โรงพยาบาลบรรเทาทุกข์โบราณภาคเหนือ |
เลขที่ 78/1 ถนนวัวลาย ต.หายยา มูลนิธิหมอชีวกโกมารภจจ์
ให้บริการตรวจรักษาโรคทุกชนิดตามหลักวิชาการแพทย์แผนโบราณ
ใช้ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ การอบไอยาสมุนไพร และนวดไทยบำบัด
นอกจำนั้นยังมีการอบรมสั่งสอน การแพทย์แผนโบราณสาขาเภสัชกรรม
สาขาเวชกรรม และการนวดไทย
พื้นฐานให้ผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
เปิดทำการทุกวันยกเว้นวันพระ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
โทร. 053-275085 |
-----------------------------------------------------------------------
|
บ้าน 100
อัน 1,000 อย่าง (บ้านร้อยอันพันอย่าง) |
เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมงานแกะสลักไม้
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้สัก
งานแต่ละชิ้นได้รับการกสลักอย่างวิจิตรบรรจง
เช่นไม้ขี้เหล็กสลักภาพครูบาศรีวิชัยไม้ขี้เหล็กเนื้อแข็งมากและแกะยากจนอาจทำให้เครื่องมือเสียได้
ผู้แกะใช้ไม้เนื้อนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่ครูบาศรีวิชัยได้ต่อสู้ฝ่าฟันมา
นอกจากนี้ยังมีไม้แกะพญางิ้วดำซึ่งเป็นไม้หายาก
ค่าเข้าชม 100 บาท นักศึกษามาเป็นคณะคนละ 50 บาท
นักเรียนมาเป็นคณะคนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท
รายละเอียดติดต่อ โทร. 053-355819, 053-822649
การเดินทาง อยู่ในพื้นที่ อ. หางดง ริมทางหลวงสาย 108
เชียงใหม่-สันป่าตอง-จอมทอง ระหว่างหลักกิโลเมตรที่
19-20 หากมาจากเชียงใหม่จะอยู่ฟากซ้ายมือ
และจากประตูเชียงใหม่มีรถโดยสารสีเหลืองผ่านหลายสาย
ได้แก่ สายทุ่งเสี้ยว, หนองตอง, จอมทอง, บ้านกาด,
มะขามหลวง เป็นต้น |
|
-----------------------------------------------------------------------
|
หมู่บ้านทำเครื่องเงิน
|
อยู่บริเวณถนนวัวลาย
มีของที่ทำจากเงิน
เช่น หีบบุหรี่
ช้อนส้อม ถาดผลไม้
เชี่ยนหมาก ฯลฯ จำหน่าย
ลวดลายประดิษฐ์ล้วนแต่ประณีตบรรจง
นอกจากนี้ยังมีโรงงานอยู่บริเวณเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง
และถนนช้างคลาน |
-----------------------------------------------------------------------
|
โรงงานทำเครื่องเขิน |
เครื่องเขินเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอย่างหนึ่งของเชียงใหม่
โดยมากจะทำเป็นรูปภาชนะเบาๆ
เช่น ถ้วย ขัน
กล่องบุหรี่ ถาด แจกัน
เป็นต้น
เชียงใหม่มีโรงงานทำเครื่องเขินที่กม.ที่
7 สายเชียงใหม่-หางดง (อยู่ถัดจากโรงงานสังคโลกไปเล็กน้อย)
และแถวถนนนันทาราม
ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง
ถนนช้างคลาน |
-----------------------------------------------------------------------
|
หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง |
เป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆ
เช่น หม้อแกง น้ำต้น
หม้อน้ำ แจกัน เป็นต้น
ปัจจุบันได้มีการพัฒนากรรมวิธี
ในการผลิตและรูปแบบให้มีสีสันสดขึ้น
หมู่บ้านนี้เป็นหนึ่งในโครงการหมู่บ้านหัตถกรรมของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีศูนย์แสดงตัวอย่างหัตถกรรม
และศูนย์ให้ข่าวสารด้วย
บ้านเหมืองกุง
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด
ประมาณ 10 กม.
และระยะทางห่างจากถนนสาย
วงแหวน (เส้นทาง หลวงหมายเลข
11-สนามบิน) ประมาณ 6 กม.
