อำเภอเชียงแสน
|
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง
ห่างจากเชียงราย 59 กม.
โดยแยกจากทางหลวงหมายเลข
110 ที่ อ.แม่จัน
ไปตามทางหลวงหมายเลข 1016
ประมาณ 31 กม.เชียงแสนเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
เดิมชื่อ "เวียงหิรัญนครเงินยาง"
ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองสองชั้นอยู่ทางด้านหน้าก่อนเข้าตัวเมือง |
......................................................................
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน
|
ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง
เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง
เช่น
ลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนา
พระพุทธรูปและศิลาจารึกจากเชียงแสนและจากพะเยา
พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีการตั้งถิ่นฐานของชุมชน
และประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน
นอกจากนี้ยังมีการจัด
แสดงศิลปะพื้นบ้านของ
ชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อ
และชาวเขาเผ่าต่างๆ
ได้แก่ เครื่องเขิน
เครื่องดนตรี
เครื่องประดับ
อุปกรณ์การสูบฝิ่น
เป็นต้น
เปิดทำการตั้งแต่เวลา ๙.๐๐-
๑๖.๐๐ น. ทุกวัน
เว้นวันจันทร์ อังคาร
และวันหยุดนักขัตฤกษ์ |
|
|
......................................................................
วัดพระธาตุจอมกิตติ
|
อยู่ในท้องที่อำเภอเชียงแสน
ตั้งอยู่บนเนินเขานอกกำแพง
มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ
๑.๗ กม.
สร้างสมัยเดียวกับ
พระธาตุจอมทองของเชียงราย
เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ในเจดีย์ก่อเหลี่ยมไม้สิบสอง
สมัยเชียงแสน |
|
......................................................................
พระธาตุดอยปูเข้า |
แยกจากเส้นทางเชียงแสน-สบรวก
ก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย
รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา
หรือจะเดินขึ้นบันได้ก็ได้
พระธาตุนี้สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมื่ยงริมปากน้ำรวก
เมื่อ พ.ศ. 1302
ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง
กษัตริย์องค์ที่ 2
แห่งเวียงหิรัญนครเงินยางโบราณสถานประกอบด้วยลวดลายปูนปั้น
นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังสามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน |
|
......................................................................
วัดพระธาตุเจดีย์หลวง
|
ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์
สถานแห่งชาติเชียง
แสนด้านทิศตะวันออก
สร้างโดยพระเจ้าแสนภู
เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่
๑๙ โบราณสถานประกอบด้วย
เจดีย์ประธาน
ทรงระฆังแบบล้านนา สูง
๘๘ ม. ฐานกว้าง ๒๔ ม.
เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน
นอกจากนี้มี พระวิหาร
ซึ่งเก่าแก่มากพังทลายเกือบหมดแล้ว
และ เจดีย์ราย แบบต่างๆ
๔ องค์ |
|
......................................................................
วัดป่าสัก
|
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนประมาณ
๑ กม. ในเขต ต.เวียง
พระเจ้าแสนภูทรงสร้างเมื่อ
พ.ศ. 1838
และให้ปลูกต้นสักล้อมกำแพง
300 ต้น
วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าสัก"
ภายในวัดมี
โบราณสถานที่สำคัญคือ
เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง
ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร
มีฐานกว้าง 8 ม. สูง 12.5 ม.
เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร |
|
......................................................................
วัดพระธาตุผาเงา
|
อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ
ประมาณ 4 กม.
อยู่ตรงข้ามโรงเรียนสบคำ
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมมีเนื้อที่
143 ไร่
มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่
วิหารปัจจุบันสร้างทับซากวิหารเดิม
บนยอดเขาข้างหลังวัด
เป็นที่ตั้งของพระบรมพุทธนิมิตรเจดีย์ที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงามได้โดยรอบ |
|
......................................................................
วัดเจดีย์เจ็ดยอด
|
อยู่เหนือวัดพระธาตุผาเงาขึ้นไปบนดอยประมาณ
1 กม.
ตัววัดหักพังหมดแล้ว
เหลือแต่เพียงซากอิฐเก่า
ๆ
ดูแทบไม่เห็นรูปร่างแล้ว
อาจกล่าวได้ว่าวัดพระธาตุผาเงาและวัดเจดีย์เจ็ดยอดอยู่บนเขาลูกเดียวกัน
มีบริเวณต่อเนื่องอย่างกว้างขวาง
ร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่
สมกับเป็นสถานปฏิบัติธรรม |
|
......................................................................
สบรวก (สามเหลี่ยมทองคำ)
|
(ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ)
ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปตามถนนเลียบแม่น้ำโขงระยะทาง
๙ กม.
