สถานที่ท่องเที่ยว
หัวหิน เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   

วัดบวกครกหลวง เชียงใหม่

 
 วัดบวกครกหลวง

เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 24 บ้านบวกครกหลวง ถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง หมู่ที่ 1 อยู่ติดกับ กาดดารา วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แม้จากการสอบถามชาวบ้านและผู้เฒ่าผู้แก ก็ไม่ทราบประวัติความเป็นมาและไม่ทราบว่าสร้างมาแต่ครั้งใดทราบแต่เพียงว่า วัดบวกครกหลวงในปัจจุบันวัดนี้เดิมชื่อ วัดม่วงคำ ส่วนชื่อว่า บวกครกหลวง นี้เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า บวกครก แปลว่า หลุม คำว่า หลวง แปลว่า ใหญ่

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
  วิหารเก่า  
ท่องเที่ยว

ซึ่งอาจเป็นการตั้งชื่อตามหมู่บ้านหรือสภาพพื้นที่หรือสภาพสิ่งแวดล้อม หรืออาจมาจากนิทานพื้นบ้านของหมู่บ้านที่เล่าต่อมาว่า นานมาแล้วหมู่บ้านบวกครกหลวงแห่งนี้ได้เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนอดอยาก ดังนั้นเจ้านายทางเชียงใหม่จึงนำข้าวออกมาจากท้องพระคลัง และได้ขุดหลุมขนาดใหญเพื่อตำข้าวแจกจ่ายแกประชาชน ซึ่งอาจเป็นที่มาของการตั้งชื่อวัดจากเรื่องราวในนิทานพื้นบ้านก็เป็นได้

สร้างครั้งใดไม่ปรากฏประวัติและหลักฐานการสร้าง แต่จากการสืบประวัติภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏพอจะประมาณได้ว่าอายุของวิหารนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ปี วิหารนี้ได้มีการซ่อมแซมบูรณะเรื่อยมา จากหลักฐานจารึกที่ปรากฏบนหน้าบันเขียนเลข พ.ศ. 2468 ไว้ ซึ่งคงเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยนั้น รวมทั้งการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาด้วย หลังจากนั้นคงจะมีการบูรณะซ่อมแซมต่อมา เช่น ใน พ.ศ. 2498 มีการราดพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน เพราะมีหลักฐานบันทึกไว้ที่ฐานวิหาร โครงสร้างของวิหารเป็นไม้ผสมปูน หลังคาเป็นหลังคาจั่วซ้อนสามชั้น ด้านหน้าทำเป็นมุขโถงยื่นออกมาคลุมราวบันได ซึ่งทำเป็นมกรอมนาคที่มีปากลักษณะเหมือนจะงอยปากนกแก้วหรือจะงอยปากครุฑ ทำด้วยปูนปั้นประดับกระจกปิด ภายในวิหารมีธรรมาสน์เทศน์ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามมาก ปั้นลมเป็นนาคลำยอง หางหงส์ทำเป็นหัวนาค ราวโก่งคิ้วด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักปิดทอง หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายก้านขดปิดทองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายฝาปะกน นาคลำยองหางหงส์รูปหัวนาคปิดทองประดับกระจกสี มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืน เครื่องบนของเพดานเปิดให้เป็นโครงสร้างไม้และเสารับน้ำหนักของหลังคา ผนังก่ออิฐถือปูนสูงถึงคอสองวิหารนี้มีประตูด้านข้างทำเป็นมุขยื่นออกมา ด้านหน้าวิหารทำประตูไม้แกะสลักปิดทองลักษณะทั่วไปของวิหารมีสัดส่วนและองค์ประกอบงดงามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพระพุทธศาสนายิ่ง

จากแผนผังวิหารแห่งนี้จะเห็นได้ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าและด้านหลังมีการลดขนาดความกว้างของห้องเป็น 3 ช่วง เพื่อให้สอดคล้องกับชั้นลดของหลังคา ด้านหลังทำเป็นฐานชุกชีไว้ประดิษฐานพระประธาน และพระพุทธรูป ด้านข้างเป็นที่ตั้งธรรมาสน์คาดว่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวิหาร ธรรมาสน์มีลักษณะเฉพาะตามแบบล้านนา เป็นรูปทรงปราสาท ประดับตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา และยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่จะพบได้ในวิหารล้านนาทั่วไปคือ สัตตภัณฑ์ อันเป็นเครื่องสักการบูชาภูเขาทั้ง 14 ในไตรภูมิตามความเชื่อของชาวล้านนา จะใช้กันในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนาโดยชาวบ้านจะนำเทียนมาจุดบนสัตตภัณฑ์นี้ มีลักษณะสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงกลางทำเป็นรูปเทพพนมและมีลายพันธุ์พฤกษา ด้านหลังรูปเทพพนมประดับแก้วอังวะ (กระจกจีน) ด้านข้างทำเป็นรูปมกรคายนาค สัตตภัณฑ์นี้จะตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานอีกทีหนึ่ง

วิหารวัดบวกครกหลวงเดิมทีเป็นอาคารโถงเช่นเดียวกับอาคารล้านนาทั่วไป ซึ่งสถาปัตยกรรมล้านนาส่วนใหญ่จะเน้นให้เห็นโครงสร้างของไม้และเครื่องบนหลังคาใช้เสาในการรับน้ำหนักของหลังคาทั้งหมด โดยเฉพาะโครงสร้างไม้แบบม้าตั่งไหมซึ่งเป็นการสร้างตามคติดั้งเดิมอันเป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา จึงจะเห็นว่าภายใจวิหารวัดบวกครกหลวงนี้จะมีเสาขนาดใหญ่อยู่กลางวิหารถึง 12 ต้น ภายหลังจึงได้มีการทำผนังทึบขึ้นมา 3 ด้านคือ ด้านข้างและด้านหลัง แต่มิได้เป็นการรับน้ำหนักอาคาร ส่วนด้านหน้าเปิดโล่งไว้ และต่อมาได้มีการสร้างประตูบานใหญ่ขึ้นด้านหน้าเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย ประตูนี้มีการแกะสลักเป็นรูปทวารบาลปิดทองอย่างงดงาม

หลังคาวิหารเป็นหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น ประดับด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าและหางหงส์ เป็นรูปนาคตามคติชาวล้านนาที่เชื่อว่า วิหารเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ต้องมีนาคคอยดูแลอยู่ จึงมีการประดับตกแต่งวารด้วยนาค ส่วนลานทรายที่อยู่รายรอบวิหารหรือศาสนสถานอื่น ๆ ของล้านนาเปรียบเสมือนว่าเป็นน้ำหรือนทีสมุทร ดังนั้นจะเห็นว่า ทางเข้าด้านหน้าวิหารทำเป็นราวบันไดรูปมกรคายนาคด้วยและนาคที่นี่ก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ เป็นนาคปากนกแก้วซึ่งมีเพียงแห่งเดียว ส่วนมุขโถงด้านหน้าวิหารเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยที่มีการบูรณะ

หน้าบันวิหารเป็นหน้าบันสลักไม้แบ่งเป็นช่องแบบฝาปะกน แต่ละช่องแกะลายประดับกระจกสวยงาม และมีจารึกบอกปี พ.ศ. 2468 สันนิฐานว่าเป็นปีที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ผนังด้านนอกของตัวอาคารจะมีปูนปั้นรูปเทพพนมประดับอยู่ตามมุม ด้านบนเป็นคันทวยลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ทำด้วยไม้ มีอยู่ 2 ลายคือ คันทวยด้านหน้าทั้งสองข้างทำเป็นรูปหนุมานเหยียบเมฆ ส่วนในตำแหน่งอื่น ๆ จะเป็นลายเมฆไหลท่านั้น

