|
โบราณสถานในเขตเมืองกาญจนบุรีเก่า, กาญจนบุรี
โบราณสถานในเขตเมืองกาญจนบุรีเก่า |
ตั้งอยู่ในเขตตำบลลาดหญ้า ไปตามทางหลวงหมายเลข 323
และเข้าทางหลวงหมายเลข 3199 ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 2-3
บริเวณนี้เคยเป็นเมืองหน้าด่าน
สกัดกั้นการเดินทัพของพม่าซึ่งยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณ
พ.ศ. 2091-2327
สภาพปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยของแนวกำแพงดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ขนาด 167 x 355 เมตร มีป้อมค่ายอยู่ทั้ง 4 มุม
โบราณสถานโดยรอบในบริเวณใกล้เคียงกัน ได้แก่
วัดป่าเลไลยก์ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ชาวบ้านเรียกว่าวัดผ่าอก
แต่เดิมภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ภายในมณฑป
ได้ถูกคนลักลอบเจาะอกพระจนทะลุ จึงได้เรียกกันว่าวัดผ่าอก
ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ขึ้นแทน
โบราณสถานบริเวณวัดป่าเลไลย์ประกอบด้วย มณฑป วิหาร
และเจดีย์ทรงกลมก่อด้วยอิฐสอดินฉาบปูน
วัดขุนแผน จากวัดป่าเลไลยก์ทางเข้าด้านข้าง
วัดนี้เข้าไปทางค่ายฝึกสำรวจคณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวัดร้างที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มีพระปรางค์เป็นหลักสำคัญของวัด
ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระปรางค์ พระอุโบสถ
เจดีย์ประจำทิศ เจดีย์ราย และวิหาร
ปัจจุบันคงยังมองเห็นเฉพาะซากพระปรางค์เท่านั้น
วัดแม่หม้าย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ห่างจากวัดขุนแผนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 300 เมตร
มีโบราณสถานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มทางด้านทิศเหนือประกอบด้วยเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่มีฐานประทักษิณ
วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันตก
และกลุ่มทางด้านทิศใต้ประกอบด้วย วิหารขนาดกลาง เจดีย์ราย
และกำแพงแก้วล้อมรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ทั้งสองกลุ่มมีสระล้างกระดูกอยู่ระหว่างกลาง |
|
|
|
|