ทุ่งศรีเมือง
เป็นทุ่งกว้างกลางเมือง
คล้ายสนามหลวงของกรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมือง
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้งดการทำนาที่ทุ่งศรีเมือง
เพื่อรักษาไว้ให้เป็นที่พักผ่อนของชาวเมืองและ
เป็นที่จัดเทศกาลงานบุญต่างๆ
ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมืองเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดทุ่งศรีเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนหลวงในเขตเทศบาลเมือง มีพระอุโบสถสวยงาม
เป็นสถาปัตยกรรมอีสานที่ได้รับอิทธิพล จากกรุงเทพฯ
สร้างประมาณต้นสมัยรัชกาลที่ 3
ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่บ่งบอกถึง
อารยธรรมและวัฒนธรรมของคนอุบลในสมัยโบราณเมื่อ 200
กว่าปีมาแล้วนอกจากนี้ยังมีหอไตรกลางน้ำ สร้างด้วยไม้
มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว ลักษณะอาคารเป็นแบบไทย
เป็นเรือนฝาปะกน ขนาด 4 ห้อง เก็บตู้พระธรรมลงรักปิดทอง
หลังคามีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบระกาแต่
หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้าน
เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว
เป็นสถาปัตยกรรมของอีสานที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง)
เป็นอารามหลวงตั้งอยู่บนถนนอุปราชข้างศาลากลางจังหวัดในตัว
เมืองอุบลราชธานี พระอุโบสถ สร้างตามแบบวัดเบญจมบพิตร
เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม พระคู่ บ้านคู่เมือง
ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต ประเทศลาว
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะมีการ
อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมเข้าขบวนแห่ไปรอบเมืองอุบลราชธานี
เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้นมัสการและสรงน้ำ |
|
-----------------------------------------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช เป็นอาคารปั้นหยาชั้น เดียว
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 เดิมใช้เป็นศาลากลางจังหวัด
ต่อมาทางจังหวัดได้มอบอาคารหลังนี้ให้กรมศิลปากร
เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ภายในมีการจัดแสดงเรื่องราวท้องถิ่น ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์
ประวัติการตั้งเมือง โบราณวัตถุซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านศิลปโบราณคดี
หัตถกรรมพื้น บ้าน การละเล่นพื้นเมือง และเครื่องใช้ของเจ้าเมืองอุบล
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวัน หยุดนักขัตฤกษ์ เวลา
09.00-16.00 น. ราคาค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท |
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดแจ้ง
ตั้งอยู่ที่ถนนสรรพสิทธิ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง
ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431
ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
5
โดยการดำริของเจ้าราชบุตร (หนูคำ)
หนึ่งในคณะอาญาสี่ผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น
โบราณสถานที่สำคัญคือ พระอุโบสถที่สร้างเสร็จ ในราวปีพ.ศ.
2455
หรือหลังจากการตั้งวัด 24 ปี
โดยญาท่านเพ็ง ได้รับการยกย่องว่ารูปทรงสวยงาม
และมีงานจำหลักไม้ที่มีฝีมือแบบพื้นฐานโดยแท้
ซึ่งนับวันจะหาดูเป็นตัวอย่างศึกษาได้ยาก
เป็นอุโบสถขนาดไม่ใหญ่นัก กว้างประมาณ 6
เมตร ยาว
15 เมตร สูง 10 เมตร
ฐานเตี้ยหลังคาชั้นเดียวเดิมมุงด้วยกระเบื้องไม้
ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา
มีบันไดอยู่ด้านหน้าราวบันไดเป็นรูปจระเข้หมอบ ส่วนหน้าบันหน้า
อุดปีกนกและรวงผึ้ง สลักไม้เป็นลายดอกบัว กอบัวอย่างสวยงาม
โดยเฉพาะหางหงส์ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ
ทำเป็นรูปหัวนาคตรงหงอนสะบัด ปลายเป็นกนกเปลว
อุโบสถวัดแจ้งได้รับการบูรณะเรื่อยมาโดยพยายามให้คงสภาพเหมือนเดิมที่สุด
ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่คุณค่าแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลฯ
เคยได้รับเกียรติบัตรในงานนิทรรศการ "สถาปนิก 30"
