พระราชวังบางปะอิน
ตั้งอยู่ในอำเภอบางปะอิน ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กม.
โดยใช้เส้นทางที่แยกจากเจดีย์สามปลื้มผ่านวัดใหญ่ชัยมงคล
วัดพนัญเชิง ไปยังบางปะอิน หากมาจากกรุงเทพฯ ตามถนนพหลโยธิน
จะมีทางแยกซ้ายบริเวณกม.ที่ 35
ไปพระราชวังบางปะอินเป็นระยะทางอีก 6 กม.
นอกจากนี้ยังมีบริการรถโดยสารจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ
และรถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมายังอำเภอบางปะอินทุกวัน พระราชวังบางปะอิน
เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ไม่เว้นวันหยูดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30
น.อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก-นิสิต นักศึกษา
(ในเครื่องแบบ)-พระภิกษุ สามเณร 20 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 50 บาท
ผู้ที่ประสงค์จะเข้าชมโปรดแต่งกายสุภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สำนักพระราชวังบางปะอิน โทร. (035) 261044, 261549
ภายในพระราชวังบางปะอินมีสิ่งที่น่าสนใจ
พระที่นั่งไอศวรรยทิพยอาสน์ |
เป็นปราสาทอยู่กลางสระ สร้างในรัชกาลที่ 5
เดิมสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ต่อมา รัชกาลที่
6
โปรดฯให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด |
|
-----------------------------------------
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร |
อยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับสระน้ำ
เป็นพระที่นั่งเรือนไม้หมู่ทั้งชั้นบนและชั้นล่างมีเฉลียงตามแบบชาเลตของสวิส
ทาสีเขียวอ่อนแก่สลับกันด้วยงานช่างที่ประณีต
สิ่งประดับตกแต่งภายใน ประกอบด้วย
เครื่องไม้มะฮอกกานีจัดสลับลายทองทับที่สั่งจากยุโรปทั้งสิ้น
นอกนั้นเป็นสิ่งของหายากในประเทศ
อันเป็นเครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆ
ทั่วราชอาณาเขตรอบๆ
มีสวนดอกไม้สวยงาม
เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรได้เกิดเพลิงไหม้
ขณะที่มีการซ่อมรักษาเมื่อวันที่
9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ทำให้พระที่นั่งถูกทำลายไปกับกอง
เพลิงหมดสิ้นทั้งองค์คงเหลือแต่หอน้ำ
ปัจจุบันได้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิมทุกประการ
แต่เปลี่ยนวัสดุจากไม้เป็นอาคารคอนกรีตแทน |
|
-----------------------------------------
หอวิฑูรทัศนา |
เป็นพระที่นั่งหอสูงยอดมน
ตั้งอยู่กลางเกาะน้อยในสวนเขตพระราชวังชั้นในระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรกับพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เป็นพระที่นั่ง 3 ชั้น มีบันไดเวียน
เป็นหอส่องกล้องชมภูมิประเทศบ้านเมืองโดยรอบสร้างในรัชกาลที่5
เมื่อปี พ.ศ. 2424 |
|
-----------------------------------------
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
|
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพระราชวังถัดจากหอวิฑูรทัศนาขึ้นไป
พระที่นั่งองค์นี้มีนามเป็นภาษาจีนว่า
"เทียน เม่ง เต้ย" (เทียน=เวหา, เม่ง=จำรูญ,
เต้ย=พระที่นั่ง) ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "เก๋งจีน"
เพื่อเป็นพระที่นั่งสำหรับประทับ ในฤดูหนาว
โดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนในไทยสร้างถวาย รัชกาลที่
5 ในปี พ.ศ. 2432 ลักษณะเป็นพระที่นั่งศิลปะ แบบจีน
ที่มีลายแกะสลักได้อย่างงดงามวิจิตรยิ่ง
โถงด้านหน้าปูด้วยกระเบื้อง แบบกังไส
เขียนภาพด้วยมือทุกชิ้น
แม้ว่าภาพจะเหมือนกันแต่เนื่องจากเป็นงานฝีมือ
จึงมีความแตกต่าง
กันในรายละเอียดที่ทำให้ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
ปัจจุบันเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้ |
|
-----------------------------------------
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน
|
เป็นท้องพระโรงอยู่ทางตอนเหนือของ "สะพานเสด็จ"
ซึ่งเป็นท่าน้ำสำหรับเสด็จพระราชดำเนินขึ้นลง
เดิมเป็นเรือนไม้สองชั้น
เป็นที่ตั้งประทับและท้องพระโรงร่วมกัน ต่อมารัชกาลที่5
โปรดฯให้รื้อสร้างใหม่เป็นอาคารทรงวิหารกรีกแบบคอรินเธียรออร์เดอร์
ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออก ขุนนางในงานพระราชพิธี
สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2419
เคยเป็นที่รับรองแขกเมืองหลายครั้ง เช่นปี พ.ศ. 2436
รับรองพระเจ้าชาร์ลคลัสแห่งประเทศรัสเซีย
ปี พ.ศ. 2436 รับรองมองซิเออราวีร์
ฑูตฝรั่งเศส และปี พ.ศ. 2452 รับรองดุ๊กและดัชเชสโยฮันเบรต
