สถานที่ท่องเที่ยว
หัวหิน เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   

นครปฐม

แนะนำที่พัก สวนสามพราน (Rose Garden).....

นครปฐม > ที่พักนครปฐม > ทัวร์นครปฐม > แผนที่นครปฐม ร้านอาหารนครปฐม > การเดินทางนครปฐม

พระตำหนักทับขวัญ,นครปฐม
 
 พระตำหนักทับขวัญ
     พระตำหนักทับขวัญ เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด และเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมเรือนไทยชั้นครูที่ยังคงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ฤทัย ใจจงรัก อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้วิจัยเรื่อง "เรือนไทยเดิม" กล่าวว่า "เรือนทับขวัญ ถือว่าเป็นฝีมือครู ซึ่งเป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่นหลังไปศึกษาค้นคว้าได้ดีที่สุด เรือนนี้อยู่ในประเภทเรือนคหบดีและมีส่วนประกอบครบ" พระตำหนักทับขวัญตั้งอยู่ภายในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม นายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างคือ พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี)
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว

     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2454 พระองค์ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักองค์นี้เป็นเวลา 1 คืน และเมื่อมีการซ้อมรับเสือป่า พระตำหนักองค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ ปัจจุบัน ภายในพระตำหนักใช้จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจด้านไทยศึกษาของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติความเป็นมาพระตำหนักทับขวัญ
     ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองนครปฐมห่างไป 1 กิโลเมตร มีบริเวณที่เรียกกันมาว่า "เนินปราสาท" ใกล้ๆ กับเนินแห่งนี้ มีสระน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า "สระน้ำจันทร์" เป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังเพื่อแปรพระราชฐานในการเสด็จมาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ และทรงพระราชทานนามว่า พระราชวังสนามจันทร์ การก่อสร้างพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆ ในพระราชวังสนามจันทร์นั้น ได้ดำเนินติดต่อกันมาถึง 4 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2454

     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนไทยพระตำหนักทับขวัญขึ้น โดยโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2454 การสร้างพระตำหนักทับขวัญในรูปแบบของเรือนไทยเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ พระองค์ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักองค์นี้เป็นเวลา 1 คืน และเมื่อมีการซ้อมรับเสือป่า พระตำหนักองค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ โดยพระตำหนักทับขวัญสร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักทับแก้ว ซึ่งเป็นตึกฝรั่งอยู่ทางด้าน ตะวันออกคนละฟากถนนกับทับแก้ว

     ในสมัยรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยขอให้ทับขวัญเป็นที่พักเกษตรมณฑล พ.ศ. 2479 เพื่อจัดการบูรณะ ทางจังหวัดนครปฐมขอทับขวัญเป็นสิทธิ์ ตามเรื่องราวปรากฏว่า "เคยเป็นตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กระทรวงวังมีความรังเกียจที่จะให้ผู้อื่นอยู่ร่วมอาศัย ได้เคยดำริจะรื้อนำมากรุงเทพฯ ครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2476 แต่ยังมิได้จัดการอย่างไรต่อจากนี้ เลขานุการคณะกรรมการพระราชวัง ได้มีหนังสือถึงราชเลขานุการในพระองค์ ความว่า ยังไม่เห็นควรรื้อ เพราะ เห็นว่าเรือนนี้ยังคงทนถาวรอยู่"

     ปี พ.ศ. 2509 พระตำหนักทับขวัญตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร สภาพพระตำหนักในตอนนั้น ทรุดโทรมมาก หลังคา ชำรุดและรั่ว พื้นพัง โดยเฉพาะพื้นชานไม่ สามารถใช้ได้ ในปี 2511 มหาวิทยาลัย มีความคิดที่จะใช้ทับขวัญเป็นพิพิธภัณฑ์ทางภาษาและวัฒนธรรมไทยและคิดจะบูรณะแต่ขาดเงินซึ่งภายหลังกรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ของบประมาณ และขอรับบริจาคจากหน่วยงานต่าง ๆ จนสามารถดำเนินการบูรณะจนเสร็จสมบูรณ์โดยวิธีรื้อของเก่าออกทั้งหลังแล้วประกอบใหม่ให้เหมือนเดิมโดยเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาแทนจาก

     คณะกรรมการส่งเสริมกิจการละครพูดกับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมกันจัดการแสดงละครพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ. 2519 เพื่อเก็บเงินตั้งเป็นกองทุนบูรณะพระตำหนักทับขวัญ โดยมีการแสดงเรื่อง "ตบตา" และเรื่อง "ทานชีวิต" ที่โรงละครแห่งชาติ

     ใน พ.ศ. 2524 อันเป็นปีฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 100 ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมศิลปากร ได้เสนอของบประมาณเพื่อบูรณะพระตำหนักทับขวัญเป็นเงินหนึ่งล้านบาท ฝ่ายมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ตั้ง "คณะกรรม การร่างโครงการบูรณะเรือนทับขวัญ" และได้ประกาศทางหนังสือพิมพ์ขอให้ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อการนี้  ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยชี้แจงว่าจะใช้พระตำหนักทับขวัญเป็นศูนย์วัฒนธรรมภาคกลางและภาคตะวันตก ซึ่งธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด บริจาคเงินสมทบทุนไว้อีก หนึ่งหมื่นบาท ในปีเดียวกันนี้ชุมนุมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ได้จัดการโขนกลางแปลงเรื่อง "มารชื่อพิเภก" ได้เงินหนึ่งแสนบาทและสมาคมชาวนครปฐม จัดงาน "ห้าธันวามหาราช" ได้เงินสมทบทุนอีกหนึ่งแสนบาท และต่อมาบริษัทเอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด ได้บริจาคเงินสองล้านบาทร่วมบูรณะพระตำหนักทับขวัญ เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 ในขณะเดียวกันกรมศิลปากร ได้งบประมาณแผ่นดินเพื่อบูรณะพระตำหนักทับขวัญหนึ่งล้านบาท

     ดังนั้นในปี พ.ศ. 2525 นี้เอง ทางมหาวิทยาลัยได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ทั้งหลัง โดยให้อยู่ในรูปแบบลักษณะเดิมทุกประการ แต่เปลี่ยนแปลงทางด้านระบบโครงสร้างและวัสดุ ทางด้านโครงสร้าง เสาช่วงล่างเปลี่ยนเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและเพิ่มคานด้านความยาวเพื่อรองรับราที่เพิ่มให้ถี่ขึ้น ในการรองรับพื้นเรือนให้สามารถรองรับน้ำหนักจากผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมพระตำหนักซึ่งจำนวน จะมากกว่าปกติ ส่วนวัสดุจะเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากตับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาหลบหลังคาที่สันหลังคา และหลบหลังคาปั้นลมเปลี่ยนมาเป็นทำด้วยปูน และปูอิฐที่ใต้ถุน เพื่อให้ได้ประโยชน์การใช้สอยเพิ่มขึ้น พระตำหนักทับขวัญที่สร้างใหม่เสร็จวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2526โดยในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2526 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธี

     ปัจจุบัน ภายในพระตำหนักใช้จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจด้านไทยศึกษาของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เรื่องเกี่ยวกับภาษา วรรณคดี โบราณคดี การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กิจการเสือป่า และลูกเสือไทย เป็นต้น

ลักษณะของเรือนไทยพระตำหนักทับขวัญ
     เรือนไทยพระตำหนักทับขวัญสร้างด้วยไม้สักทองใช้วิธีเข้าไม้ตามแบบฉบับบ้านไทยโบราณ ฝาเรือนทำเป็นฝาปะกนกรอบลูกฟัก เชิงชายและไม้ค้ำยันสลักเสลาสวยงาม หลังคาเดิมมุงจาก หลบหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา พระตำหนักทับขวัญประกอบด้วยกลุ่มเรือน 8 หลัง ได้แก่ เรือนใหญ่ 4 หลัง เรือนเล็ก 4 หลัง สร้างให้หันหน้าเข้าหากัน 4 ทิศบนชานรูปสี่เหลี่ยม เรือนหลังใหญ่เป็นหอนอน 2 หอ (ห้องบรรทมเป็นหอนอนที่อยู่ทางทิศใต้) อีก 2 หลังเป็นเรือนโถงและเรือนครัวซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนเรือนเล็กอีก 4 หลังนั้นตั้งอยู่ตรงมุม 4 มุมๆ ละ 1 หลัง ได้แก่ หอนก 2 หลัง เรือนคนใช้และเรือนเก็บของ เรือนทุกหลังมีชานเรือนเชื่อมกันโดยตลอด บริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันทน์ใหญ่แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงาอยู่กลางนอกชาน รอบๆ บริเวณปลูกไม้ไทย มีต้นจันทร์ จำปี นางแย้ม นมแมว เป็นต้น (เมื่อปี พ.ศ. 2510 - 2511 ยังมีกระถางไม้ดัดและอ่างปลาเหลืออยู่ที่นอกชาน)

     คูหาหน้าบันประดับด้วยป้านลมและตัวเหงาหน้าบันเป็นแบบลูกฟักหน้าพรหม ฝาเรือนเป็นไม้เข้าลิ้นแบบฝาปะกน พระตำหนักนี้จะมีบันไดขึ้นลง 2 บันได บันไดหน้ามีซุ้มประตูเป็นหลังคาซุ้มเล็กๆ ทรงเดียว กับหลังคาเรือน บันได อยู่ที่ส่วนเชื่อมต่อกันของชานระเบียงเรือนใหญ่กับเรือนเล็ก แรกเริ่มนั้นเรือน ทุกหลังมุงหลังคาด้วยตับจาก และหลบสันหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา แต่ได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาภายหลัง โครงสร้างทั้งหมดเป็นไม้ พื้นเป็นไม้สักปูตามยาวของตัวเรือนมีรอดรองรับ นอกจากนี้พระตำหนักทับขวัญนี้ยังเป็นเรือนไทยที่มีใต้ถุนสูง ใต้ถุนของตัวเรือน คนสามารถเดินลอด ผ่านได้สะดวก ส่วนใต้ถุนของระเบียงและชาน สามารถลอดได้แต่ไม่สะดวกนัก

 การเดินทาง
- ทางรถยนต์
ให้ใช้แยกนครชัยศรีเป็นหลัก ซึ่งถ้าวิ่งมาจากกรุงเทพจะสามารถมาได้จาก ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) และถนนสายปิ่นเกล้า - นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338 ) เพื่อมุ่งหน้าสู่นครปฐม ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี

จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไปประมาณ 8.5 กิโลเมตร จะถึงแยกบ้านแพ้ว (ถ้าเลี้ยวซ้ายจะไปบ้านแพ้ว ถ้าตรงไปจะไปนครปฐม ราชบุรี) ให้ขับตรงไปอีกประมาณ 500 เมตร จะพบสะพานไปตัวเมืองนครปฐม ให้ขับขึ้นสะพาน (ถ้าตรงไปจะไปราชบุรี) จากนั้นขับตรงไปอีกประมาณ 3.4 กิโลเมตร จะพบ 4 แยกไฟแดง (ถ้าตรงไปก็คือ องค์พระปฐมเจดีย์ ถ้าเลี้ยวขวาจะเข้าไปยังตลาดนครปฐม ถ้าเลี้ยวซ้ายจะไปจังหวัดสุพรรณบุรี) เลี้ยวซ้าย แล้วขับตรงไปประมาณ 200 เมตร จากนั้นเลี้ยวขวา แล้วขับตรงไปประมาณ 1.9 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาที่ไฟแดง เลี้ยวขวาแล้วให้ขับตรงไปประมาณ 400 เมตร ก็จะถึงพระราชวังสนามจันทร์

- ทางรถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ นั่งรถสายกรุงเทพฯ - สุพรรณบุรี ไปลงที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร (นครปฐม) จากนั้นเดินเท้าประมาณ 400 เมตร จะถึงพระราชวังสนามจันทร์

----------------------------------------------------------------------------------

แนะนำที่พัก โรงแรมที่จังหวัดนครปฐม

 
Sampran Riverside

 สถานที่ท่องเที่ยว

ท่องเที่ยว

ท่องเที่ยว

 

ท่องเที่ยว

Momchailai River Retreat
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
 
ท่องเที่ยว
 แนะนำที่พัก โรงแรมที่จังหวัดกรุงเทพ
Ramada Plaza Menam
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
 
ท่องเที่ยว
Evergreen Place
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
 
ท่องเที่ยว
Tongtara Riverview
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
 
ท่องเที่ยว
Novotel Siam
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
 
ท่องเที่ยว
Novotel Bangkok IMPACT
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
 
ท่องเที่ยว
Miracle Grand Convention
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
 
ท่องเที่ยว
 

-------------------------------------------------------------------------------------------------

 

แผนผัง  นครปฐม
::: ประวัตินครปฐม
::: ทัวร์ นครปฐม
::: ที่พักนครปฐม

::: สถานที่ท่องเที่ยวนครปฐม:
::: อำเภอเมืองนครปฐม
:::
อำเภอกำแพงแสน
:::
อำเภอบางเลน

:::
อำเภอนครชัยศรี
:::
อำเภอสามพราน
::: การเดินทาง นครปฐม
  ::: แผนที่ นครปฐม
::: เทศกาล นครปฐม
::: ร้านอาหาร นครปฐม
::: ของฝาก นครปฐม
 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
 

หัวหิน  เกาะเสม็ด   เกาะช้าง  เกาะเต่า  พัทยา  ภูเรือ  เขาใหญ่  เขาค้อ  ดอยอินทนนท์  สวนผึ้ง  

หัวหิน

บริษัท ไทยทัวร์ อินโฟ จำกัด
Email: info@thai-tour.com All rights reserved by Thai-Tour.Com with TAT License 11/04452
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์ | โฆษณา

 
ท่องเที่ยว