เมืองปาย สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อำเภอปาย มีร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
และมีชุมชนโบราณที่ปรากฏชื่อในตำนาน คัมภีร์ใบลานหลายเมือง
และมีประวัติสืบต่อกันมานับร้อยปี
ประกอบกับมีหลักฐานโบราณคดีปรากฏอยู่ในชุมชนโบราณดังกล่าวด้วย
จากการศึกษาของพระครูปลัดกวีวัตน์ธนจรรย์ สุระมณี วัดเจดีย์หลวงอำเภอเมือง
เชียงใหม่มีรายงานการสำรวจว่า ในเขตเมืองน้อย อำเภอปาย มีหลักฐานโบราณคดี
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังนี้
-
ถ้ำผีแมน บ้านห้วยหก (ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย )
อยู่ห่างจากบ้านห้วยหกไปทางทิศตะวันตก ราว 1,500 เมตร พบซากกระดูก
และระแทะคล้ายรางไม้ให้อาหารสัตว์ หลงเหลืออยู่บางส่วน
ถูกชาวบ้านเผาไปเกือบหมดแล้ว ถ้ำผีแมนที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นี้
ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีอยู่หลายแห่งเช่น
-
ถ้ำป่าคาน้ำฮู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
-
ถ้ำน้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พบหลักฐานของใช้ของคนถ้ำในยุคนั้นคือ กำไลแขนทำด้วยโลหะ,
หม้อดินลายเชือกทาบ,ขวานหินขุด ระแทะไม้ ฯลฯ
-
ถ้ำดอยปุ๊กตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของบ้านห้วยเฮี้ย
(ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย) ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าจากหมู่บ้าน ประมาณ 1
ชั่วโมง
พบเครื่องใช้ของมนุษย์ถ้ำมีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่พบในถ้ำผีแมนแห่งอื่น ๆ
ชุมชนโบราณเมืองน้อย
การตั้งถิ่นฐานของปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง)
ชุมชนโบราณเมืองน้อยเป็นชุมชนที่พบหลักฐานทางด้านโบราณคดี
และหลักฐานตำนานและศิลาจารึกที่สะท้อนให้เห็นว่าเมืองน้อยเป็นเมืองสำคัญในสมัยประวัติศาสตร์ราชวงศ์มังราย
ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย แม่ฮ่องสอน ตำแหน่งละติจูดที่ 19 องศา 30
ลิปดา 58 ฟิลิปดา เหนือ และลองจิจูดที่ 98 องศา 30 ลิปดา 50 ฟิลิปดา ตะวันออก
ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร จากอำเภอปายไปทางทิศเหนือ เมืองน้อย
เมื่อสองร้อยปีเศษมานี้มีสภาพเป็นเมืองร้าง ปัจจุบันได้มีชนเผ่าปกาเกอะญอ
(กะเหรี่ยง)
เข้าไปจับจองอาศัยตั้งบ้านเรือนที่บ้านเมืองน้อยโดยมีชื่อใหม่หลายหมู่บ้าน คือ
บ้านหัวฝาย บ้านห้วยงู บ้ายห้วยเฮี้ย บ้านห้วยหก บ้านกิ่วหน่อ บ้านมะเขือคัน
เมืองน้อย :
ชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงเรื่องราวเมืองน้อยว่า
ในรัชกาลของพระญาติโลกราช ปกครองเชียงใหม่ พ.ศ. 1984 – 2030
พระองค์มีโอรสชื่อท้าวบุญเรือง หรือศรีบุญเรืองครองเมืองเชียงราย
ต่อมาถูกแม่ท้าวหอมุกกล่าวโทษ จึงให้ท้าวบุญเรืองไปครองน้อย
ในที่สุดก็ถูกฆ่าตาย เมื่อสิ้นสมัยพระญาติโลกราชแล้ว โอรสของท้าวบุญเรือง
