Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
: หารายละเอียด : หากระทู้
[1]  2  3  next  
วัดในจังหวัดนนทบุรี
โพสเมื่อ : 26 ส.ค. 51 : 13:28 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


 
ความเห็นที่ 1 โพสเมื่อ : 26 ส.ค. 51 : 14:01 น.  โดย : jeab742  


1.วัดกระโจมทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
เจ้าอธิการสุทัศน์ โกสโล (สุทัศน์ ตามภานนท์) อุปสมบท พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๑๕
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕/๒ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม. ๒ ต. วัดชลอ อ. บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๐
ถูกทิ้งรกร้าง เหลือซากพระอุโบสถหลังเก่าและพระพุทธรูป พระอุโบสถหลังใหม่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖๗ นิ้ว สูง ๙๔ นิ้ว

 
ความเห็นที่ 2 โพสเมื่อ : 26 ส.ค. 51 : 14:04 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


บรรยากาศในวัด

 
ความเห็นที่ 3 โพสเมื่อ : 27 ก.ย. 51 : 18:13 น.  โดย : jeab742  


๒.วัดกล้วย(บางกรวย) สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
พระครูพิศิษฎ์อรรถเวที (อุฏฐาโน เจียม กันทอง) อุปสมบท ๔ เม.ย.พ.ศ. ๒๕๐๐ เจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๒๑
ตั้งอยู่เลขที่ ๗๙ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม. ๓ ต. วัดชลอ อ. บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๖

 
ความเห็นที่ 4 โพสเมื่อ : 27 ก.ย. 51 : 18:14 น.  โดย : jeab742  


๓.วัดกล้วย(เมืองนนทบุรี) ตั้งอยู่ที่ ถ.ชอยสันติ ต.บางเขน อ.เมือง นนทบุรี เดิมเป็นวัดร้างกลางสวน จนมีผู้ร่วมกันบูรณะ ตั้งวัดเมื่อ ๒๑ ต.ค.๒๕๒๖ เจ้าอาวาส พระอธิการพิศิษฐศรณ์ มหิสฺสโร (พิศิษฐศรณ์ แสนเจริญ) อุปสมบทเมื่อ ๑๙ ก.พ. ๒๕๒๒

 
ความเห็นที่ 5 โพสเมื่อ : 27 ก.ย. 51 : 18:15 น.  โดย : jeab742  


๔.วัดกลางเกร็ด ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคลองลัดเกร็ด ถ.ภูมิเวทย์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ติดแม่น้ำลัดเกร็ด มีพระอุโบสถขนาดเล็กเก่าแก่มาก (ปกติไม่เปิด) พระประธานปางมารวิชัย และมีพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ยาว ๑๑ วา (๒๒ เมตร) อายุกว่า ๑๐๐ ปีที่มีผู้นับถือจำนวนมาก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ พ่อค้าแม่ค้าทางเรือจะเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อโต วัดกลางเกร็ด แวะเวียนมาเพื่อปะพรมน้ำมนต์ให้เกิดสิริมงคลค้าขายรุ่งเรือง ภายในวัดยังมีพระไสยาสน์สักการะด้วย นอกจากนี้บริเวณริมน้ำหน้าวัด เป็นแหล่งที่มีปลาสวายจำนวนมาก มีบรรยากาศร่มรื่น พร้อมภาพชีวิตริมน้ำที่แตกต่างจาก บรรยกาศอันจอแจของแหล่งชุมชน เจ้าอาวาส พระครูนนทสารวิสิทธิ์ (นนฺทิโย วิสิทธิ์ ขวัญเมือง) อุปสมบทเมื่อ ๑๓ ก.ค. ๒๔๖๕

 
ความเห็นที่ 6 โพสเมื่อ : 27 ก.ย. 51 : 18:16 น.  โดย : jeab742  


๕.วัดกลางบางซื่อ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๓ บ้านตลาดขวัญ ถ.นนทบุรี ๑ ม.๖ ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี มีพระอุโบสถหลังเก่าสร้างสมัยอยุธยา และมีพระพุทธโบราณปางห้ามญาติ สูง ๒.๗๐ เมตร “หลวงพ่อพระกาฬ” มีผู้นับถือจำนวนมาก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ บริเวณนี้มีวัดเก่าติดกัน 3 วัด วัดหัวเมือง(วัดร้าง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ขอใช้ ยังมีพระประธานอยู่) วัดกลางบางซื่อ (ติดปากคลองบางซื่อ) วัดท้ายเมือง (ติดมหาวิทยาลัยฯสุวรรณภูมิ) เจ้าอาวาส พระปลัดศรีมอย พุทฺธิสาโร (จันทร์ฟอง) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ มี.ค. ๒๕๓๖

 
ความเห็นที่ 7 โพสเมื่อ : 3 ต.ค. 51 : 10:16 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖.วัดกำแพง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙ ถ.พิบูลสงคราม ม.๘ ต.บางเขน อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๐ เดิมชื่อ วัดส้มป่อย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๖ พระอุโบสถสร้างเมื่อ ๒๒๒๖ พร้อมพระประธาน ปางมารวิชัย เจ้าอาวาส พระมหาวิชิตพงศ์ ถิรปุญฺโญ (วิชิตพงศ์ บุญมี) อุปสมบทเมื่อ ๑๒ เม.ย. ๒๕๓๙

 
ความเห็นที่ 8 โพสเมื่อ : 3 ต.ค. 51 : 10:17 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๗.วัดกู้ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๗ ม.๕ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๕ พระยาเจ่ง หัวหน้าชาวมอญ สร้างเดิมชื่อ “วัดท่าสอน” พ.ศ.๒๔๒๓ เรือพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้มลงใกล้บริเวณวัด ได้กู้พระศพฯพร้อมเรือพระที่นั่ง ขึ้นไว้ที่วัดเป็นการชั่วคราว จึงขนานนามใหม่ว่า “วัดกู้” ภายในวัดสร้างพระตำหนักพระนางฯเป็นอนุสรณ์ไว้ เจ้าอาวาส พระครูวิมลสุวรรณกร (จนฺทวโร สมพงษ์ แพฟื้น) อุปสมบท ๒๗ ม.ย. ๒๕๒๔
การเดินทาง
รถยนต์ จากท่าน้ำปากเกร็ดเลี้ยวซ้ายเข้าซอยวัดกู้มาตามถนนสุขาประชาสรรค์ ผ่านวัดบางพูดนอก สวนทิพย์ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร จะเห็นวัดกู้อยู่ด้านซ้ายมือ
เรือ เช่าเรือจากท่าน้ำปากเกร็ดแล่นมาทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 10 นาที จะเห็นท่าน้ำวัดกู้อยู่ทางขวามือ


 
ความเห็นที่ 9 โพสเมื่อ : 3 ต.ค. 51 : 10:18 น.  โดย : jeab742  


๘.วัดเกดประยงค์เล็กตั้งตรงจิตร ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ บ้านคลองบางกอกน้อย ม.๘ ต.บางขนุน อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๓๗๙ โดยลูกหลานนางเกดได้ถวายที่ดินและทรัพย์สินสร้างวัดชื่อ “วัดเกด” มีพระอุโบสถเก่า(๒๓๗๙) และวิหาร(๒๔๘๒) ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๙ นายประยงค์ นางเล็ก ตั้งตรงจิตร ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเกดประยงค์เล็กตั้งตรงจิตร เจ้าอาวาส พระใบฎีกาวิเชียร วชิโร (นาคหยวก) อุปสมบท ๒๔ มิ.ย. ๒๕๒๒
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ได้ทรงพระนิพนธ์เกี่ยวกับวัดเกดไว้ใน นิราศพระประธม ว่า
. . . . วัดเกษนึกเกษน้อง . . . . . . . . . . นงพงา พี่เอย
หอมยิ่งหอมบุหงา . . . . . . . . . . . . . . .ตระหลบฟุ้ง
ยามแนบนุชนิทรา . . . . . . . . . . . . . . รมย์รื่น รวยแม่
กลิ่นตระหลบอบมุ้ง . . . . . . . . . . . . . ห่อนสิ้นกลิ่นหอม

 
ความเห็นที่ 10 โพสเมื่อ : 3 ต.ค. 51 : 10:19 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๙.วัดเกาะพญาเจ่ง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๘ ม.๑ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ โดยพระยาเจ่ง คชเสนี สร้างเดิมชื่อ “วัดเกาะบางพูด” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๓๓๐ และ พ.ศ. ๒๕๐๘ ลูกหลาน “คชเสนี” นำโดยคุณหลวงบรินัย คชเสนี และขอเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดพญาเจ่า” เจ้าอาวาส พระปลัดประสิทธิ์ เขมรโต (ประสิทธิ์ คงค้าน) อุปสมบทเมื่อ ๔ ก.ค. ๒๕๓๖

 
ความเห็นที่ 11 โพสเมื่อ : 3 ต.ค. 51 : 10:50 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๐.วัดแก้วฟ้า ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕ ม.๕ ต.บางขนุน อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๕ อยู่ริมฝั่งคลองบางกอกน้อย รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ภายหลังตั้งเมืองนนทบุรีเพียง ๓ ปี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๑๑๐ หมู่บ้านที่ตั้งวัดเดิมเรียกว่า บ้านธาตุ โบราณสถานสำคัญภายในวัดแก้วฟ้า ได้แก่ พระประธาน เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปางมารวิชัย เรียกว่า หลวงพ่อใหญ่ มี อุโบสถหลังเก่า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๑๑๔ เป็นอาคารเครื่องก่อแบบผนังรับน้ำหนักขนาด ๕ ห้อง ฐานแอ่นโค้งทรงเรือสำเภาด้านหน้ามีพาไล ฝาผนังหุ้มกลอง ก่ออิฐจรตอกไก่ มีประตูด้านหน้า ๒ บาน ด้านหลังเป็นผนังทึบ มีช่องเล็ก ๆ หลังพระประธาน ๑ ช่อง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๑ องค์ และพระอัครสาวก ๒ องค์ รอบอุโบสถมีใบเสมาหินทรายแดง ลวดลายจำหลักตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์ มีซุ้มทรงกูบช้างทวิมุขกำแพงแก้วลักษณะบัวหลังเจียด บริเวณทางเข้ากำแพงเป็นหัวเสาเม็ดทรงมัณฑ์อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ด้านละ ๑ ช่อง มุมกำแพงแก้วด้านละ ๔ มุม มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว ด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์ย่อมมุมไม้ยี่สิบ ฐานสิงห์ยอดบัวตั้งอยู่ ๑ องค์ เจ้าอาวาส พระครูปลัด ไพศาล กิตฺติภทฺโท(บำรุงแคว้น) อุปสมบทเมื่อ ๕ พ.ค. ๒๕๒๗
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร. ๐๒-๔๔๗-๕๔๔๖,๐๒-กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน นิราศพระประธม ว่า

. . . . แก้วฟ้าอาวาศไว้ . . . . . . . . . . . . . สมญา วัดฤๅ
เฉกชื่อแก้วขนิษฐา . . . . . . . . . . . . . . . .พี่ร้าง
แก้วทิพย์เทียบแก้วตา . . . . . . . . . . . . . ดูเพรอด กว่าแฮ
แก้วทั่วฟ้าหล้าอ้าง . . . . . . . . . . . . . . . .เปรียบได้ไป่เสมอ ฯ๘๗๙-๙๙๗๑

 
ความเห็นที่ 12 โพสเมื่อ : 7 ต.ค. 51 : 12:31 น.  โดย : jeab742  


๑๑.วัดขวัญเมือง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๖ บ้านบางข่า ม.๘ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ เดิมชื่อ “วัดบางข่า” เจ้าอาวาส พระครูสมุห์บรรจง ฉนฺทวโร(จำปาโพธิ์) อุปสมบทเมื่อ ๖ ก.ค. ๒๔๘๖