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดมหาวนาราม
(วัดป่าใหญ่)
ตั้งอยู่บนนถนนสรรพสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
ชาวบ้านนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "วัดป่าใหญ่"
เป็นวัดเก่าแก่และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอบุลฯ
เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐาน
ตั้งขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการสร้างเมืองอุบลฯ ในพ.ศ.2322
ต่อมาในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ
พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวทิศพรหม)
ได้ยกฐานนะเป็นวัดและถือเป็นวัดประจำเมืองแห่งที่ 2
ให้ชื่วว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า
วัดหนองตะพังหรือหนองสะพัง
ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียงดังปรากฏหลักฐานศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระเจ้าใหญ่อินแปง
ระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับ พ.ศ. 2350
โดยมีพระราชครูศรีสัทธรรมวงศา
เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป "พระอินแปง"
หรือพระเจ้าใหญ่อินแปงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดมหาวนาราม
ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดนี้คือพระเจ้าใหญ่อินแปง
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทอง
ลักษณะศิลปะแบบลาว ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3
เมตร สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี 5
เมตร ในวันเพ็ญเดือน 5
(ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปีจะมีการทำบุญตักบาตร
เทศน์มหาชาติชาดก
และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปงซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันี้
(จากรูป ผมได้ถ่ายไว้ในว้นสรงกรานต์ปี 48
พอดีชาวบ้านกำลังทำพิธีสรงน้ำพระ) |
|
-----------------------------------------------------------------
วัดบูรพาราม
อยู่ในตัวเมืองอุบลราชธานี
เป็นวัดที่เคยเป็นที่จำพรรษาของอาจารย์ชื่อดังทางวิปัสนากรรมฐาน
ได้แก่ อาจารย์สีทาชยเสโน อาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ อาจารย์ลี
ธัมมธโร อาจารย์เสาว์กันตสีโล และอาจารย์สิงห์ ขันตยคโม
ปัจจุบันคงมีแต่รูปเหมือนทำจากหินบริสุทธิ์จากลำน้ำต่างๆเป็นที่เคารพ
สักการะของชาวเมือง
วัดนี้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2436-2453
โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้สร้างถวายพระสีทา ชยเสโน
แห่งวัดศรีอุบลรัตนาราม ด้วยศรัทธาที่เห็นท่านมานั่งวิปัสนากัมมัฎฐาน ณ
บริเวณที่นี้เป็นประจำ
สิมวัดบูรพาราม มีลักษณธเป็นสิมทึบ
แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2 ห้อง
หันหน้าออกสู่แม่น้ำมูล ส่วนฐานอาคารก่อด้วยอิฐ
เป็นฐานเอวขันแบบสิมอีสานทั่วไป
ผนังมีโครงสร้างภายในเป็นไม้ระแนงฉาบด้วยดินเหนียวผสมน้ำและฟางฉาบทับด้วยปูนขาวอีกครั้ง
หอไตร ลักษณะเป็นเรือไม้ขนาด
3 ห้อง 2 หลัง คู่กัน
ยกพื้นสูงด้วยเสาไม้กบมหลังละ 8 ต้น
มีชานเชื่อมตรงกลาง หลังคาเป็นทรงจั่ว หน้าจั่วทำลวดลายรัศมีพระอาทิตย์
ฝาผนังอาคารตีไม้ในแนวเฉียงเป็นลายก้างปลา ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้างละ
3 บาน รองรับด้วยหย่องลายเข้งสิงห์
ตอนล่างของผนังอาคารโดยรอบตกแต่งลายบัวฟันยักษ์ ประดับกระจกสีเหลือง ขาว
และเขียว
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ถนนสมเด็จ
เป็นพระอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี
และเป็นวัดธรรมยุติกนิกายวัดแรก ของอีสาน สร้างใน พ.ศ. 2396
โดยพระพรหมราชวงศา (พระอุปราชกุทอง) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี
(สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี)
ตัววัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล เป็นพระอารามหลวง
ที่อยู่ในภูมิทัศน์ที่ร่มรื่นสวยงาม
พระอุโบสถเป็นศิลปะไทย-จีน-ยุโรป
หน้าโบสถ์มีรูปสิงโตคล้ายของจริงสองตัว
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระสัพพัญญูเจ้า