โดยอยู่ก่อนถึงทางแยกตัดใหม่สายหางดง-สะเมิงเพียงเล็กน้อย |
-----------------------------------------------------------------------
|
บ้านถวาย |
อยู่ถัดจากเหมืองกุงไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด
ประมาณหลักกม.ที่ 15
ถึงห้องสมุดประชาชนอำเภอหางดง
มีทางแยกซ้ายเข้าหมู่บ้าน
มีโรงงานผลิตไม้แกะสลักเพื่อจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง
มีชื่อเสียงในการทำผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่า
ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมการผลิต
และซื้อเป็นสินค้าที่ระลึกได้ |
|
-----------------------------------------------------------------------
|
เวียงท่ากาน |
เป็นเมืองเก่าแก่สมัยหริภุญชัย
เริ่มสร้างราวพุทธศตวรรษที่
13
สมัยพระเจ้าอาทิตยราชสืบต่อมาถึงสมัยพญามังราย
โบราณสถานสำคัญอยู่บริเวณกลางเมืองในเขตโรงเรียนและวัดท่ากาน
มีพระเจดีย์
ฐานวิหารที่ก่อด้วยอิฐ
และศิลาแดง
โบราณวัตถุมี
พระพุทธรูปหินทราย
พระพูทธรูปดินเผา
และพระพิมพ์จำนวนมาก
นอกจากนั้นยังพบซากวัด
สถูปเจดีย์ เศษอิฐ
และกระเบื้องดินเผา
เวียงท่ากานอยู่ในเขตท้องที่บ้านท่ากาน
ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง
ห่างจากเชียงใหม่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข
108 ประมาณ 34 กม.
ผ่านอำเภอสันป่าตองแล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านทุ่งเสี้ยว
เข้าไปอีกประมาณ 2 กม. |
|
-----------------------------------------------------------------------
|
หมู่บ้านทอผ้าซิ่นตีนจก |
อยู่ห่างจากอำเภอแม่แจ่มประมาณ
3 กม. ตรงบริเวณหมู่ที่ 4
ตำบลท่าเผา
มีการทอผ้าซิ่นตีนจกประมาณ
150 ครอบครัว |
-----------------------------------------------------------------------
|
วัดพุทธเอิ้น
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลช่างเคิ่ง
อำเภอแม่แจ่ม
แปลกจากที่อื่น คือ มี
"โบสถ์น้ำ"
สร้างในสระสี่เหลี่ยม
โดยปักเสาลงในน้ำล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง
บริเวณรอบโบสถ์จนถึงกำแพง
เรียกว่า "อุทกสีมา"
(ความหมายเหมือนกับ "ขันธสีมา"
ของโบสถ์บนบก)
ตามประวัติกล่าวว่า
วัดพุทธเอิ้นก่อสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์
เมื่อกว่า 200 ปีมาแล้ว |
-----------------------------------------------------------------------
|
ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
|
ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่-หางดง
ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
เป็นที่รวม
ศิลปะและวัฒนธรรมของลานนาไทยมารวบรวมไว้
เมื่อไปถึงบริเวณจะเห็นบ้านทรงไทยหลายหลัง
ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทั้งสิ้น
อีกทั้งมีไม้แกะสลักที่สวยงามแบบไทยประดับประดา
ที่ประตูและหน้าต่าง
ภายใน
บริเวณมีร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้าน
และมีหมู่บ้านชาวเขาให้เที่ยวชม
ส่วนในตอนกลางคืนจะมีการรับประทานอาหารเย็นกัน
ตามที่เรียกกันว่า "ขันโตก"
โดยจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมารับประทานขันโตกเป็นประจำทุกวัน
ในขันโตกจะมีอาหารของทางภาคเหนือล้วน
ๆ เช่น แกงฮังเล
น้ำพริกอ่อง แคบหมู ฯลฯ
โดยนักท่องเที่ยวจะรับประทานอาหาร
และชมการแสดงฟ้อนพื้นเมืองไปพร้อม
ๆ กัน
เมื่อเสร็จสิ้นการแสดงฟ้อนรำพื้นเมืองแล้ว
นักท่องเที่ยวยังจะได้ชมการแสดงของชาวเผ่าต่าง
ๆ ซึ่ง เป็นชาวเขาจริงๆ
และพำนักอยู่ในบริเวณศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
การแสดงของชาวเขานี้น่าสนใจมากเพราะ
แต่ละเผ่ามีการแสดงที่ไม่เหมือนกัน
โดยเฉพาะการแต่งกายและเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน
ชาวเขาที่มาแสดงมี 6
เผ่า ด้วยกันคือ
กะเหรี่ยง ม้ง (แม้ว)
อีก้อ มูเซอร์ เย้า และ
ลีซอ
โดยเฉพาะชาวเผ่าอีก้อ
ซึ่งจะมีการละเล่นของเผ่าที่สนุกสนาน
รวมทั้งการแสดงในลานสาวกอด
ให้นักท่องเที่ยวชมทุกวันตั้งแต่
เวลา 09.00-22.00 น.