 
ความเห็นที่ 13 โพสเมื่อ : 7 ต.ค. 51 : 12:33 น.  โดย : jeab742  


๑๒.วัดเขมาภิรตาราม เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ ถ.พิบูลสงคราม ม.๘ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี รัชกาลที่ ๕ ทรงสันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทอง(สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑) ได้ทรงปฏิสังขรณ์ เรียกว่า “วัดเขมา” หรือ “วัดเข็นมา” มีอายุกว่า ๖๐๐ปี สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีอัครมเหสี ในรัชกาลที่ ๒ (พระราชมารดารัชกาลที่ ๔)ทรงรับไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด ต่อมารัชกาลที่ ๔ ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง และพระราชทานนามว่า “วัดเขมาภิรตาราม” และทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ปฏิสังขรณ์อีกครั้ง และโปรดเกล้าฯให้ชะลอพระที่นั่งมูลมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวังไปสร้างเป็นโรงเรียนของวัดนี้(ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนกลาโหมอุทิศ) ปูชนียวัตถุมี ๑.พระมหาเจดีย์ สูง ๑๕ วา(๓๐ เมตร) บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒.พระประธานในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย พ.ศ.๒๓๗๑ ๓.พระอินทร์แปลง อัญเชิญมาจากพระราชวังจันเกษม อยุธยา เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ พ.ย. ๒๔๐๑ (สมัยอยุธยาไม่ทราบอายุ) ๔.พระทรงเครื่องศิลปะเขมรขนาดใหญ่ ๒ องค์ ๕.พระพุทธรูปทองคำ ปางห้ามญาติ ๔ องค์ ปางไสยาสน์ ๑ องค์ ปางสมาธิ ๑ องค์ และ๖.พระตำหนักแดงอีกองค์ เจ้าอาวาส พระราชปฏิภาณโกศล (ละเอียด สลฺเลโย ผลพูน) อุปสมบท เมื่อ ๒ มิ.ย. ๒๕๐๖
การเดินทาง สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง สอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 184 หรือรถโดยสารสองแถวสายเรวดี-วัดปากน้ำ หรือเรือด่วนเจ้าพระยา โดยลงที่ท่าน้ำนนทบุรี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 203 หรือโดยสารเรือข้ามฟากจากท่าน้ำบางศรีเมือง ไปฝั่งท่าน้ำนนทบุรีแล้วต่อด้วยรถโดยสารประจำทางสาย 203

 
ความเห็นที่ 14 โพสเมื่อ : 7 ต.ค. 51 : 12:35 น.  โดย : jeab742  


๑๓.วัดเขียน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๐ ม.๒ ต.บางไผ่ อ.เมือง นนทบุรี พระอุโบสถเก่า พ.ศ.๒๓๒๕ พระประธานปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๕ เมตร สร้าเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๓ เดิมเป็นท่าเทียบเรือสำเภาพ่อค้าจีน จนมีพ่อค้าชาวจีนชื่อ นายเคี้ยง ได้รวบรวมเงินและแรงงานสร้างวัดใน พ.ศ. ๒๓๒๓ ชื่อ “วัดเคี้ยง” ต่อมาชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น “วัดเขียน” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ เจ้าอาวาส พระปลัดจุลภัค เขมวิโร(รักไทย เจริญชิพ) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ ก.ค. ๒๕๓๑

 
ความเห็นที่ 15 โพสเมื่อ : 7 ต.ค. 51 : 12:37 น.  โดย : jeab742  


๑๔.วัดคงคา ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘ ม.๓ ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ เดิมชื่อ “วัดโครก” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๒ ต.ค. ๒๔๓๔ เจ้าอาวาส พระครูสุตวัฒน์ภิรม(ปภากโร ประภาส นาคหรั่ง) อุปสมบทเมื่อ ๑๑ ก.ค. ๒๕๒๑

 
ความเห็นที่ 16 โพสเมื่อ : 7 ต.ค. 51 : 12:38 น.  โดย : jeab742  


๑๕.วัดคลองขวาง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ บ้านคลองขวาง ม.๖ ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ เดิมชื่อ “วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม” เขตละหาร บางบัวทองในอดีตเป็นป่า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. เจ้าอาวาส พระครูโสภิตธรรมวิสุทธิ์ (อํสุธมฺโม วิสุทธิ์ อ่องลออ) อุปสมบทเมื่อ ๕ มิ.ย. ๒๕๓๐

 
ความเห็นที่ 17 โพสเมื่อ : 11 ต.ค. 51 : 17:45 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๖.วัดคลองขุนศรี ตั้งอยู่เลขที่ ๔๘ บ้านคลองขุนศรี ม.๓ ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๙ ม.ค. พ.ศ.๒๔๕๒ เขตบางเลน นครปฐม ชาวบ้านเรียก “วัดขุนศรีเจริญราษฏร์” ต่อมาโอนเขตเป็นจังหวัดนนทบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๙ พ.ย. ๒๕๔๐เจ้าอาวาส พระอธิการสุรินทร์ ฐานวโร (สุรินทร์ นราแหวว) อุปสมบทเมื่อ ๙ มิ.ย. ๒๕๓๓

 
ความเห็นที่ 18 โพสเมื่อ : 11 ต.ค. 51 : 17:46 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๗.วัดคลองเจ้า ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔ บ้านคลองทวีวัฒนา ม.๒ ต.ทวีวัฒนา อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ บริเวณวัดเป็นป่าทึบ หม่อมเจ้าทวีวัฒนาวงศ์ ได้ขุดคลอง ชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดเรียกว่า “วัดคลองบางเจ้า” หรือ “วัดคลองทวีวัฒนา” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๖ ส.ค. ๒๕๐๐ เจ้าอาวาส พระอธิการทวีป ยุตฺตธมฺโม (ทวีป นุสิทธิ์)

 
ความเห็นที่ 19 โพสเมื่อ : 11 ต.ค. 51 : 17:47 น.  โดย : jeab742  


๑๘.วัดคลองตาคล้าย ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓ บ้านคลองตาคล้าย ม.๒ ต.ไทรน้อย อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๐ เม.ย. ๒๔๖๙ เจ้าอาวาส พระครูถาวรสุตกิจ (ถาวโร เจียม แซ้ซื้อ) อุปสมบทเมื่อ ๒๙ ม.ย.๒๕๑๔

 
ความเห็นที่ 20 โพสเมื่อ : 11 ต.ค. 51 : 17:48 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๙.วัดค้างคาว ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๘ ม.๔ ต.บางไผ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒ ม.ค. ๒๓๒๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑ พ.ค. ๒๓๓๔ เจ้าอาวาสพระอธิการประมวล ถิรงฺกโร (ประมวล ศรีจาด) อุปสมบทเมื่อ ๓ มิ.ย. ๒๕๐๒

 
ความเห็นที่ 21 โพสเมื่อ : 11 ต.ค. 51 : 17:49 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๒๐.วัดแคนอก ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓ ถ.สนามบินน้ำ ม.๒ ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งที่ ๒ เมื่อ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๓๓ เจ้าอาวาส พระครูศรีสิทธิการ (ธมฺมเวที สมใจ ศรีทองอุทัย) อุปสมบทเมื่อ ๙ เม.ย. ๒๕๒๐

 
ความเห็นที่ 22 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:17 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๒๑.วัดแคใน ตั้งอยู่ที่ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ เจ้าอาวาส พระครูสังฆรักษ์บุญใส รตนปุตโต (สามา) อุปสมบทเมื่อ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๓๐

 
ความเห็นที่ 23 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:20 น.  โดย : jeab742  


๒๒.วัดโคนอน ตั้งอยู่เลขที่ ๗๗ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๔ ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๗ ก.ค. ๒๕๓๐ เจ้าอาวาส พระอธิการประดิษฐ์ สาทโร (ประดิษฐ์ ศิลาอ่อน) อุปสมบทเมื่อ ๕ ก.ค. ๒๕๑๓

 
ความเห็นที่ 24 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:21 น.  โดย : jeab742  


๒๓.วัดโคนอนมหาสวัสดิ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๘/๒ ม.๗ ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๐ ส.ค. ๒๕๒๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๑ ธ.ค. ๒๕๓๕ เจ้าอาวาส พระครูนนทวีรวัฒน์ (วีรธมฺโม สมเด็ด มีนุสรณ์) อุปสมบทเมื่อ ๓๐ เม.ย. ๒๕๑๗

 
ความเห็นที่ 25 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:21 น.  โดย : jeab742  


๒๔.วัดจันทร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๖ ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๐ พ.ค. ๒๓๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๙ ม.ค. ๒๓๓๘ เจ้าอาวาส พระครูสังฆรักษ์ศักดา โอภาโส(แสงทอง) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ ก.ค. ๒๕๓๒

 
ความเห็นที่ 26 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:22 น.  โดย : jeab742  


๒๕.วัดจำปา ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านบางขุนกอง ถ.นครอินทร์ ม.๓ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๑๙๓ พระอุโบสถเก่าแก่ สร้างเมื่อ ๒๑๙๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๘ ต.ค. ๒๕๔๗ เจ้าอาวาส พระครูวินัยธรสำเริง อโสโก (สอาดเย็น) อุปสมบทเมื่อ ๔ ก.ค.๒๕๑๑

 
ความเห็นที่ 27 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:23 น.  โดย : jeab742  


๒๖.วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ ถ.สนามบินน้ำ ม.๕ ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๐ เดิมชื่อ “วัดแจ้ง” ต่อมาพลโทพระยาสโมสรสรรพการ(ทัด) ศิริสัมพันธ์ ได้มาบูรณะใหม่หมด จึงไดชื่อว่า “วัดแจ้งศิริสัมพันธ์” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ เจ้าอาวาส พระครูสุนทรจริยาภิวัฒน์ (ฐิตญาโณ ประจวบ มุตตาฟา)

 
ความเห็นที่ 28 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:24 น.  โดย : jeab742  


๒๗.วัดฉิมพลี ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๒ บ้านโอ่งอ่าง ม.๑ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี วัดนี้เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งวัดเมื่อใดไม่ปรากฎ เดิมชื่อ “วัดป่าฝ้าย” ได้ถูกทิ้งร้างพร้อมกับวัดป่าเลไลยก์ที่อยู่ติดกัน ตั้งแต่ พม่าเข้ายึดเมืองนนทบุรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๘ จนปี ๒๓๑๗ พระเจ้าตากสินได้ให้ชาวมอญมาอาศัย วัดจึงถูกบูรณะขึ้นมาใหม่ ชาวมอญเรียก “เภียะฝ้าย” แปลว่าวัดป่าฝ้าย จนถึงรัชกาลที่ ๒ ประมาณ พ.ศ.๒๓๕๘ ได้บูรณะวัดครั้งใหญ่ และเปลี่ยนชื่อ “วัดฉิมพลีสุทธาวาส” มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ อุโบสถ เป็นอุโบสถขนาดเล็กแต่มีความงดงามเป็นเลิศ อาจกล่าวได้ว่าเป็นโบสถ์สมัยอยุธยา ที่สวยแห่งหนึ่งของประเทศไทย พระเจดีย์ เหนือโบสถ์มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ เป็นเจดีย์มุมสิบสอง และมีเจดีย์องค์เล็ก ๔ องค์ล้อมเจดีย์องค์ใหญ่ เจดีย์ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยม องค์ระฆังพระเจดีย์ประดับด้วยกระจกสีทั้งหมด ซึ่งดูแปลกกว่าเจดีย์ที่อื่นๆ และดูสวยงาม เจ้าอาวาส พระสมศักดิ์ มุนิวํโส(ดอกเมฆ) อุปสมบทเมื่อ ๕ ม.ค. ๒๕๓๐

