|
ตามเส้นทางตาก-แม่สอด
(ทางหลวงหมายเลข 105), ตาก
อุทยานแห่งชาติตากสิน
อุทยานแห่งชาติลานสาง
พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น |
ตั้งอยู่ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก ตามทางหลวงหมายเลข 105 สายตาก-แม่สอด
ห่างจากศาลากลางจังหวัดตาก 12 กม.
เป็นสถานที่รวบรวมศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ และชาวเขา 6 เผ่า ได้แก่ แม้ว
ลีซอ มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง และอีก้อ
จัดเป็นนิทรรศการแสดงเอกลักษณ์ของแต่ละเผ่า
สถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งได้แก่สวนผีเสื้อ
จัดทำเป็นกรงขนาดใหญ่มีผีเสื้อพันธุ์ต่างๆ มากมาย
|
------------------------
|
|
|
เนินพิศวง |
มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินอยู่ถนนสายตาก-แม่สอด
ตรงหลักกม.ที่ ๖๘ มีความแปลกคือ
เมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นไปเองมี
นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์พบว่าเกิดจากภาพลวงตา
เนื่องจกได้มีการวัดระดับความสูงของเนินลูกนี้แล้ว
ปรากฎว่าช่วงที่มองเห็นเป็นที่สูงนั้นมีระดับความสูงต่ำกว่าช่วงที่เห็นเป็นทางขึ้นเนิน
ดังนั้นรถที่เรามองเห็นไหลขึ้นนั้นที่จริงไหลลงสู่ที่ต่ำกว่าแต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่าเหตุใดจึงมองเห็นเป็นภาพลวงตาเช่นนั้นได้ |
|
|
------------------------
แม่น้ำเมย |
(พม่าเรียกแม่น้ำต่องยิน)
จากตัวอำเภอแม่สอดไปทางตะวันตกตามทางหลวงหมายเลข
105 ประมาณ 6 กม. สุดเขตแดนไทยจะถึงแม่น้ำเมย
ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนไทยกับพม่า
แม่น้ำสายนี้น้ำไหลขึ้นมิได้ไหลล่องเช่นแม่น้ำโดยทั่วไป
แม่น้ำเมยมีต้นน้ำอยู่ที่ตำบลพบพระ อำเภอแม่สอด
แล้วไหลผ่านอำเภอแม่ระมาด ท่าสองยาง
ตลอดถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนบรรจบกับแม่น้ำสาละวินแล้วไหลเข้าในเขตพม่าลงอ่าวมะตะบัน
น้ำในลำแม่น้ำเมยจะมีน้อยมากในฤดูร้อน |
|
------------------------
|
ตลาดมูเซอ |
เป็นจุดแวะซื้อของบนเส้นทางตาก-แม่สอดที่ได้รับความนิยมมาก
มีสินค้าจำหน่ายมากมาย
ปัจจะบันมีตลาดมูเซอแห่งใหม่เปิดที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา
ห่างจากตลาดมูเซอเก่าประมาณ 1 กม. มีที่จอดรถ
กว้างขวางและปลอดภัย
แต่มีสินค้าน้อยกว่าและบรรยากาศไม่คึกคักเท่า |
|
|
------------------------
ตลาดริมเมย |
เป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมย
ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของสหภาพพม่า
เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทยและพม่า
เช่น หน่อไม้แห้ง ปลาแห้ง ปลาหัวยุ่ง เห็ดหอม
ถั่วเครื่องหนัง ผ้าซาติน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี เช่น หยก ทับทิม
และพลอยสีจากพม่านักท่องเที่ยวชาวไทยที่ประสงค์จะข้ามไปยังประเทศพม่าต้อง
ทำหนังผ่านแดนชั่วคราว โดยนำบัตรประชาชน
หรือบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้
พร้อมสำเนา 1 ชุด และรูปถ่ายติดบัตร 2 รูป
พร้อมค่าผ่านแดนคนละ 20 บาท
ไปที่สำนักงานออกบัตรของอำเภอแม่สอด
และเมื่อข้ามผ่านแดนไปแล้วจะต้องเสียค่าผ่านแดนที่ฝั่งพม่าอีกคนละ
10 บาท เวลาผ่านแดน
ปกติเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-18.00
น. ห้ามนำกล้องถ่ายรูปเข้าไปด้วย
นอกจากนี้
นักท่องเที่ยวสามารถข้ามไปเมียวดีได้
โดยนั่งเรือข้ามฟากที่มีบริการตั้งแต่ 07.00-17.30
น.
