อำเภอลับแล |
อยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์
ประมาณ 8 กม.
ตามทางหลวงหมายเลข 102
ประมาณ 3 กม.
เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข
1041 ประมาณ 6 กม.
เป็นเมืองโบราณมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เคยเสด็จมาเมื่อ
วันที่ 24 ตุลาคม 2444
ความเป็นมาของคำว่า "ลับแล"
นั้น
ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า
เดิมชาวเมืองแพร่
เมืองน่าน
หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่
เนื่องจากเป็นที่
ป่าดงหลบซ่อนตัวง่ายและภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ในระหว่างเขามีที่เนินสลับกับที่ต่ำ
คนต่างเมือง
ถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย
แต่ปัจจุบันมีถนนตัดผ่านทำให้สภาพป่าหมดไป
ความลึกลับของเมืองจึงหายไป
และยังมีอีกหลายตำนานที่กล่าวถึงเมืองลับแล
ปัจจุบันอำเภอลับแล
เป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรม
เช่น ผ้าตีนจก ไม้กวาด
นอกจากนั้นยังมีสวนลางสาด
ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดในอำเภอลับแล
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
เช่น
|
|
วัดเจดีย์คีรีวิหาร |
อยู่ที่
หมู่ 1 บ้านวัดป่า
ตำบลฝายหลวง
ห่างจากตัวจังหวัด 10 กม.
ตามทางหลวงหมายเลข 1040-1043
เป็นบรมธาตุเจดีย์ทรงลังกา
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
พระประธานเป็น
พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยอันงดงามบานประตู
และหน้าบันเป็นไม้แกะสลัก |
|
-----------------------------------------------------------------
วัดดอนสัก
|
อยู่ที่หมู่
6 บ้านต้นม่วง
ตำบลบ้านฝาย
ห่างจากจังหวัด 9 กม.
ตามทางหลวงหมายเลข 1041
มีวิหารที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มีบานประตูแกะสลักงดงาม
ด้านหน้า 1 ประตู
ด้านหลัง 2
ประตูแกะสลักด้วยไม้ปรูลึกลงไปประมาณ
4 นิ้ว
เป็นลวดลายกนกก้านขดไขว้
ประกอบด้วยรูปหงส์
เทพนมและยักษ์
วัดนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ความสำคัญ
บานประตูวัดดอนสัก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย
มีลวดลายสวยงาม
ติดตั้งเป็นบานประตูสำหรับวิหารวัดดอนสักสถาปัตยกรรมเชียงแสนปนสุโขทัย
ตัวเสาประตูเป็นลายกนกใบเทศสลับลายกนกก้ามปู
บานประตูเป็นไม้แกะสลักทั้งบาน รูปลายกนกก้านขด
มีรูปสัตว์หิมพานต์แทรกอยู่ในลวดลายกนกต่าง ๆ
มีความอ่อนช้อยสวยงาม โดยบานซ้ายและขวานั้นไม่เหมือนกัน
แต่เมื่อปิดบานแล้วลวดลายมีความลงตัวเข้ากันได้สนิท
|
|
-----------------------------------------------------------------
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล
|
อยู่เลยวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งไปตามทางหลวงหมายเลข
102 ประมาณ 500 เมตร
วัดอยู่ทางซ้ายมือของถนนใกล้ทางแยก
ภายในมีมณฑปเป็นศิลปะแบบเชียง-แสน
ครอบรอยพระพุทธบาทคู่ประทับยืนบนฐานดอกบัวสูงประมาณ
1.5 เมตร
ที่วัดพระยืนพุทธบาทยุคลนี้
ยังมีพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง
55 นิ้ว สูง 66 นิ้ว
เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยเรียกกันว่า
"หลวงพ่อพุทธรังสี"
เดิมประดิษฐานอยู่ในมณฑปมีปูนพอกหุ้มไว้ทั้งองค์
ต่อมาได้กระเทาะปูนออกและนำไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถที่สร้างใหม่ |
|
-----------------------------------------------------------------
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
|
อยู่ที่หมู่
3 บ้านทุ่งยั้ง
ตำบลทุ่งยั้ง
จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข
102 ประมาณ 3 กม.จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ
วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่อยู่ติดถนนใหญ่สายบรมอาสน์
ใกล้กับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล
และวัดพระแท่นศิลาอาสน์
เดิมชื่อว่า "วัดมหาธาตุ"
ภายในพระบรมธาตุทุ่งยั้งซึ่งเก่าแก่มาก
เป็นเจดีย์ทรงลังกา
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
องค์พระธาตุนี้เป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3 ชั้น
ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กๆ
เป็นบริวารอยู่ 4 มุม
ฐานชั้นที่ 3
มีซุ้มคูหา 4 ด้าน
สันนิษฐานว่าได้บูรณะขึ้นภายหลัง |
|
-----------------------------------------------------------------
วัดพระแท่นศิลาอาสน์
|
ตั้งอยู่บ้านพระแท่น
ตำบลทุ่งยั้ง
อำเภอลับแล
ห่างจากตัวจังหวัด 14 กม.