 
ความเห็นที่ 29 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:25 น.  โดย : jeab742  


๒๘.วัดเฉลิมพระเกียรติ พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๘๖ ถ.ท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ดอนพรหม ต.บางศรีเมือง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกเยื้องศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า)ไปทางทิศเหนือประมาณ ๑ กม. ตั้งวัดเมื่อ ๒๓๙๐ เป็นวัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมือง วัดอยู่ในเขตป้อมเก่า รัชกาลที่ ๓ ให้พระยาคลัง(ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองสร้าง เป็นการถวายพระเกียรติ พระอัยการพระวัยก์ และสมเด็จพระชนนี แห่งพระองค์ สร้างวัดยังไม่เสร็จ โปรดให้พระยาทิพกรวงศ์ (นำ บุญนาค) ต่อมารัชกาลที่ ๔ ทรงรับพระราชภารกิจในการสร้างวัดจนแล้วเสร็จ ภายในวัดมีพระอุโบสถสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยปนจีน ด้านในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจรดเศียร 8 ศอก 2 คืบ 4 นิ้ว พระนามว่า "พระพุทธมหาโลกาภินันทปฎิมา" ในพระวิหารขวา ประดิษฐาน “พระศิลาขาว” พระการเปรียญหลวง(ซ้าย) ประดิษฐาน “พระพุทธปฏิมากรชัยวัฒน์” และพระมหาเจดีย์ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และเป็นเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรีฝ่ายมหานิกาย พระธรรมกิตติมุนี (ฐานมงฺคโล สาย ศรีมงคล) เกิด ๒๒ พ.ย. ๒๔๗๖ อุปสมบท ๑๙ เม.ย. ๒๔๙๗ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘
วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปีพ.ศ. ๒๕๓๖ จากสมาคมสถาปนิกสยาม สถาปัตยกรรมในวัดที่น่าสนใจได้แก่ พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๓ (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาผสม) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้ม ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก
ผนังภายในพระอุโบสถเขียนสีลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจกส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ
พระประธานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจัณทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ ๒ พระอาราม คือ วัดราชนัดดากับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นอีก ๓๔ ปางด้วย พระประธานนี้หล่อเสร็จเรียบร้อยเมื่อพ.ศ.๒๓๘๙ เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้น เวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศ ตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ยๆ มีล้อ) ประดิษฐานพระไปทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก ๒ คน ตาย เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”
ภายในพระวิหารหลวง หรือเรียกกันว่า วิหารพระศิลาขาว อยู่ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญมาเมื่อพ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวาเป็นพระศิลานั่งพับเพียบซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงองค์เดียว พระเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง มักเรียกกันว่า ทรงลังกา เนื่องจากได้รับแบบอย่างมาจากลังกา พร้อมกับการเผยแพร่เข้ามาของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ มีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้นสูง ๔๕ เมตร ภายในบรรจุพระบรมธาตุ
ยังมีถาวรวัตถุอื่นที่สำคัญ เช่น การเปรียญหลวง อาคารแบบผสมระหว่างอาคารทรงไทยกับเครื่องบนหลังคาแบบจีน ลักษณะเป็นตึกทรงโรงมีเสาอยู่ข้างใน ภายในประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรชัยวัฒน์ ซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมี กุฏิทรงไทย อยู่ด้านเหนือเขตพุทธาวาสจำนวน ๒๐ หลัง เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูง กำแพงแก้วและป้อมปราการ เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเหมือนกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีป้อมปราการทั้งสี่มุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และพระศรีมหาโพธิ์ ต้นโพธิ์พันธุ์พุทธคยาที่ได้มาสมัยรัชกาลที่ ๔
การเดินทาง
รถยนต์ เข้าไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อยแล้วเลี้ยวเข้าท่าน้ำนนทบุรี(ฝั่งธนบุรี) จะมีป้ายบอกทางตลอด หากมาจากฝั่งกรุงเทพฯข้ามสะพานพระราม ๕ แล้วแยกเข้าถนนบางกรวย–ไทรน้อย หรือข้ามจากสะพานพระนั่งเกล้า ถึงแยกบางพลู เลี้ยวซ้ายผ่านวัดสวนแก้ว ขับไปตามทางมีป้ายบอกทางเช่นกัน
เรือ นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปยังท่าน้ำนนทบุรีแล้วลงเรือหางยาวประจำเส้นทางไปคลองบางใหญ่ ออกจากท่าน้ำนนทบุรีทุก ๒๐ นาที ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ นาที
รถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารประจำทางหรือรถสองแถวจากท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งธนบุรี)
*หมายเหตุ-พระวิหารขวาบรรจุพระอัฐิพระอัยิกา(ยาย)และพระราชชนนี พระวิหารซ้ายบรรจุพระบรมอัฐิ(ส่วนหนึ่ง)รัชการที่ ๓ จากความทรงจำของผู้เขียน(สุขนิรันดร์ ดาวเรือง) จากหนังสือ เจ้าชีวิต และหนังสือจดหมายเหตุ(จำเล่นละเจ้าของหนังสือไม่ได้ ค้นหาไม่พบ)

 
ความเห็นที่ 30 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:26 น.  โดย : jeab742  


๒๙.วัดชมภูเวก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๓ ถ.สนามบินน้ำ ม.๔ ต.ท่าทราย อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ เดิมชื่อ “วัดชมพูวิเวก”ครั้งชาวมอญ อพยพหนีพม่ามาอยู่ในบริเวณนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้พบซากโบราณสถานที่มีมาอยู่ก่อน จึงได้ร่วมกันสร้าง พระมุเตา คือพระเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญ เป็นที่สักการบูชา มีพระอุโบสถเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน ๒ องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระวิหาร ตั้งอยู่หลังพระอุโบสถ ขนาดสามห้อง ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรม เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และภาพพุทธประวัติ เดิมในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง
รูปปูนปั้นหลวงพ่อฟ้าผ่า เป็นรูปปั้นพระสงฆ์ชาวมอญ มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เคร่งครัดในด้านวิปัสสนาเป็นพระเถรผู้ใหญ่ที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ความนับถือมาก และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของมหาชนทั่วไป เมื่อท่านมรณภาพขณะที่ไฟพระราชทานมาถึง ฟ้าได้ผ่าลงที่ปราสาทตั้งศพ ไฟลุกไหม้สรีรศพของท่านในเวลาเดียวกัน ผู้คนจึงขนานนามท่าน “หลวงพ่อฟ้าผ่า”
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๓ ธ.ค. ๒๕๑๑ เจ้าอาวาส พระครูศรีกิตติธาดา (ธมฺมวาที สังวาล โพธิ์น้อย) อุปสมบท ๖ พ.ค. ๒๔๙๓
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย ๖๙ สอบถามเพิ่มเติมโทร. ๑๘๔ หรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า

 
ความเห็นที่ 31 โพสเมื่อ : 27 พ.ย. 51 : 08:27 น.  โดย : jeab742  


๓๐.วัดชลประทานรังสฤษดิ์ โดยพระวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ตั้งอยู่เลขที่ ๗๘/๘ ถ.ติวานนท์ ม.๑ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๐ พ.ค. ๒๕๐๓ เป็นสถานที่เผยแพร่พระธรรมที่ร่มรื่นภายใต้ร่มไม้ที่มีอยู่ทั่วบริเวณวัดและมีการบรรยายธรรมทุกวันอาทิตย์ โดยเฉพาะท่านเจ้าคุณปัญญานันทภิกขุเป็นพระผู้ปฎิบัติธรรมที่ลือชื่อ เป็นที่รู้จักและนับถือของคนทั่วไป ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ๙ ก.พ. ๒๕๐๔ เจ้าอาวาส พระเทพปริยัติเมธี (ธีรปญฺโญ รุ่น รักษ์วงศ์) อุปสมบท ๒๘ มิ.ย. ๒๕๑๐

 
ความเห็นที่ 32 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 08:58 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๓๑.วัดชลอ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๓ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๑ พระอุโบสถหลังเก่าอายุกว่า ๔๕๐ ปี แบบเรือสำเภา ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๒ วัดนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้ทรงเสด็จทางชลมารคมาตามลำน้ำเจ้าพระยาผ่านจังหวัดนนทบุรีเรื่อยมาทางคลอง “ ลัด” ในปัจจุบันเรียกว่า “คลองบางกรวย” พระองค์ทรงเห็นว่า ที่ตรงนี้น่าจะมีการสร้างวัดขึ้นมาสักวัดหนึ่ง แต่เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเคยมีเรือสำเภาจากเมืองจีนล่มและจมลง มีลูกเรือล้มตายมาก มีความเชื่อว่าเป็นที่อาถรรพ์ ในระหว่างการก่อสร้างก็มีอุปสรรคนานัปการ จึงทรงเสี่ยงสัตยาธิษฐานกับเทพยดาและมีพระสุบินนิมิตไปว่า ชายจีนชรามากราบทูลว่า ต้องสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภาเพื่อการแก้เคล็ด จึงทรงสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้ทรงพระราชทานนามวัดดังกล่าวว่า” วัดชลอ” วัดชลอถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาโดยตลอดเพิ่งจะมีพระภิกษุมาจำพรรษาในรัชกาลที่ ๓ หรือ รัชกาลที่ ๔ สิ่งที่น่าชมในวัดนี้คือ โบสถ์เรือหงส์ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยหลวงพ่อวัดชลอหรือท่านพระครูนนทปัญญาวิมล ได้เล่าถึงนิมิตรเห็นเรือหงส์ลอยมาอยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า (โบสถ์ที่มีลักษณะเหมือนเรือสำเภา) จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้าง เจ้าอาวาส พระครูปลัด ทนงค์ ฐิตรํสี(ธรรมศูนย์) อุปสมบท ๒๐ ก.ค. ๒๕๑๕ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐๒-๔๔๗-๕๑๒๑, ๐๒-๘๘๓-๙๒๗๗
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงนิพนธ์ไว้ใน นิราศพระประธม ของพระองค์ท่านว่า
. . . . วัดชลอคิดใคร่จ้าง . . . . . . . . . . คนจร
ปลอบชลอบรรจฐรณ์ - . . . . . . . . . . แท่นน้อง
มาร่วมเรือที่นอน . . . . . . . . . . . . . . .แนบน่อย หนึ่งนา
คิดบ่สมคิดข้อง . . . . . . . . . . . . . . . . ขัดแค้นคำชลอ ฯ
สุนทรภู่ ผ่านหน้าวัดชะลอคราวไปพระประธม ได้เขียนไว้ใน นิราศพระประธม ว่า
วัดชะลอใครหนอชะลอฉลาด
เอาอาวาสมาไว้ให้อาศัยสงฆ์
ช่วยชะลอวรลักษณ์ที่รักทรง
ให้มาลงเรือร่วมนวมที่นอน ฯ

 
ความเห็นที่ 33 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 08:59 น.  โดย : jeab742  


๓๒.วัดช่องลม ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ม.๔ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๗ เม.ย. ๒๓๑๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ เจ้าอาวาส พระครูสังฆรักษ์บุญญวัฒน์ อคฺคธมฺโม(ทับทิมเทศ) อุปสมบท ๕ ธ.ค. ๒๕๒๓

 
ความเห็นที่ 34 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 09:00 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๓๓.วัดเชิงกระบือ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๖/๓ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๑ ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อประมาณ ๒๓๑๐ ขาดการบำรุงจนร้าง กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศเป็นวัดใหม่ วันที่ ๑๗ ก.ย.๒๕๑๒ ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดป่า” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๘ มิ.ย.๒๕๑๖ เจ้าอาวาส พระสมุห์ณัฐวุฒิ ฐิตธมฺโม (พลอยสีสังข์) อุปสมบท ๒๔ มี.ค.๒๕๑๓