นอกจากวิหารแล้วที่วัดบวกครกหลวงแห่งนี้ยังมีอาคารเสนาสนะอื่น ๆ ที่น่าสนใจคือ อุโบสถที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา ศาลาบำเพ็ญกุศล กุฎีสงฆ์ และเจดีย์ทรงปราสาทมีเรือนธาตุ 4 ด้าน บุด้วยทองจังโกซึ่งอยู่ด้านหน้าวิหารด้วย (ประยูร อุลุชาฎะ. 2544: 80-82)

ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อราว พ.ศ.2586 สมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย มีความสำคัญ ในแง่ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ซึ่งได้แก่ พระวิหารที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม จากลักษณะทรวดทรงและประดับลวดลายของพระวิหารรวมทั้งภาพจิตรกรรม พอจะประมาณได้ว่าคงสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2400 ลงมา

จุดเด่นของวัดบวกครกหลวงที่คนทั่วไปรู้จักอยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดบวกครกหลวง ซึ่งเขียนเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาตหรือ เรื่องทศชาติชาดก จำนวน 14 ห้อง จิตรกรรมฝาผนังนี้เขียนบนผนังรอบ ๆ วิหารระหว่างช่องเสาเป็นเรื่องพุทธประวัติและชาดก ภาพแต่ละส่วนจะอยู่ในกรอบซึ่งเขียนเป็นลายล้อมกรอบด้วยลายสีน้ำเงิน แดง และขาว สำหรับเรื่องที่เขียนนั้นทางทิศเหนือเป็นภาพชาดก เรื่องมโหสถชาดก ส่วนทางทิศใต้เป็นเรื่องทศชาติชาดก (พระเจ้าสิบชาติ) จิตรกรรมดังกล่าวเป็นฝีมือช่างชาวไทใหญ่ที่ละเอียดประณีต และเป็นที่น่าสังเกตว่าจิตรกรรมฝาผนังในล้านนาจะไม่พบการเขียนภาพเรื่องทศชาติชาดกครบทั้ง 10 ชาติ หากเลือกมาเฉพาะเรื่องที่นิยมกันเท่านั้น ซึ่งที่วัดบวกครกหลวงก็เช่นกัน มีทั้งหมด 6 เรื่อง คือ เตมียชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิธูรบัณฑิตชาดก และเวสสันดรชาดก

ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงมีลักษณะของภาพแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิยมของท้องถิ่น ที่มีจุดเด่นที่เป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดจัดจ้าน ท่าทีการเขียนภาพของช่างนิยมใช้พู่กันป้ายแต้มอย่างมีพละกำลังแฝงอยู่ภายในด้วย รอยพู่กันแสดงอารมณ์ที่ลิงโลด คึกคะนอง สนุกสนาน และปาดสีอย่างมันใจเด็ดเดี่ยว โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่เป็นฉากธรรมชาติ เช่น เนินเขา โขดหิน และลำน้ำ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนมีรูปร่างเป็นอิสระ เลื่อนไหล คดเคี้ยว เมื่อผนวกเข้ากับความต้องการของผู้วาดที่ใช้พู่กันและสีแท้ ๆ สดในอย่างอิสระแล้ว นับเป็นฉากธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา ไม่ดูจืดชื้ดยิ่งนัก นอกจากนั้นแล้ว วิธีการเน้นความน่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคือ นิยมใช้กรอบรูปคล้ายภูเขา ระบายสีพื้นในด้วยสีดำ ขอบนอกเป็นแถบสีเทาและตัดเส้นด้วยสีดำ ส่วนเส้นนอกกรอบเลื่อนไหลล้อกับรูปนอกของตัวปราสาทด้วย