เมื่อถึงฝั่งพม่าจะต้องเสียค่าเหยียบแผ่นดินคนละ
15 บาท Thai-Tour.com
แนะนำให้ซื้อสินค้าเหล่านี้ทางฝั่งไทย
เพราะสินค้าทั้งคุณภาพและราคาแทบจะไม่แตกต่างกันเลย
เมื่อนักท่องเที่ยวข้ามมาฝั่งพม่า (เมืองเมียวดี )
จะพบสินค้าต่างๆ คล้ายกับตลาดริมเมย ควรเดินดูรอบๆ
และพิจารณาให้ละเอียดหน่อย
เพราะสินค้าบางอย่างมีการทำลอกเลียนแบบ
ไม่ไกลจากด่านตรวจฝั่งพม่านัก จะมีตลาดสดของพม่า
นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถรับจ้างแถวๆ
นั้นไปเที่ยวชมได้
รถรับจ้างที่นั่นส่วนใหญ่จะเป็นรถดัดแปลง
เหมือนรถมอเตอร์ไซด์พ่วงกับรถเข็ญของบ้านเรา |
|
------------------------
ศาลเจ้าพ่อพะวอ |
ตั้งอยู่บนเนินเขาพะวอบนถนนสายตาก-แม่สอดบริเวณกม.ที่
๖๒-๖๓
ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือตากและแม่สอดมาก
เล่ากันว่าท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง
สมเด็จพระนเรศวรทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมา
เพื่อคอยป้องข้าศึกมิให้ข้ามเข้ามาได้
เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวออยู่อีกด้านหนึ่งของเขา
แต่เมื่อตัดถนนไปทางใหม่จึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่
มีผู้เล่าว่าศักดิ์สิทธิ์มาก
ถ้าใครไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่างๆ
เช่นรถเสีย เจ็บป่วย
หรือหลงทางและเพราะเหตุที่เจ้าพ่อพะวอเป็นนักรบจึงชอบเสียงปืน
ผู้ที่เดินทางผ่านนิยมยิงปืนถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ
หรือมิฉะนั้นก็จะจุดประทัดหรือบีบแตรรถถวาย |
|
------------------------
ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน |
อยู่ทางขวามือริมทางสายตาก-แม่สอด ตรงหลักกม.ที่ ๗๑-๗๒
เป็นศาลเจ้าริมทางลักษณะเดียวกับศาลเจ้าพ่อพะวอศาลนี้เพิ่งสร้างเสร็จ
และทำพิธีเปิดเมื่อปลายปี 2523
เหตุที่สร้างศาลนี้เล่ากันว่ามีคหบดีผู้หนึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคอัมพาตมาช้านานแล้วได้ฝันว่ามีผู้มาบอกให้สร้างศาลเจ้าพ่อขุนสามชนขึ้นตรงบริเวณที่เป็นศาลปัจจุบัน
คหบดีผู้นั้นจึงสร้างศาลขึ้นถวายเรียกว่าศาลเจ้าพ่อขุนสามชน
นับแต่นั้นมาอาการของคหบดีผู้นั้นก็เป็นปกติ
ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือศาลนี้มาก |
|
------------------------
วัดชุมพลคีรี |
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอแม่สอด
เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี
ภายในประดิษฐานเจดีย์สร้างใหม่ซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองของพม่าภายในโบสถ์ประดิษฐาน
พระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย
ส่วนในวิหารเป็นที่เก็บกลองโบราณอายุกว่า 200 ปี |
|
------------------------
วัดไทยวัฒนาราม |
อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่สอด
ประมาณ 3-4 กม.ตามทางไปตลาดริมเมย
วัดนี้แต่เดิมเรียกว่า วัดแม่ตาวเงี้ยว
หรือวัดไทยใหญ่ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด
จ.ตาก
เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานของชาวไทยใหญ่
ประเพณีศิลปวัฒนธรรมพิธีกรรมต่างๆ
ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศพม่า