 
ความเห็นที่ 35 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 09:01 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๓๔.วัดเชิงเลน ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ม.๘ ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี สันนิษฐานสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง พร้อมวัดท้ายอ่าว(ร้าง) และวัดเชิงท่า(ร้าง) ทรุดโทรมลงจนปี พ.ศ.๒๔๕๐ เจ้าอาวาสได้พัฒนาวัดใหม่ และขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑ เม.ย. ๒๔๕๖ เจ้าอาวาส พระครูนนทคุณพิพัฒน์(อมโร ประเสริฐ อมรี) อุปสมบท ๑๔ พ.ค. ๒๕๓๐

 
ความเห็นที่ 36 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 09:03 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๓๕.วัดโชติการาม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๖ ม.๓ ต.บางไผ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐เดิมชื่อ “วัดสามจีน” มีพระอุโบสถเก่าแก่สวยงานตามศิลปะจีน เจ้าพระยาโชดึกราชเศรษฐี ได้ทำการบูรณะและก่อสร้างอีกหลายรายการ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๕ ธ.ค.๒๔๖๐ ซุ้มประตูหน้าต่างที่พระอุโบสถเป็นลวดลายปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยลายครามและเบญจรงค์ บานประตูวิหารเป็นไม้จำหลักรูปเซี่ยวกางสวยงามมาก โบราณสถานในวัดได้แก่ วิหารทรงโรงก่ออิฐถือปูน ๓ ห้อง ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี มีจิตรกรรมฝาผนังภายใน ตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติตอนต่างๆ เช่น ตอนมารผจญ ตอนสัตตมหาสถาน ตอนเสด็จโปรดพุทธมารดาเสด็จจากดาวดึงส์ เจ้าอาวาส พระวินัยธรถวิน ถาวโร (กรใหม่) อุปสมบทเมื่อ ๖ เม.ย. ๒๕๓๓
การเดินทาง
ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปวัดสังฆทานจะมีป้ายชี้บอกตลอดทาง

 
ความเห็นที่ 37 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 09:04 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๓๖.วัดซองพลู ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ บ้านบางขุนกอง ม.๒ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๒๗๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๒๗๕ พระอุโบสถเก่าแก่หน้าบันไม้สักแกะสลักนารายณ์ทรงครุฑ(เป็นพระวิหาร) เจ้าอาวาส พระครูวิสิฐกิตติญาณ(กิตฺติญาโณ จุฬาวัล แสงใส) อุปสมบทเมื่อ ๑๒ มิ.ย. ๒๕๒๕

 
ความเห็นที่ 38 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 09:05 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๓๗.วัดดอนสะแก ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔/๔ ม.๑๖ ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ นนทบุรี
วัดดอนสะแกเคยเป็นวัดร้างมาก่อนราว 200 ปี ( อยุธยาตอนปลาย ) จากประวัติจากคนเก่า ๆ เล่าต่อกันมาว่า แต่เดิมวัดดอนสะแกเป็นป่าสะแกมีลักษณะเป็นที่โล่งและเป็นที่ดอน สมัยก่อนพระสงฆ์มีการทำพิธีกรรมร่วมกัน พระสงฆ์จึงต้องเดินเท้าเพื่อเพื่อมาร่วมพิธีดังกล่าว การเดินทางด้วยเท้าจึงเป็นการเดินทางที่ลำบากและใช้เวลานาน จึงต้องมีการพักค้างแรม ณ ป่าดอนสะแกแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของวัดดอนสะแก เพราะเป็นวัดร้าง จึงถูกนายทุนและข้าราชการโกงออกโฉนดขายให้หมู่บ้าน ชาวบ้านทนไม่ได้ ปี๒๕๓๗ จึงกราบอาราธนา พระสมุห์วิศาล ติกฺขญาโญมาจำพรรษาที่วัดร้าง จนถึง ๒๕๔๔ จึงได้กราบอาราธนา พระวรวุฒิ มหาลาโภ มาจำพรรษาที่วัดร้าง จนถึงปี ๒๕๔๕ ได้ดำเนินการขอออกโฉนด จัดตั้งวัดขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ เจ้าอาวาสองค์แรก พระครูสังฆรักษ์วรวุฒิ มหาลาโภ (เวชประสิทธิ์) อุปสมบทเมื่อ ๒๑ มิ.ย. ๒๕๔๐

 
ความเห็นที่ 39 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 09:05 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๓๘.วัดแดงธรรมชาติ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๘ หมู่ ๑ บ้านวัดแดง ตำบลไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวบรวมของใช้เก่าแก่เพื่อให้เป็นที่ศึกษาของอนุชนคนรุ่นหลัง เจ้าอาวาส พระครูปรีชาพัฒนาโสภณ(ถาวโร ชาญ เชยอักษร) อุปสมบทเมื่อ ๑๑ เม.ย. ๒๕๑๒

 
ความเห็นที่ 40 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 09:06 น.  โดย : สุขนิรันดร์  


๓๙.วัดแดงประชาราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๐/๖ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๓ ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ ร้างอยู่ประมาณ ๑๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้ตั้งวัดใหม่ชื่อ “วัดแดงเปรมประชาราษฎร์” เจ้าอาวาสถูกฆาตกรรม ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ เจ้าอาวาสองค์ใหม่จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดแดงประชาราษฎร์” เจ้าอาวาส พระอธิการพิเชษฐ์ อภิชาโต (แสงสวรรค์) อุปสมบทเมื่อ ๒๗ ก.ค. ๒๕๓๙

 
ความเห็นที่ 41 โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 51 : 09:07 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๔๐.วัดต้นเชือก ตั้งอยู่เลขที่ ๘ บ้านใหม่ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๔ แต่เพิ่งจะมาเจริญรุ่งเรืองประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๐ ในตำบลบ้านใหม่มีวัดเพียงหนึ่งวัด แต่มีพุทธศาสนิกชนในตำบลบ้านใหม่และตำบลใกล้เคียงมาทำบุญอยู่เป็นจำนวนมาก มีหลวงพ่อวิหาร พระประธานในวิหาร สร้างในสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านนับถือสักการะกันเป็นประจำ เจ้าอาวาส พระอธิการพิมพ์ องฺสุถาโร (ทองเทศ) อุปสมบทเมื่อ ๒๖ มิ.ย. ๒๕๓๗

 
ความเห็นที่ 42 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:43 น.  โดย : jeab742  


๔๑.วัดตะเคียน ตั้งอยู่เลขที่ ๘๖ ม.๓ ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๕ เจ้าอาวาส พระครูปิยนนทคุณ (ปิยวณฺโณ แย้ม ปราณี) อุปสมบทเมื่อ ๓๐ มิ.ย. ๒๔๗๙

 
ความเห็นที่ 43 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:45 น.  โดย : jeab742  


๔๒.วัดตาล ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙ บ้านตลาด ม.๑ ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๗ ต.ค. ๒๔๒๓ เจ้าอาวาส พระสมุห์บุญเหลือ ธมฺมานนฺโท(ร้อยอำแพง) อุปสมบทเมื่อ ๒๓ มิ.ย. ๒๕๓๕

 
ความเห็นที่ 44 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:46 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๔๓.วัดตำหนักใต้ ตั้งอยู่เลขที่ ๑/๑ ซ.นนทบุรี ๒๗ ถ.สนามบินน้ำ ม.๔ ต.ท่าทราย อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ เดิมวัดนี้เรียกกันว่า " วัดตำหนัก " บ้านบางธรณี จากหลักฐานพบว่า ๒๓๒๒ เคยเป็นที่สร้างพลับพลาที่ประทับชั่วคราวของพระเจ้ากรุงธน ทีเสด็จมารอรับขบวนทัพของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กลับจากตีเวียงจันทร์ แล้วนำพระแก้วมรกตกับพระบางมาด้วย จนกระทั่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงเห็นว่าวัดต่างๆ มีชื่อซ้ำกันหลายวัดจึงทำให้เติมชื่อว่าเหนือ และใต้ต่อท้าย จากชื่อวัดตามทิศที่ตั้ง สิ่งสำคัญภายในวัด พระอุโบสถหลังใหม่ ที่สร้างขึ้นโดยนำเอาหน้าบาน และประตูหน้าต่าง รวมถึงเพดานของพระอุโบสถหลังเก่ามาใช้ ซึ่งหน้าบันนั้นเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปนกประดับด้วยพุดตานเทศ มีรูปช้างทรงเครื่อง ยืนอยู่เหนือเมฆตรงกลางลายกระหนกอันวิจิตรและมีวิหารเก่าแก่ซึ่งมีหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปกระหนกดอกจอก มีรูปม้าทรงเครื่องอยู่ภายในกระหนก ซุ้มบานประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลายดอกไม้ปูนปั้นยังคงเหลืออยู่บ้างบางส่วนบานประตูและบานหน้าต่าง เขียนลายทองรดน้ำอีกทั้งหอระฆัง ๒ ชั้นที่หลังคาทำเป็นรูปปรางค์ลึกเข้าไปด้านในของวัดเป็นกุฎิสงฆ์ที่ตั้งเรียงรายสวยงาม นับได้ว่าเป็นวัดที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง และร่มรื่นอีกแห่งหนึ่งของเมืองนนท์ จากหลักฐานที่คงเหลือยังสันนิษฐานว่า วิหาร และหอระฆังสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๖๗ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระพุทธประวัติตามบานประตู และหน้าต่าง ลงรักปิดทองเขียนด้วยลายไทยอย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมีพระประธานปางมารวิชัยสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถวิหาร ศาลาวัดต่างๆ ในเมืองไทย นั้นมี มากมายหลายแห่ง เป็นทั้งสถานที่เผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป เจ้าอาวาส พระครูศรีกิตติธาดา(ธมฺมเวที สังวาล โพธิ์น้อย) อุปสมบทเมื่อ ๖ พ.ค. ๒๔๙๓

 
ความเห็นที่ 45 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:48 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๔๔.วัดตำหนักเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านตำหนัก ม.๓ ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ เดิมชื่อ “วัดโพธิ์” ร้างช่วงกรุงแตกจนถึง ๒๓๗๐ จึงมีพระสงฆ์มาจำพรรษา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๓๐ ม.ค. ๒๕๑๔ พระประธานในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๓๙ นิ้ว อัญเชิญมาจากจังหวัดตาก โดยล่องแพมาเมื่อปี ๒๓๗๕ เจ้าอาวาส พระมหาเสถียร สุธีโร(วงศ์สุ่ย) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ มี.ค.๒๕๑๔

 
ความเห็นที่ 46 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:50 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๔๕.วัดตึก ตั้งอยู่เลขที่ ๗๗ บ้านบางไผ่น้อย ถ.บางไผ่พัฒนา ม.๔ ต.บางไผ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๔ เดิมชื่อ “วัดใหม่ตึก” มีร่องรอยก่ออิฐขนาดใหญ่และเก่าแก่อยู่ใต้ถุนหอสวดมนต์หลังเก่า ต่อมาร้าง จนถึง ๒๔๒๐-๒๔๓๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐เจ้าอาวาส พระครูวรกิจธำรง(ธมฺมวิโร คำหนุน ศิลาคุปต์)อุปสมบทเมื่อ ๑๒ มิ.ย.๒๔๙๐

 
ความเห็นที่ 47 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:51 น.  โดย : jeab742  


๔๖.วัดเต็มรักสามัคคี ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓ บ้านบางคูรัด ม.๘ ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๑๐ เม.ย. พ.ศ.๒๕๑๕ กระทรวงศึกษาฯได้ประกาศตั้งวัดตามกฎหมายเมื่อ ๑๐ เม.ย.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๕ พ.ค. ๒๕๑๘ เจ้าอาวาส พระปลัดชรินทร์ สิริธมฺโม(ลิ้มพานิช) อุปสมบทเมื่อ ๒๓ ก.พ.๒๕๓๖