ชื่อพระญายอดเชียงรายได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์เชียงใหม่
ปกครองได้ไม่นานถูกกล่าวหาว่า พระองค์ ราชาภิเษกวันจันทร์
ถือว่าเป็นกาลกิณีแก่บ้านเมือง ไม่ประพฤติอยู่ในขนบธรรมเนียมของท้าวพระญา
ไม่ประพฤติอยู่ในทศพิธราชธรรมและยังมีใจฝักใฝ่ไมตรีกับห้อ
เสนาอำมาตย์จึงได้ล้มราชบัลลังค์ และได้อัญเชิญให้ไปครองเมืองน้อย ใน พ.ศ. 2038
พระญายอดเชียงรายประทับอยู่เมืองน้อยได้ 10 ปี ก็เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2048
เมื่อพระชนมายุได้ 50 พรรษา
พระญาเมืองแก้วกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ราชโอรสของพระญายอดเชียงราย
ได้เสด็จมาถวายพระเพลิงพระศพของพระญายอดเชียงรายที่เมืองน้อย
และสร้างอุโบสถครอบ
ครั้นพระญาเมืองแก้วเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 2068
เสนาอำมาตย์ได้อัญเชิญพระอนุชาจากเมืองน้อยให้มาครองราชย์เชียงใหม่
และกทำราชาภิเษกเป็น พระญาเมืองเกส ใน พ.ศ. 2069 พระองค์ครองราชย์จนถึง พ.ศ
2081 (พระญาเมืองเกส ครองราชย์เมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2068 – 2081
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2086 – 2088)
เสนาอำมาตย์ไม่ชอบใจได้ปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังค์ และอัญเชิญท้าวชาย
ราชโอรสให้ครองราชย์แทน ในปี พ.ศ. 2081 ท้าวชายประพฤติตนไม่อยู่ทศพิธราชธรรม
เสนาอำมาตย์ได้รอบปลงพระชนม์ใน พ.ศ. 2086 และได้อัญเชิญพระญาเมืองเกส
จากเมืองน้อยมาครองราชย์ในเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่สอง
บ้านเมืองน้อยมีโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดเจดีย์หลวง”
ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ มีแนวกำแพงกำหนดเขตพุทธาวาส ขนาด 80 X 100 X 1
เมตร ขนาดซุกซีวิหาร ฐานซุกซีอุโบสถขนาด 4 X 8.50 เมตร
(สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระญายอดเชียงราย)
ซุ้มประตูโขงด้านทิศตะวันออก เจดีย์ขนาด 11 X 11 X 17
เป็นเจดีย์แบบเชิงช้อนย่อเหลี่ยม บางส่วนยังมีลวดลายการก่ออิฐทำมุม
เจดีย์ถูกสร้างขึ้นจากอิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 –21
เจดีย์ถูกขุดค้นหาสมบัติลักษณะแบบผ่าอกไก่ จากยอดถึงฐานต่ำสุด มีหลุมลึกประมาณ
1 เมตร
ทำให้มองเห็นฐานรากของการก่อสร้างเจดีย์ที่ใช้ก้อนหินธรรมชาติขนาดใหญ่วางซ้อนกันเป็นฐานราก
ก้อนอิฐที่ใช้ก่อสร้างมีขนาด 6 X 11 นิ้ว และในบริเวณวัดเจดีย์หลวง ยังพบ
จารึกบนแผ่นอิฐ 2 ชิ้น
จารึกหลักแรก พบในบริเวณด้านเหนือของโบราณสถาน
จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยวน จำนวน 3 บรรทัด บรรทัดที่ 2-3 จารึกกลับหัว
จากบรรทัดที่ 1 ความว่า “(1) เชแผง (2) เนอ เหย เหย (3) ฅนบ่หลายแล แล แล “
ความในจารึกชิ้นนี้กล่าวถึงนายเชแผง
ผู้เป็นหนึ่งในผู้ปั้นอิฐในการก่อสร้างศาสนสถานแห่งนี้