วัดนี้เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2410
โดยนายมุ้ง (เป็นชาวพม่า
รัฐฉานที่อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่ อ.แม่สอด)
ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ตาว
ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า "หมื่นอาจคำแหงหาญ"
และพวก เป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้าง ใช้ชื่อว่า
วัดแม่ตาวเงี้ยวหรือวัดไทยใหญ่ จนถึง พ.ศ. 2500
ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้วัดแม่ตาวเงี้ยว
เป็นวัดพระพุทธศาสนาในสังกัดกรมศาสนา
และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดไทยวัฒนาราม
ในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามุนีซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุนีอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมัณฑเลย์
ประเทศพม่า นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาว
จ.ตาก ศรัทธาเลื่อมใสกันมาก
นอกจากนี้มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์ขนาดใหญ่
พระพุทธรูปหินอ่อน วิหารเจดีย์สีชมพู
และศาลาการเปรียญลายไม้ฉลุรูปแบบพม่า |
|
------------------------
พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่ |
ตั้งอยู่เขตบ้านวังตะเคียน การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับคอกช้างเผือก
ผ่านหมู่บ้านท่าอาจ
และหมู่บ้านวังตะเคียนไปก็จะพบทางแยกขวามือที่ศาลาพักร้อน มีป้ายบอก
พระธาตุหินกิ่ว 3 กม.
พระธาตุหรือเจดีย์หินกิ่วเป็นความมหัศจรรย์จากธรรมชาติ
คือก้อนหินมหึมาที่มีความสวยน่าทึ่งตั้งอยู่บนชะง่อนผาเป็นหินที่กิ่วคอดเหมือนจะขาดออกจากกันบนหินนั้น
มีเจดีย์ทรงมอญสร้างไว้มีขนาดพอดีกับหิน
นับเป็นสิ่งที่ปรากฏการณ์จากธรรมชาติและศักดิ์สิทธิ์
ชาวจังหวัดตากและใกล้เคียงหลังไหลมากราบไหว้เสมอ
เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี จะมีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุหินกิ่ว
ชาวบ้านจะเรียกหินมหัศจรรย์นี้ว่า เจดีย์หินพระอินทร์แขวน |
|
------------------------
วัดมณีไพรสณฑ์ |
อยู่ในตลาดแม่สอด
วัดนี้มีเจดีย์วิหารสัมพุทเธ ซึ่งมีลักษณะแปลก คือ
บนองค์เจดีย์มีเจดีย์เล็กๆ ล้อมรอบถึง 233 องค์
และมีพระพุทธรูปบรรจุอยู่ถึง 512,028 องค์
นอกจากนี้ภายในวัดยังมี โบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 200
ปี ที่บริเวณหน้าบันและหลังคามีลายไม้ฉลุสวยงาม
และบริเวณโดยรอบวัดมีซุ้มและศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ
เช่น หลวงพ่อสังกัจจาย
พระพุทธรูปปูนปั้นปางพุทธไสยาสน์ เป็นต้น |
|
------------------------
คอกช้างเผือก |
ตั้งอยู่เขตบ้านท่าอาจ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก
การเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 105
ก่อนถึงตลาดริมเมยประมาณ 1 กม.
เลี้ยวขวาผ่านหน้าวัดไทยวัฒนารามตามทางลาดยางประมาณ
2 กม. จะพบทางแยกซ้ายมือประมาณ 100 ม.
จะพบโบราณสถานคอกช้างเผือก หรือเพนียดช้าง
ทำเป็นกำแพงก่อด้วยอิฐมอญ มีความสูงประมาณ 1 ม.เศษ
กว้างประมาณ 25 ม. ยาวประมาณ 80 ม.