 
ความเห็นที่ 48 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:52 น.  โดย : jeab742  


๔๗.วัดเตย ที่ตั้งอยู่เลขที ๕๓ บ้านเตย หมู่ 3 ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี เป็นวัดที่มีความสำคัญมากในตำบลบางตะไนย์ เป็นสถานที่จัดงานประเพณีท้องถิ่น ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ ห่างที่ตั้งปัจจุบัน ๑๐๐ เมตร เจ้าอาวาส พระครูนนทธรรมาภรณ์(กลฺยาณธมฺโม สมนึก ภาวหุ่น) อุปสมบทเมื่อ ๒๔ ก.ค.๒๕๐๙

 
ความเห็นที่ 49 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:53 น.  โดย : jeab742  


๔๘.วัดโตนด(บางกร่าง) ตั้งอยู่ บ้านตลาดขวัญ ม.๙ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๙ พ.ย.๒๔๑๒ เจ้าอาวาส พระครูสุพลวุฒิกร (สุภโร ทวนชัย อาจคุ้ม) อุปสมบทเมื่อ ๗ ก.ค.๒๕๒๙

 
ความเห็นที่ 50 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:54 น.  โดย : jeab742  


๔๙.วัดโตนด(ต.วัดชลอ) ตั้งอยู่เลขที่ ๕ บ้านหัวแหลม ม.๘ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๑ มีพระอุโบสถเก่าแก่ที่สวยงามมาก ไม่เหมือนที่ใด น่าศึกษา เจ้าอาวาส พระอธิการวิเชียร ผาสุโท(อ่อนคล้าย) อุปสมบทเมื่อ ๓ มิ.ย.๒๔๙๘

 
ความเห็นที่ 51 โพสเมื่อ : 19 ธ.ค. 51 : 08:55 น.  โดย : jeab742  


๕๐.วัดโตนด(บางใหญ่) ตั้งอยู่ที่ ม.๑ ต.บางใหญ่ อ.บางใหญ่ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๔ ก.ค. ๒๕๔๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ เจ้าอาวาส พระครูสังฆรักษ์เกิดวัฒนา ถิรปญฺโญ(โตสินธ์)

 
ความเห็นที่ 52 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:23 น.  โดย : jeab742  


๕๑.วัดโตนดมหาสวัสดิ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙ ซ.สวนผัก ๓๒ ม.๕ ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ หลังเสียกรุงศรีฯ ร้างไม่มีพระสงฆ์อยู่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๘ พ.ค.๒๕๒๕ เจ้าอาวาส พระอธิการสมชาย ชุติวณฺโณ(ทองอ่อน) อุปสมบทเมื่อ ๒๓ มิ.ย.๒๕๒๘

 
ความเห็นที่ 53 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:25 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๕๒.วัดท้องคุ้ง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคลองพระอุดม ถ.ชัยพฤกษ์ ม.๖ ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ ชาวมอญอพยพมาจากตำบลเกาะปิ้น เมืองมอญ ได้สร้างวัดและตั้งชื่อว่า “วัดเกาะปิ้น” เจ้าอาวาส พระครูอมรนนทคุณ(อติเมโร อำนว ใจชื่น) อุปสมบทเมื่อ ๖ พ.ค.๒๔๙๔

 
ความเห็นที่ 54 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:26 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๕๓.วัดทองนาปรัง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๖ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๕ ต.บางไผ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๕ พระอุโบสถเก่าแก่อายุกว่า ๒๐๐ ปี ได้รับการบูรณใหม่สวยงามมาก เจ้าอาวาส พระครูปลัด สุภัทร สุภทฺโท(เพียรความดี) อุปสมบท ๕ พ.ค.๒๕๒๙

 
ความเห็นที่ 55 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:28 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๕๔.วัดท่า ตั้งอยู่เลขที่ ๓๑ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๑๐ ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๒ เจ้าอาวาส พระอธิการสมพร อควํโส(หมอยา) อุปสมบทเมื่อ ๑๕ พ.ย.๒๕๔๐

 
ความเห็นที่ 56 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:29 น.  โดย : jeab742  


๕๕.วัดท่าเกวียน ตั้งอยู่เลขที่ ๕๓ ม.๖ ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ โดยดำริของหลวงปู่เอี่ยม เจ้าอาวาสวัดสะพานสูง เป็นวัดที่มีความสวยงาม มีโบราณสถาน (โบสถ์เก่า) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อดำที่ศักดิ์สิทธิ์ เจ้าอาวาส พระครูใยฎีกาเตือน สุญฺญจิตฺโต(สินน้อย) อุปสมบทเมื่อ ๒๓ มี.ค.๒๕๒๗

 
ความเห็นที่ 57 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:30 น.  โดย : jeab742  


๕๖.วัดทางหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๒ ถ.กรุงเทพฯ-นนท์ ม.๖ ต.บางเขน อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ เดิมชื่อ “วัดใหม่” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.เจ้าอาวาส พระครูสุวัฒน์นนทคุณ(สุขวฑฺฒโน ไผ่ โตยังเจริญ) อุปสมบทเมื่อ ๒ พ.ค.๒๔๘๙

 
ความเห็นที่ 58 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:31 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๕๗.วัดท่าบันเทิงธรรม ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลบางใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สร้างอยู่ในราชสกุล “ปราโมช” ชื่อคอยท่าจึงมีชื่อว่า วัดท่า ในสมัยนั้น ได้รับการทำนุบำรุงบูรณะพัฒนาให้เจริญขึ้นมาตามลำดับเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นต้นมา จึงได้เพิ่มเติมนามวัดเป็น “วัดท่าบันเทิงธรรม” มีปูชนียวัตถุ คือ รอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสมโภชน์และพระปิดทองเป็นงานประจำทุกปี

 
ความเห็นที่ 59 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:31 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๕๘.วัดท้ายเมือง ตั้งอยู่เลขที่ ๔๑ บ้านตลาดขวัญ ถ.นนทบุรี ๑ ม.๑ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร (กุน สมุหนายก) สันนิฐานว่าสร้างพร้อมกัน ๓ วัด คือ วัดหัวเมือง(วัดร้างอยู่ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) วัดกลางเมือง(วัดกลางบางซื่อ) และวัดท้ายเมืองนี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒เจ้าอาวาส พระมหาชัยฤทธิ์ เตชสูโร(ชายันต์) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ มิ.ย.๒๕๑๒

 
ความเห็นที่ 60 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:33 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๕๙.วัดท่าอิฐ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านท่าอิฐ ถ.รัตนาธิเบศร์ ม.๗ ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๖ ชาวบ้านมีอาชีพ ปั้นอิฐ และเป็นท่าขึ้นลงเรือ ปี พ.ศ.๒๓๕๑ รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้พระยาพลเทพ(บุญนาค) นำชาวมุสลิมมาอาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่จนทุกวันนี้ เจ้าอาวาส พระครูนนทกิตติคุณ(กิตฺติสาโร เกิด สุวรรณสัมฤทธิ์) ชาตะ ๕ มกราคม ๒๔๗๖ อุปสมบท ๒๗ มิถุนายน ๒๔๙๗ มรณภาพ ๒๕๕๑

 
ความเห็นที่ 61 โพสเมื่อ : 30 ธ.ค. 51 : 10:34 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๖๐.วัดทินกรนิมิต ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ถ.ประชาราษฎร์ ม.๔ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ เดิมชื่อ “วัดคลองด้วน” สันนิษฐาน ว่าน่าจะสร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เพราะขุดพบอิฐมอญฐานกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถเก่า เนื้อเดียวกับอิฐกรุงศรีอยุธยา ร้างมานาน จนพระองค์เจ้าทินกร(พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์) ได้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ปี ๒๓๙๔ แล้วเสร็จ สมเด็จพระธีรญาณมุนี ให้เปลี่ยนชื่อวัดตามพระนามเจ้าทินกร “วัดทินกรนิมิต” ตามหนังสือคณะกรรมการจังหวัดนนทบุรี ที่ ๒๔๖๒/๒๔๙๔ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๔ เจ้าอาวาส พระธรรมปริยัติโมลี(กิตฺติวฑฺฒโน สมเกียรติ คงจตุพร) และเจ้าคณะภาค ๙ อุปสมบทเมื่อ ๑๘ เม.ย.๒๔๙๗

 
ความเห็นที่ 62 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 12:59 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๑.วัดไทยเจริญ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๓ บ้านจีน ถ.นครอินทร์ ม.๓ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๖ เดิมชื่อ “วัดบ้านจีน”เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า ๓๐๐ ปี พ.ศ.๒๔๘๒ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อสถานที่ที่ใช้ชื่อต่างประเทศในเมืองไทยให้เป็นชื่อไทยทั้งหมด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.เจ้าอาวาส พระครูถาวรนนทคุณ(ถาวโร ชอบ กลัดเพ) อุปสมบทเมื่อ ๑๗ ก.ค.๒๕๐๔

 
ความเห็นที่ 63 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:01 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๒.วัดไทร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๔ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๑ ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๔ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ร้างมาตั้งแต่เสียกรุง จนถึง ๒๔๗๘ จึงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๖ เม.ย.๒๕๔๗ เจ้าอาวาสพระใบฎีกาสาธิต อิสฺสรปญฺโญ(ฟักภู) อุปสมบทเมื่อ ๒๒ ส.ค.๒๕๒๖

 
ความเห็นที่ 64 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:03 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๓.วัดไทรน้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๔๐ บ้านไทรน้อย ต.ไทรน้อย อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๓ ก.ย.๒๕๒๖ เจ้าอาวาส พระครูไพบูลย์อาทรกิจ(อุปนนฺโท ประสาท ศรีชื่น) อุปสมบทเมื่อ ๑๗ พ.ค.๒๕๓๓

 
ความเห็นที่ 65 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:04 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๔.วัดไทรม้าใต้ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๘ ม.๔ ต.ไทรม้า อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๒ โดยพระยาเสนาและพระยาทรงศรีมหาธรรมราชา สร้างขึ้น เจ้าอาวาส พระครูภัทรกิจวิศาล(ปรีชาโน ประวัติ สังข์ผึ้ง) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ มี.ค.๒๕๐๑

 
ความเห็นที่ 66 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:05 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๕.วัดไทรม้าเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๗ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ ๔ ตำบลไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๓๐๐ ไม่ทราบประวัติ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บรรยากาศร่มรื่น สงบเงียบ มีปลามาอาศัยอยู่หน้าวัดเป็นจำนวนมาก ประชาชนนิยมไปนั่งพักผ่อนและให้อาหารปลา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนได้เป็นอย่างดี เจ้าอาวาส พระสมุห์วัลลภ วสฺสโก(เจสระ) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ พ.ค.๒๕๒๙

 
ความเห็นที่ 67 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:07 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๖.วัดไทรใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๕ ถ.ไทรน้อย-วัดต้นเชือก ม.๕ ต.ไทรน้อย อ.ไทรน้อย นนทบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เดิมชื่อ “วัดมหานิโครธาราม” ซึ่งแปลว่า “ไทร” ต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น “วัดไทรใหญ่” เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อทองคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สมัยอู่ทอง ฝีมือช่างหลวง ปางมารวิชัยหล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้าง ๑.๖๙ เมตร นอกจากนี้ยังมีพระมหากัจจายะนะ แม่โพสพ และรูปหล่อของพระครูนนททิวาการ(ทิพย์) อดีตเจ้าอาวาส ฝาผนังมีจิตรกรรมเรื่องพระเจ้าสิบชาติ เจ้าอาวาส พระมงคลนนทเขต(ปิยงฺกโร วิชิต รื่นอ้น) อุปสมบทเมื่อ ๑๙ มิ.ย.๒๔๘๕

