ประวัติโดยย่อ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า
"อยุธยา"
ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ
สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417
ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33
พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง
และราชวงศ์บ้านพลูหลวง
นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
|
|
ภูมิประเทศ
อยุธยาเป็นที่ลุ่ม
ไม่มีภูเขา แต่มีแม่น้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี
และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันในลักษณะล้อมรอบเมือง
ตัวจังหวัดเป็นเกาะที่มีบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำ
อยุธยาห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,556 ตรกม.
การปกครอง
มี 16 อำเภอ
อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง
อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก
อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร
อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล
อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน
อำเภอเสนา อำเภออุทัย
อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่
อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังนัอย
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสระบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
ตลอดระยะเวลา 417
ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย
มิได้เพียงเป็นช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น
แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษย์ชาติ
ิซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย
แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากการสงครามจากประเทศเพื่อนบ้านและจากน้ำมือการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเองแล้ว
ส่วนที่ปรากฏ ในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นอัจฉริยภาพ
และความสามารถยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือง
ทางศิลปวัฒนธรรมและความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทยหรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล
ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ยูเนสโก้(UNESCO)
โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งใจกลางกรุงศรีอยุธยาที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์
มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ
กรุงคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย
และกำแพงเพชร ซึ่งจะมีผลให้ได้รับความคุ้มครอง ตามอนุสัญญาที่ประเทศต่างๆ
ได้ทำร่วมกัน จึงสมควรที่อนุชนคนรุ่นหลังน่าที่จะ
ได้ไปศึกษาเยี่ยมชมเมืองหลวงเก่าของเราแห่งนี้
สถานที่ท่องเที่ยวของพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถานได้แก่
วัดและพระราชวังต่างๆ พระราชวังในพระนครศรีอยุธยามีอยู่ 3 แห่ง คือ พระราชวังหลวง
วังจันทรเกษมหรือวังหน้า และวังหลัง
นอกจากนี้ยังมีวังและตำหนักซึ่งเป็นที่สำหรับเสด็จประพาสอยู่นอกพระนครศรีอยุธยา
ได้แก่ พระราชวังบางปะอิน และตำหนักนครหลวง ที่อำเภอนครหลวง
|