ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
|
เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวยะลา
ตั้งอยู่ใจกลางวงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยอดเสาหลักเมืองให้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม
2505 ภายในศาลประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งสร้างด้วยแก่นไม้ชัยพฤกษ์สูง 50 ซม.
วัดโดยรอบฐาน 43 นิ้ว ที่ปลาย 36 นิ้ว
พระเศียรยอดเสาเป็นรูปพรหมจตุรพักตร์และเปลวไฟ บริเวณโดยรอบจัด
เป็นสวนสาธารณะร่มรื่นสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
มีการจัดงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ในวันที่ 25-31 พฤษภาคมของทุกปี
|
-------------------------------------------
สวนขวัญเมือง
|
เป็นสวนสาธารณะกลางเมืองยะลา
ห่างจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 300 เมตร ดัดแปลงมาจากสวนสาธารณะพรุบาโกย เป็น
สนามกีฬาและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง มีโขด หินและชายหาดจำลอง
มีสนามแข่งขันนกเขาชวาเสียง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ได้เดินทางมาเปิดสวนขวัญเมือง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529
|
-------------------------------------------
สวนสาธารณะสนามช้งเผีอก (สนามโรงพิธีช้างเผือก) |
อยู่ถนนพิพิธภักดี มีพื้นที่ 80
ไร่ เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายช้างเผือก "พระเศวตสุรคชาธาร"
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2511
ภายในสวนสาธารณะมี ศาลากลางน้ำ รูปปั้นจำลองของสัตว์ต่างๆ หลายชนิด
และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมและสวนสาธารณะที่ประชาชนยะลามาพักผ่อนหย่อนใจ
|
-------------------------------------------
พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข (วัดหน้าถ้ำ) |
ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ
เดินทางไปตามเส้นทาง ยะลา-หาดใหญ่ประมาณ 4 กม. ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า
วัดหน้าถ้ำ เพราะภายในวัดมีถ้ำใหญ่แห่งหนึ่ง เป็นที่
ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์โบราณขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่า สร้างมาแต่ปี พ.ศ. 1300
สมัยศรีวิชัย มีความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว
เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพ
นาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระ พุทธไสยาสน์แบบหินยาน
ชาวใต้ถือกันว่าเป็นปูชนียสถานที่ สำคัญ 1 ใน 3 ของภาคใต้
เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมือง นครศรีธรรมราช และพระธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี
นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีหินงอกหินย้อยเป็นรูปลักษณะต่างๆ เช่น ม่าน
เศียรช้างเอราวัณ และมีน้ำไหลจากโขดหินธรรมชาติ
ภายในถ้ำมีการติดตั้งไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวที่จะชมถ้ำมืดแห่งนี้ด้วย
|
-------------------------------------------
ถ้ำคนโท |
อยู่ห่างจากตัวเมืองยะละประมาณ 6
กม.บนถนนสายยะลา-ยะหา หรือถึงก่อนวัดคูหาภิมุข 1 กม.
มีรถประจำทางจากตัวเมืองผ่านทุกครึ่งชั่วโมง
เมื่อลงจากรถแล้วเดินเข้าไปตามถนนเล็กๆ ประมาณ 50 เมตร
ผ่านป่าละเมาะไปยังทิวเขากำปั่นอันเป็นที่ตั้งของถ้ำสำเภาทอง และถ้ำคนโท
เมื่อผ่านถ้ำสำเภาทองแล้วเดินเลียบเชิงเขาไปอีก 15 นาที
จะถึงถ้ำคนโทซึ่งเป็นถ้ำที่มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในภูเขากำปั่น
เป็นภูเขาหินอ่อน ภายในถ้ำมีหินงอกสูงประมาณ 120 เมตร
มีลักษณะคล้ายผู้หญิงนั่งสมาธิใครๆเรียกเธอว่า "แม่นางมณโฑ"
ซึ่งเพี้ยนมาจากชื่อถ้ำนั่นเอง
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่ขุดพบพระพิมพ์เก่าแก่มากมาย
โดยเฉพาะพระพิมพ์อวโลกิเตศวรแบบศรีวิชัย
ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่มีลักษณะดีและเนื้อสวยที่สุดในบรรดาที่ขุดพบได้ทั้งหมด
|
-------------------------------------------
ถ้ำศิลป์ |
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.หน้าถ้ำไม่ไกลจากวัดคูหาภิมุข
การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับวัดคูหาภิมุข แต่ต้องเดินทางต่อไปอีก 2 กม.
เป็นถนนลาดยางจนถึงเชิงเขา
มีบันไดให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปยังปากถ้ำได้โดยสะดวก (ปากถ้ำสูงจากเชิงเขา
สูง 28 เมตร) จุดเด่นของถ้ำศิลป์อยู่ที่ภายในถ้ำมีจตรกรรมฝาผนัง
ทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นภาพคนล่าสัตว์
เขียนด้วยสีดำและจิตรกรรมสมัยประวัติศาสตร์เป็นภาพพระพุทธประวัติ
ตอนธิดาพระยามารยั่วยวนพระพุทธเจ้า ภาพนี้มีขนาดยาว 8 เมตร สูง 5 เมตร
แต่สภาพของจิตรกรรมค่อนข้างลบเลือน
จิตรกรรมนี้ได้รับการยกย่องว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
และเป็นงานศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยชิ้นเดียวที่เป็นภาพจิตรกรรม
การเข้าชมแจ้งความจำนงต่อครุใหญ่โรงเรียนบ้านบันนังลูวาที่อยู่ใกล้ถ้ำ
ซึ่งเป็นผู้เก็บรักษากุญแจประตูถ้ำ
|
-------------------------------------------
มัสยิดกลางจังหวัดยะลา
|
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 รูปทรงงดงาม
เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่สอดแทรกเส้นกรอบทรงสุเหร่าไว้ได้อย่างกลมกลืน
ด้านหน้าเป็นบันไดกว้างสูงประมาณ 30 ชั้น ทอดสู่ลานชั้นบน
หลังคาทรงสี่เหลี่ยมมีโดมใหญ่อยู่กลาง
|
|