 
ความเห็นที่ 68 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:07 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๗.วัดนครอินทร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๔ ถ.พิบูลสงคราม ม.๖ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๕ เดิมเรียก “วัดบางขุนเทียน” อยู่ริมคลองบางขุนเทียน และเปลี่ยนเป็น “วัดใหม่นครอินทร์” จนเป็น “วัดนครอินทร์” ในปัจจุบัน พระประธานในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๘๐ นิ้ว สูง ๑๓๐ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ เจ้าอาวาส พระมหาสุวัฒน์ ทีปสาโร(จันทร์แสน) อุปสมบทเมื่อ ๒๐ ก.ค.๒๕๐๙

 
ความเห็นที่ 69 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:08 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๘.วัดน้อยนอก ตั้งอยู่เลขที่ ๕๘ ม.๔ ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๓ ไม่ทราบประวัติ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๓ มีพระอุโบสถเก่าแก่ อายุกว่า ๑๕๐ ปี พระประธาน สร้างด้วยหินลงรักปิดทองเก่าแก่ ๑๕๐ ปี เจ้าอาวาส พระครูใบฎีกาสมัย นิติสาโร(ปีแดง) อุปสมบทเมื่อ ๓๐ เม.ย.๒๔๙๐

 
ความเห็นที่ 70 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:09 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๖๙.วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์(คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์) วัดใหม่ปี ๒๕๕๑ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๕ ม.๔ ต.โสนลอย อ.บางบัวทอง นนทบุรี พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) ดำเนินการก่อสร้างและพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมทั้งพุทธบริษัทไทย-จีนร่วมกันสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ทางวัดมังกรกมลาวาส ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชานุญาตให้สร้างวัดและพระราชทาน นามว่า“วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์” งานสมโภช สวดมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล รวม ๗ วัน ๗ คืน ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ ๒๐-วันพุธที่ ๒๖ มีนาคม ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ (วัดใหม่ล่าสุดวัดลำดับจัดตั้งที่ ๑๙๐)

 
ความเห็นที่ 71 โพสเมื่อ : 2 ม.ค. 52 : 13:11 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๗๐.วัดบ่อ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๐ บ้านหัวถนน ถ.แจ้งวัฒนะ ม.๒ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๐ พระอุโบสถเก่าแก่ และพระเจดีย์ ที่ต้องศึกษา เจ้าอาวาส พระครูนนทวรากร(องฺกุโร สวัสดิ์ แสงโข) อุปสมบท ๑๘ มิ.ย.๒๔๘๙

 
ความเห็นที่ 72 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:35 น.  โดย : jeab742  


๗๑.วัดบัวขวัญ ตั้งอยู่ที่ ถ.งามวงศ์วาน ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ จากคำบอกเล่าว่า หลวงปู่แฉ่ง วัดเฉลิมพระเกียรติฯ ได้รวบรวมผู้มีจิตศรัทธา บริจากที่ดินและเงินสร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๔ ม.ค.๒๕๐๖ เจ้าอาวาส พระโสภณสุตาลังการ(สุขวโร ไสว สุขวงศ์) อุปสมบทเมื่อ ๒๐ มี.ค.๒๕๑๙

 
ความเห็นที่ 73 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:36 น.  โดย : jeab742  


๗๒.วัดบางกร่าง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓ บ้านคลองบางกร่าง ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๓ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐เจ้าอาวาส พระศิริชัย สิริชโย(อ่ำเผือก) อุปสมบทเมื่อ ๒๗ มิ.ย.๒๕๒๕
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ได้ทรงพระนิพนธ์ถึงบางกร่าง ใน นิราศพระประธม ว่า
. . . . บางกร่างกร่างต้นใหญ่ . . . . . . . . . . ไป่มี
ไกลแต่ไกรริมนที . . . . . . . . . . . . . . . . . . .ร่มสอ้าน
ควรภาพงาลี - . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .ลาเล่น ร่มฤๅ
กร่างแต่อ้างนามบ้าน . . . . . . . . . . . . . . . .บอกไว้ไป่สม ฯ

 
ความเห็นที่ 74 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:40 น.  โดย : jeab742  


๗๓.วัดบางไผ่ เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๓ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งแรก พ.ศ.๒๓๑๕ ครั้งล่าสุด พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดยังประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวรวัตถุ พระพุทธรูปทองคำที่ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๙ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นโดยแม่ทัพนายกอง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เดิมทีบริเวณนี้เต็มไปด้วยดงกอไผ่ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เสด็จเป็นประธานวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันจันทร์ ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ เวลา ๑๕.๑๙ น. และพระองค์ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. ติดที่หน้าพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๔
ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง ๑๐.๗๐ เมตร ยาว ๒๘.๙๐ เมตร พื้นปูด้วยหินอ่อน บานหน้าต่างและประตูเป็นลวดลายไทยปิดทอง ประดับกระจกบริเวณข้างพระอุโบสถมีศาลารายล้อมรอบทั้งสี่มุม ภายในศาลา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทุกศาลา ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศรีนพรัตนมุนี ซึ่งเป็นองค์พระประธาน พระพุทธรังสีมงคล พระพุทธรัตนมงคล สมเด็จพระโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานผ้าทิพย์ประดับพระนามาภิไธย ย่อ ม.ว.ก. หน้าพระประธาน นอกจากนี้ยังมีพระพุทธชิรญานมงคล พระแก้วมรกตทรงเครื่องฤดูร้อน จำลองพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเพื่อเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ผนังภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับพระพุทธประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในส่วนของประตู และหน้าต่างประดับด้วยลวดลายแกะสลักอย่างงดงาม ลักษณะเด่นของวัดที่เห็นได้ชัดเจนในระยะไกลนั่นก็คือ " กำแพงวัด" ที่มีลักษณะสร้างเลียนแบบป้อมปราการของทหาร มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓ ป้อม เจ้าอาวาส พระโสภณนนทสาร (ชาตปุญฺโญ บุญเลิศ สิงหรา ณ อยุธยา)
หลวงพ่อทองคำ พระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าพระพุทธรูปโบราณอายุหลายร้อยปี เชื่อกันว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นผู้จัดสร้างขึ้น แล้วนำล่องเรือมาเพื่อหลบหนีจากภัยสงครามพม่า มาประดิษฐานไว้ที่วัดบางไผ่แห่งนี้ ซึ่งไม่มีใครทราบมาก่อนว่าภายในองค์พระ เป็นเนื้อทองคำขนาดหน้าตัก ๒๔ นิ้ว
พระพุทธรูปในวิหาร พระประธานอยู่ในวิหารเป็นพระพุทธรูปเก่าศิลปะสมัยอู่ทอง หน้าตักกว้าง ๓๖นิ้ว ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในชุมชนบางไผ่และชุมชนใกล้เคียง
หลวงพ่อวิหาร พระประธานปางมารวิชัยที่ประดิษฐานในพระวิหารหลังเก่า ความเป็นมาสร้างพร้อมกับวัด เป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หลังคามุงกระเบื้อง ภายในประดิษฐานพระแก้วมรกตทรงเครื่องหน้าฝน พระประจำวันเกิด
ถาวรวัตถุอื่นๆ หอพิพิธภัณฑ์ ศาลาราย เจดีย์ หอระฆัง หอกลอง มณฑป เป็นต้น ปัจจุบันยังประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่าเปิดให้ประชาชนมากราบไหว้

 
ความเห็นที่ 75 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:41 น.  โดย : jeab742  


๗๔.วัดบางไกรนอก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๔ บ้านบางไกร ถ.พระราม ๕ ม.๓ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๗ เดิมชื่อ “วัดยี่ไกร” ต.บ้านจีน อ.บางใหญ่ ต่อได้เปลี่ยนพื้นที่ปกครองใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๗ เจ้าอาวาส พระครูปลัด ประกอบ ฐานวุฑฺโฒ(ศรอินทร์) อุปสมบทเมื่อ ๑๘ ก.ค.๒๕๒๖

 
ความเห็นที่ 76 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:43 น.  โดย : jeab742  


๗๕.วัดบางไกรใน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๑ ม.๙ ต.บางขุนกอง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ เจ้าอาวาส พระครูพิเศษสรวุฒิ (ฐิตวํโส ศักดา สินรอด) อุปสมบทเมื่อ ๒๙ พ.ค.๒๕๓๐
นายมี ไปพระแท่นดงรัง ก็เขียนเรื่องบางนายไกร ไว้ใน นิราศพระแท่นดงรัง ว่า
มาถึงบ้านนายไกรฤหัยหมอง
คิดถึงเรื่องไกรทองยิ่งโศกศัลย์
เขาเรืองฤทธิ์คิดฆ่าชาลวัน
แล้วชมขวัญโฉมศรีวิมาลา
เมื่อนางเป็นจรเข้เที่ยวเร่ร่อน
ไกรทองนอนคนเดียวเปลี่ยวหนักหนา
คิดถึงน้องร้องไห้ฟายน้ำตา
อุปมาเหมือนเราที่เศร้าใจ ฯ

 
ความเห็นที่ 77 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:44 น.  โดย : jeab742  


๗๖.วัดบางขนุน ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖ ต.บางขนุน อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๑๐๓ ไม่ปรากฎนามและประวัติผู้สร้าง แต่มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาในชุมชนว่าบริเวณที่สร้างวัดเป็นที่ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๑๑๓ จนปี พ.ศ.๒๓๑๐เจ้านายสมัยนั้นได้หนีภัยสงครามมาพักและได้บูรณะวัดบางขนุนต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ ๑ มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ ๑.พระอุโบสถ ๒.จิตรกรรมที่หลังบานประตู ๓.จิตรกรรมฝาผนัง ๔.หอไตรกลาง ตั้งอยู่ที่บ้านบางขุนกอง ตำบลบางขนุน ชม “หินบดยา” (ยาแผนโบราณ) ลักษณะหินบดยา (แพทย์แผนโบราณ) ทำเป็น ๓ ชุด ชุดหนึ่งมีอุปกรณ์ ๓ ชิ้น คือ แท่งหินบด แท่นหินรองบด และไม้สำหรับวางแท่นหินบด แท่งหินบดทำมาจากทรายสีแดงเป็นก้อนสี่เหลี่ยมยาวประมาณ ๑ ฟุต หนา ๑ คืบ ไม้สำหรับวางแท่นหินบดรูปร่างคล้ายกับตั่งนั่ง เป็นไม้เนื้อแข็ง สันนิษฐานว่าจะเป็นไม้สักเพราะมีน้ำหนักเบาตัวมอดไม่กิน ไม่ผุกร่อน ยังมีสภาพสมบูรณ์ใช้การได้ดีวิธีการบดใช้แรงงานคน เมื่อบดให้ละเอียดแล้วจึงนำไปผสมเป็นตัวยาใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บตามที่ต้องการ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๑ เจ้าอาวาสบางขนุน (ปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว) มีความรู้เรื่องยาแผนโบราณเพราะที่วัดมี “สมุดไทย” (สมุดข่อย) ที่เป็นตำราแพทย์โบราณ ซึ่งที่วัดมีอยู่หลายฉบับ เช่น ตำราเจ็ดคัมภีร์ และภาพทศชาติ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตำราแพทย์โบราณ ตำรากฎหมาย และตำรโหราศาสตร์สร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ ๖–๗ ปัจจุบันยังคงเหลือเป็นบางฉบับเท่านั้น และฉบับที่นับว่าสำคัญคือ ตำราเจ็ดคัมภีร์และภาพทศชาติ นอกจากนี้ที่วัดยังมี “ธรรมาสน์”(ที่นั่งเดี่ยวสำหรับพระสงฆ์นั่งเทศนา) สมัยอยุธยาตอนปลาย สีสันสวยงามแกะสลักลวดลายดอกไม้วิจิตร เจ้าอาวาส พระศุภชัย ปิยสีโล(คล้ายปาน) อุปสมบทเมื่อ ๒๑ ก.ค.๒๕๓๙
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เมื่อเสด็จไปพระประธม ใน พ.ศ. ๒๓๗๗ ได้ทรงพรรณนาถึงบางขนุนไว้ใน นิราศพระประธม ว่า