ปากทางเข้าของเพนียดอยู่ติดเชิงเขาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
กำแพงเพนียดที่ปิดกั้นคล้ายรูปขวดหมึกหันหลังให้กับแม่น้ำเมยด้านตะวันตก
ประวัติตามตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พงศาวดารกล่าวว่า มะกะโท (คนเลี้ยงช้าง)
เป็นชาวมอญได้เข้ารับราชการเป็นขุนวัง
ได้ลักพาตัวพระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแห่งหนีไปอยู่กรุงหงสาวดี
ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าพระเจ้าฟ้ารั่ว
เมืองตากเป็นชานเมืองของกรุงสุโขทัย
ได้มีช้างเผือกอาละวาดพ่อขุนรามคำแหงทรงทราบ
พระองค์ทรงประกอบพิธีเสี่ยงทายและทรงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า
หากช้างเผือกเชือกนี้เป็นช้างคู่บุญบารมีกษัตริย์นครใดก็ขอให้บ่ายหน้าไปทางทิศนั้น
สิ้นคำอธิษฐาน
ช้างเผือกเปล่งเสียงร้องกึกก้องพร้อมบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตก
พ่อขุนรามคำแหงทราบทันทีว่าเป็นช้างเผือกคุ่บุญบารมีของพระเจ้าฟ้ารั่ว
จึงให้ทหารนำสาส์นไปแจ้งว่าจะนำช้างมามอบให้
ทหารที่ติดตามช้างเผือกมาจนถึงบริเวณเชิงเขาจึงนำเพนียดล้อมเอาไว้
และได้ทำพิธีมอบช้างให้กับพระเจ้าฟ้ารั่ว ณ
ที่แห่งนี้
|
------------------------
ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก
(ดอยมูเซอ) |
ตำบลพะวอ
อำเภอแม่สอด อยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ การเดินทาง
จากทางหลวงหมายเลข 105 ถึงบริเวณกม.ที่ 25 - 26
จะมีทางลูกรังแยกซ้ายเลียบไปตามไหล่เขาอีก 3 กม.
เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 800
ฟุต อาณาบริเวณของดอยมูเซอ เริ่มตั้งแต่กม.ที่ 25-26 มีเนื้อที่ทั้งหมด
26,500 ไร่ ชาวเขาที่อาศัยอยู่ดอยมูเซอ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ แม้ว และลีซอ
และชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ล้วนแต่อพยพมาจากมณฑลทางตอนใต้ของประเทศจีน
และเมืองปัน ในเขตรัฐฉานของพม่า รวมทั้งเขตเชียงตุงด้วย
ภาษาที่พูดจึงมีทั้งภาษาจีน-ธิเบต-พม่า ผสมกัน ไม่มีภาษาเขียน
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ชายมักจะพูดได้หลายภาษากว่าผู้หญิง
อาชีพของชาวเขาเหล่านี้ ได้แก่ การเพาะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าว ฝิ่น
มีการเลี้ยงสัตว์บ้าง เช่น หมู ไก่
ทุกปีชาวเขาแต่ละเผ่าจะจัดงานรับวันปีใหม่ขึ้น
โดยมีหมอผีประจำหมู่บ้านเป็นผู้กำหนดวัน ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ชาวเขาแต่ละเผ่าอาจจะจัดงานนี้ไม่พร้อมกันก็ได้
แต่ช่วงที่มักจะจัดงานนี้ได้แก่
ช่วงเทศกาลตรุษจีนส่วนระยะเวลาของการจัดงานขึ้นอยู่กับว่าผลผลิตที่ได้ในปีที่แล้วว่าดีหรือไม่
ถ้าผลผลิตดีก็อาจจะจัดงานได้หลายวัน
แต่ถ้าผลผลิตไม่ดีก็จะจัดงานเพียงสามวันเท่านั้น ชาวเขาเผ่าที่น่าสนใจ
ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ชาวเขาเผ่านี้นับถือผีกันมาก เช่น ผีบรรพบุรุษ
ผีเหย้าผีเรือน ผีประจำหมู่บ้าน