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดเงาไม่ปิดทองที่ สง่างามมาก
มีหอศิลปวัฒนธรรม เก็บรักษาโบราณวัตถุ เช่น เสมาหิน ศิลาจารึก
และทับหลัง |
|
-----------------------------------------------------------------
หาดวัดใต้ |
เป็นเกาะหาดทรายอยู่กลางลำน้ำมูลช่วงท้ายเมืองใกล้ที่ตั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
จังหวัดอุบลราชธานี ในฤดูแล้งมีบริเวณกว้างขวาง
มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมเขียวชอุ่มให้ความร่มรื่นอยู่ตลอดเวลา
เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง โดยเฉพาะในตอนเย็นๆ
จะมีคนนำอาหารไปรับประทาน ร่วมกันแล้วลงเล่น น้ำเป็นที่สนุกสนาน
และยังมีร้านอาหารเรือนแพบริการขายอาหารด้วย
|
----------------------------------------------------
วัดบ้านนาเมือง |
ตั้งอยู่ที่บ้านนาเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กม.
ด้านทิศเหนือของสนามบิน เป็นวัดที่มีพระอุโบสถแปลกตา
สร้างเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ซึ่งทำด้วยเซรามิค
โดยมีอาจารย์บุญมีเป็นเจ้าอาวาส
เป็นที่เคารพนับถือของชาวอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง
|
----------------------------------------------------
วัดหนองบัว |
อยู่ชานเมืองอุบลราชธานี บนทางหลวงหมายเลข 212 สายอุบล-อำนาจเจริญ ประมาณ 3
กม. จะมีทางแยกจากถนนใหญ่เข้าไปประมาณ 800 เมตร
ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์
ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนาในปี พ.ศ.
2500 และได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย
นับเป็นวัดเดียวในภาคอีสานที่มี เจดีย์แบบนี้
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ร่มรื่น
|
----------------------------------------------------
พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านก้านเหลือง |
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านก้านเหลืองจากตัวเมืองไปตามทางหลวง 212 ประมาณ 3
กม. แล้วแยกขวาเข้าทางหลวง 2050 ไปอีก 2 กม. กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้น
เมื่อปี 2535 พบโบราณวัตถุต่างๆ มากมาย เช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา
กระพรวนสำริด ขวานเหล็ก และ แกลบข้าวจำนวนมาก แต่ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์
สันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ เป็นแหล่งโบราณคดี สมัยกสิกรรมยุคหลัง
หรืออยู่ในช่วงยุคโลหะตอนปลาย มีอายุไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี
|
----------------------------------------------------
หาดคูเดื่อ |
เป็นหาดทรายกว้างใหญ่ริมแม่น้ำมูลที่ปรากฏในช่วงหน้าแล้ง
ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเลี่ยงเมือง ประมาณ 12 กม.
ริมหาดมีร้านอาหารจัดเป็นซุ้มบริการนักท่องเที่ยวอยู่หลายร้าน
|
-----------------------------------------------------------------
บ้านปะอ่าว |
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองขอน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กม. ตามทางหลวงหมาย เลข
23 ทางไปยโสธร ถึงหลักกม.ที่ 273 เลี้ยวขวาไปอีก 3 กม.
เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มากแห่ง หนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
ตามประวัติศาสตร์นั้น ได้อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งแต่
สมัยของพระเจ้าสิริบุญสาร มายังหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
จนกระทั่งถึงบ้านปะอาว แห่งนี้ ฉะนั้น หมู่บ้านปะอาว จึงมีอายุประมาณ 200
กว่าปี และเป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์
ประจำหมู่บ้านซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ คือการทำเครื่องทองเหลือง
กรรมวิธีการผลิตยังเป็น แบบโบราณดั้งเดิม
นอกจากนี้แล้วในหมู่บ้านยังมีศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทองเหลือง
และทอผ้า ไหมที่สวยงาม เปิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
|
|
|