องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497
เป็นรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี
มีหน้าที่ในการอนุรักษ์สัตว์ป่าไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและศึกษาชีวิตพร้อมกับเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติต่าง
ๆ
เพื่อจะไม่ทำลายให้สูญสิ้นไปด้วยความตั้งใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ดังในอดีตที่ผ่านมา
โดยในระยะแรกองค์การสวนสัตว์มีสวนสัตว์เพียงแห่งเดียวคือ
สวนสัตว์ดุสิต
หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า
เขาดินวนา
ซึ่งประชาชนก็ได้ให้ความสนใจเที่ยวชม
จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและตำนานที่สำคัญของบางท่านและชาวกรุงทั้งหลายกันเลยทีเดียวนะครับ
.
และสำหรับที่นี่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
ซึ่งองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ภูมิใจว่าเป็น
สวนสัตว์เปิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ครอบคลุมเนื้อที่ถึง 5,000
ไร่
ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่
โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ
พ.ศ.2517
เป็นแห่งที่สองรองจากสวนสัตว์ดุสิต
เพื่อดำเนินงานด้านการเลี้ยง
และสงวนพันธุ์สัตว์ป่า
รวมทั้งสร้างสมดุลย์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนการวิจัยทางสัตวศาสตร์
รวมทั้งการให้การศึกษา
ให้ความรู้แก่เยาวชน
และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวด้วย
จากสภาพป่าที่สมบูรณ์ของเขาเขียว
และความเป็นสวนสัตว์เปิดที่เปิดจริง
ๆ ทำให้สัตว์ต่าง ๆ
จำนวนกว่า 300 ชนิดมากกว่า 6,000
ตัว
จะถูกปล่อยให้อยู่อย่างอิสระตามธรรมชาติของสัตว์แต่ละชนิดในเนื้อที่ที่กว้างขวาง
และนักท่องเที่ยวก็สามารถเดินชมได้อย่างใกล้ชิด
ภายใต้บรรยากาศอันร่มรื่นด้วยความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบ
และปัจจุบันนี้
สวนสัตว์เปิดเขาเขียวก็ได้พยายามที่จะพัฒนางานบริการในสวนสัตว์
ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่
สวนสัตว์ที่มีสัตว์ให้ชมเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น
แต่เมื่อมาเที่ยวก็ต้องให้สนุกและได้ความรู้กลับไปด้วย
สวนสัตว์เปิดเขาเขียวยังมีกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไม่มีใครเหมือน
และไม่เหมือนใคร
เรียกได้ว่าเป็นโครงการนำร่อง
เป็นแม่แบบของสวนสัตว์อื่น
ๆ เลยทีเดียว
โครงการที่ว่านี้
คือโครงการเที่ยวสวนสัตว์ตอนกลางคืน
หรือ ไนท์ ซาฟารี
หรือจะเรียก ส่องสัตว์
ก็ได้
ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่าหมายถึงการล่าสัตว์อย่างที่นักท่องไพรหลายคนกระทำกันมา
แต่ที่นี่ไม่ใช่การส่องเพื่อล่า
หรือเพื่อรบกวนสัตว์
แต่เป็นการศึกษาชีวิตสัตว์ในยามค่ำคืน
ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของการออกหากิน
การนอน
และการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์หลังพระอาทิตย์ตกดิน
ซึ่งเป็นกิจกรรมจัดทำได้ยากยิ่งและแทบไม่มีสวนสัตว์ในโลกนี้กล้าทำและที่เชื่อได้ว่าหลายคนยังไม่เคยได้สัมผัส
และหาโอกาสไปสัมผัสได้ยาก
(อูฐโหนกเดียว 15 วิ)
อูฐ เป็นสัตว์ที่มาจากภูมิภาคที่แห้งแล้งของโลก
ในตะวันออกกลางและตอนเหนือของแอฟริกา
แต่ได้ถูกนำมาเลี้ยงที่ทวีปออสเตรเลียและนามิเบีย
เหตุหนึ่งที่ทำให้อูฐต้องปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตในสภาพทะเลทรายก็เพราะว่าข้อจำกัดในการกินอาหาร
อูฐจะกินใบพืชได้
เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
แต่อูฐมีความสามารถพิเศษในการกินส่วนของพืชบางชนิดที่สัตว์อื่น
ๆกินไม่ได้
เช่นหนามของไม้ยืนต้น
ตระกูลถั่ว
อูฐ สามารถ
ดำรงชีวิตได้หลายวันโดยปราศจากการกินน้ำ
ส่วนของโหนกที่เป็นแหล่งสะสมของเนื้อเยื่อประเภทไขมัน
ที่ซึ่งจะแปรสภาพกลายเป็นอาหารให้พลังงานแก่มันในยามที่ไม่สามารถหาอาหารจากธรรมชาติได้เลย
ส่วนน้ำจะถูกเก็บสะสมไว้ในส่วนของเนื้อเยื่อไขมันซึ่งจะถูกนำมาใช้ได้เช่นเดียวกันกับอาหารที่ได้สะสมไว้