สำหรับสีที่ใช้ในจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงนี้พอจะจำแนกได้ 6 กลุ่ม คือ กลุ่มสีคราม สีแดงชาด สีทอง สีเหลือง – น้ำตาล สีดำ และสีขาว ดังนั้นจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงจึงถือเป็นงานฝีมือของช่างไทใหญ่ที่ได้ถ่ายทอดถึงชีวิตพื้นบ้านรูปแบบสถาปัตยกรรมและการแต่งกายแบบพม่าและไทใหญ่ไว้ด้วย เช่น ถ้าเป็นการแต่งกายของชาวบ้านจะมีลักษณะเป็นแบบคนพื้นเมือง แต่ถ้าเป็นเจ้าก็จะเป็นการแต่งกายแบบพม่าหรือไทใหญ่ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้แบบชาวเมืองก็ยังมีให้เห็นอยู่ในภาพด้วย เช่น จุนโอ๊ก, ขันชี่ (ขันเงิน, ขันทอง) ซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวล้านนา ผ้าซิ่นแบบคนเมือง หรือผ้าห่มคลุมตัวเวลาหนาวที่เรียกว่า ตุ้ม ด้วย ซึ่งลักษณะของจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงนั้นจึงเป็นลักษณะพิเศษของจิตรกรรมล้านนา โดยอาจมีข้อแตกต่างหรือคล้ายกันกับจิตรกรรมที่ภาคกลางด้วย

 

 

Photos taken

on Dec 8, 2006

วิหาร

เจดีย์

ประตูลวดลายหน้าวิหาร

ตามความเชื่อชาวล้านนา มีนาคคอยปกป้องรักษาวิหาร

ผนังเตมียชาดก ตอนพระเตมีย์นั่งอยู่บนตักพระราชบิดา เมื่อออกว่าราชการ ทรงทอดพระเนตรพระราชบิดา สั่งตัดสินลงโทษ

 
 ที่พักเชียงใหม่
::: เที่ยวเชียงใหม่
::: ดอยอินทนนท์
::: ทีพักเชียงใหม่
:::
ที่พัก เชียงใหม่ วิวสวย ราคาโดน
:::
ที่พัก แม่ริม ชิมสตอเบอรี่
:::
โรงแรมเชียงใหม่  
::: ทัวร์เชียงใหม่
::: ทัวร์ดอยอินทนนท์  
::: ที่พักดอยอินทนนท์  
::: ที่พักเชียงใหม่
::: สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่:

::: อำเภอเมืองเชียงใหม่
::: อำเภอแม่ริม

:::
อำเภอหางดง
::: แม่มาลัย-ปาย-แม่แตง
::: อำเภอสันกำแพง
:::
อำเภอเชียงดาว
:::
ทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ 1001
:::
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ดอยปุย
:::
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
:::
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
:::
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
:::
อุทยานแห่งชาติศรีล้านนา
:::
เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้ 108
:::
เส้นทางตะวันตก 1004
::: อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
::: อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
::: อุทยานแห่งชาติออบขาน
::: ดอยอ่างขาง

::: การเดินทาง เชียงใหม่
  ::: แผนที่เชียงใหม่
::: แผนที่ดอยอินทนนท์
::: แผนที่ดอยสุเทพ - ดอยปุย
::: เทศกาลเชียงใหม่
::: ร้านอาหารเชียงใหม่
::: ของฝากเชียงใหม่
::: แนะนำที่เที่ยวยอดนิยม
:::  ดอยอินทนนท์
:::  ดอยอ่างขาง

:::  สวนสัตว์เชียงใหม่

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
 

หัวหิน  เกาะเสม็ด   เกาะช้าง  เกาะเต่า  พัทยา  ภูเรือ  เขาใหญ่  เขาค้อ  ดอยอินทนนท์  สวนผึ้ง  

หัวหิน

บริษัท ไทยทัวร์ อินโฟ จำกัด
Email: info@thai-tour.com All rights reserved by Thai-Tour.Com with TAT License 11/04452
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์ | โฆษณา

 
ท่องเที่ยว