ศาลหลักเมือง อยุธยา
เมื่อพูดถึงศาลหลักเมืองของอยุธยานั้น
มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนศาลหลักเมืองที่อื่นอยู่ 2 หลักด้วยกัน
คือเสาหลักแรกสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1)
โปรดเกล้าให้ทำพิธียกเสาหลักเมืองสถาปนาพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ วันที่ 21
เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.45 นาฬิกา ซึ่งใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง
โดยประกอบด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี สูง 27 ซม.
และกำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 10 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว
มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง
ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง
เรียกได้ว่าเสาหลักเมืองนี้เป็นสิ่งก่อสร้างอันศักดิ์สิทธิ์แรกๆ
ที่อยู่คู่กับพระนคร
ความเชื่อในสมัยก่อนนั้น
นิยมสร้างศาลหลักเมืองขึ้นเพื่อจุดประสงค์คือ เป็นที่รวมตัวประกอบพิธีกรรมต่าง
ๆ เพื่อเป็นมิ่งขวัญ นิมิตมงคลแก่ประชาชน และเป็นสัญลักษณ์และเป็นจุด
หลักบ้านหลักเมือง บ้านเมืองนั้นย่อมร่มเย็นเป็นสุข
หลักเมืองต้องฝังไว้ในย่านกลางเมือง หรือในทำเลที่เป็น ชัยภูมิ
ตามทิศทางของเมือง และในสมัยโบราณนั้นเมืองเอกหรือเมืองชั้นราชธานี
ย่อมมีฝังหลักเมืองไว้เป็นนิมิตมงคลสำหรับเมืองทุกเมือง จุลภัสสร พนมวัน ณ
อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ได้พูดถึงการสร้างเสาหลักเมืองว่า
คนสมัยก่อนจะถือเรื่องขวัญ ถือเรื่องของสิ่งที่จะเป็นหลักที่มั่นคง
|