ซึ่งเป็นบริเวณที่แผ่นดินของ
๓ ประเทศได้มาพบกัน คือ
ไทย พม่า ลาว
โดยมีแม่น้ำรวกกั้นอาณาเขตระหว่างไทยและพม่า
และแม่น้ำโขงกั้นอาณาเขตระหว่างไทยและลาว
ครั้งหนึ่งที่นี่เคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมาก
แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นอีกแล้ว
เหลือคงแต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบของลำน้ำและเขตแดนของ
3 ประเทศเท่านั้น
ที่นี่ยังมีบริการเรือให้เช่าเพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
ใช้เวลา 20 นาที
และยังสามารถเช่าเรือจากสบรวกไปยังเชียงแสนและเชียงของได้
ใช้เวลาประมาณ 40 นาทีและ
1 ชม.ครึ่งตามลำดับ |
|
......................................................................
วัดสังฆาแก้วดอนหัน
|
มีประวัติว่า
สร้างโดยพรเจ้าลวจักราช
เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่
12
แต่หลักฐานที่พบแสดงว่ามีอายุอยู่ในช่วงไม่เกินพุทธศตวรรษที่
21
กรมศิลปากรได้ขุดพบหลักฐานที่พบแสดงว่ามีอายุอยู่ในช่วงไม่เกิน
พุทธศตวรรษที่ 21
กรมศิลปากรได้ขุดพบภาพขูดขีดบนแผ่นอิฐเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระชาติของพระพุทธเจ้า
ตอนพระเวสสันดรชาดก
เช่น
พระเวสสันดรเดินป่า
ชูชกเฝ้าพระเวสสันดร
เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่หลุดพังมาจากผนังวิหารมีสภาพแตกหัก
แต่ยังคงเหลือลักษณะของสีและตัวภาพซึ่งใช้สีชาดและสีแดงเพียง
2 สี
นับได้ว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญทางวิชาการอย่างยิ่ง |
|
......................................................................
น้ำตกบ้านไร่
|
อยู่บ้านไร่
หมู่ที่ 9 ต.บ้านแซว
ห่างจากที่ว่าการ อ.เชียงแสนไปทางทิศใต้
ระยะทางประมาณ 15 กม.เศษ
โดยเส้นทางรพช.
สายบ้านเวียง-เชียงของ (สายเดียวกันกับไปพระธาตุผาเงา)
เป็นน้ำตกธรรมชาติตกจากดอยผาแตก
บริเวณน้ำตกเป็นป่าร่มรื่น |
......................................................................
วัดพระเจ้าล้านทอง
|
อยู่ในเขตกำแพงเมือง
เจ้าทองงั่ว
ราชโอรสพระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างเมื่อ
พ.ศ. 2032
ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนื่งหนักล้านทอง
(1,200 กก.) ขนานนามว่า
พระเจ้าล้านทอง
เป็นพระประธานหน้าตักกว้าง
2 ม. สูง 3 ม.เศษ
ในวัดนี้ยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งได้มาจากวัดทองทิพย์ซึ่งเป็นวัดร้าง
เรียกกันว่า
พรเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง
พระพักตร์งดงามมาก
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
หน้าตักกว้าง 1 ศอก 15 นิ้ว
สูง 2 ศอก 10 นิ้ว
|
|
......................................................................
ทะเลสาบเชียงแสน
|
เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่
ตั้งอยู่ที่ตำบลโยนก
ในเขตอำเภอเชียงแสน
ตามทางสายเชียงแสน-แม่จันไปประมาณ
๕ กม. แยกซ้ายตรงกม.ที่
๒๗ เข้าไปอีก ๒ กม.
ในฤดูหนาวจะมี
ฝูงนกน้ำอพยพมาอาศัย
ริมทะเลสาปมีร้านอาหารและที่พัก |
......................................................................
วัดพระเจ้าทองน้อย
|
วัดพระเจ้าทองน้อย ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อยู่(ตรงข้ามกับวัดพระเจ้าล้านทอง) วัดนี้ประกอบด้วยเจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดและอาคารอื่น ๆ ถูกทำลายไปแล้ว ปัจจุบันเป็นวัดร้างไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้าง น่าจะถูกทิ้งร้างไปหลัง พ.ศ. 2347 เมื่อทัพล้านนายกมาขับไล่พม่า สันนิษฐานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 21
|
|
|
วัดพระยืน เชียงแสน
|
วัดพระยืน ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเชียงแสน ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงพระเจดีย์เท่านั้น เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น มีเรือนธาตุย่อมุม มีลวดบัวคาดกลางโดยตลอด ตอนบนเป็นองค์ระฆังแปดเหลี่ยม
ตามตำนาน และพงศาวดารกล่าวว่า พญาคำฟูโอรสของพญาแสนภู ทรงโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1875 ต่อมาพระเจดีย์เกิดชำรุด พระยาหลวงไชยชิตจึงทำการซ่อมแซม เมื่อปี พ.ศ.2181 จากรูปแบบของสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 21
|
|
|
|