พระราชวังสนามจันทร์ |
ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์
ไปทางทิศตะวันตก ราว 2 กม.
มีพื้นที่ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา
พระราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้น
ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
ซึ่งมีมูลเหตุจูงใจ
มาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์
ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัย
เมืองนครปฐมเป็นอย่างยิ่งทรงเห็นว่า
เป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับประทับพักผ่อน
เนื่องจากมีภูมิประเทศงามร่มเย็น
ดังที่ได้ทรง ไว้ในลายพระหัตถ์
เรื่องการแก้ไขวิหารหลวง
ตอนหนึ่งว่า "ในรัชกาลที่ 5
ฉันได้ออกไปพักอยู่ที่เมืองนครปฐมบ่อย
ๆ
จึงได้ใฝ่ใจในองค์พระนั้นมากแต่นั้นมา"
เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น
พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
และยังไม่ได้สร้างพระราชวังสนามจันทร์
เวลาเสด็จนครปฐมมักจะประทับที่พลับพลาชั่วคราวในดงไผ่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบัน
หรือมิฉะนั้นก็จะประทับที่พระตำหนักบังกะโล
ซึ่งอยู่ตรงมุมถนนขวาพระใกล้กับสถานีตำรวจ
ซึ่งปัจจุบันพระตำหนักหลังนี้ได้รื้อลงหมดแล้ว
พระองค์โปรดการทรงม้าพระที่นั่งสำรวจท้องที่เป็นอย่างมาก
บางครั้งก็เสด็จไปที่ตำบลวัดทุ่งพระเมรุ
แต่ส่วนใหญ่โปรดเสด็จไปที่บริเวณพระราชวังสนามจันทร์
ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ของชาวบ้านปลูก
พืชไร่และพืชล้มลุก เช่น กล้วย
สับปะรด
ไว้มากมายสลับกับทุ่งหญ้ารกเรื้อและป่าไผ่ขึ้นเป็นดง
ทรงพอพระราชหฤทัยมาก
เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมจะสร้างเป็นที่ประทับถาวรในการเสด็จฯ
แปรพระราชฐาน
จึงรับสั่งขอซื้อจากชาวบ้านเจ้าของที่โดยใช้เงินจากพระคลังข้างที่ทั้งสิ้น
พระราชประสงค์ในการซื้อที่ดินจำนวนมากมาย
เพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ครั้งนี้
มิใช่จะเห็นแก่ความสุขสบายส่วนพระองค์
ในการเสด็จฯ
แปรพระราชฐานเท่านั้น
แต่เพราะทรงมีพระราชดำริที่ลึกซึ้ง
นั่นก็คือ
ทรงเห็นว่านครปฐมเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสำหรับต้านทานข้าศึก
ซึ่งจะยกเข้ามา
ทางน้ำได้อย่างดี
ด้วยทรงจดจำเหตุการณ์ เมื่อ ร.ศ.112
ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวไทยได้
และไม่ต้องการที่จะให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาพดังกล่าว
จึงตั้งพระทัยที่จะสร้างพระราชวังสนามจันทร์ไว้สำหรับเป็นเมืองหลวงที่สอง
เมื่อประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤติ
พระราชวังสนามจันทร์
เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2450
มีหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี)
ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์
เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่งซึ่งสร้างแล้วเสร็จ
และพระราชทานนามตามประกาศลงวันที่
27 สิงหาคม 2454 มีเพียง 2 พระที่นั่ง
ได้แก่ พระที่นั่ง พิมานปฐม
และพระที่นั่งอภิรมย์ฤดี
ต่อมาจึงสร้าง
เพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์ตามพระราชวัง
แต่เก่าก่อนดังที่
ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐาน
เหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์
ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 เวลา 4
นาฬิกา 47 นาที 51 วินาที
พระราชวังสนามจันทร์
เปิดให้เข้าชมเฉพาะ วันอังคาร-
พฤหัสบดี-เสาร์ เวลา 9.00-16.00 น.
