ.ศ. 2112-2246) และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าบรมโกศ
หรืออยุธยาตอนปลาย นั่นคือ มีฐานทักษิณ 4 ชั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทั้ง 4
ด้านมีบันไดขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด
บนชั้นนี้มีฐานสี่เหลี่ยมขององค์เจดีย์ที่มีอุโมงค์รูปโค้งเข้าไปข้างใน
ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 1 องค์ สูงขึ้นไปเป็นฐาน 8 เหลี่ยม
องค์ระฆัง
บัลลังก์ ส่วนเหนือขึ้นไปที่เป็นปล้องไฉน ปลียอด และลูกแก้วนั้น
ของเดิมได้พังไปแล้วตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์
ซึ่งได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ.2499
ในครั้งนั้น ได้ทำลูกแก้วด้วยทองคำหนัก 2,500 กรัม อันหมายถึง การบูรณะในวาระฉลอง
25 พุทธศตวรรษของไทยนั่นเอง
เป็นยุทภูมิระหว่างกองทับอโยธยาและพม่าทั้ง 2 ยุคสมัยของการเสียกรุง
หลังการสูญเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดนี้เป็นวัดร้างเรื่อยมา
แต่พระมหาเจดีย์ก็ยังเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่มีคนเดินทางมากราบไหว้
ดังเช่นที่ปรากฎเป็น นิราศภูเขาทอง ของ สุนทรภู่
ที่เดินทางมานมัสการในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดนี้มีพระมาจำพรรษาอีกครั้งนับแต่ปี พ.ศ. 2500 และในปัจจุบันนั้น
บนกลางถนนของทางเข้ามายังวัดแห่งนี้ ได้สร้างอนุสาวรีย์พระนเรศวรทรงม้าศึกไว้ด้วย
ตั้งอยู่บนโคกซึ่งพื้นที่โดยรอบมีน้ำท่วมถึง
|
|