รายละเอียดสอบถาม โทร.(053)
274540, 275097
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถชมการแสดงดังกล่าวได้ที่ลานขันโตก
โรงแรมเพชรงาม โทร 272080-5
คุ้มแก้วพาเลช โทร 214315
ขันโตกไกรทอง โทร 331515, 331695
และ
ขันโตกบ้านร้อยจันทร์
โรงแรมปางสวนแก้ว โทร
224444 ได้อีกด้วย |
-----------------------------------------------------------------------
|
โรงงานทำเครื่องเคลือบดินเผาสังคโลก |
อยู่ห่างจากศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
ไปตามถนนสายเชียงใหม่-หางดง
ประมาณ 1 กม.
จะเห็นป้ายขนาดใหญ่ทางซ้ายมือ
แสดงให้เห็นที่ตั้งของโรงงานทำเครื่องเคลือบดินเผาสังคโลก
เครื่องสังคโลก
เป็นเครื่องปั้นดินเผา
ชนิดพิเศษ
และมีชื่อเสียงมาก
มีลักษณะเป็นสีเขียว
เวลาทำใช้ปั้นด้วยมือและเคลือบน้ำยาแล้วเขาเตาเผา
เป็นวิธีเดียวกันกับ
ที่ทำมาแล้วหลายชั่วศตวรรษ
สินค้า
สำเร็จรูปที่เป็นสังคโลกนี้นิยมกันแพร่หลายทั่วประเทศและทั่วโลก
มีตั้งแต่ของใช้จนกระทั่งถึงโป๊ะตะเกียง
แจกัน จาน
ที่เขี่ยบุหรี่
ขันและชุดดินเนอร์อื่นๆ
หาชมได้ตามโรงงานแถวถนนเชียงใหม่-สันกำแพงและถนนโชตนา |
-----------------------------------------------------------------------
|
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร |
อยู่บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด
ผ่านอำเภอหางดงถึงอำเภอจอมทอง
ประมาณ 58 กม.
เป็นวัดเก่าแก่อายุประมาณ
500 ปีเศษ |
|
-----------------------------------------------------------------------
|
วัดพระธาตุดอยน้อย |
อยู่ ต.ดอยหล่อ
อ.จอมทอง
ตามทางหลวงหมายเลข 108 กม.ที่
43-44 เป็นวัดโบราณ
อายุกว่า 1,300 ปี
มีประวัติว่าสร้างโดยพระนางจามเทวี
เมื่อปี พ.ศ. 1201
มีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย
ได้แก่ พระบรมธาตุ
โข่งพระ (กรุพระ) โบสถ์
วิหาร
และพระพุทธรูปหินอ่อนแกะสลัก
ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่มากมายบริเวณวัดตั้งอยู่บนเขา
ติดลำน้ำปิง
มองเห็นทิวทัศน์โดยรอบทุกทิศ |
|
-----------------------------------------------------------------------
|
บ้านไร่ไผ่งาม
|
เป็นหมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายทอมือแบบโบราณที่มีคุณภาพ
และมีชื่อเสียงของจังหวัด
ปัจจุบันได้รวมกลุ่มกันผลิตที่บ้าน
ป้าแสงดา บันสิทธ์
อดีตศิลปินแห่งชาติ
ผู้ถ่ายทอดกรรมวิธีการผลิตแก่ชาวบ้าน
บ้านไร่ไผ่งามตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่-ฮอด
ตรงกม.ที่ 68-69
แยกซ้ายเข้าไป 1 กม.
|
-----------------------------------------------------------------------
|
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ ถนนสายเชียงใหม่-ฮอด กิโลเมตรที่ 35 ก่อตั้งโดยคุณปัณฑร ทีรคานนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 เป็นที่รวบรวมศิลปะวัตถุและเทวปฏิมากรรม ที่เป็นของสะสมของคุณปัณฑรที่ได้เริ่มสะสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519
พระพิฆเนศ เป็นเทพแห่งความสำเร็จ ความสมหวังในชีวิต หน้าที่การงาน สติปัญญา โชคลาภ รวมทั้งขจัดปัญหาอุปสรรคทั้งหลาย จึงทำให้มีผู้คนทุกสาขาอาชีพให้ความเคารพนับถือ และสักการะบูชากันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะชาวอินเดียและชาวเอเชียเกือบทุกประเทศ
|
|
-----------------------------------------------------------------------
|
วัดท่ากาน
|
วัดท่ากาน ได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.1225 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 1525 ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กฏิสงฆ์ วิหาร หอสรงน้ำพระ ปูชนียวัตถุมี เจดีย์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน พระพุทธรูปไม้ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปทองเหลืองและโถลายคราม ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนเวียงท่ากาน ก่อตั้งโดย อส.มศ.กลุ่มเวียงท่ากานเมื่อปี 2551 เพื่อเป็นแหล่ง เก็บรวบรวมข้อมูลเวียงท่ากาน เก็บโบราณวัตถุ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สำหรับให้เยาวชนประชาชน และนักท่องเที่ยวได้เข้ามาศึกษา
|
|
|