. . . . บางขนุนขนุนหนึ่งต้น . . . . . . . . . . ผลดก
ผลละผลใหญ่ยก . . . . . . . . . . . . . . . . . หนักตึ้ง
เหมือนทุกข์ที่ทับอก . . . . . . . . . . . . . . . เออาตม์ มาแม่
แรมรักหนักอกอึ้ง . . . . . . . . . . . . . . . . .ปลดปล้ำทำไฉน ฯ
. . . . ขนุนหนามแต่นอกเนื้อ . . . . . . . . . ในหวาน
เฉกเช่นหญิงรูปประมาณ . . . . . . . . . . . ห่อนพริ้ง
แต่รู้จักประกอบการ . . . . . . . . . . . . . . . กิจสัต – ตรีนา
ชายฤหน่ายเสน่ห์ทิ้ง . . . . . . . . . . . . . . .ทอดน้องนางแหนง ฯ

 
ความเห็นที่ 78 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:46 น.  โดย : jeab742  


๗๗.วัดบางขวาง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓๘ หมู่ ๕ ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เดิมเรียกว่า " วัดบางยาง " (ต้นยางใหญ่ริมคลองถูกฟ้าผ่า เทศบาลเลยต้องตัดลง) ตั้งอยู่ปลายคลองบางสีทอง ภายในวัดมีวิหาร เป็นวิหารเก่าแก่ อายุมากกว่า ๑๐๐ ปี และโบสถ์โบสถ์เดิมเป็นรูปทรงสมัยโบราณ มีพาไลเตี้ยๆ อยู่ด้านหลังในโบสถ์ มีพระประธานเป็นพระทรงเครื่อง ซึ่งเรียกกันว่า " ปางทรมานท้าวมหาชมภูแลพระอัครสาวกซ้ายขวา" ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับพระธาตุซึ่งรวบรวม พระธาตุที่สำคัญของไทยไว้ นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญ ซึ่งเป็นศาลาโบราณทรงประยุกต์ สร้างด้วยไม้สักทอง เจ้าอาวาส พระเทพวรเมธี (ท่านเจ้าคุณอรุณ) เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี(ธรรมยุต)
(ผู้เขียนบวชพระวัดนี้)

 
ความเห็นที่ 79 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:48 น.  โดย : jeab742  


๗๘.วัดบางค้อ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙ บ้านคลองบางค้อ ถ.กาญจนาภิเษก ม.๕ ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ เจ้าอาวาส พระปลัดเจริญชัย ฐานงฺกโร(ม่วงนาพลู) อุปสมบทเมื่อ ๒๑ ก.ค.๒๕๒๐

 
ความเห็นที่ 80 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:50 น.  โดย : jeab742  


๗๙.วัดบางโค ตั้งอยู่เลขที่ ๑ คลองบางโค ม.๑๔ ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ นนทบุรี สร้างเมื่อวันที่ ๙ มี.ค.๒๓๙๙ ไม่ทราบนามและประวัติผู้ก่อตั้งได้ขนานนามตามชื่อภูมิประเทศที่ตั้งวัดคือคลองบางโค ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ เม.ย.๒๔๓๒ ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณ ที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม การคมนาคมทางน้ำมีคลองบางโคและคลองบางใหญ่ ผ่านทางทิศตะวันตกและทิศใต้ วัดบางโคยังเป็นประดิษฐานของหลวงพ่อขาว และยังมีพระพุทธบาทจำลอง อยู่ในมณฑป และภายในบริเวณวัดยังมีวังมัจฉา นักท่องเที่ยวสามารถแวะพักผ่อนและทำบุญโดยการให้อาหารปลาซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เจ้าอาวาส พระปลัดประจวบ โชตคุโณ(กระจ่างแจ้ง) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ ก.ค. ๒๕๒๘

 
ความเห็นที่ 81 โพสเมื่อ : 8 ม.ค. 52 : 07:51 น.  โดย : jeab742  


๘๐.วัดบางจาก ตั้งอยู่เลขที่ ๗๕ ถ.ชัยพฤกษ์ ม.๑ ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๕ ก.ย.๒๔๖๖ เดิมตั้งวัดปากคลองบางภูมิ ต.บางพลับ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าอาวาส พระครูปลัด ชูเกียรติ ฐิตคุโณ(รังโปดก)

 
ความเห็นที่ 82 โพสเมื่อ : 12 ม.ค. 52 : 07:48 น.  โดย : jeab742  


๘๑.วัดบางนา ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๘ ม.๖ ต.ไทรม้า อ.เมือง นนทบุรี เป็นวัดเก่าแก่โบราณ สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นวัดร้าง บูรณะใหม่เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๓ มีโบราณวัตถุน่าสนใจ เช่น อิฐโบราณ พระพุทธรูปศิลาแดง ใบเสมาศิลาแดง พระพุทธรูปสมัยละโว้ ฯลฯ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ๒ พ.ค.๒๕๔๕ เจ้าอาวาส พระครูนนทคุณวัฒน์ (เตชพโล วิทยา กุศลศาสตร์) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ เม.ย.๒๕๐๗

 
ความเห็นที่ 83 โพสเมื่อ : 12 ม.ค. 52 : 07:49 น.  โดย : jeab742  


๘๒.วัดบางบัวทอง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถ.ท่าอิฐ ม.๓ ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๕ เดิมชื่อ “วัดใน” ต่อมา พ.ศ.๒๔๐๐ พระอธิการสินได้ร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณะวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๙ เจ้าอาวาส พระครูนนทวีราภรณ์ อุปสมบทเมื่อ ๗ มิ.ย.๒๕๑๓

 
ความเห็นที่ 84 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 52 : 11:01 น.  โดย : jeab742  


๘๓.วัดบางพูดนอก ตั้งอยู่เลขที่ ๔๐ ถ.สุขาภิบาล ม.๗ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๑๔๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๑๙๐ เจ้าอาวาส พระครูนนทคุณวิสุทธิ์(สุทฺธจิตฺโต สมพงษ์ อุตสาหกิจ) อุปสมบทเมื่อ ๕ มิ.ย.๒๕๓๑

 
ความเห็นที่ 85 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 52 : 11:05 น.  โดย : jeab742  


๘๔.วัดบางพูดใน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๖ บ้านถนนพัฒนา ถ.สุขาประชาสรรค์ ๒ ม.๑ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ เดิมชื่อ “วัดสานทอง” จัดตั้งเสร็จเปลี่ยนเป็น “วัดบางพูดใน” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ พระอุโบสถเก่าอายุเกือบ ๒๐๐ ปี(๒๓๖๙) เจ้าอาวาส พระครูนนทกิจจาภรณ์(อินฺทจกฺโก แส หิ่มสาใจ) อุปสมบทเมื่อ ๘ พ.ค.๒๔๙๒

 
ความเห็นที่ 86 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 52 : 11:09 น.  โดย : jeab742  


๘๕.วัดบางแพรก ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถ.รัตนาธิเบศร์ ม.๑๑ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๒๙๐ เดิมชาวบ้านเรียก “วัดละครทำ” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๕ เจ้าอาวาส พระครูอุดมนนทคุณ (อุตฺตโม ปัน พรหมโส) อุปสมบทเมื่อ ๑๐ พ.ค.๒๔๘๗

 
ความเห็นที่ 87 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 52 : 11:11 น.  โดย : jeab742  


๘๖.วัดบางแพรกใต้ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๖ หลังเรือนจำกลางบางขวาง ม.๓ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๕ เสียกรุงฯ ๒๓๑๐ มีประชาชนนำพระสงฆ์หนีตายพม่าลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา จนถึงปากคลองบางแพรกพบว่าอุดมสมบูรณ์ปลอดภัย เลยเข้ามาตั้งชุมชนในสวน ต่อมาจึงสร้างวัดเพื่อให้พระสงฆ์จำพรรษา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๘ เจ้าอาวาส พระมหานันทา นนฺทปญฺโญ(แววสะบก) อุปสมบทเมื่อ ๙ พ.ค.๒๕๒๗

 
ความเห็นที่ 88 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 52 : 11:13 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๘๗.วัดบางแพรกเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๕ ถ.ประชาราษฎร์ ม.๒ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่ทราบประวัติ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๕ ส.ค.๒๔๙๐ เจ้าอาวาส พระมหาอุทิศ กวิวํโส อุปสมบทเมื่อ ๒ ต.ค.๒๕๓๙

 
ความเห็นที่ 89 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 52 : 11:15 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๘๘.วัดบางม่วง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๔/๑๐ ม.๑๕ ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๗ เม.ย.๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๙ ก.ค.๒๕๔๕ เจ้าอาวาส พระครูอดุลสาธุกิจ(อินฺทสาโร สะโอด มาลาเล็ก) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ มี.ค.๒๕๒๗

 
ความเห็นที่ 90 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 52 : 11:27 น.  โดย : jeab742  


๘๙.วัดบางระโหง ตั้งอยู่เลขที่ ๔๔ คลองอ้อม ถ.ท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ ม.๙ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒ เจ้าอาวาส พระครูกิตติสิทธิวัฒน์(สิริธมฺโม เที่ยง เชียงทองสุข) อุปสมบทเมื่อ ๒๐ ก.ค.๒๕๒๙

 
ความเห็นที่ 91 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 52 : 11:28 น.  โดย : jeab742  


๙๐.วัดบางรักน้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ม.๓ ต.บางรักน้อย อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๑ พระอุโบสถ เริ่มสร้าง พ.ศ.๒๓๖๑ แล้วเกิดโรคระบาด หยุดไประยะหนึ่ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ เจ้าอาวาส พระครูสังฆรักษ์พรชัย อภินนฺโท(ศรีสวัสดิ์)

 
ความเห็นที่ 92 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 17:52 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๙๑.วัดบางรักใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๖ ม.๓ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๖ ชาวมอญที่เข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้ร่วมกันสร้างวัดเรียก “วัดโพธาราม” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๘ มี.ค.๒๕๒๓ เจ้าอาวาส พระครูนนทการโกศล(สิริมงฺคโล บุญมา ภาลุน) อุปสมบทเมื่อ ๑๙ พ.ค.๒๕๐๖

 
ความเห็นที่ 93 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 17:55 น.  โดย : jeab742  


๙๒.วัดบางเลนเจริญ ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านวัดน้อย ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๑๐ ต.บางเลน อ.บางใหญ่ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ ไม่ทราบประวัติ เจ้าอาวาส พระครูศรีกิตติวรกร(กิตฺติปุญฺโญ บุญชัย บุญประเสิทธิ์)

 
ความเห็นที่ 94 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 17:56 น.  โดย : jeab742  


๙๓.วัดบางศรีเมือง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๗ ถ.ท่าน้ำนนท์-ไทรน้อย ม.๑ ต.บางศรีเมือง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไม่ทราบประวัติ เจ้าอาวาส พระมหาบุญกลาง จารุธมฺโม(จุลชาติ) อุปสมบทเมื่อ ๑๓ เม.ย.๒๕๑๑

 
ความเห็นที่ 95 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 17:58 น.  โดย : jeab742  


