|
อนุสรณ์ดอนเจดีย์ พระนเรศวร,สุพรรณบุรี
สุพรรณบุรี
พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ....
ปีพศ.๒๑๑๗ พระเจ้าหงสวาดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์
ราชบุตรชื่อมังเอิญหรือมังไชยสิงห์
ได้ขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง
ตามธรรมเนียมประเพณีแล้วบรรดาประเทศราชที่เป็นเมืองขึ้นจะต้องเดินทางไปถวายบังคมกษัตริย์องค์
ใหม่แสดงความจงรักภักดีรวมทั้งไทยด้วย
แต่ว่าเมืองคังมีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้ครองนครไม่เดินทางมาร่วม
หมายถึงกระด้างกระเดืองคิดแข็งเมือง
ทางพระเจ้านันทบุเรงได้สั่งให้ยกทัพไปปราบเมืองคัง เพื่อแสดงอำนาจบารมี
โดยมีการจัดทัพเป็น ๓ กองทัพคือ ๑ กองทัพพระมหาอุปราช
เป็นโอรสของพระเจ้านันทบุเรง มีชื่อเดิม มังสามเกียด หรือมังกะยอชะวา ๒
กองทัพพระสังกะทัต เป็นราชบุตรของพระเจ้าตองอู มีชื่อเดิม นัดจินหน่อง ๓
กองทัพสมเด็จพระนเรศวร เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์ไทย
เมืองคังมีทำเลอยู่บนเขาทางขึ้นก็เป็นซอกเขา ยากต่อการเข้ายึด
เริ่มการศึกทาง พระมหาอุปราชเข้าตีก่อนและแพ้ลงมา
ครั้งที่สองให้พระสังกะทัตเข้าตีก็ไม่สำเร็จ
ต่อไปเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระนเรศวร
ด้วยทรงพระปรีชาสามารถจึงตีเมืองคังได้สำเร็จและจับตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาถวายพระเจ้านันทบุเรงอีกด้วย
การศึดครั้งนี้สร้างความอับอายให้พระเจ้านันทบุเรงมาก
เพราะต้องการให้ราชโอรสชนะ
ใช่แต่เรื่องการศึกเท่านั้นในยามว่างก็มีการนำไก่ชนมาตีกัน
ระหว่างไก่ของสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราช
ผลคือไก่ชนของพระนเรศวรตีชนะทำเอาพระมหาอุปราชเสียหน้าจึงตรัสว่า “
ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ ” พระนเรศวร ทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสกลับไปว่า “
ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ได้ ”
( ถ้าลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขับไล่เขมร
การตีเมืองคัง ได้สำเร็จ จนถึงการชนไก่
จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระบารมีเหนือกว่า ทางฝ่ายพม่ามากนัก)
|
|
|
อนุสาวรีย์ ดอนเจดีย์
|
|
|
พระนเรศวรทรงยุทธหัตถีบนหลังช้าง
|
|
|
รูปปั้นปูชาในศาลา
|
|
|
รูปภาพชีวประวัติต่างๆ
อยู่รอบองค์เจดีย์ด้านใน |
|
|
|
รูปปั้นจำลองเหตุการณ์ ยุทธหัตถี
|
|
|
พระตำหนัก พระนเรศวร
|
|
|
พระตำหนัก
|
|
|
|
|
|
Kumsuphan
|
1,000 Bht + ABF |
อยู่ตัวเมือง
มีสระว่ายน้ำ |
|
|
|
|
|