หลังการเดินทางที่เป็นเวลานาน
ๆ และ มีลูกอูฐ
ที่เกิดที่นี่
เมื่อเร็วๆนี้ 2 ตัว
นับเป็นครั้งแรกลูกอูฐโหนกเดียวที่เกิดในสวนสัตว์ฯ
เมืองไทยเลยทีเดียว
(ฝูงกวางดาว )
กวางดาว
อาศัยอยู่ในเขตป่าร้อนชื้นแถบเชิงเขาหิมาลัยตลอดจนเกือบทั่วอินเดีย
ศรีลังกา อินโดนีเซีย
ลักษณะ
เป็นกวางป่าขนาดปานกลางระหว่างกวางป่ากับเนื้อทราย
ขนสีน้ำตาลแดง
มีจุดขาวข้างตัวเต็มไปหมด
เรียงตัวกันเป็นลายยาวไปตามลำตัวสวยงามสะดุดตา
กลางหลังมีแถบสีดำทอดเป็นแนวยาวไปจนจรดโคนหาง
และมีจุดสีขาวเรียงขนาบไปข้างละแถวไปตลอด
ขนเส้นเล็กละเอียดอ่อนนุ่มไม่หยาบเท่ากวางป่า
เฉพาะตัวผู้ที่มีเขา
เขาแตกเป็นกิ่งข้างละ 3
กิ่ง
ช่วงผลัดเขาไม่พร้อมกันและไม่ขึ้นกับฤดูกาล นิสัย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตามป่าโปร่ง
คุ้นคนง่าย เชื่อง
มักอยู่เป็นฝูงใหญ่
หากินตามทุ่งหญ้าโล่งหรือป่าโปร่ง
ออกหากินในช่วงตอนเย็นจนถึงเช้าตรู่
ชอบกินหญ้ามากกว่าใบไม้
กระหายน้ำเก่ง
ต้องกินน้ำบ่อย ๆ
ชอบแทะเปลือกไม้
ว่ายน้ำเก่ง
ชอบสะอาดไม่ชอบนอนเกลือกปลักตมเหมือนกวางป่า
ตัวผู้มีนิสัยรักสงบ
ไม่ดุร้าย
เหมือนกวางชนิดอื่น
ตัวผู้หลาย ๆ ตัว
สามารถอยู่รวมฝูงกันได้อย่างสงบ การสืบพันธุ์
ฤดูผสมพันธุ์ปกติจะตกอยู่ในช่วงต้นฤดูหนาว
ตั้งท้องประมาณ 7-8 เดือน
ตกลูกครั้งละ 1 ตัว
กวางดาวที่นำมาเลี้ยงในสวนสัตว์ต่าง
ๆ อายุยืนประมาณ 20 ปี
ส่วนในธรรมชาติ
อายุยืนประมาณ 12-15 ปี
ชอบกินหญ้ามากในธรรมชาติ
และกินใบไม้ ผลไม้บางชนิด
ลักษณะ ความเป็นธรรมชาติ
และ
เหตุที่มันกระจายเข้าป่าโปร่ง
( แรดขาว 40 วิ)
แรดขาว ที่มีอยู่ในปัจจุบันแบ่งเป็น
5 ชนิด คือมี2ชนิดจากแถบแอฟริกา
คือ แรดขาวกับแรดดำ
และมีอยู่ 3ชนิดจากแถบเอเชีย
คือ แรดอินเดีย แรดชวา
และแรดสองนอ หรือ กระซู่
ในประเทศไทยเคยพบแรด 2 ชนิด
คือ แรดชวา และกระซู่
แต่แรดชวา
ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยเรานานแล้ว
คงพบเพียงแรดสองนอ หรือ
กระซู่ในป่าลึก เท่านั้น
แรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นแรดขาวจากแอฟริกา
มีความสูงถึง 6
ฟุตและมีน้ำหนักตัวเกินกว่า
3 ตัน จริง ๆ แล้วแรดขาวนั้น
ไม่ได้ขาวสมชื่อ
แต่อาจเป็นเพราะการเพี้ยนเสียงในภาษาอังกฤษ
เมื่อชาวตะวันตกพบแรดขาวที่มีปากกว้างก็เลยเรียกว่า
Wide Rhino (วายด์ไรโน)
ต่อมาก็เพี้ยนเป็น White Rhino (ไวท์ไรโน)
คนไทยเราเลยแปลตรงตัวเป็น
แรดขาว เสียเลย
ข้อแตกต่างที่น่าสนใจระหว่าง
แรดขาวและแรดดำคือลักษณะปาก
แรดขาวจะมีปากป้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
ปากกว้างซึ่งเหมาะอย่างยิ่งต่อการแทะเล็มหญ้า
ในทุ่งหญ้า ส่วนแรดดำ
มีปากเรียวและมีจงอยปากเล็ก
ๆ
คอยเกี่ยวหรือเหนี่ยวรั้งใบไม้ตามต้นไม้มากินเป็นอาหาร
อาหารของแรดท้งสองจึงแตกต่างกันตามลักษณะของปาก
แรดเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ค่อยดีนัก
แต่มีประสาทสัมผัสกลิ่นที่ดี
(
ฝูงลิงป่า 30 วิ)* (ถ้าพบ)
ลิงป่าที่ท่านเห็นอยู่นี้
เป็นลิงแสม
ซึ่งเป็นฝูงลิงดั้งเดิม
พวกเขามาอยู่ก่อนที่พวกเราจะเข้ามาดำเนินการสวนสัตว์เมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้วเสียอีก
ลิงก็เป็นสัตว์สังคมเหมือนมนุษย์
ชอบคุยกัน ชอบทะเลาะกัน
ชอบปลอบใจกัน
ชอบแสดงความยินดีซึ่งกันและกัน
นอกจากนั้น
ลิงยังมีความรักเพื่อน ๆ
รักคนในครอบครัวเหมือนมนุษย์
เราจะเห็นลิงผู้ใหญ่หลาย
ๆ ตัวช่วยกันเลี้ยงลูกลิง
ก็เหมือน ๆ
กับมนุษย์ที่เด็ก ๆ
มักเป็นที่รักของปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอา
และลิงก็ยังมีระเบียบในสังคมคล้าย
ๆ มนุษย์
มีการเลือกหัวหน้าและมีการจัดลำดับชั้นในสังคม
ว่า ไล่กันตั้งแต่จ่าฝูง
จนถึงลูกน้อง
มีขุนน้าขุนนาง มีไฮโซ
มีโลโซ สรุปแล้ว ก็เหมือน ๆ
กับมนุษย์เรานี่ล่ะครับ/ค่ะ
(เต่า
20 วินาที)
เต่าตัวใหญ่ที่เห็นอยู่นี้
เป็นเต่าหกดำ
ซึ่งเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
เมื่อโตเต็มที่อาจยาวถึง 60
กว่า เซนติเมตร
และหนักเกือบครึ่งกระสอบข้าวสารหรือประมาณ
50 กก.