ทั้งหญิงทั้งชายต่างมีอิสระในการเลือกคู่ครองไม่มีการบังคับ
แต่สำหรับคนที่แต่งงานแล้วจะทำตัวอย่างหนุ่มสาวไม่ได้
มิฉะนั้นทั้งคู่จะต้องเสียค่าปรับให้แก่หมอผี ในงาน "กินวอ"
หรืองานวันขึ้นปีใหม่นี้ มูเซอดำทุกคนจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่มีการจุดประทัด
ยิงปืน (แก็ป) เป่าแคน ดีดซึงในวงเต้นรำ และเป็นการต้อนรับคนต่างถิ่น
และชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่เข้าไปดูงาน "กินวอ" ด้วย การเต้นรำของเผ่ามูเซอ
เรียกว่า "จะคึ"
จะเต้นกันตลอดทั้งวันทั้งคืนผลัดเปลี่ยนกันเต้นอยู่ตลอดเวลาไม่ให้เสียงกระทืบเท้าขาดหายไปจนกว่างานจะเลิก
ในช่วงที่มีงานนี้ทุกคนจะหยุดทำงาน ถ้าใครทำจะถูกปรับ
ยกเว้นงานกรีดยางฝิ่นเท่านั้น และสิ่งที่ทุกคนต้องทำคือ
การออกเดินทางไปเยี่ยมญาติที่หมู่บ้านอื่น แม้ว่าจะไกลหรือใกล้ก็ตามงาน "กินวอ"
นี้ จะมีการเลี้ยงผีและฆ่าหมูเลี้ยงผีกันทุกวันจนกว่างานจะเลิก
สิ่งที่ห้ามอีกอย่างหนึ่ง คือ การดื่มสุราในระหว่างที่มีงาน
ยกเว้นคนต่างถิ่น แต่ไม่ห้ามดื่มเหล้าข้าวโพดอีกเผ่าหนึ่งที่น่าสนใจ ได้แก่
เผ่าลีซอ บ้านของชาวเขาเผ่าลีซอจะปลูกติดดิน ในบ้านจะแบ่งเป็นห้อง ๆ
ผิดกับบ้านของชาวเขาเผ่าอื่น ๆ ที่โล่งไม่กั้นห้องไว้เป็นสัดส่วน
ชาวเขาเผ่านี้นับถือผีเช่นเดียวกับเผ่าอื่น ๆ
ต้องให้หัวหน้าครอบครัวบูชาผีทุกวัน ผีหลวงเป็นผีที่ชาวลีซอกลัวที่สุด
จะปลูกศาลปักธงหางว่าวมีรั้วรอบขอบชิดไว้บูชาบนยอดดอยสูง เชื่อกันว่า
ผีหลวงเป็นผีที่ดุร้าย ถ้าทำให้โกรธจะบันดาลให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
หรือไม่ก็ผลักก้อนหินใส่หมู่บ้าน ส่วนผีอีกอย่างหนึ่ง คือ ผีเมือง
เชื่อว่าไม่ดุร้าย คอยปกป้องกันภัยให้
ดังนั้นในงานวันขึ้นปีใหม่วันแรกของชาวเขาเผ่าลีซอจะเซ่นไหว้ผีหลวง ผีเมือง
ผีบรรพบุรุษ ตอนบ่ายมีพิธีเต้นรำคล้าย ๆ กับการเต้น "จะคึ" ของเผ่ามูเซอดำ
แต่นุ่มนวลกว่า ในงานวันขึ้นปีใหม่มักจะเป็นงาน
ที่หนุ่มสาวมีโอกาสได้เลือกคู่กันไปโดยปริยาย
แต่ถ้าปีใดเกิดสุริยคราสแล้วถือว่าเป็นนิมิตร้าย งานแต่งงาน
ที่จะจัดขึ้นต้องยกเลิกทั้งหมด
ท่านที่ประสงค์จะเดินทางไปชมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาในศูนย์พัฒนาฯนี้
ถ้าต้องการพักแรม รวมทั้งชมการแสดงของชาวเขาแล้วควรติดต่อไปที่
หัวหน้าศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ตู้ ปณ. 2 อำเภอเมือง จังหวัดตาก
63000 |
------------------------
สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ |
ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา
เป็นสถานที่ทดลองวิจัยเมล็ดพันธุ์กาแฟ ชา ผลไม้
ไม้ ผักต่างๆ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
ถึงเดือนธันวาคม
นักท่องเที่ยวจะได้ชมดอกบัวตองบนเทือกเขาซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีทดลองพืชสวนซึ่งจะบานสะพรั่งเต็มที่ |
------------------------
ร้านขายผลิตผลของชาวไทยภูเขา |
ตั้งอยู่ริมทางสายตาก-แม่สอด (ทางหลวง ๑๐๕ ) บริเวณกม.ที่ ๒๙
