-
วิหารพุทธมณฑล เป็นอาคารชั้นเดียว
สร้างแบบสถาปัตยกรรมไทยตามแบบวิหารของวัดราชาธิราช
ผนังวิหารทำเป็น 2 ชั้น เพื่อให้ประตูหน้าต่าง
เลื่อนเข้าภายในกำแพงได้ ภายในปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน
หลังคามุงด้วยกระเบื้องลวดลายภายนอกเป็นประติมากรรมรูปพระพุทธรูป
8 องค์ และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป
25 พุทธศตวรรษขนาด 2,500 มม. ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2515 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2518
-
สังเวชนียสถาน 4 ตำบล
-
ธรรมจักรบริเวณส่วนสังเวชนียสถาน 4
ตำบลตำหนักสมเด็จพระสังฆราช เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมประยุกต์
หันหน้าไปทางทิศเหนือ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2524
-
ที่พักสงฆ์อาคันตุกะ
อยู่ตรงข้ามกับตำหนักสมเด็จพระสังฆราช
มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สองชั้น
สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2526
-
หอประชุม
สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประชุมทางพระพุทธศาสนา
และให้ความรู้ อาคารแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สองชั้น
ชั้นล่างด้านทิศเหนือใช้เป็นสำนักงานพุทธมณฑล สร้างเสร็จ
พ.ศ. 2529
-
หอกลอง
สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานกลองชัยขนาดใหญ่
ตัวกลองทำด้วยไม้ขนุน และหนังควายเผือก
เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาด 1.60 เมตร ผู้จัดทำกลองคือ
พระพิชัย ธรรมจาโร วัดบัลลังก์ศิลาอาสน์ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
เมื่อ พ.ศ. 2526
-
สำนักงานพุทธมณฑล
ลักษณะอาคารแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สร้างเสร็จ พ.ศ.
2525
อาคารประชาสัมพันธ์ สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ แล้วเสร็จในปี
พ.ศ. 2525
-
ศาลาราย
สร้างตามแนวทางเท้าวงกลมรอบองค์พระประธานมีทั้งหมด 20 หลัง
ด้านข้างโปร่ง
-
ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
เป็นอาคารเพื่อใช้ปฏิบัติกรรมฐาน อยู่บริเวณสวนเวฬุวัน
เป็นรูป 6 เหลี่ยม เชื่อมติดต่อกันทั้งหมด 8 หลัง
-
พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา
อาคารทรงไทยเป็นรูปกลมวงแหวนด้านนอก แบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรกแสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ ส่วนที่ 2
จัดนิทรรศการและการบรรยาย ส่วนที่ 3 ส่วนบริการ สุขา
ห้องน้ำ ฯ
-
หอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ
(นามพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ) ห้องอ่านหนังสือจุได้ 500
คน มีหนังสือประมาณ 500,000 เล่ม เก็บหนังสือบนเพดานได้อีก
หนึ่งล้านเล่ม วัดปากน้ำและสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ
บริจาคเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 250 ล้านบาท
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ที่ทรงเจริญพระชนมายุ
5 รอบ
-
มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน
สถาปัตยกรรมไทยรูปทรงจตุรมุข มีพระเจดีย์ 9 ยอด
ประดิษฐานในท่ามกลาง และเป็นที่จารึกพระไตรปิฎกหินอ่อน
ขนาด 1.10 x 2.00 เมตร จำนวน 1,418 แผ่น
มีภาพวาดพระพุทธประวัติอยู่ด้านบนโดยรอบ เริ่มสร้างปี พ.ศ.
2532 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541
-
โรงอาหาร เป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย
บริการด้านอาหารเมื่อมีกิจกรรมในพุทธมณฑล
หอฉัน ลักษณะสถาปัตยกรรมไทย ใช้เป็นที่อบรมศีลธรรม
จริยธรรม ของนักเรียน นักศึกษาที่มาพักแรมเข้าค่ายพุทธบุตร
-
ท่าเทียบเรือ อยู่ด้านทิศเหนือ และทิศใต้
ด้านหลังใช้เป็นท่าขึ้นลงเรือ
ซึ่งเรือแล่นไปได้รอบพุทธมณฑล
-
สระน้ำขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังวิหาร
มีขอบสระใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนา หรือลอยกระทง
-
ศาลาอำนวยการ ใช้เป็นที่รับบริจาค
ขายดอกไม้ธูปเทียน และวัตถุมงคล
-
ศาลาบำเพ็ญกุศล
อยู่ด้านหลังศาลาอำนวยการใกล้องค์พระ
-
สำนักงานย่อย อยู่บริเวณสวนเวฬุวัน
เป็นที่ทำการของเจ้าหน้าที่
-
ศาลาสรีรสราญ ห้องสุขา
-
เรือนแถว ที่พักของเจ้าหน้าที่ป้อมยาม มี 8
หลัง