และที่เห็นอยู่อีกตัวหนึ่งก็คือ
เต่าบัว
เต่าบัวเป็นเต่าน้ำจืดของไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นที่
2 รองจากเต่ากระอาน
ส่วนเต่าที่ใหญ่ที่สุดของไทยก็เป็นเต่าทะเลที่มีชื่อว่า
เต่ามะเฟือง ที่พี่แอ๊ด
คาราวาน
เอาเรื่องของเขามาร้องเป็นเพลงให้เราฟังไงครับ/ค่ะ
ตัวโตเต็มที่มีกระดองยาวมากกว่า
2 เมตร น้ำหนักตัวกว่า 800 กก.
หรือเท่า ๆ ควายตัวใหญ่ ๆ
หรือกระทิงเลยทีเดียว
นอกจากเต่าแล้วเราก็มีตะพาบอีกอย่าง
ตะพาบที่ใหญ่ที่สุดของไทยและเรียกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ
ตะพาบม่านลาย
มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำแคว
จังหวัดกาญจนบุรีโน่น
โตเต็มทีจะยาวเมตรกว่าและหนักถึง
120 กก. หรือมรน้ำหนักราว ๆ คน
2 คนรวมกันทีเดียว
เรามาดูความแตกต่างของของเต่าบก
กับเต่าน้ำกันดีกว่า
ดูง่าย ๆ
เต่าบกที่ขาหลังจะสั้นทู่
ไม่มีพังพืดเหมือนตีนเป็ด
แต่เต่าน้ำขาหลังจะมีพังพืดเหมือนตีนเป็ด
ส่วนเต่าทะเลมีแบบตีนเป็ดทั้ง
4 ขา
และตะพาบก็ไม่มีกระดองที่เป็นกระดองแข็ง
ๆ อย่างเต่าทั่วไป
และจะมีเชิงกระดองนิ่ม ๆ
ต่อจากกระดอง พูดอย่างนี้
คนที่ชอบรับประทานเชิงตะพาบคงจะน้ำลายไหลกันแล้ว
ก็ขอได้โปรดพิจารณาชนิดของตะพาบที่จะมาทำอาหารด้วย
โปรดรับประทานตะพาบจากฟาร์มเลี้ยงดีกว่า
เพราะตะพาบในธรรมชาติก็เหลือน้อยเต็มที
เก็บไว้ให้ลูก ๆ หลาน ๆ
เราได้ชมเชยตะพาบตามธรรมชาติดีกว่า
หลายท่านคงสงสัยแล้วว่า
แล้วเราจะดูเพศผู้เพศเมียของเต่าได้อย่างไร
ก็ไม่ยากครับ/ค่ะ
โดยเฉพาะเต่าบก
ให้ตรวจดูที่กระดองตรงส่วนท้องของเต่าดู
ถ้ามีส่วนโค้งเว้าเข้าไปในท้องก็จะเป็นตัวผู้
เพราะจะได้ขึ้นทับตัวเมียเมื่อผสมพันธุ์ได้สะดวก
ส่วนตัวเมียนั้นกระดองส่วนท้องจะเรียบตรงไม่เว้าเข้า
อาจเป็นเพราะต้องการพื้นที่ถายในท้องมากขึ้น
เพื่อใช้เก็บไข่
เพื่อให้วางไข่ได้จำนวนมาก
ๆ
( สลอท 20 วินาที )
สลอทสองนิ้ว
หรือ Two- toed Sloths เป็นสัตว์ที่มี
ถิ่นกำเนิดแถบป่าร้อนชื้นทางตอนใต้และตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้
กินอาหารประเภทพืช ผัก
และผลไม้
สลอทมีทั้งพวกที่มี 2
นิ้วมือ และ 3 นิ้วมือ
ไม่มีฟันหน้าแต่มีเขี้ยว
แขนยาวกว่าขาเพราะใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้
เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน
สลอทเคลื่อนที่ช้ามาก
ว่ากันว่าใน 1 วัน
สลอทจะเดินทางไม่เกิน 50
ก้าว
สลอทจะไต่บนกิ่งไม้โดยแหงนหน้าขึ้นฟ้าและเอาหลังลงดิน
คอของสลอทมีโครงสร้างกระดูกคอที่พิเศษที่ทำให้หมุนได้แทบจะรอบ
เพื่อระวังอันตรายรอบตัว
เนื่องจากตัวเองเคลื่อนไหวช้า
ธรรมชาติจึงสร้างให้สลอทระวังภัยได้มากขึ้น
โดยมากสลอทจะอาศัยอยู่แต่บนต้นไม้