ผลิตผลที่ชาวไทยภูเขานำมาขายได้แก่ พืชผลต่าง ๆ ที่เพราะปลูกได้
จะเริ่มขายตั้งแต่เช้าถึงเวลาบ่าย |
------------------------
ทวีชัยแลนด์ |
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแบบธรรมชาติ
อยู่ริมถนนสายตาก-แม่สอด บริเวณกม.ที่ 78
ภายในเป็นสวนไม้ดอกไม้ผลที่ร่มรื่นมีกรงเลี้ยงสัตว์ป่านานาชนิด
เหมาะที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนปิกนิก
ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 15 บาท เด็ก 10 บาท มีบ้านพัก 30
หลัง ราคาตั้งแต่ 400-2,600 บาท
ติดต่อจองที่พักได้โดยตรงที่ บริษัท ทวีชัยแลนด์
457/1 ถนนอินทรคีรี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โทร.
(055) 531-287, 531-569 หรือที่ 60 หมู่ 6 ถนนตาก-แม่สอด
อ.แม่สอด จ.ตาก |
------------------------
ไร่สรการฤทธิรณ |
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแบบธรรมชาติ ทางเข้าอยู่ใกล้กับทวีชัยแลนด์
บริเวณที่ตั้งของไร่อยู่ด้านหลังของทวีชัยแลนด์ทิวทัศน์โดยรอบประกอบด้วยภูเขาลูกเล็กใหญ่สลับกันไปสวยงาม
ภายในมีสวนดอกไม้ มีบ้านพักหลายหลังไว้บริการนักท่องเที่ยว
รายละเอียดติดต่อ โทร. (055) 531-596 |
------------------------
น้ำตกผาเท
|
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติลานสาง
เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายในเส้นทางเดินเท้า
อยู่สูงขึ้นไปจากลำห้วยห่างจากน้ำตกผาน้อยประมาณ
1,350 เมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน สูงประมาณ 25
เมตร
กระแสน้ำจะไหลตามซอกเขาอย่างรวดเร็วและตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างจนเกิดเสียงดังไปทั่วบริเวณ
บรรยากาศรอบน้ำตกจะล้อมรอบไปด้วยผืนป่าดิบแล้ง
และป่าเบญจพรรณ
บริเวณรอบน้ำตกจะมีที่สำหรับนั่งพัก
มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำ |
------------------------
อำเภอแม่สอด |
อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 86 กม. ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ.
2441 เดิมชื่อพระหน่อเก่ ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขา
ส่วนหนึ่งเป็นเทือกเขาในฝั่งประเทศไทย
อีกส่วนหนึ่งเป็นเทือกเขาฝั่งประเทศพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986
ตรกม.
ประชากรมีทั้งชาวเขาและคนที่อพยพจากอำเภอเมืองเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่รวมทั้งชาวพม่าที่มีบุตรภรรยาเป็นคนไทยด้วย
ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัด
จะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชน
ที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้นไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย
ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกันขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบ
ท้องที่อำเภอแม่ระมาดอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยก็ได้
|
------------------------ |
|
|
|
|
|