อยู่เลยวัดพระยืนไปเล็กน้อย
มีพระแท่นศิลาอาสน์เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้าง 8 ฟุต สูง 3 นิ้ว
มีลวดลายประกอบเป็นหลัก
ฐานพุทธบังลังก์
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงสุโขทัย
ยังไม่ปรากฏนามของผู้สร้าง
พ.ศ. 2451
ไฟป่าได้ไหม้พระมณฑปและวิหารเหลืออยู่แต่ศิลาแลง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่
จะมีงานนมัสการในวันเพ็ญเดือนสามของทุกปี
พร้อมกับวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
และวัดพระยืนพุทธบาทยุคล |
|
-----------------------------------------------------------------
น้ำตกแม่พูล |
อยู่ที่หมู่
4 บ้านต้นเกลือ
ตำบลแม่พูล
ห่างจากตัวจังหวัด 20 กม.
จากอำเภอลับแล
ใช้ทางหลวง หมายเลข 1041-1043
เป็นน้ำตกที่เกิดจากการตกแต่งธารน้ำ
โดยการเทปูนมีความสูงหลายชั้น
มีลักษณะเป็นฝายน้ำล้น
เป็นชั้นๆ
สภาพโดยรอบร่มรื่น
มีธรรมชาติแวดล้อมสวยงาม
และมีศาลา
สำหรับนั่งพักผ่อนชมทิวทัศน์น้ำตกแม่พูลได้อย่างชัดเจน
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้ตัวเมืองและมีถนนเข้าถึงอย่างสะดวกสบายมาก |
|
-----------------------------------------------------------------
หนองพระแล |
อยู่ที่บ้านหนองพระแล
ตำบลทุ่งยั้ง
ห่างจากตัวจังหวัด 13 กม.
ตามเส้นทางหลวงหมายเลข
1041
เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ |
|
-----------------------------------------------------------------
อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร |
อยู่ที่
หมู่ 7 บ้านท้องลับแล
ตำบลฝายหลวงอยู่ห่างจากตัวจังหวัด
12 กม.
จากอำเภอลับแลใช้ทางหลวงหมายเลข
1043
เป็นอนุสาวรีย์ของปฐมผู้ครองเมืองลับแล
บนเนินเขาด้านหลัง
อนุสาวรีย์มีทางขึ้นไปยังจุดชมวิวมองเห็นภูมิประเทศของเมืองลับแล |
|
-----------------------------------------------------------------
เวียงเจ้าเงาะ
หรือ เมืองทุ่งยั้ง |
ชาวบ้านเล่ากันว่า
เจ้าเงาะได้พานางรจนามาอยู่ที่กระท่อมปลายนาที่นี่เมื่อครั้งที่ถูกท้าวสามลและนางมณฑาเนรเทศ
จึงเรียกว่า
เวียงเจ้าเงาะ
แต่ความจริงแล้ว
เวียงเจ้าเงาะ
หรือเมืองทุ่งยั้งนี้
เป็นเมืองเก่าแก่ก่อนที่ชนชาติไทยจะมาปกครองประเทศ
และได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุต่างๆ
เช่น มโหระทึกละว้า
พร้าสัมฤทธิ์ เป็นต้น |
| -----------------------------------------------------------------
อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ
|
พระศรีพนมมาศ (ทองอิน แซ่ตัน) (2404 - 12
มีนาคม 2465) (นามเดิม: ทองอิน แซ่ตัน)
อดีตนายอำเภอลับแลในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านได้สร้างความเจริญให้แก่อำเภอลับแลเป็นอย่างมาก เช่น
เป็นผู้วางผังเมืองลับแล สร้างฝายหลวง พัฒนาการศึกษา
รวมทั้งส่งเสริมการเกษตร
เป็นบุคคลที่คนอำเภอลับแลให้ความเคารพนับถือสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน
ประวัติ
พระศรีพนมมาศ เดิมชื่อ "นายทองอิน" มีบิดาเป็นชาวจีน ชื่อ ตั้วตี๋ แซ่ตัน
มีมารดาชื่อ นิ่ม เป็นชาวอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
พระศรีพนมมาศเกิดที่บ้านยางกะได เมืองลับแล เมื่อปี พ.ศ. 2404
เมื่อเล็กๆ บิดามารดาได้ยกให้เป็นลูกของหลวงพ่อน้อย วัดป่ายาง
หลวงพ่อน้อยได้ตั้งชื่อให้ว่า "ทองอิน" เมื่อมีอายุได้ 12 ปี
บิดามารดาก็นำไปฝากวัดไว้โดยอยู่กับหลวงพ่อต้น วัดน้ำใส
เพื่อให้เข้าศึกษาเล่าเรียน เมื่ออายุครบที่จะบวช
ได้อุปสมบทที่วัดน้ำใส ในเมืองลับแล 1 พรรษา
แล้วสึกออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ
|
|
|