แต่เมื่ออาหารบนต้นไม้ต้นนั้นหมดลง
สลอทที่เชื่องช้ากลับสามารถว่ายน้ำเพื่อไปหาอาหารที่ต้นไม้ต้นอื่นได้
อย่างน่าพิศวง
สลอทจะไม่ถ่ายอุจจาระบ่อยนัก
บางครั้ง 1
สัปดาห์จึงจะถ่ายสักครั้ง
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
(
เม่น 20 วินาที )
เม่น (
เม่นใหญ่แผงคอยาว ) มีขนที่แหลมคมคล้ายเข็มเป็นพัน
เส้น
ซึ่งตั้งชันขึ้นและมีเสียงดังกราว
ๆ
เหมือนกับเป็นการเตือนหรือขู่ศัตรูเมื่อมันจะถูกทำร้าย
เม่นจะกางขนออกและวิ่งหนีศัตรู
เมื่อศัตรูเข้าใกล้มากๆ
มันจะหยุดทันที
ทำให้ขนแหลมบนลำตัวทิ่มแทงศัตรูของมัน
ได้รับความเจ็บปวด
เม่นยังเป็นเทศบาลของป่าธรรมชาติ
ในการกินซากกระดูกของสัตว์ที่ตาย
ตัวกินมด
:Southern Tamand หรือ
Lesser Ant-eater
พบได้หลายบริเวณในทวีปอเมริกาใต้
เช่น
ที่ราบป่าดิบชื้นจนถึงที่ราบสูงป่าดิบชื้น
ป่าผลัดใบ ทุ่งหญ้า
ป่าหนามซาวันนา
มักกินอาหารประเภท มด ปลวก
แมลงเล็ก ๆ หรือ
ผลไม้ขนาดเล็ก
ขนสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม
สามารถเคลื่อนที่บนพื้นดินได้ดีพอ
ๆ กับการปีนต้นไม้
มีความสามารถในการดมกลิ่นที่ดี
ปรับตัวเก่ง
และรู้สึกไวต่อเสียง
ที่สำคัญคือ
มีกรงเล็บที่ยาวและแข็งแรงมาก
เพื่อใช้ในการขุดดิน
กระเทาะเปลือกไม้
เพื่อหามด-ปลวก-แมลง
ทั้งยังมีการพัฒนารูปร่างของลิ้นให้เรียวยาวมาก
และมีน้ำลายที่เหนียว
เพื่อใช้เลียชอนไชเข้าไปในซอกเล็กเพื่อกินปลวกและแมลงได้ง่าย
ตั้งท้องนาน 6 เดือน
ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
(
สัตว์ต่างประเทศ 120 วินาที)(นกกระจอกเทศ
ม้าลาย ยีราฟ)
นกกระจอกเทศ
เมื่อยืนมีความสูงถึง
8 ฟุต ก็ราว ๆ 240 เซนติเมตร
และมีน้ำหนักมากกว่า 150
กิโลกรัม
ฉะนั้นจึงไม่เป็นการยากเลย
ที่จะบอกได้ว่ามันเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
บนทุ่งหญ้าของแอฟริกาเราสามารถเห็นวิวัฒนาการและพฤติกรรมของการแทะเล็มหญ้าของสัตว์ที่เป็นฝูงเตร็ดเตร่อยู่แถวนั้น
อย่างเช่นม้าลายและแอนตีโลป
ซึ่งแน่ล่ะเป็นการปรับตัวที่ดีมากสำหรับการพึ่งพากันในการดูภัยอันตรายจากสัตว์กินเนื้อ
คอที่ยาวและสามารถหมุนได้รอบทิศทางรวมทั้งสายตาที่มองได้ไกลของนกกระจอกเทศก็ใช้ประโยชน์นี้เช่นกัน
และทำให้สัตว์หลายชนิดรู้สึกปลอดภัยที่จะหากินอยู่ใกล้กับมัน
นกกระจอกเทศเป็นนกชนิดเดียว
เท่านั้นที่ขาแต่ละข้างจะมีนิ้วเท้าเพียง
2 นิ้ว
ขาและเท้านกกระจอกเทศจะแข็งแรงมีพละกำลังมาก
ทำให้นกกระจอกเทศสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว
60 กม/ชม. รวมทั้งลักษณะอื่น
ๆ ของร่างกาย
ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้นกนี้วิ่งได้เร็วบนทุ่งราบ
นกกระจอกเทศจะวางไข่ที่มีน้ำหนักฟองหนึ่งถึง
1 กก.ถึง 1.5 กก.