มีอาณาเขตกว้างขวางประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง
มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบและ
มคูน้ำล้อมอยู่ชั้นนอก
ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆ
นั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวังเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
ได้แก่
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระที่นั่งพิมานปฐม
|
เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์อาคารก่ออิฐถือปูน
เป็นตึก 2 ชั้นแบบตะวันตก
ทรงใช้เป็นที่ประทับตั้งแต่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์
ห้องต่างๆ บนพระที่นั่งได้แก่
ห้องบรรทม ห้องสรง ห้องเสวย
ห้องภูษา ฯลฯ
และในพระที่นั่งพิมานปฐมนี้เอง
ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประทับทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ขององค์พระปฐมเจดีย์บนแท่นไม้สักมีขนาด
2 เมตร ชื่อว่า
"พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย์"
ขณะนี้ทางการได้รื้อนำไปตั้งไว้หน้า
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ
ส่วนพระที่นั่งพิมานปฐมนั้น
ในปัจจุบัน
ใช้เป็นส่วนหนึ่งของศาลากลางจังหวัดนครปฐม |
|
-----------------------------------------------------------------
พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี |
เป็นตึก 2 ชั้น
อยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งพิมานปฐม
ขณะนี้ใช้เป็นที่ทำการของศาลากลางจังหวัดนครปฐม
|
-----------------------------------------------------------------
พระที่นั่งวัชรีรมยา |
เป็นตึก 2 ชั้น
สร้างงดงามมากด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย
หลังคาซ้อนเช่นยอดปราสาทมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีงดงาม
มีช่อฟ้าใบระกา นาคสะดุ้ง
หางหงส์ครบถ้วน
พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่บรรทม
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของศาลากลางจังหวัด |
-----------------------------------------------------------------
พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ |
เป็นศาลาโถงรูปทรงไทยใหญ่กว้างขวาง
ยกสูงจากพื้นดินประมาณหนึ่งเมตร
และมีอัฒจันทร์ลง 2 ข้าง
พระที่นั่งองค์นี้อยู่ถัดจากพระที่นั่งวัชรีรมยาเชื่อมต่อกันด้วยพระทวาร
แต่เดิมใช้เป็นท้องพระโรงเวลา
เสด็จออกขุนนาง
รวมทั้งเป็นที่ประชุมข้าราชการและเหล่าเสือป่า
นอกจากนี้ยังใช้เป็นโรงละครสำหรับแสดงโขนอีกด้วย
ที่มีลักษณะพิเศษก็คือ
ตัวแสดงจะออกมาปรากฏภายภายนอกฉากบนเฉลียงถึง
3 ด้าน
มิใช่แสดงอยู่เพียงบนเวทีโรงละครที่มีลักษณะดังกล่าวมีอีก
2 แห่ง คือ
โรงละครสวนมิสกวันและที่หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธ
ปัจจุบันพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์
ใช้เป็นหอประชุมของจังหวัดนครปฐมหรือใช้ในพิธีต่าง
ๆ ของทางราชการ
|
|
-----------------------------------------------------------------
เทวาลัยคเณศวร์ |
หรือบางทีเรียกกันว่า
ศาลพระพิฆเณศวร์
สร้างขึ้นให้เป็นที่สถิตของพระคเณศวร์ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ
ศาลนี้ตั้งอยู่กลางสนามใหญ่หน้าพระที่นั่ง
นับเป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์มีผู้ศรัทธานับถือกันมาก
จนเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ของพระราชวังสนามจันทร์
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
|
อยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
เป็นตึก 2 ชั้น
แบบตะวันตกฉาบสีไข่ไก่
หลังคามุงกระเบื้องสีแดง
พระตำหนักหลังนี้ใช้เป็นที่ประทับเวลาเสือป่าเข้าประจำกอง
หรือในกิจพิธีเกี่ยวกับเสือป่า
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบเรอเนซองส์
(Renaissance) ของฝรั่งเศสผสมกับ
แบบฮาล์ฟทิมเบอร์ (Half Timber)
ของอังกฤษ
แต่ได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างในราว
พ.ศ.2451 ภายในมี ห้องอักษร
ห้องบรรทม และห้องสรง
ด้านหน้าพระตำหนักมีอนุสาวรีย์ย่าเหล
สุนัขแสนรู้ตัวโปรดของพระองค์ท่าน
นักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมที่นี่
ต้องเสียค่าเข้าชม 30 บาท (คนไทย)
เปิด วันพฤ - อา เวลา 9.00-16.00 น.
สอบถามรายละเอียดที่งานประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
โทร. (034) 242649
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
พระตำหนักมารีราชรัตนบัลลังก์ |
เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น
ทาสีแดงอยู่คนละฝั่งกับพระที่นั่ง
ชาลีมงคลอาสน์
พระตำหนังทั้งสองนี้เชื่อมติดต่อถึงกันด้วยทางเดินมีลักษณะคล้ายสะพานแต่มีหลังคา
มีฝา
และหน้าต่างทอดยาวจากชั้นบน |
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระตำหนักทับแก้ว |
เป็นตึกหลังเล็กซึ่งเคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาว
ปัจจุบันได้ปรับปรุงและตกแต่งสวยงาม
ใช้เป็นบ้านพัก
ของปลัดจังหวัดนครปฐม
ภายในอาคารยังมีเตาผิงสำหรับให้ความอบอุ่น
และมีภาพเขียนขาวดำของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวบนแผ่นหินอ่อนสีขาวที่ผนังห้อง
อนึ่งที่ดินบริเวณเบื้องหลังทับแก้วประมาณ
450 ไร่
ได้กลายเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร |
-----------------------------------------------------------------
พระตำหนักทับขวัญ |
เป็นเรือนไม้สักแบบหลังคามุงจาก
อยู่ตรงข้ามกับทับแก้วคนละฝั่งถนนห่างจากพระตำหนักมารีราชรัตนบัลลังก์
ไปเล็กน้อยเรือนไม้หลังนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะไทยโบราณไว้
นอกจากนี้
ยังใช้สำหรับบำเพ็ญกุศล
และบางครั้งก็จัดให้มีการแสดงของไทยเดิม |
|
-----------------------------------------------------------------
พระประโทณเจดีย์ |
เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่และใหญ่โตเป็นที่สองรองจากพระปฐมเจดีย์
ตั้งอยู่ที่วัดประโทณ
ริมถนนเพชรเกษม
ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ
5 กม.
