อยู่ตำบลเวียง ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 54 กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข 81 และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4011
เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 137 องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถาน
ที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง
รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด
ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน
พระธาตุไชยานับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทร. 077-431090, 077-431402
จากคำบอกเล่าของชาวเมืองไชยาได้มีตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยาว่า
ครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวอินเดียสองคนชื่อ ปะหมอ กับปะหมัน
ทั้งสองเดินทางโดยเรือใบเข้ามาถึง เมืองไชยา
ได้พาบริวารขึ้นบกที่บ้านนาค่ายตรงวัดหน้าเมือง ในตำบลเลเม็ด
เจ้าเมืองมอบให้ปะหมอ ซึ่งเป็นนายช่างมีความเชี่ยวชาญการก่อสร้าง
สร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ครั้นเสร็จก็ตัดมือตัดเท้า เสีย
เพื่อมิให้ปะหมอไปสร้างเจดีย์ที่งดงามเช่นนี้ให้ผู้ใดอีก
ปะหมอทนบาดพิษบาดแผลไม่ได้ ถึงแก่ความตาย
เจ้าเมืองได้หล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้
เป็นเครื่องหมายแทนตัวปะหมอ
ส่วนน้องชายที่ชื่อปะหมันได้ไปครองเกาะพัดหมัน
และตึงรากอยู่ที่นั้นจนกระทั่งสิ้นชีวิต
สถานที่ตั้งบ้านเรือนของปะหมันนั้นเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง
มีนาล้อมเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ
สมัยโบราณที่นี่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก
คณะมโนราห์ที่เดินทางผ่านจะต้องหยุดไหว้รำร้องถวายมือ
คณะใดไม่เคารพคนในคณะจะชัก หรือเกิดเหตุขัดข้องต่างๆ
ถ้าใครไปตั้งคอกเลี้ยวหมูในบริเวณดังกล่าวหมูจะตายหมดทั้งคอก
เจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14
ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง
เข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมืองไชยาสมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด
หลักฐานที่ยืนยันถึงอาณาจักรศรีวิชัยอายุไม่ต่ำกว่า 1200 ปี
จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ใช้ภาพของ
เจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด
และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกอง และผ้าพันคอลูกเสือด้วย
ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี หากไม่ได้ไปนมัสการ
พระบรมธาตุไชยาแล้วก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมนั้น มีลักษณะเป็นเจดีย์องค์เดียว
ในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด
โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร ตั้งอยู่
บนฐาน สี่เหลี่ยมสูงย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันตกยาว 13 เมตร
ฐานนี้สร้างก่อนสมัยที่ พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสโส) จะบูรณะ
ตั้งอยู่บนผิวดินซึ่งมีระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบัน ทางวัดได้ขุด
บริเวณโดยรอบ ฐานเป็นเสมือนสระกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 60-70
เซนติเมตร เพื่อให้ฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปี
บางปีในหน้าแล้งรอบๆ ฐานเจดีย์พระบรมธาตุ จะแห้ง มีตาน้ำพุ ขึ้นมา
ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่างๆ ได้ ต่อมาทางวัด
ได้ใช้ปูนซีเมนต์ ปิดตาน้ำเสีย
โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อ
มุขด้านหน้าหรือมุขด้านตะวันออก
เปิดมีบันไดขึ้นสำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปภายในเจดีย์
เมื่อเข้าไปภายใน จะเห็นองค์พระเจดีย์หลวง
เห็นผนังก่ออิฐแบบไม่สอปูนลดหลั่นกันขึ้นไปถึงยอดมุข อีกสามด้าน ทึบทั้งหมด
ที่มุมฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศหรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่ด้วย หลังคาทำเป็น
3 ชั้นลดหลั่น กันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับรูปวงโค้งขนาดเล็กและสถูปจำลองรวม
24 องค์ เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอด ซึ่งได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชกาลที่
5 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอ ระฆัง
ทำให้เห็นลวดลายละเอียดเสียหายมาก
รวมทั้งฐานเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินได้ขุดดินโดยรอบฐาน พระเจดีย์
และทำลายรากไม้ในบริเวณนั้นแล้ว
ก่ออิฐถือปูนตลอดเพื่อให้เห็นฐานเดิมของเจดีย์
อีกทั้งลวดลายประดับเจดีย์
ได้มีการสร้างเพิ่มเติมใหม่ด้วยปูนปั้นเกือบทั้งหมด เป็นลายปั้นใหม่
ตามความคิดของผู้บูรณะ มิได้อาศัยหลักทางโบราณคดี
รวมถึงลานระหว่างเจดีย์และพระระเบียง
เปลี่ยนจากอิฐหน้าวัวเป็นกระเบื้องซีเมนต์ จนถึงในรัชกาลปัจจุบัน
พ.ศ.2521-2522 ได้รับการ บูรณะปฎิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้ง
โดยการบูรณะในครั้งนี้เป็นการซ่อมแซมของเก่าที่มีอยู่เดิมให้คง สภาพดี
เพื่อไว้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของชาติสืบต่อไป |