ถือเป็นไข่นกและไข่ของสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน
ทั้งเป็นไข่ที่มีเปลือกหนาแข็งแกร่งมาก
ขนาดคนฝรั่งตัวใหญ่ๆ
สามารถขึ้นไปยืนบนไข่นกกระจอกเทศได้
โดยเปลือกไข่ไม่แตกร้าวเลย
และใช้เวลาในการฟักไข่นาน
42 วัน
ม้าลาย
ลามา นกเรีย, นกอีมู
ม้าลายมองดูแล้วเหมือนกับม้าที่มีลายพาดตามลำตัว
แต่หูจะยาวกว่า,มีแผงคอที่แข็งและหางมีขนปุกปุย
ทำให้มีลักษณะคล้ายไปทางลา
ลายเข้มขาวสลับดำบนลำตัวของม้าลาย
จะช่วยให้มองเห็นม้าลายกันได้ในระยะไกลๆ
บนทุ่งหญ้าที่ม้าลายอาศัยอยู่
นอกจากนี้
ลายขาวดำยังใช้ในการอำพรางสิงโตและเสือดาวในกรณีฉับพลันที่สัตว์ล่าเหยื่อจะเข้าจู่โจม,
รูปแบบของลายขาวม้าลายแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน
ม้าลายจะดำรงชีวิตอยู่ได้นานถึง
20-25 ปี
ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ม้าลายในธรรมชาติลดจำนวนหรือถูกคุกคามก็คือ
การจับไปเลี้ยงในฟาร์ม
และการที่มีการจัดการแข่งขันการล่าม้าลายตามทุ่งหญ้าเพื่อเอาหนังด้วย
ในระบบนิเวศน์วิทยาถือว่าม้าลายช่วยเหลือสัตว์ป่าที่แทะเล็มหญ้าได้อย่างดี
กล่าวคือมันจะกินหญ้าที่ขึ้นมา
สูง
ๆเพื่อที่จะให้สัตว์กินพืชอื่น
ๆ กินหญ้าได้ง่ายขึ้น
ลามา เป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยบนภูเขาสูงทางเทือกเขาแอนตีสในอเมริกาใต้
เป็นสัตว์ที่ทนต่อสภาพหนาวเย็นได้ดี
เนื่องจากมีขนหนา
จึงมีชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ที่มีหิมะปกคลุมบนภูเขา
ฝูงของลามาที่ท่านได้เห็นนี้
ได้นำมีการมาเลี้ยงในสวนสัตว์ต่างๆหลายชั่วอายุแล้ว
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลามาได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี
ถึงแม้ว่าลามาจะมีการดำรงชีวิตอยู่ในทวีปอเมริกาก็ตาม
แต่ลามาและอูฐกลับมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่ใกล้ชิด
ยีราฟ เป็นสัตว์ที่มีความสูงที่สุดในโลก
คือมีความสูงถึง 18 ฟุต
ส่วนที่ทำให้ยีราฟมีความสูงได้แก่
ส่วนของขาส่วนของคอ
ซึ่งนอกจากนั้นยังมีส่วนอื่นของร่างกายที่ยาวอีกคือลิ้น
ซึ่งเราจะสามารถเห็นได้ก็ต่อเมื่อยีราฟ
ยื่นลิ้นออกมาเต็มที่เพื่อจะกินใบไม้หรือยอดอ่อนของต้นไม้
ลิ้นของยีราฟมีความยาวถึง
17 นิ้ว
อาหารของยีราฟเป็นของไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว
บนทุ่งหญ้าซาวันน่า
ในแอฟริกาใต้
ถึงแม้ว่ายีราฟจะมีความสูงที่ทำให้สามารถกินพืชที่ระดับความสูงได้ดี
แต่ก็เป็นอุปสรรคเหมือนกันสำหรับกินน้ำ
โดยเมื่อยีราฟกินน้ำ
จะต้องย่อขาหน้าลงจนหัวเข่าติดพื้นดินหลังการสืบพันธุ์ยีราฟต้องใช้เวลาในการตั้งท้องถึง
450 ถึง 465 วัน
ยีราฟที่เป็นแม่จะคลอดลูกในท่ายืน
ทั้งนี้ลูกที่เกิดมาจะตกลงสู่พื้นดินที่มีความสูงถึง
6 ฟุต
(
ฮิปโปโปเตมัส 40 วินาที)
ฮิปโปโปเตมัส
เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่เป็นที่สามรองลงมาจากช้าง
และแรดขาว
บางตัวมีความยาวมากกว่า 4
เมตร
ปัญหาใหญ่ของฮิปโปสำหรับการดำรงชีวิตในสภาพอากาศร้อนของทวีปแอฟริกา
ทำให้ฮิปโปต้องลงไปอาศัยอยู่ในแม่น้ำและทะเลสาป
และเมื่อถึงเวลากลางคืนซึ่งมีอากาศเย็น
ฮิปโปก็จะขึ้นจากน้ำมาหาอาหาร
และในเวลากลางวัน
บางครั้งฮิปโปฯ
อาจขึ้นบกได้
และเมื่อขึ้นบกฮิปโปฯ
จะขับเหงื่อออกมาจำนวนหนึ่ง
ซึ่งเหงื่อนี้จะมีลักษณะเหมือนเมือกมีสีเหมือนเลือด
ผู้ที่พบเห็นก็คิดว่า
เลือดออก