ถือกันว่าเป็นที่บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
เดิมเป็นเจดีย์เก่าแก่และได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ในรัชกาลที่
4
โบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณนี้มีหลายอย่างเช่น
พระพุทธรูป ลูกประคำ
พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวาราวดี
นอกจากนี้ขุดพบครุฑโลหะสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่อีกด้วย |
|
|
-----------------------------------------------------------------
อนุสาวรีย์ย่าเหล |
เป็นรูปหล่อด้วยโลหะขนาดเท่าตัวจริงของสุนัข
ซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิดกับพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง
ย่าเหลเป็นสุนัขพันธุ์ทางเกิดในเรือนจำจังหวัดนครปฐม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพบเข้าเมื่อครั้งเสด็จฯ
ตรวจเรือนจำ
จึงนับว่าเป็นโชคของย่าเหล
ที่ทรงพอพระราชหฤทัย
และทรงเอาย่าเหลมาเลี้ยงไว้ในราชสำนัก
ย่าเหลเป็นสุนัขที่เฉลียวฉลาด
และจงรัก
ภักดีต่อพระองค์ท่านจนเป็นที่โปรดปรานมาก
เป็นเหตุให้มีผู้อิจฉาริษยาและถูกยิงตายในที่สุด
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโศกเศร้าอาลัยย่า
เหลมาก โปรดเกล้าฯ
ให้หล่อรูปย่าเหลด้วยทองแดงตั้งไว้หน้าพระตำหนังชาลีมงคลอาสน์
และทรงพระราชนิพนธ์กลอนไว้อาลัยย่าเหลไว้ที่แท่นใต้รูปนั้นด้วย |
|
นอกจากนี้แล้ว
ภายในพระราชวังสนามจันทร์ยังมีบ้านพักข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้า
และฝ่ายในที่ตามเสด็จเสมอในครั้งก่อน
บ้านพักเหล่านี้
บางหลังก็ชำรุดทรุดโทรม
แต่หลายหลังยังอยู่ในสภาพดี
ที่เห็นได้ก็คือ
บ้านพักเจ้าพระยารามราฆพ
ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กซึ่งครั้งนั้นเรียกว่า
"ทับเจริญ"
ปัจจุบันนี้ได้ใช้เป็น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
พระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดมากเป็นพิเศษ
จะเห็นได้จากการที่เสด็จฯ
แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ
พระราชวังแห่งนี้อยู่เนือง ๆ
โดยเสด็จฯ
แปรพระราชฐานให้ตรงกับ
ฤดูการซ้อมรบของพวกเสือป่า
พระองค์จึงทรงถือโอกาสออกตรวจตรา
และบัญชาการซ้อมรบของเหล่าเสือป่าด้วย
พระองค์เองเสมอ
ปัจจุบันก็ยังมีอาคารซึ่งปลูกสร้างขึ้น
เพื่อกิจการของเสือป่าเหลืออยู่ให้เห็น
เช่น อาคารที่พัก
ของเสือป่าม้าหลวง
และเสือป่าพรานหลวงกับ
โรงพยาบาลเสือป่า เป็นต้น
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
|
อยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
เป็นตึก 2 ชั้น
แบบตะวันตกฉาบสีไข่ไก่
หลังคามุงกระเบื้องสีแดง
พระตำหนักหลังนี้ใช้เป็นที่ประทับเวลาเสือป่าเข้าประจำกอง
หรือในกิจพิธีเกี่ยวกับเสือป่า
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบเรอเนซองส์
(Renaissance)
ของฝรั่งเศสผสมกับ
แบบฮาล์ฟทิมเบอร์ (Half Timber)
ของอังกฤษ
แต่ได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างในราว
พ.ศ.2451 ภายในมี
ห้องอักษร ห้องบรรทม
และห้องสรง
ด้านหน้าพระตำหนักมีอนุสาวรีย์ย่าเหล
สุนัขแสนรู้ตัวโปรดของพระองค์ท่าน
นักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมที่นี่
ต้องเสียค่าเข้าชม 30 บาท
(คนไทย) เปิด วันพฤ - อา
เวลา 9.00-16.00 น.
สอบถามรายละเอียดที่งานประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
โทร. (034) 242649 |
|
|
go to top
[thai-tour.com]
|