รำลึกถึงคนจำนวนไม่มากนักในการสร้างศาสนสถานแห่งนี้ หรือในเมืองนี้
จารึกหลักที่สอง พบก่อร่วมกับอิฐก้อนอื่น ๆ
ในบริเวณแนวกำแพงด้านใต้ของโบราณสถานจารึกด้วยอักษรฝักขาม ภาษาไทยวน จำนวน 1
บรรทัด ส่วนครึ่งแรกหายไป ส่วนครึ่งหลังอ่านได้ใจความว่า “สิบกา (บ)”
จารึกชิ้นนี้บอกผู้ปั้นว่าสิบกาบ คำว่า “สิบ”
อาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางล้านนาสมัยโบราณ เรียกว่า “นายสิบ”
หรือเนื่องจากอิฐส่วนหน้าที่หักหายไปบริเวณกี่งกลางของก้อนอิฐนั้น คำว่า
“สิบกา(บ)” อาจสันนิษฐานได้ว่า ข้อความเต็มด้านหน้าที่หายไปเป็น “(ห้า) สิบกาบ”
หรือขุนนางระดับนายห้าสิบก็อาจเป็นได้
วิวรรณ์ แสงจันทร์ กล่าวว่า จากหลักฐานโบราณคดี ซากวัดร้าง ต่าง
ๆ จำนวน 30 แห่ง ในเมืองน้อย รวมทั้งวัดเจดีย์หลวง และข้อความที่พบ
สะท้อนให้เห็นว่าชุมชนที่นี่เป็นเมืองใหญ่ในอดีต
มีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอที่จะสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่จำนวนมากได้
ชุมชนโบราณบ้านเวียงเหนือ
นอกจากเมืองน้อยแล้ว เมืองปายยังพบชุมชนโบราณที่บ้านเวียงเหนือ
ตำบลเวียงเหนือ ตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูด 19 องศา 22 ลิปดา 34 ฟิลิบดา เหนือ
ลองจิจูด 98 องศา 27 ลิปดา 17 ฟิลิปดา ตะวันออก
เมืองปายมีหลักฐานตำนานกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ในสมัยพระญาแสนพู
กษัตริย์เชียงใหม่ (พ.ศ. 1868 – 1877) สร้างเมืองเชียงแสน พ.ศ. 1871
ได้กำหนดให้เมืองปายเป็นเมืองขึ้นของพันนาทับป้อง ของเมืองเชียงแสนในสมัยนั้น
(พงศาวดารโยนก หน้า ตำนานเชียงแสน ว่าเมืองจวาดน้อย
/จวาดน้อย/สันนิษฐานว่าเป็นคำเดียวกับคำว่า ชวาดน้อย)
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2028 ปีมะเส็ง สัปตศก (วันศุกร์
เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ จุลศักราช 847 ปีดับใส้) เจ้าเถรสีลสังยมะ
ให้หล่อพระพุทธรูปเวลารับประทานอาหารเช้า(ยามงาย) (ฮันส์ เพนธ์, 2542)
พ.ศ. 2032 มหาเทวี (พระมารดาพระญายอดเชียงราย)
พระราชทานที่ถวายพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ ก่อสร้างมหาเจดีย์ มหาวิหาร
ผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดศรีเกิด (ปัจจุบันชาวบ้านเรียก วัดหนองบัว (ร้าง)
บ้านแม่ฮี้ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย) พ.ศ. 2033
มีการถวายข้าทาสอุปฐากพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ อุโบสถ มหาวิหาร มหาเจดีย์
พระพุทธรูป ห้ามไม่ให้ผู้ใด นำข้าทาสเหล่านี้ไปทำงานอื่น
หากยังเคารพนับถือพระญายอดเชียงรายอยู่ หากฝ่าฝืนขอให้ตกนรกอเวจี
พ.ศ. 2044 ปีระกา ตรีศก เจ้าหมื่นพายสรีธัม(ม์)จินดา
หล่อพระพุทธรูป หนักสี่หมื่นห้าพันทอง เดือนเจ็ด ไว้ในอุโบสถวัดดอนมูน
เมืองพายแล(เมืองพาย /อำเภอปาย) (ปัจจุบันพระพุทธรูปนี้ เก็บรักษาไว้ ณ
วัดหมอแปง ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดร.ฮันส์ เพนธ์
คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ่านฐานพระพุทธรูป วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ความว่า “ในปีร้วงเร้า สักราชได้
๘๖๓ ตัว เจ้าหมื่นพายสรีธัมจินดา ส้างรูปพระพุทธะเป็นเจ้าตนนี้
สี่หมื่นห้าพันทอง ในเดือนเจ็ด ไว้ในอุโบสถวัดดอนมูน เมืองพายแล” (ดร.ฮันส์
เพนธ์ กล่าวว่า หมื่น เป็นตำแหน่งเจ้าเมืองพาย
ตำแหน่งใหญ่เทียบเท่าเมืองเชียงแสน เมืองลำปาง/ 1 ทอง เท่ากับ 1.1 กรัม)
พ.ศ. 2124 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า
พระญาลำพูนมาครองเมืองปาย (พลาย)
พ.ศ. 2283 ปรากฏชื่อวัดป่าบุก ตั้งอยู่ทิศใต้ของเมืองปาย (พลาย)
ช้างตัวผู้ ดังความว่า “วัดป่าบุก ใต้เมืองพายช้างพู้” (คัมภีร์ ธัมมปาทะ
(ธรรมบท) ปัจจุบันเก็บไว้ที่วัดดวงดี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่)
พ.ศ. 2330 เมืองปายรวมตัวกับเมืองพระเยา เมืองเชียงราย เมืองฝาง
เมืองปุ เมืองสาด กันขับไล่พม่า แต่เมืองพระเยาทำการไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2412 ขณะที่พระเจ้ากาวิโลรสสุริยงวงศ์
ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2399-2413) ลงไปถวายบังคมกราบทูล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพ ฯ ฟ้าโกหล่านเมืองหมอกใหม่
ยกกองทัพมาตีเมืองปาย ซึ่งสมัยนั้นมีฐานะเมืองขึ้นของเชียงใหม่ เจ้าราชภาคีไนย
นายบุญทวงศ์ นายน้อยมหาอินท์ รักษาการเมืองเชียงใหม่ ทำหนังสือถึง
เจ้าเมืองลำปาง และเมืองลำพูน ให้มาช่วยเมืองปาย
หลังจากนั้นเจ้านายและกองทัพจากสามเมือง
ยกกำลังมาช่วยเมืองเชียงใหม่รบกับกองทัพของฟ้าโกหล่าน โดยทีนายบุญทวงศ์
นายน้อยมหาอินท์ คุมกำลัง 1000 คน จากเมืองลำปาง มีนายน้อยพิมพิสาร
นายหนายไชยวงศ์ คุมกำลัง 1000 คน จากเมืองลำพูนมีนายอินทวิไชย นายน้อยมหายศ
คุมกำลัง 500 คน แต่ไม่สามารถป้องกันเมืองปายได้ กองทัพฟ้าโกหล่าน
จุดไฟเผาบ้านเรือน ในเมืองปาย และกวาดต้อนผู้คนและครอบครัวไปอยู่เมืองหมอกใหม่
กองทัพทั้งสามเมืองจึงได้ติดตามไปถึงฝั่งแม่น้ำสาละวิน
แต่ตามไม่ทันจึงได้เดินทางกลับ
พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองปาย ตั้งแต่ถูกฟ้าโกหล่านตีแตก จุดไฟเผาบ้านเมือง
กวาดต้อนผู้คนไปเมืองหมอกใหม่แล้ว เมืองปายมีสภาพเป็นร้างบางส่วน
ไม่มีผู้รักษาเมือง ยังถูกกองทัพเงี้ยว และลื้อ
กวาดต้อนครอบครัวไปอยู่เป็นประจำ จึงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้ง พระยาชัยสงคราม
(หนานธนันไชย บุตรราชวงศ์มหายศ) เป็นพระยาเกษตรรัตนอาณาจักร ไปปกครองเมืองปาย
ให้ยกเอาคนจากเมืองเชียงใหม่ไปตั้งเมืองปาย
ให้เป็นภูมิลำเนาบ้านเรือนเหมือนเดิม เพื่อจะได้ป้องกันรักษาด่านเมืองเชียงใหม่
พ.ศ. 2438
พระยาดำรงราชสิมาผู้ว่าราชการเมืองปายถูกพวกแสนธานินทร์พิทักษ พ่อเมืองแหง
ปล้นแล้วแสนธานินทร์พิทักษประกาศเกลี้ยกล่อมคนเมืองปั่น เมืองนาย เมืองเชียงตอง