บางท่านอาจไม่ทราบแล้วก็หาว่าสวนสัตว์เลี้ยงสัตว์ไม่ดี
ปล่อยให้ฮิปโปเลือดออกเต็มตัวไปหมด
ที่แท้ก็เป็นเหงื่อที่ธรรมชาติสร้างกลไกพิเศษให้ฮิปโปฯ
โดยต่อมเหงื่อจะทำหน้าที่กำจัดเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว
แล้วใช้สารที่อยู่ในเม็ดเลือดนั้นขับออกมาเป็นสีคล้ายเลือดแต่เป็นเมือก
ๆ
และเมื่อเมือกถูกอากาศแห้ง
ก็จะแห้งติดผิวหนัง
และเคลือบปิดรูขุมขนของฮิปโปฯ
ทำให้ลดการสูญเสียน้ำเมื่ออากาศร้อนและแห้งนั่นเอง
สำหรับฮิปโปนั้นเป็นสัตว์อาศัยอยู่เป็นฝูง
ตัวแม่และลูกก็จะอยู่ในฝูงด้วย
แต่ก็มีบ่อยครั้งที่จะพบว่าพวก
หนุ่ม ๆ
ฮิปโปทั้งหลายไม่ได้รับอนุญาตจากฮิปโปเพศเมียให้เข้ามาร่วมอยู่ในฝูงเพราะต้องเลี้ยงดูแลลูก
(ชะมด
อีเห็น 60 วินาที)
กลุ่มของสัตว์จำพวก
ชะมด และ อีเห็น ที่มีให้ชมเป็นตัวอย่างในบริเวณนี้
เป็น ชะมดเช็ด(Small indian civet)
ขนสีน้ำตาลจางมีลายสีดำอยู่บนหลัง
5 ลาย หางเป็นปล้องดำขาว 6-9
ปล้อง
มีขนาดเล็กกว่าพวกอื่นๆ , ชะมดแผงหางปล้อง
( Large indian civet) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาจำพวกชะมดด้วยกัน
สีพื้นของลำตัวมีสีเทา
หรือน้ำตาลปนเหลือง และ
อีกตัวหนึ่งเป็น อีเห็นข้างลาย
( Common Palm civet)
ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์หากินกลางคืน
ขนสีเทา จมูก หู
ปลายเท้าและปลายหางดำ
มีสีขาวเหมือนหน้ากากคาดผ่านหน้าผาก
มีสีขาวแต้มให้ตาและจมูก
ระหว่างตาและดั้งจมูกดำ
มีลายจุดดำ ตามแนวหลัง 3
เส้น และมีเต้านม 3 คู่
ตัวแทนของสัตว์กลุ่มนี้ที่เราท่านรู้จักกันดี
ก็อย่างเช่น แรคคูน แพนด้า
แพนด้าแดง
แม้กระทั่งหมีขอ
ที่เราท่านเพิ่มชมผ่านไป
เป็นต้น
สัตว์กลุ่มนี้
มีต่อมที่ก้นซึ่งมีกลิ่นแรงฉุน
และปกติแล้ว
ชะมดและอีเห็นจะใช้กลิ่นแรง
ๆ
เหล่านี้ในการประกาศอาณาเขต
โดยการขับสารจากต่อมกลิ่นที่ก้น
ไปป่ายไว้ตามต้นไม้
ก้อนหิน และสิ่งต่าง ๆ
เพื่อให้ศัตรูที่มารุกรานหรือชะมด-อีเห็นตัวอื่นรู้ว่า
.แผ่นดินนี้มีคนจองแล้ว
ดังนั้น
เมื่อผู้ที่มาเที่ยวชมสวนสัตว์ผ่านมาใกล้
ๆ กรงของสัตว์ตระกูลนี้
ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปว่า
ตายแล้ว กะแล้ว ว่า
สวนสัตว์ยังไงก็ ๆ
ก็แย่อย่างที่คิด
กรงสัตว์ส่งกลิ่นเหม็นอบอวน
สงสัยไม่ได้ทำความสะอาดกันเป็นศตวรรษ
บัดนี้ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายอย่างน้อยก็ที่มาเยี่ยมชมบน
Auto-tram
ขบวนนี้คงไม่มีความคิดผิด
ๆ นี้อีกต่อไป
การกำจัดกลิ่นเหล่านี้ไม่เป็นผลดีต่อตัวสัตว์ตระกูลนี้เลย
เพราะเมื่อเรากำจัดกลิ่น
สัตว์ก็ต้องสร้างสารมาป้ายอีก
เพราะสัตว์จะขาดความเชื่อมั่น
ขาดความรู้สึกว่า ปลอดภัย
สงสารสัตว์เถอะครับ
อย่างไง ๆ ก็ถือเสียว่า
นี่แหล่ะกลิ่นอบบวนของธรรมชาติแห่งชะมด-อีเห็น
(
เก้งหม้อ 40 วินาที)
ชื่อ เก้งหม้อ
ฟังดูก็แปลก ๆ ดี
ชื่อฟังเหมือนชื่อไทยแท้แต่โบราณ
ซึ่งจริง ๆ ก็ไทยแท้จริง ๆ
เก้งหม้อจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน
1 ใน 15 ชนิดของไทย
เป็นสัตว์ที่หายากมากจริง
ๆ
ยากเสียจนไม่มีสวนสัตว์ใดในโลกนี้
มีเก้งหม้อเลี้ยงไว้ให้ประชาชนชม
ยกเว้นสวนสัตว์ทั้ง 5
แห่งขององค์การสวนสัตว์เท่านั้น
และที่สำคัญคือ ทั้ง 5
สวนสัตว์ของเรานี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เก้งหม้อแหล่งเดียวและยิ่งใหญ่ที่สุด
เก้งหม้อ
มีลักษณะแตกต่างจากเก้งธรรมดาหรือที่เรียกกันว่า
