|
วัดใหญ่จอมปราสาท สมุทรสาคร, สมุทรสาคร
วัดใหญ่จอมปราสาทเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ในสมัยนั้นบริเวณด้านหน้าของวัดเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่
มีฐานะเป็นเมืองท่าตลาดริมน้ำมีพ่อค้าจากทางทะเล และพ่อค้าจากเมือง
ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินมาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันอย่างเนืองแน่น
ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีน ดังนั้นจึงได้เรียกชุมชนนี้ว่า "บ้านท่าจีน"
ปัจจุบันน้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้าไปจนถึงบริเวณด้านหน้าวัด
ทำให้พื้นที่ของชุมชนบ้านท่าจีนรุ่นแรกๆ ถูกทำลายล่มลงแม่น้ำจนหมด
ชาวบ้านจะเรียกชื่อต่างๆ กันไป เช่น วัดใหญ่ วัดจอมปราสาทหรือ
วัดใหญ่จอมปราสาท ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้รับพระราชทานชื่อว่า " วัดใหญ่สาครบุรี "
และทรงพระราชทานพระไตรปิฏกบรรจุตู้ละจบ จำนวน 39 เล่ม ให้มาประดิษฐาน ณ
วัดแห่งนี้ในฐานะที่เป็นพระอารามหลวง
พระอุโบสถ : พระวิหาร ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคา
เครื่องไม้มุงกระเบื้อง ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นประดับกระจก
หน้าบันปูนปั้นประดับกระจก ด้านหน้ามีมุขยื่น ออกมาจำนวน 1 ห้อง
ผนังก่ออิฐถือปูนด้านหน้ามีประตูทางเข้า 2 ประตู
ซุ้มประตูปูนปั้นประดับกระจก ทรงมณฑป
บานประตูเป็นไม้แกะสลักลวดลายพันธุ์พฤกษา และสิงสาราสัตว์ต่างๆ
โดยแกะสลักลึกเข้า ไปในเนื้อไม้
เป็นฝีมือช่างโบราณที่มีความงดงามในเชิงช่างและศิลปะเป็นอันมาก
ลักษณะลวดลายจะมีอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาปะปนอยู่ด้วยทั้งสองบาน
ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ 6 บาน ซุ้มหน้าต่าง
เป็นซุ้มหน้านางปูนปั้นประดับด้วยลายกระหนกเปลว
บานหน้าต่างไม้แกะสลักเป็นลวดลายต้นไม้ ภูเขา รูปสัตว์และบุคคล
แบบศิลปะจีน บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถนี้แต่เดิมเป็นบานประตูและ
หน้าต่างของพระวิหารเก่านำมาซ่อมแซม และติดไว้ที่พระอุโบสถ
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูป ประทับนั่ง ปางมารวิชัย
ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น บนเพดาน
และขื่อมีลวดลายเขียนสีเป็นรูปดอกไม้และลายประจำยาม
พระวิหารเก่า :
อาคารก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานบัวโค้งแอ่นคล้ายท้องเรือสำเภา
สภาพปรัก หักพัง ผนังด้านทิศใต้และหลังคาพังทลายลงมาหมด
ลักษณะของผนังก่ออิฐถือปูน สอบเข้าด้านบน
ทางด้านหน้ามีซุ้มประตูทรงมณฑป ประดับลวดลายปูนปั้น 1 ช่อง ด้านหลังทึบ
ผนังทางด้านทิศเหนือมีเสาประดับผนังแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยห้องแรก
และห้องสุดท้าย จะย่อมุมเข้าไป ส่วนอีก 3 ช่องเป็นผนังเรียบ
ผนังห้องกลางมีช่อง หน้าต่าง 2 บาน
ซุ้มหน้าต่างเป็นซุ้มหน้านางประดับลวดลายปูนปั้น ที่หัวเสาของผนัง
ในแต่ละช่องประดับปูนปั้นเป็นลายกรวยเชิง
สันนิษฐานว่าพระวิหารหลังนี้คงจะสร้าง ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ศาลาการเปรียญ : ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรง
สี่เหลี่ยมยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้องช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นทาสีขาว
หน้าบันไม้แกะสลักลวดลายก้านขด และพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
เป็นหน้าบันไม้แกะสลักที่มีความงดงามที่ตั้งของอาคารทั้งสามหลังนั้น
จะหันหน้าไปทางแม่น้ำท่าจีนด้านทิศตะวันออกในแนวระนาบเดียวกัน
พระวิหารเก่าและพระอุโบสถจะอยู่ในเขตกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนเดียวกัน
โดยจะมีซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้า 1 ซุ้ม
เป็นซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนทรงมณฑป
ส่วนศาลาการเปรียญตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ
เจดีย์ทรงมณฑป :
ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงมณฑปเรือนธาตุมีซุ้มทั้งสี่ด้าน
ส่วนยอดเป็นปรางค์ สภาพชำรุดทรุดโทรมมาก มีรากไม้พันอยู่ทั้งองค์
การกำหนดอายุสมัย : กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น |
|
|
ซากอุโบสถหลังเก่า
|
|
|
ซากอุโบสถหลังเก่า (ด้านใน)
|
|
|
ซากอุโบสถหลังเก่า(ด้านนอก)
|
|
|
เสาวัด
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน |
|
|
|
อุโบสถหลังใหม่
|
|
|
|
|
|
|
แนะนำที่พัก |
|
The One Place
|
|
|