ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม
และการขยายตัวของชุมชน ทำให้การใช้ที่ดินในพื้นที่โครงการแม่กวงมีความต้องการใช้น้ำเป็นปริมาณสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
ก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำแม่กวง
กรมชลประทานจึงว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการนี้
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม
2545 ซึ่งสรุปแนวทางการพัฒนาโครงการที่เหมาะสมคือ
การจัดการน้ำร่วมกันในลุ่มน้ำแม่แตง-แม่งัด-แม่กวง ประกอบด้วย
-
การพัฒนาแนวส่งน้ำแม่งัด-แม่กวง
-
การพัฒนาแนวส่งน้ำแม่แตง-เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
-
การพัฒนาโครงการสูบน้ำแม่แฝก-แม่แตง
ระยะเวลาก่อสร้าง
8 ปี (ปี 2551-2558)
งบประมาณทั้งโครงการ
11,341.19 ล้านบาท
ลักษณะโครงการ
การผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่แตงและลุ่มน้ำแม่งัด
ได้พิจารณาวางแนวส่งน้ำจากโครงการแม่แตงมาทิ้งลงที่อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล และจากอ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชลก็จะส่งต่อไปยังโครงการแม่กวง โดยมีปริมาณน้ำส่งจากน้ำแม่แตงไปยังเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
เฉลี่ยปีละ 108.48 ล้านลูกบาศก์เมตร
และส่งต่อไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ด้วยปริมาณน้ำส่ง
เฉลี่ยปีละ 147.42 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้
องค์ประกอบที่สำคัญของโครงการ คือ
ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่งัด
และอุโมงค์ส่งน้ำแม่งัด-แม่กวง
เพื่อการชลประทาน
เขื่อนแม่กวงอุดมธารา
สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานที่เปิดใหม่ได้
100.250
ไร่ และยังส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการแม่กวงเดิมอีก
จำนวน
74,750
ไร่ รวมพื้นที่ได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น
175,000
ไร่ ในฤดูฝนสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ประมาณ
126,823
ไร่ ส่วนในฤดูแล้งอีกประมาณ
87,500
ไร่
เพื่อบรรเทาอุทกภัย
ลำน้ำแม่กวงเป็นลำน้ำสาขาใหญ่สาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง
ก่อนการก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธารานั้น
ในฤดูฝนจะมีน้ำไหลหลากจากลำน้ำแม่กวง
ทำให้อุทกภัยทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหายทุกปี
เมื่อมีอ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธาราแล้วสามารถเก็บกักน้ำที่ไหลหลากจากพื้นที่รับน้ำฝนเหนืออ่างเก็บน้ำ
จำนวน
567
ตารางกิโลเมตร
ไว้เป็นการป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยให้กับบริเวณดังกล่าวได้อย่างดี
เพื่อการประปาและอุปโภค-บริโภค
เขื่อนแม่กวงอุดธารา เป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค-บริโภค
สามารถส่งน้ำให้แก่การประปาสุขาภิบาล ในเขต อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ปีละ
1,500,000
ลูกบาศก์เมตร และส่งน้ำให้โรงงานอุตสาหกรรมของนิคมอุตสาหกรรม
จังหวัดลำพูน อีกประมาณ
3,000,000
ลูกบาศก์เมตรต่อปี
เพื่อการประมง
อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนแม่กวงอุดมธาราซึ่งมีสภาพเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ใช้เป็นแหล่งเพาะและบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำจึงเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของ
จังหวัดชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง โครงการชลประทานแม่กวง
ได้ขอพันธุ์ปลาน้ำจืดมาปล่อยในอ่างเก็บน้ำตั้งแต่ พ.ศ.
2536
ปลาที่นำมาปล่อยนี้นอกจากจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าสำหรับชาวบ้านในท้องถิ่นแล้วยังได้ทำการประมงเป็นอาชีพเสริม
เพื่อการท่องเที่ยว
สภาพภูมิประเทศบริเวณอ่างเก็บน้ำสวยงามมาก
ด้วยตัวเขื่อนขนาดใหญ่ที่ปิดกั้นหุบเขาสูงมีอ่างเก็บน้ำเสมือนทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่โอบล้อมด้วยทิวเขาและป่าเขียวขจี
ในยามเช้าจะมีเมฆหมอกสีขาวคล้ายปุยฝ้ายลอยตัวปกคลุมทั่วท้องน้ำ
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของคนในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง
|