เก้งแดง คือ
เก้งหม้อมีขนาดใหญ่กว่าเก้งแดงประมาณ
1.5 เท่า
สีลำตัวเป็นมีดำคล้ำหรือ
ๆ กับมีหม้อดินเก่า
จึงเรียกเก้งชนิดนี้ว่า
เก้งหม้อ
ในขณะที่เก้งธรรมดามีสีน้ำตาลเหลือง
ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง
คือ
ที่หัวจะมีขนระหว่างหู
ยาวและชัน ๆ เหมือนผูกจุก
บางคนเลยเรียกว่า เก้งจุก
ซะเลย
และที่แตกต่างจากเก้งอื่น
ๆ อย่างสิ้นเชิง คือ
หางจะมีสีขาวสลับดำ
เห็นได้เด่นชัด
ในธรรมชาติ
เก้งหม้อจะอาศัยอยู่ตามเทือกเขาตะนาวศรีจากเมืองกาญจน์
ราว ๆ อำเภอศรีสวัสดิ์
จังหวัดกาญจนบุรี
ถ้านึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนก็
ลองนึกถึงน้ตกเอราวัญหรือเขื่อนศรีนครินทร์สิครับ
จากแถว ๆ นั้น
ไปตามเทือกเขานั้นลงใต้ไปถึงราว
ๆ สุราษฏร์ธานี
รวมทั้งบางส่วนตอนใต้ของประเทศเมียนม่าหรือพม่านั่นเอง
(
ละมั่ง 120 วินาที)
ละมั่ง
เป็นสัตว์ตระกูลกวาง 1 ใน 5
ชนิดที่พบในประเทศไทย
แต่สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยได้อีก
2 ชนิดคือ ละมั่งพันธุ์ไทย
จะอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยไป
จนไปในประเทศลาวและเขมร
ซึ่งคาดว่าสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว
ละมั่งพันธุ์ไทยนี้ก็มีเลี้ยงอยู่เพียงที่สวนสัตว์ดุสิตเท่านั้น
ในขณะที่ละมั่งที่มีอยู่ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวจะเป็นชนิดชนิดที่อาศัยอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณเทือกเขาตะนาวศรีของประเทศไทย
เรื่อยไปจนในประเทศเมียนม่า
หรือพม่า จึงเรียกว่า
ละมั่งพันธุ์พม่า ซะเลย
ละมั่งทั้งสายพันธุ์ไทยและพม่า
เป็นสัตว์ป่าที่หายากในบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าหายากของโลก
และจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย
ลักษณะทั่วไปของละมั่ง
คือจะมีเขาเฉพาะเพศผู้
และจะมีการผลัดเขาทุกปี
เพศผู้จะมีการเปลี่ยนแปลงของสีลำตัว
ในฤดูหนาวขนบริเวณคอจะยาว
ขนทั่วตัวจะขึ้นหนามีสีน้ำตาลแก่
ส่วนในฤดูร้อนขนทั่วตัวจะสั้นและสีจางลงออก
สีแดง ซึ่งบางคนเรียกว่า กวางทอง
****จริง ๆ หรือ****
บางท่านอาจสงสัยหรือกำลังสับสนว่า
บางคนก็เรียกละอง
บางคนก็เรียกละมั่ง
บางคนเรียก ละองละมั่ง
ซะเลย
นี่มันหมายความว่าอย่างไร
ก็จะช่วยไขปริศนานี้เสียเลยว่า
ในสมัยโบราณ
คนไทยพิถีพิถันในการใช้คำมาก
คำว่า
ละองให้ใช้เรียกเฉพาะละมั่งที่เป็นเพศผู้เท่านั้น
ส่วนละมั่งก็ให้ใช้เรียกเฉพาะละมั่งเพศเมียเท่านั้น
แต่ภาษาราชการ
ในขณะนี้ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้รวม
ๆ ทั้งสองเพศ ว่า ละมั่ง
เท่านั้น
และท่านทราบหรือไม่ว่า
ละมั่งพันธุ์พม่าฝูงที่ท่านกำลังชมอยู่นี้
จัดเป็นฝูงละมั่งในกรงเลี้ยงที่มีขนาดฝูงใหญ่ที่สุดในโลก
มีจำนวนกว่า 150 ตัว
ยังมีละมั่งฝูงพันธุ์ใหญ่รองลงมาอยู่ที่สถาบันสมิธโซเนียน
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งก็มีเพียงประมาณ 50
ตัวเท่านั้น
(นางอาย
15 วินาที )
นางอาย (Slow
Loris) สัตว์ที่ท่านกำลังชมอยู่นี้
ไม่ใช่สัตว์ในตระกูลกระรอก
หรือชะมด หรืออีเห็น
แต่เป็นสัตว์ตระกูลลิง
ที่ตัวเล็กมาก
ที่เรียกว่า
นางอายหรือลิงลมนั่นเอง
รูปร่างเล็กขนนุ่มสั้นหนาเป็นปุย
มีเส้นสีน้ำตาลเข้มจากหัวไปตลอดแนวสันหลัง
หน้าสั้น ตาโตกลม
ใบหูเล็กจมอยู่ในขน
ไม่มีหาง นิ้วชี้เท้าหลัง
มีเล็บเป็นตะของอโค้ง
เป็นสัตว์ที่กินอาหารหลาย
