นานเหมือนกันครับที่
ผมไม่ได้แต่งบทความท่องเที่ยว...
ครั้งล่าสุดนี้ได้ไปเที่ยวแหล่งวัฒนธรรมดั้งเดิมสมัยก่อนสุโขทัย....หากเห็นป้ายแบนเนอร์ข้างบนก็คงทราบแล้วครับว่า
บุรีรัมย์ แหล่งประวัติศาสตร์สมัยขอมเรืองอำนาจ
การเดินทาง
ไปได้หลายทางด้วยกัน ที่นิยมกัน คือ
จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน)
ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 2 (มิตรภาพ)
จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม)
ผ่านอำเภอ หนองกี่ อำเภอนางรอง
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข
218 รวมระยะทาง 410 กม. หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข
226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแถลง-ลำปลาย มาศ รวมระยะทาง 384 กม.
แต่สไตล์ชอบผจญภัยแบบไทยทัวร์ล่ะก้อ...ต้องเลือกแบบที่ไม่ค่อยมีคนไป
ผมเลือก
จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวง บางนา-ตราด
เข้าฉะเชิงเทรา พนมสารคราม กบินทร์บุรี สระแก้ว ผ่านตาพระยา
เข้าทางหลวง 348 ตรงสู่ อ.นางรอง
จ.บุรีรัมย์
คลิกดู
แผนที่บุรีรัมย์>>>
|
|
สถานที่ท่องเที่ยว (ระหว่างทาง)
ปู้ดเดียวถีง สระแก้ว แวะเข้าอรัญประเทศ
อ.สุดชายแดนไทย จรดเขมร
ที่เลือกที่นี่เพราะอยากจะรู้ว่ามีอะไรบ้างที่อำเภอชายแดน
แห่งนี้
แวะไหว้พระสยามเทวาธิราชจำลอง
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภออรัญประเทศ
และปราสาทเข้าน้อย ซึ่งอยู่สุดชายแดนไทย
ห่างจากตัวอำเภอไปทาง ทิศใต้ประมาณ 12 กม.
โบราณสถานตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ยๆ สูงราว 80 เมตร
มีบันไดทางขึ้น 254 ขั้น
เดินเข้าตามเนินดินอีกนิดหน่อย
ก็จะถึงบริเวณตังปราสาทก่ออิฐ ซึ่งประกอบด้วยปรางค์ทิศเหนือ
ปรางค์องค์กลาง และวิหารทิศใต้
จะมีเพียงปรางค์องค์กลางเท่านั้น ที่ยังคงสภาพเป็นองค์ปรางค์
ส่วนปรางค์ทางทิศเหนือ และวิหารทิศใต้เหลือเพียงฐานเท่านั้น
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478
ปราสาทเขาน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ
และได้มีการสำรวจขุดแต่งจากกรมศิลปากร
ซึ่งทำให้พบทับหลังหินทราย 5 ชิ้น
นักโบราณคดีพบว่าเป็นศิลปะเขมรแบบไพรกเมง 2 ชิ้น
และเป็นแบบสมโบร์ไพรกุก 3 ชิ้น
สันนิษฐานอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13
และเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู |
|
หากพอมีเวลาไม่เย็นมากนัก เราสามารถแวะเที่ยวตลาดโรงเกลือ
และปราสาทสล็อกก็อกธม ก้อจะดี แต่ผมไม่มีเวลาในคราวนี้
ต้องขอบายไปก่อน
รีบมุ่งหน้าสู่ อ.นางรอง เพื่อหาที่พักดีดีสักแห่ง
เพราะหากเข้าตัวเมือง
จะไกลเกินไปหากเราจะเที่ยวต่อปราสาทหินเขาพนมรุ้งในวันพรุ่ง... |
|
แนะนำที่พัก
เรือนนางรองรีสอร์ท
สนนราคา 600 บาทต่อคืน ห้องแอร์ มีทีวี
ห้องน้ำและน้ำอุ่น พร้อมอ่างอาบน้ำ จอดรถหน้าบ้านได้เลย
(พักมาแล้ว...รับรองคุ้มค่าจริงๆ) สนใจโทร. 044-622385 |
|
เกือบลืมบอกไป หากมิได้นำรถยนต์ไปเอง
เราสามารถใช้บริการรถสองแถวรับจ้างเหมาขึ้นปราสาทพนมรุ้ง
คันละประมาณ 200-300 บาท หรือติดต่อโดยตรงที่
สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. (044) 631746
วันรุ่งขึ้น ตุนอาหารขนมขบเคี้ยว
เครื่องดื่ม ก่อนมุ่งหน้าสู่
ปราสาทหินพนมรุ้ง
ซึ่งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย
มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย
ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17
จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้
จึงคงจะได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายานในช่วงนั้น
ตัวโบราณสถาน
ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร
จากพื้นราบ คำว่า "พนมรุ้ง" หรือ "วนํรุง" เป็นภาษาเขมรแปลว่า
"ภูเขาใหญ่" ปราสาทพนมรุ้งหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบ
ด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียง
รายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธาน บนยอดอัน
เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ
บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพังสามชั้น ผ่านขึ้นมาสู่
พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานาง
เรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้าง เป็นระยะๆ ถนนทางเดิน นี้
ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุด
เชื่อมต่อระหว่างดินแดน แห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้าน
ข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้าง ด้วยศิลาแลง 1 หลัง
เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพาน
นาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็น ชานพักเป็นระยะๆ
รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลา โล่งกว้าง
ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้า ประตูกลางของระเบียงคด
อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้า สู่ลานชั้นในของปราสาท
และจากประตูนี้ยังมี
สะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน
นอกจากปราสาทหินเขาพนมรุ้งแล้ว ยังมีปราสาทเมืองต่ำ
ประวัติความเป็นมาของปราสาทหินเมืองต่ำยังไม่ทราบชัดเพราะไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
หรือ ใครเป็นผู้สร้าง มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน
ซึ่งมีอายุอยู่ในราว พ.ศ. 1550-1625 โดย ลักษณะของ
ศิลปะขอมแบบคลังซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1508-1555 ปะปนอยู่ด้วย
ภาพสลักส่วนใหญ่เป็น ภาพเทพในศาสนา ฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า
ปราสาทแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-17
เพื่อใช้เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู
หากต้องการเที่ยวต่อ
จะมีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงอีกหลายแห่ง เช่น
ปราสาทบ้านบุ
แหล่งหินตัด
เตาเผาโบราณ
สำหรับการเดินทางกลับ เราสามารถเลือกเส้นทาง ผ่าน จ.นครราชสีมา
แวะพักสัก 1 คืน ก่อนมุ่งสู่ กทม.
|