แว่นแค้นแห่งลุ่มน้ำแม่ระมิงค์
เรื่องราวของผู้คนและบ้านเมืองในภาคเหนือตอนบนนั้น
โดยส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏอยู่ในหนังสือพงศาวดารหรือตำนานทางพุทธศาสนา
หรือไม่ก็เป็นนิทานพื้นบ้านปรัมปรา แฝงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์
ความศักดิ์สิทธิ์ของผู้มีบุญมาเกิด
เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยราษฎร์ให้เล่าขานสืบต่อกันมา
เรื่องราวที่จะกล่าวต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของ
พญามังราย
ซึ่งมีมูลเหตุที่น่าเชื่อคือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ณ์ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนแถบนี้ |
|
เรื่องราวของผู้คนและบ้านเมืองในภาคเหนือตอนบนนั้น
โดยส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏอยู่ในหนังสือพงศาวดารหรือตำนานทางพุทธศาสนา
หรือไม่ก็เป็นนิทานพื้นบ้านปรัมปรา แฝงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์
ความศักดิ์สิทธิ์ของผู้มีบุญมาเกิด
เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยราษฎร์ให้เล่าขานสืบต่อกันมา
เรื่องราวที่จะกล่าวต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของ
พญามังราย
ซึ่งมีมูลเหตุที่น่าเชื่อคือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ณ์ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนแถบนี้
เชื่อกันว่า พญามังราย บรรพกษัตริย์ผู้ครอบครอง
และสืบทอดราชวงศ์ลวจังกราช เหนือราชบัลลังก์เมืองหิรัญนครเงินยาง
แห่งแค้วนโยนโบราณอันกว้างใหญ่ แถบลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำสาย และแม่น้ำกก
ได้เสด็จพร้อมด้วยไพร่พลมาที่ดอยจอมทอง
ซึ่งตั้งอยู่ตรงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ริมแม่น้ำกกที่ไหลมาแต่เทือกเขาสูงทางทิศเหนือ ณ ดอยแห่งนี้
พระองค์โปรดให้ สร้างเวียง* แห่งใหม่ขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๖
มีนามว่า เชียงราย หรือ เวียงแห่งพญามังราย
เพื่อเป็นการแสดงแสนยานุภาพและขยายอาณาเขตพระองค์จึงเสด็จขึ้นไปทางเหนือไปรวบรวมรี้พล
และสร้างเวียงฝางไว้เป็นเมืองหน้าด่าน
อีกทั้งยังได้สำรวจเส้นทางในลุ่มน้ำแม่ระมิงค์หรือสายน้ำแห่งชาวรามัญเพื่อขยายดินแดนลงมาทางใต้เพราะทรงทราบถึงเกียรติศัพท์อันร่ำลือว่า
หริภุญไชยเป็นแค้วนใหญ่ร่มเย็นด้วยพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบสุขมั่งคั่ง
มีศิลปะวิทยาการเจริญรุ่งเรืองแต่อดีตกาลครั้งพระนางจามเทวี
จึงทรงปรารถนาที่จะรวมแค้วนหริภุญไชยให้อยู่ในเขตขัณฑสีมาแห่งพระองค์
ในที่สุด
พระองค์ก็ยกกำลังพละข้ายึดครองหริภุญไชยได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.
๑๘๒๔
อีก ๒ ปีต่อมา ทรงดำริว่า หริภุญไชยเป็นเวียงศูนย์กลางทางพุทธศาสนา
มีความคับแคบเกินไป การจะขยายเวียงเพื่อรองรับชุมชนจำนวนมากทำได้ยาก
จึงทรงมอบเวียงหริภุญไชยให้อ้ายฟ้าดูแล
แล้วนำกำลังรี้พลพร้อมด้วยราษฎรไปตั้งมั่นอยู่ที่ บ้านแซว หรือ ชแว
เพื่อพิจรณาทำเลที่เหมาะสมสำหรับสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่
ให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าขาย
ตลอดจนมีพื้นที่เหมาะสมกับการเกษตรกรรม ทางเลือกพี้นที่บ้านกลาง
บ้านลุ่ม และบ้านแห้ม โปรดให้สร้างเวียงใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๒๙ ณ
บริเวณที่แม่น้ำปิงหรือน้ำแม่ระมิงค์ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ
และทิศตะวันออก
ด้วยพิเคราะห์ว่าแม่น้ำปิงสายนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างดินแดนทางทิศเหนือและทิศใต้
ทรงให้ขุดคูเวียง ๓ ด้าน
ใช้น้ำแม่ระมิงค์เป็นคูเวียงธรรมชาติด้านทิศเหนือ ก่อกำแพง ๔ ด้าน
มีสัณฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
พร้อมสร้างที่ประทับเรือนหลวงภายในเวียงด้วยฐานะที่เป็นเมืองหลวงควบคุมดูแลการเมืองการปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่
ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
เวียงนี้จึงได้ชื่อเรียกขานกันทั่วไปว่า
“เวียงกุ๋มก๋วม”
หรือ “เวียงกุมกาม”
ในเวลาต่อมา
อาจด้วยเพราะเวียงกุมกามตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มบริเวณคุ้งน้ำเมื่อย่างเข้าหน้าฝน
พื้นที่โดยรอบก็จะชุ่มแฉะ คราวใดที่แม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำสูงมาก
ก็จะถาโถมเข้าท่วมเวียงได้ง่าย
หลักฐานจากชั้นดินในการขุดค้นทางโปราณคดีและการขุดแต่งโบราณสถานในเวียงกุมกาม
ยืนยันความจริงว่าเวียงกุมกามประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม
ทั้งนี้เห็นได้จาก
โบราณสถานวัดร้างหลายแห่งพบอยู่ทั้งในเวียงและนอกเวียงนั้น
ถูกดินเหนียวร่วนปนกรวดทราย ซึ่งเป็นตะกอนน้ำพัดพา
กลบฝังอยู่ลึกประมาณ ๑.๕๐
–
๒.๐๐ เมตร ส่งผลเสียหายแก่บ้านเมืองอยู่เป็นประจำ
เป็นเหตุให้พญามังรายทรงย้ายมาสร้างเวียงใหม่
ณ บริเวณที่พระองค์พร้อมด้วยพระสหาย
คือ พ่อขุนรามคำแหง แห่งเมืองสุโขทัย และพญางำเมือง
แห่งเมืองพะเยา พิจารณาร่วมกันว่าบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม
มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกอยู่ระหว่างอุสุจบรรพตหรือดอยสุเทพทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
กับแม่น้ำปิงซึ่งไหลผ่านมาทางด้านทิศตะวันออกนั้น
เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงโปรดให้สร้างเวียงแห่งใหม่
มีขื่อว่า
“นพบุรีศรีนครงพิงค์เชียงใหม่”
ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาแทนเวียงกุมกาม
เมืองปี พ.ศ. ๑๘๓๙
|