วัดหลวงพ่อโสธร(วัดโสธรวรารามวรวิหาร) |
อยู่ในเขตเทศบาลเมือง
ริมแม่น้ำบางปะกง
เดิมชื่อว่า "วัดหงส์"
สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน
"หลวงพ่อโสธร"
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ
หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง
1.48 เมตร
ฝีมือช่างล้านช้าง
ตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา
และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้
แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ
รูปทรงสวยงามมาก
แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะดังที่เห็นในปัจจุบัน
ทุกวันนี้จะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อโสธรกันเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าของวัดมีสภาพทรุดโทรม
และคับแคบ
ทางคณะกรรมการวัดจึงมีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
โดยอัญเชิญพระพุทธโสธรองค์จำลองไปประดิษฐานไว้
ณ อาคารชั่วคราว
เพื่อเปิดให้ประชาชนได้มานมัสการตามปกติ
ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
และเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ
พ.ศ. 2530
โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
ลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์
ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
เวลาเปิดให้เข้านมัสการ
วันธรรมดา 07.00 น.-16.15 น
วันหยุด 07.00 น.-17.00 น. บริเวณวัดโสธรฯ
มีบริการร้านค้าจำหน่ายอาหารและสินค้าของที่ระลึกจากจังหวัดฉะเชิงเทรา
และจังหวัดใกล้เคียง
นอกจากนั้นบริเวณท่าน้ำของวัด
มีบริการเรือหางยาวรับส่งผู้โดยสารระหว่างตลาดในตัวเมือง
และวัดโสธรฯ
และเรือบริการท่องเที่ยวลำน้ำบางปะกง |
|
-----------------------------------------------------------------
วัดจีนประชาสโมสาร
(วัดเล่งฮกยี่) |
เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
ที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพฯ
ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจตำบลท่าใหม่
ห่างจากศาลากลางจังหวัด
1 กม.
สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่
รูปปั้นขนาดใหญ่ของจตุโลกบาล
และเทวรูปจีนอ้วยโห้ซึ่งแต่งกายชุดนักรบ
นอกจากนี้มีวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
เช่นวิหารบูรพาจารย์
วิหารเจ้าแม่กวนอิม
วิหารว่องอ้วนตี่
วิหารตี่ซังอ๋อง
และสระนทีสวรรค์
เป็นต้น |
|
-----------------------------------------------------------------
วัดเมือง
(วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)
|
อยู่ตำบลหน้าเมือง
เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่
3 พร้อมๆ
กับการสร้างป้อมและกำแพงเมืองในปี
พ.ศ. 2377
โดยช่างฝีมือจากเมืองหลวง
มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับพระปรางค์วัด
พระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพมหานคร
ต่างกันเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น
วัดนี้เดิมเรียกว่า
วัดเมืองต่อมาในปี พ.ศ. 2451
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
เสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทราและได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า
"วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์"
แปลว่าวัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง |
|
-----------------------------------------------------------------
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ |
ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัด
มีเนื้อที่ประมาณ 90 ไร่
เป็นสวนสาธารณะ
มีสระน้ำขนาดใหญ่
กลางสวนมีทางเดินรอบสรขนาดใหญ่
มีต้นไม้ตลอดริมบึง
เหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้อย่างดี |
|
-----------------------------------------------------------------
วัดอุภัยภาติการาม
(วัดซำปอกง)
|
ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ
ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่
เป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน
ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า
เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนไปแล้ว
เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต
(พระไตรรัตนนายก)
หรือที่ชาวจีนเรียกว่า
"เจ้าพ่อซำปอกง"
