จากตัวเมืองเชียงรายตามทางหลวงหมายเลข
110 ประมาณ 48 กม. ถึงหลัก กม.ที่
871-872 แยกเข้าทางหลวง 1149
ที่บริเวณบ้านห้วยไคร้
ซึ่งเป็นเส้นทางราดยางขึ้นสู่ดอยตุงลัดเลาะไปตามภุมิประเทศที่งดงามและผ่านสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง
พระตำหนักดอยตุง
|
อยู่บริเวณ
กม. ที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 1149
เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระ-ตำหนักเป็นอาคารสองชั้น
มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของสวิส
มีการแกะสลักไม้ตามกาแล
เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง
ๆ ฝีมือช่างชาวเหนือ |
|
-----------------------------------------------
สวนแม่ฟ้าหลวง
|
อยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุง
มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่
ออกแบบเป็นรูปลายผ้าพื้นเมืองใช้ต้นซัลเวียดอกสีแดง
ขาว
และม่วงเข้มสวยสดสะดุดตามาก
ตรงกลางมีรูปปั้นต่อเนื่อง
ฝีมือปั้นของคุณมีเซียมยิปอินซอย
นอกจากจะใช้ไม้ใบไม้ดอก
แล้วยังใช้ไม้ยืนต้น
และซุ้มไม้เลื้อยอีกมากกว่า
70 ชนิด
จัดทางเดินไว้เป็นสัดส่วนมีศาลาชมวิวและร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก
โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
สวนแม่ฟ้าหลวงสร้างโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เพื่อถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 6.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม คนละ 20 บาท |
|
-----------------------------------------------
พระธาตุดอยตุง
|
ตั้งอยู่บริเวณ
กม.ที่ 17.5
ของทางหลวงหมายเลข1149
เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า)
ของพระพุทธเจ้า
ซึ่งนำมาจากมัธยมประเทศ
นับเป็นครั้งแรกที่
พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทยเมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรม-สารีริกธาตุนี้
ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า
ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา
ปักไว้บนยอดดอย
ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน
ก็กำหนดหมายเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้นด้วยเหตุนี้
ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทยจึงปรากฏนามว่า
ดอยตุงจนบัดนี้
พระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่ในกิ่งอำเภอแม่ฟ้า
หลวงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ
เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงนี้
จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศใกล้เคียง
เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน
ประเทศสหภาพพม่า
ชาวหลวงพระบางเวียงจันทน์
เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี |
|
-----------------------------------------------
สถูปดอยช้างมูป
|
ตั้งอยู่บนดอยช้างมูบ
ริมถนนสายพระธาตุดอยตุง
บ้านผาหมี
ห่างจากทางแยกวัดน้อยดอยตุงประมาร
4 กม. ตำนานสิงหนวัติ
และตำนานโยนกนาคพันธ์กล่าวถึงดอยช้างมูบว่า
ในรัชกาลที่ 10
พระเจ้าชาติราย
ได้มีกัมระปติสะโลเทพบุตร
นำไม้นิโครธมาปลูก ณ
ดอยช้างมูบ
ต้นไม้นั้นเมื่อโตได้สูง
7 ศอก ได้แตกสาขาเป็น 4 กิ่ง
สามารถให้ร่มเงาให้แก่คนได้
20 คน
ประชาชนมีความเชื่อว่าหากนำไม้มาค้ำกิ่งนิโครธน้ำจะทำให้บรรลุความปรารถนาเช่นเดียวกับต้นกัลปพฤกษ์
กล่าวคือ ทิศตะวันออก
ได้บุตรสมประสงค์
ทิศเหนือได้ทรัพย์
ทิศตะวันตกเจริญรุ่งเรือง
และทิศใต้อายุยืนนาน
ปัจจุบันคงเหลือเพียงพระสถูปช้างมูบเป็นเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่
ซึ่งมีลักษณะเหมือนช้างหมอบอยู่
สภาพโดยเป็นต้นโพธิ์ใหญ่
และต้นสนซึ่งใช้ปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ |
|
-----------------------------------------------
จุดชมวิว
|
บริเวณดอยตุงมีจุดชมวิวที่สวยงามหลายแห่ง
ริมทางหลวงหมายเลขที่1149
มีจุดชมวิวที่กม. 12 และกม.14
นอกจากนี้ตามเส้นทาง
วัดน้อยดอยตุง-บ้านผาหมี
ซึ่งเป็นถนนซึ่งทอดยาวไปตามแนวเขาผ่านยอดดอยหลายลูก
มีจุดชมวิวซึ่งมองเห็นทิวทัศน์
ได้กว้างไกล เช่น
จุดชมวิวบนดอยช้างมูบ
ดอยผาฮี้ และดอยผาห่ม |
-----------------------------------------------
หมู่บ้านชาวเขา
|
ระหว่างทางขึ้นสู่ยอดดอยตุง
มีหมู่บ้านขาวเขาเผ่าต่างๆ
ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถแวะชม
ได้สะดวก เช่น
หมู่บ้านชาวเขาเผ่าอีก้อ
มูเซอ และจีนฮ่อ
นอกจากนี้ยังมีแหล่งขายสินค้าหัตถกรรมของชาวเขา
อยู่บริเวณกม.ที่ 14
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับ
เครื่องแต่งกายชาวเขาและเครื่องเงิน
ซึ่งนักท่องเที่ยวมัก
แวะซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก |
|
-----------------------------------------------
อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ไร่
|
ตั้งอยู่ริมเส้นทางหลวงหมายเลข
1149 ประมาณ กม.ที่ 4
อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ไร่เป็นที่เก็บกักน้ำไว้สำหรับใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรม ริมขอบอ่างเป็นที่ตั้งสถานีวิจัยกรมวิชาการเกษตร
และสถานีทดลองเพาะและขยายพันธุ์ไม้ตัดดอก
ได้แก่ เบิร์ดออฟพาราไดส์
เฮลิโคเนีย และขิงแดง
บริเวณขอบอ่างได้รับการปรับปรุงบริเวณปลูกไม้ดอกไม้ประดับงดงาม
เหมาะสำหรับและพักกลางทาง |
-----------------------------------------------
อ่างเก็บน้ำป่ากล้วย
|
ตั่งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข
1149 ห่างจากจุดชมวิว กม.ที่ 12
ประมาณ 2 กม.
อ่างเก็บน้ำป่ากล้วย
กักเก็บน้ำไว้สำหรับใช้ในศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุง
ริมอ่างเป็นแปลงทดลองเพาะขยายพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาว
โดยเฉพาะดอกซัลเวีย
เป็นจุดพักริมทางและชมทัศนียภาพระหว่างพระตำหนักดอยตุง
กับพระธาตุดอยตุง |
|