๙๔.วัดบางอ้อยช้าง ตั้งอยู่เลขที่ ๗๙ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๒ ต.บางสิทอง อ.บางกรวย นนทบุรี สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๓๐๔ ในสมัยอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระประธาน(หลวงพ่อใหญ่) พระพุทธรูปยืนปางลีลา รอยพระพุทธบาทจำลอง ในอดีตชาวบ้านบริเวณนี้มีอาชีพปลูกอ้อยเพื่อเลี้ยงช้างของกองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นที่มาของชื่อวัดนี้ว่าบางอ้อยช้าง เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จมาทอดกฐินได้พระราชทานภาพของพระองค์ให้ทางวัดเก็บไว้ด้วย รอยพระพุทธบาท ลักษณะหล่อด้วยทองสำริด ขนาด ๕๔ นิ้ว กว้าง ๑๙ นิ้วครึ่ง เป็นโบราณวัตถุทางศาสนาที่มีอายุเก่าแก่กว่า ๒๐๐ ปี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านบางอ้อยช้าง รอยพระพุทธบาทวัดนี้สันนิษฐานว่าพระอธิธรรมทองอยู่ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกท่านได้ธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลกเพื่อไปหาไม้มาสร้างวัดบางอ้อยช้าง และได้ไปพบรอยพระพุทธบาทและพระศรีรัตนศาสดาพร้อมกัน ท่านเห็นว่าโบราณวัตถุทั้ง ๒ อย่าง นี้เป็นสิ่งล้ำค่าและสวยงามมาก ทั้งขาดการบำรุงรักษาท่านจึงได้อาราธนาลงแพไม้มาและนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดบางอ้อยช้าง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ พระมหาวิบูลย์ฉายา ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้จัดสร้างพระมณฑปเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท โดยมีงบประมาณได้มาจากความร่วมมือทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย และกำลังความคิดจากประชาชน เป็นพระมณฑปที่สวยงาม ตกแต่งด้วยศิลปวัฒนธรรมแบบไทยเดิมบรรจงสร้างอย่างวิจิตรบรรจง มีคุณค่าเหมาะสมที่จะเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทอย่างภาคภูมิใจและสมเกียรติ เจ้าอาวาส พระมหากำพล คุณงฺกโร(มาลัย) อุปสมบทเมื่อ ๖ มี.ค.๒๕๓๖
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เมื่อครั้งเสด็จไปพระประธม ทรงรำพึงถึงบางอ้อช้างไว้ใน นิราศพระประธม และทรงเรียกว่า บางอ้อยช้าง ดังนี้

. . . . บางอ้อยช้างเฉกอ้อย . . . . . . . . . . อบปรุง
คิดแม่เคยบำรุง . . . . . . . . . . . . . . . . . . ทุกครั้ง
งามเครื่องปรักผูกถุง . . . . . . . . . . . . . . .อรเทียบ ไว้แม่
ยามจากรักแรมท้งง . . . . . . . . . . . . . . . รศอ้อยอบปรุง ฯ
. . . . ถวิลบางอ้อยช้างชื่อ . . . . . . . . . . . เรียมฟัง
ฤๅว่าพลายแรมพงง . . . . . . . . . . . . . . . เผื่อนกว้าง
เสมือนอกพี่แรมวงง . . . . . . . . . . . . . . . ถวิลสวาดิ์ วายฤๅ
ช้างก็พลัดพงงก็ร้าง . . . . . . . . . . . . . . . พี่ก็ร้างแรมอนงค์ ฯ

 
ความเห็นที่ 96 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 17:59 น.  โดย : jeab742  


๙๕.วัดโบสถ์ดอนพรหม ตั้งอยู่เลขที่ ๘๒ ถ.วัดโบสถ์-วัดประชาฯ ม.๑๐ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๓๐ ธ.ค.๒๕๑๘ เจ้าอาวาส พระครูสังฆรักษ์ธงชัย ชยธมฺโม(สุกปานแก้ว) อุปสมบทเมื่อ ๒๐ พ.ค.๒๕๔๓

 
ความเห็นที่ 97 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 18:00 น.  โดย : jeab742  


๙๖.วัดโบสถ์บน ตั้งอยู่เลขที่ ๔๒ คลองบางกอกน้อย ถ.พระราม ๕ หมู่ที่ ๔ ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๓๐๐ ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ อุโบสถกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อกว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว ลักษณะทรงไทยฐานเป็นแบบเรือสำเภา กุฎีสงฆ์ จำนวน ๑๕ หลัง เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ หอสวดมนต์สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๐ เจ้าอาวาส พระครูปลัดนฤพนธ์ ติสุสวโร(ขำเมือง) อุปสมบทเมื่อ ๙ ก.ค.๒๕๓๗ เวปพลังจิต คุณอธิมฺตโต แจ้งว่าท่านเจ้าอาวาสลี่ยนแล้ว

 
ความเห็นที่ 98 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 18:02 น.  โดย : jeab742  


๙๗.วัดปรมัยยิกาวาส พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๕๑ ม.๗ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี เป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระทรงโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ.๒๒๖๔ ชาวเรือเรียก "วัดปากอ่าว" จนปี พ.ศ.๒๓๐๗ พม่าบุกยึดเมืองนนท์ กลายเป็นวัดร้าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗ ชาวรามัญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า "เภี่ยมู๊เกี้ยเติ้ง" พ.ศ.๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ ๔ วัด (วัดปากอ่าว(ปรมัยฯ),วัดรามัญ(เกาะพระยาเจ่ง),วัดบางพัง และวัดสนาม(สนามเหนือ)) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัด โดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณสมเด็จพระเจ้าบรมอัยยิกาเธอกรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูรผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้ พระราชทานนามวัดว่า "วัดปรมัยยิกาวาส" ซึ่งมีความหมายว่า "วัดของพระบรมอัยยิกา" สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประยุกต์ บานประตูหน้าต่างประดับ ลายปูนปั้นเขียนด้วยสี กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีลวดลายที่สวยงาม เป็นกำแพงเหล็กอย่างดีทำมาจากยุโรปอีกทั้งด้านหลัง พระอุโบสถมีพระเจดีย์รูปทรงแบบมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหารามัญเจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ และใกล้กันนั้นมีพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่เป็นที่สามในอำเภอปากเกร็ด ส่วนด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งพระปฏิมากรซานซิวซูน ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี "พระนนทมุนินท์" เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง ๑ เมตร สูง ๑.๖๕ เมตร หล่อด้วยโลหะ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรงเทพสร้างเป็นพระพุทธประจำเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ด้านใต้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เพื่อเป็น พระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย
วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้ มีไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพ อันสวยงามริมเกาะอีกด้วย นับได้ว่า เป็นวัดที่เชิดหน้าชูตาของชาวเกาะเกร็ดเป็นอย่างมากทีเดียว เจ้าอาวาส พระสุเมธมุนี(ปภงฺกโร เสน่ห์ แดงเฟื่อง) อุปสมบทเมื่อ ๖ มิ.ย.๒๕๑๓

 
ความเห็นที่ 99 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 18:03 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๙๘.วัดประชารังสรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ม.๑๐ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ ไม่ทราบประวัติ เดิมเรียก “วัดหญ้าไทร” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๕ ม.ค.๒๕๑๓ เจ้าอาวาส พระครูวินัยธรประเสริฐ ฉินฺนาลโย (สมคร) อุปสมบทเมื่อ ๒๗ ก.ค.๒๕๒๘

 
ความเห็นที่ 100 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 18:04 น.  โดย : jeab742  


๙๙.วัดปรางค์หลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๒ คลองบางกอกน้อย ม.๑ ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ นนทบุรี สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐(ประวัติจากวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี) เดิมชื่อ "วัดหลวง" ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า "วัดปรางค์หลวง" อันมีสัญลักษณ์ของพระปรางค์นั่นเอง ปัจจุบันองค์พระปรางค์ซึ่งมีสภาพเก่าแก่ผุพังมาก ฐานเป็นอิฐ ส่วนที่เป็นเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านมีพระปูนปั้นนูนสูง นักโบราณคดีได้ค้นหาหลักฐานอันเป็นจุดเด่นของโครงสร้าง เป็นฝีมือของช่างในสมัยอยุธยาตอนต้น เจ้าอาวาส พระครูนนทเขมาราม(เขมาราโม สายหยุด ช้างม่วง) อุปสมบทเมื่อ ๒๙ เม.ย.๒๔๘๖
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงพรรณนาไว้ใน นิราศพระประธม เรียกว่าวัดหลวง ดังนี้
. . . . วัดหลวงคิดคู่ร้าง . . . . . . . . . . เวียงหลวง
ร้างศุขสิ่งเกษมทรวง . . . . . . . . . . . .เสื่อมสิ้น
มาเดียวอดูรดวง . . . . . . . . . . . . . . .แดเด็ด สวาดิ์แม่
ยามดึกสดุ้งยุงริ้น . . . . . . . . . . . . . .เหลือบล้อมตอมกวน ฯ
วัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่งที่คณะวรรณคดีสัญจรจะได้ชมนั้น คือวัดปรางค์หลวง วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาด้วยเหมือนกัน พระอุโบสถของวัดนั้นมีขนาดใหญ่ ตกอยู่ในสภาพที่หมดหนทางจะซ่อมแซมได้ ยิ่งไปกว่านั้นก็ไม่มีอะไรพิเศษนอกจากขนาดของพระอุโบสถอันมหึมาเท่านั้นเอง ตรงกันข้ามกับพระปรางค์ซึ่งแม้ว่าจะชำรุดทรุดโทรมมาก แต่ก็มีลักษณะรูปทรงอันงดงามเป็นพิเศษโดยเฉพาะสำหรับพระปรางค์ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเท่านั้น กล่าวโดยส่วนรวมแล้ว พระปรางค์องค์นี้ยังคงมีทรงรูปนอกเป็นแบบระฆังทรงสูงเหลือไว้ให้เห็น ซึ่งทำให้ตัวพระปรางค์บังเกิดความสง่างามน่าดู พระปรางค์องค์นี้ก็เช่นกัน ได้ถูกน้ำมือของพวกทำลายศาสนาแสวงหาทรัพย์สมบัติ ทะลายด้านหน้าของพระปรางค์พังไปเสียส่วนหนึ่ง ส่วนอีกสามด้านนั้นมีพระพุทธรูปปูนปั้นจำหลักนูนสูงประดิษฐานอยู่ในซุ้มจรนำ พระพุทธรูปเป็นที่แน่นอนว่าได้ถูกบูรณะซ่อมแซมในสมัยต่อมาแต่ยังคงมีความงดงามตามแบบศิลปอยุธยาโดยเฉพาะ กล่าวคือมีความแข็งกร้าวของพระพุทธรูปสมัยอู่ทองผสมอยู่กับแบบอันงดงามของศิลปสุโขทัย
. . . . ปัจจุบันนี้ เวลาของคนเรานั้นช่างสั้นมาก ทำให้เรามีโอกาสได้ชื่นชมโบราณสถานอันมีอยู่เป็นจำนวนมากมายในประเทศไทยได้เพียงครั้งคราวเท่านั้น แต่เมื่อมีกรณีพิเศษบางประการ เมื่อเราว่างจากงานประจำและลงมือกระทำตาม “ ลัทธิทัศนาจรนิยม ” ดูบ้างในประเทศไทยเรา แล้วเราก็จะตระหนักถึงความสำคัญอันน่าประหลาดใจของมรดกทางศิลปของเรา สิ่งนี้ได้บังเกิดขึ้นแก่เราเมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อนักโบราณคดีหนุ่มผู้หนึ่งได้เดินทางไปสำรวจวัดสำคัญ ๆ ลางวัดของสกุลช่างนนทบุรีร่วมกับเรา มันเป็นความพึงพอใจทางพุทธิปัญญาประการหนึ่ง ซึ่งเราหวังว่าความพึงพอใจที่ว่านี้คณะวรรณคดีสัญจรคงลงความเห็นด้วย . . . . . . ศิลป พีระศรี

 

[1]  2  3  next  

แสดงความคิดเห็น
Detail :

Picture :
Name :


 
ท่องเที่ยว