ในประเทศไทยมีเพียง 3
องค์เท่านั้น
คือที่วัดกัลยาณมิตร
ฝั่งธนบุรี วัดพนัญเชิง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและวัดอุภัยภาติการาม
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทุกวันเสาร์ อาทิตย์
จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง
สิงคโปร์ และไต้หวัน
มานมัสการอยู่เป็นประจำ
อ่านประวัติ
วัดซำปอกง |
|
-----------------------------------------------------------------
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
|
เป็นศาลที่สร้างขึ้นใหม่
ภายในศาลมีเสาหลักเมือง
2 เสา
เสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองปัจจบันสร้างเมื่อ
พ.ศ.2438
อีกเสาเป็นเสาเก่าสร้างเมื่อ
พ.ศ.2377 ยกเลิกเมื่อ พ.ศ.2438
และยังศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอยู่ในบริเวณเดียวกัน |
|
-----------------------------------------------------------------
ป้อมเมืองฉะเชิงเทรา |
อยู่ที่ถนนสุขเกษม
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3
เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูมารุกราน
และในสมัยรัชกาลที่ 5
ได้ใช้เป็นที่ตั้งมั่นกองทัพในการปราบกบฎอั้งยี่
(พ่อค้าฝิ่นเถื่อนชาวจีนที่ก่อความวุ่นวายปล้นสะดมชาวเมือง)
บริเวณหน้าป้อมจัดเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและชมทิวทัศน์แม่น้ำบางปะกง
และมีปืนใหญ่ตั้งอยู่ตามกำแพงเรือ |
|
-----------------------------------------------------------------
ตลาดบ้านใหม่ ร้อยปี
|
ตลาดบ้านใหม่ ตลาดที่มีอายุมากกว่า 100 ปี
เป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีวิถีชีวิตเดิมที่โดดเด่นที่แตกต่างจากชุมชนอื่น
ๆ นั้นคือ บ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
5 เป็นสถานที่ถ่ายภาพยนต์และละครย้อนยุคของชุมชนชาวจีน เช่น
อยู่กับก๋ง นางนาค เจ้าสัวสยาม
ร้านขายของและร้านอาหารที่มีความหลากหลาย
เป็นที่รวบรวมอาหารรสเด็ดของแปดริ้ว ทั้งอาหารจีน อาหารไทย
มีร้านกาแฟโบราณรสชาติเข้มข้นหอมหวาน
เป็นที่รวบรวมของฝากที่ต้องแวะซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่พร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมวิถีชีวิต
ย้อนยุค เลือกชิมอาหารรสอร่อย เลือกซื้อของฝากจากแปดริ้ว
ในช่วงแรกจะเปิดให้เที่ยวชมเฉพาะในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์
และวันหยุดนักขัตฤกษ์
โดยกำหนดเปิดแหล่งท่องเที่ยวตลาดบ้านใหม่ในวันเสาร์ที่ 23
ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
อ่านต่อรายละเอียด
ตลาดบ้านใหม่
อ่านกระทู้ตลาดบ้านใหม่
กระทู้ตลาดเก่า ตลาดน้ำ ตลาดร้อยปี |
|
-----------------------------------------------------------------
ลำน้ำบางปะกง |
ลำน้ำบางปะกงมีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบนที่ราบสูงโคราช
ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี
(เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี)
อำเภอบางน้ำเปรี้ยว (เรียกว่าแม่น้ำแปดริ้ว)
อำเภอบางคล้า
อำเภอเมืองฉะเชิงเทราและออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง
ระยะทาง 230 กม.
การท่องเที่ยวทางเรือในลำน้ำบางปะกง
เริ่มจากตัวเมืองฉะเชิงเทราเพื่อชมธรรมชาติ
สองฝั่งน้ำชมบ้านเรือน
ซึ่งยังคงสภาพความเป็นอยู่อย่างไทย
ผ่านสถานที่น่าสนใจ
เช่น อาคารตำหนัก
กรมขุนมรุพงษ์ศิริวัฒน์
ป้อมและกำแพงเมืองโบราณอาคารศาลากลางหลังเก่า
กลุ่มเรือนแพสมัยเก่า
วัดวาอาราม ทั้งไทย จีน
ฝรั่ง เช่น วัดเมือง
วัดสัมปทาน วัดแหลมใต้
วัดสายชล วัดเซ็นต์ปอล
ไปขึ้นฝั่งที่วัดโพธิ์บางคล้า
เพื่อชมค้างคาวแม่ไก่ที่วัดนี้
ระยะทางประมาณ 25 กม.
ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง
สามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าน้ำวัดโสธรวราราม
วรวิหาร
หรือที่ท่าน้ำหน้าตลาดในตัวเมือง
มีทั้งเรือหางยาวจุคนได้
8-10 คน เรือสำราญจุคนได้ 40
คน
อัตราค่าเช่าเรือตามแต่จะตกลงกันตามจำนวนผู้โดยสารและระยะทาง
(ประมาณชั่วโมงละ 1,200 บาท)
ติดต่อเรือท่องธารา จสอ.ศักดา
ทองประสิทธิ์ โทร. 01-353-4207
จะได้ชมธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำ
ส่วนใหญ่เป็นสวนผักและสวนผลไม้
เช่น สวนมะม่วง
สวนมะพร้าว มีตลาดเล็กๆ
ริมแม่น้ำ เช่น
ตลาดบ้านใหม่
และตลาดบ้านหมู่
ที่ยังมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไทย
บ้านเรือนทั้งแบบสมัยใหม่และสมัยโบราณ
รวมทั้งวัดต่างๆ
|
|
|