ๆ ชนิด โดยเฉพาะ
แมลงชนิดต่าง ๆ ไข่นก ผลไม้
สัตว์ตัวเล็ก
ลิงลมเป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน
ซึ่งจะว่องไวและแสดงพฤติกรรมต่าง
มากมาย
แต่ในเวลากลางวันลิงลมจะเอาแต่ขดตัวก้มหน้าหมุดเข้าไปที่หน้าท้อง
นอนทั้งวัน
ผู้ที่มาเที่ยวชมสวนสัตว์
ก็จะคิดว่า
สัตว์ในสวนสัตว์น่าเบื่อ
วัน ๆ เอาแต่นอน
และนี่เองที่กระตุ้นให้เราอยากนำทุกท่านมาชมลิงลมที่ไม่นอนหลับ
แต่ก็มีบางคนที่ไม่มีโอกาสมาชมลิงลมตอนกลางคืน
ก็อยากเห็นลิงลมเดินหรือขยับตัว
ก็หาสิ่งของ ก้อนหิน
ขว้างใส่ลิงลม
จะเข้าใจลิงลมสักนิดหรือก็เปล่าว่า
กลางวันนั้นเป็นเวลานอนของเขา
เหมือน ๆ
กับพวกเราที่นอนอยู่กลางดึก
แล้วมีคนมารบกวนเราถึงบ้าน
(ชะนี
30 วินาที)
ชะนี เป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น
ในโลกนี้ก็จะพบชะนีได้ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
หรือแทบบ้านเราเท่านั้น
ดังเช่นในประเทศไทยและมาเลเซีย
ซึ่งป่าบริเวณนี้มีอายุที่เก่าแก่มาก
อีกทั้งถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยแม่น้ำและทะเล
ทำให้มีสภาพแวดล้อมของป่ามีความหลากหลายแตกต่างกันไป
เป็นผลให้เผ่าพันธุ์ของชะนีที่กระจายกันอยู่ตามป่าต่างๆ
มีลักษณะที่แตกต่างกันไปด้วย
ชะนีบางชนิดมีสีน้ำตาลเหลือง
บางชนิดดำสนิททั่วตัว
บางชนิดก็มีสีเทาเงิน
และบางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงของสีขนเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
ชะนีจัดเป็นสัตว์ตระกูลลิงที่ไม่มีหางหรือ
เอป(APE)
และหากจะเปรียบเทียบแล้ว
ชะนีนับเป็นนักยิมนาสติกที่มีฝีมือเยี่ยม
สามารถห้อยโหนตัวไปตามกิ่งไม้บนต้นไม้สูงได้ดี
โดยใช้แขนที่มีความยาวกว่าขา
โหนและเหวี่ยงตัวไปตามกิ่งไม้บนต้นไม้สูงด้วยความเร็ว
ดูคล้ายกับว่ามันกำลังบิน
ชะนีเป็นสัตว์ตระกูลลิงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น
ที่ไม่รู้จักการสร้างรังหรือบ้าน
ชะนีจะนั่งและหลับนอนอยู่บนง่ามไม้บนต้นไม้ใหญ่
โดยการเอนหลังพิงและหนุนนอนบริเวณลำต้นที่มีลักษณะคล้ายหมอนและพนักพิงอย่างอิสระและปลอดภัย
และ
ชะนียังจัดเป็นสัตว์ตระกูลลิงไม่มีหางเพียงประเภทเดียวที่มีการครองคู่
แบบผัวเดียวเมียเดียว
ไปตลอดชีวิต
อยู่กันแบบครอบครัวพ่อ-แม่-ลูกที่อบอุ่นมาก
เมื่อคู่ของมันตายไปอีกตัวหนึ่งก็มักจะตรอมใจและตายตามไปในที่สุด
เป็นชีวิตที่น่าศึกษามาก
จึงอยากเตือนในเราท่านที่นิยมส่งเสริมการซื้อลูกชะนีมาเลี้ยง
ท่านกำลังส่งเสริมให้เกิดการล่าลูกชะนี
และวิธีเดียวที่พรานจะได้ลูกชะนีมา
1 ตัว
อาจต้องยิงแม่ชะนีกว่า 10
ตัว
เพื่อให้ลูกชะนีที่ตกลงมาพร้อมกับแม่นั้น
เป็นลูกที่ยังมีชีวิตอยู่
และเมื่อแม่ชะนีตาย
อีกไม่นานพ่อชะนีก็จะตรอมใจตายไปด้วย
ส่วนลูกชะนีล่ะครับ
เมื่อได้ลูกชะนีสัก 10 ตัว
อาจมีชีวิตรอดมาถึงมือผู้ขายในตลาดเพียง
3 ตัว
และอาจรอดมาถึงผู้ซื้อเพียง
1 ตัว
ดังนั้นผู้ที่ซื้อลูกชะนีมาเลี้ยงเพียงหนึ่งตัว
เท่ากับท่านยินดีกับการสูญเสียชีวิตของชะนีกว่า
300 ตัวเลยทีเดียว
ช่วยกันเถอะครับ
หยุดส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ป่าที่บ้านเถอะครับ
และช่วยบอกต่อ ๆ
กันด้วยนะครับ
เพื่อสัตว์ที่น่าสงสารของไทยเถอะครับ
จบเส้นทางการเดินทาง
กล่าวขอบคุณ
และส่งคณะที่บริเวณประตูทางออกสวนสัตว์
รวมระยะเวลา 45-60 นาที
ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร