|
พระปฐมเจดีย์,นครปฐม
พระปฐมเจดีย์ |
เป็นพระมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
การที่ได้ชื่อว่าพระปฐมเจดีย์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
ทรงสัณนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระเจดีย์เก่ากว่าพระเจดีย์อื่น ๆ
ในประเทศสยาม สันนิษฐานว่าสร้างสมัยทวาราวดี
ตั้งอยู่ที่เมืองนครไชยศรีในสมัยก่อน
ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเมืองนครปฐม
จากเอกสารเก่าที่บันทึกเรื่องนี้ไว้มีประวัติว่า พระปฐมเจดีย์
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ ก็มี พ.ศ. ๑๐๐๐ ก็มี พ.ศ. ๑๑๘๕ ก็มี พ.ศ.
๑๒๖๔ ก็มี พ.ศ. ๑๖๓๐ ก็มี ความสูง ๔๐ วา ๕ ศอก มีพระแท่นบรรทม
ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทม บรรจุพระทันตธาตุ คือ
พระเขี้ยวแก้ว องค์หนึ่ง บรรจุพระบรมธาตุ หนึ่งทะนาน
มีปรากฎก่อนพบพระพุทธบาท พระพุทธฉาย กว่าพันปี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
ในขณะที่ทรงผนวชอยู่และได้ไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
ได้ทรงแสดงสภาพพระปฐมเจดีย์ไว้ว่า เป็นเพระเจดีย์ใหญ่ยอดปรางค์
ตอนหนึ่ง ฐานล่างกลมเป็นรูประฆัง ตอนหนึ่ง น่าจะทำมาหลายคราว
คนทั่วไปเรียกว่า พระปทม เนื่องด้วย
เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาบรรทมที่นั่น
จากฝีมือทำอิฐและก่อ แสดงว่าเป็นของทำมาเก่าแก่หลายครั้ง
ที่เนินใหญ่เป็นกองอิฐหักลงมา
เมื่อขุดลงไปสักสองสามศอกพบอิฐยาวศอกหนึ่ง หน้าใหญ่สิบสองนิ้ว
หน้าน้อยหกนิ้ว ก่อเป็นพื้น
น่าจะเป็นองค์พระเจดีย์เดิมหักพังลงมา
แล้วมีการก่อพระเจดีย์ออกบนเนินเรียงรายอยู่สี่วิหาร
มีวิหารพระนาคปรก วิหารพระไสยาสน์ วิหารไว้พระพุทธรูปต่าง ๆ
และวิหารพระป่าเลไลย์ วิหารหลวงพระอุโบสถอยู่บนพื้นแผ่นดิน
ตั้งแต่หลังเกาะสูงประมาณมีถึงห้าวา
หลังเกาะขึ้นไปเป็นองค์พระเจดีย์กลม ๑๔ วา ๒ ศอก ปรางค์สูง ๒๐
วา ยอดนพศูลสูง ๘ ศอก รวมความสูงตั้งแต่หลังเกาะถึงยอดนพศูลสูง
๘ ศอก รวมความสูง ตั้งแต่หลักเกาะถึงยอดนพศูล ๔๐ วา ๒ ศอก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เป็นแม่กองทำการปฏิสังขรณ์
และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยา ฯ ถึงแก่พิราลัย ก็ได้โปรดเกล้า ฯ
ให้เจ้าพระยานิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองดำเนินการต่อไป
ได้จ้างพวกมอญทำอิฐ รวมทั้งทาสลูกหนี้ด้วย โดยคิดหักค่าตัวให้
จ้างจีนมาเผาปูน และ เป็นช่างก่อ เอาราษฎรจากเมืองนครไชยศรี
เมืองสมุทรสาคร เมืองราชบุรีและเมืองพนัสนิคม
โดยแบ่งคนออกเป็นสี่ผลัด เดือนละสองร้อยคน
เมื่อก่อพระเจดีย์ได้สูง ๑๗ วา ๒ ศอก
ต่อมาเกิดฝนตกหนักอิฐที่ก่อทรุดตัวลง เพราะฐานทักษิณไม่มี
จึงต้องรื้อออกทำใหม่ โปรดเกล้า ฯ
ให้ถมพื้นที่ลุ่มดอนให้เสมอกัน ก่อฐานใหญ่รอง ๕ เส้น ๑๖ วา ๓
ศอก องค์พระเจดีย์ถึงยอดนพศูล ตลอดยอดมงกุฏ สูง ๓ เส้น ๑ คืบ ๖
นิ้ว |
|
-----------------------------------------------------------------
|
|
|