แห่งเมืองบรันทวีท แห่งประเทศเยอรมัน ถึงในปัจจุบัน
ก็ยังใช้เป็นที่รับรองแขกเมืองสำคัญอยู่เสมอ
สิ่งสำคัญในพระที่นั่งเป็นภาพชุดพระราชพงศาวดาร
กับภาพเรื่องอิเหนา พระอภัยมณีและรามเกียรติ์ |
|
-----------------------------------------
หอเหมมณเฑียรเทวราช |
เป็นปรางค์ศิลาในเขตพระราชวังชั้นนอกริมสระใต้ต้นโพธิ์
เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปรัชกาลที่ 5
ทรงสร้างขึ้นแทนศาลเดิมที่ชาวบ้านสร้างไว้
อุทิศถวายพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเมื่อปี
พ.ศ. 2422 |
|
-----------------------------------------
อนุสาวรีย์พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์และเ
จ้าฟ้าสามพระองค์หรือ
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ |
ในปี พ.ศ. 2430
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเศร้าโศก
เสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง อีกครั้งหนึ่ง
ด้วยทรงสูญเสียพระอัครชายาเธอฯ พระราชโอรสและพระราชธิดาถึง
3 พระองค์ ในปีเดียวกัน คือ
สมเด็จเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์
เมื่อวัน พฤษภาคม พ.ศ. 2430 พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์
เมื่อวันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2430
สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัตมณีชัย เมื่อวันที่
27 สิงหาคม พ.ศ. 2430 และสมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตมดำรง
เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2430 ดังนั้นในปี พ.ศ. 2431
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์
ที่ระลึกทำด้วยหินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนไว้ใกล้กับ
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระบรมราชเทวี
|
|
-----------------------------------------
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
(อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม)
|
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวัง
ก่อสร้างด้วยหินอ่อนก่อเป็นแท่ง 6 เหลี่ยม สูง 3 เมตร
บรรจุพระสริรังคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์พระมเหสีในพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
-----------------------------------------
สภาคารราชประยูร |
เป็นตึกสองชั้นริมลำน้ำตรงหน้าพระที่นั่งวโรภาษพิมาน
ในเขตพระราชวังชั้นนอกสร้างในรัชกาลที่
5 สำหรับใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายหน้าและข้าราชบริพาร
|
|
-----------------------------------------
เก๋งบุปผาประพาส |
เป็นตำหนักเเล็กอยู่กลางสวนริมสระน้ำในเขตพระราชวังชั้นใน
สร้างในสมัยรัชกาลที่5 เมื่อ ปี พ.ศ. 2424
ใช้เป็นหอส่องกล้องชมภูมิประเทศและดูดาว
|
-----------------------------------------
วัดนิเวศธรรมประวัติ |
|
ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ด้านทิศใต้คนละฝั่งกับพระราชวัง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง
เมื่อ พ.ศ. 2421 อาคาร และการตกแต่งทำแบบ โกธิค
มีกระจกสีประดับ อย่างสวยงาม ภายในเป็นแบบฝรั่ง
แม้แต่ฐานที่ประดิษฐาน พระประทาน คือ
พระพุทธนฤมลธรรโมภาสและพระสาวกก็ไม่ได้ทำเป็นฐานชุกชีอย่างในโบสถ์ทั่วไป
แต่ทำเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์
ช่องหน้าต่างที่เจาะไว้ก็เป็นหน้าต่างโค้งที่ฝาผนังโบสถ์ด้านหน้าพระประธานจะเห็นภาพประดิษฐ์กระจกสีเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่
5 ด้านขวามือของ พระอุโบสถนั้นมีหอแห่งหนึ่ง คือ
หอประดิษฐานพระคันธารราษฎร์
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางขอฝนตรงข้ามกับหอพระคันธารราษฎร์เป็นหอประดิษฐานพระ
พุทธศิลาเก่าแก่ปางนาคปรกอันเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรีฝีมือช่างขอมอายุเก่าแก่นับพันปี
พระนาคปรกนี้อยู่ติดกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ใหญ่ที่แผ่กิ่งไปทั่วบริเวณหน้าพระอุโบสถ
ถัดไปอีกไม่ไกลนักเป็นหมู่ศิลาชนิดต่างๆ ที่มีในประเทศไทย
เป็นที่บรรจุอัฐิเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4
เจ้าจอมมารดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
และราชสกุลดิศกุล เมื่อเข้าชมพระราชวังบางปะอินแล้ว
สามารถข้ามไปชมวัดนิเวศธรรมประวัต
ิได้โดยกระเช้าสำหรับส่งผู้โดยสารประมาณครั้งละ 6-8 คน
ค่าโดยสารแล้วแต่บริจาค
>>
อ่านต่อ
<< |
|
|
|