เมืองพุ มารบเมืองปายและจะเก็บริบเอาทรัพย์สิ่งของให้หมด พระยาทรงสุรเดช
พร้อมด้วยเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ประชุมเจ้านายหกตำแหน่งมอบหมายให้เจ้าอุตรโกศลออกไปปราบปราม
วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ส่างนันติคนในบังคับอังกฤษ
ใช้ดาบฟันส่างสุนันตา และเนอ่อง คนในบังคับสยาม ตาย ณ ตำบลกิ่วคอหมา
แขวงเมืองปาย และนำทรัพย์สินไปมูลค่าประมาณ 1,000.-บาท ศาลต่างประเทศ
เมืองนครเชียงใหม่ ได้ตัดสินประหารชีวิต (คำพิพากษาที่ 25/125 ศาลต่างประเทศ
เมืองนครเชียงใหม่ วันที่ 24 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก 125
อ้างในศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2535/คำพิพากษานี้เป็นคำพิพากษาในสมัยที่สยาม (ไทย)
ตกอยู่ภายใต้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตตามสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398)
และจำเลยได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์กรุงเทพ ได้ยกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย
และให้ประหารชีวิตตามคำพิพากษาศาลล่าง (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 20 ปี ค.ศ. 1906
อ้างใน ศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2536)
พ.ศ. 2454 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกการปกครองเมือง
เปลี่ยนฐานะเมืองปายเป็นอำเภอปาย และได้แต่งตั้งหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน
สุขุมมินทร์) เป็นนายอำเภอคนแรกระหว่าง พ.ศ. 2454 – 2468
ขอบคุณข้อมูล จากวิกิพีเดีย หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23:39
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2007
แนะนำที่พัก
รีสอร์ท ปาย
|
Hut Ing Pai
อยู่นอก เมืองปายประมาณ
3 กม. บนเนินเขา ข้างลำธาร
น้ำตกหมอแปง (ไม่ติดแม่น้ำปาย) บรรยากาศร่มรื่น
มีไร่กาแฟไว้ชิม และซื้อกลับบ้าน |
|
Muang
Pai Resort
ใกล้น้ำตกหมอแปงมากที่สุด ประมาณ 8
กม จากตัวเมืองปาย |
|
Baan Krating Pai
ริมน้ำปาย บนพื้นที่โล่ง ตกแต่งอย่างสวยงาม |
|
Belle Villa Pai
ริมน้ำปาย ตรงข้ามกับบ้านกระทิงปาย
ตกแต่งสวยงาม มีสระว่ายน้ำ สนามหญ้า |
|
Bulun Buri Pai
รีสอร์ทกลางทุ่ง ห้องไม้สัก
เปิดโล่ง ห้องน้ำแบบ open-air
สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องครบครัน |
|
Pai River Mountain
ริมน้ำปาย เป็นหลังๆ มีระเบียงหน้าบ้านไว้นั่งชมทิวทัศน์โดยรอบ |
|
Pai River Corner
ริมน้ำปาย อยู่ในตัวเมือง อาหารอร่อย ตกแต่หรูหรา
สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องครบครัน |
|
Rim Pai Cottage
ริมน้ำปาย ตั้งมานาน
ใจกลางเมืองปาย เป็นบังกะโลหลังๆ |
|
Tha Pai Spa Camping
ริมน้ำปาย มีน้ำแร่ธรรมชาติให้อาบ |
|
De Pai
ณ ปาย
ริมน้ำของ เพิ่งเปิดตัว พ.ย. 48 นี้
เป็นบังกะโลไม้เป็นหลัง ห่างตัวเมืองปายประมาณ
8 กม. |
|