|
|
ความเห็นที่
202 โพสเมื่อ :
20 ธ.ค. 55 : 09:21 น. โดย :
พัน.สร.๑ พล.๑ รอ. |
แผ่นดินที่ทรงครอง..........แผ่นดินทองแผ่นดินธรรม คราวเข็ญเข้าครอบงำ........ทรงดับเข็ญทุกคราวครัน เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก.....ทรงงานหนักอเนกอนันต์ วันพักเพียงสักวัน.............ก็แสนน้อยดูนานเกิน วังทิพย์คือท้องทุ่ง............ม่านงานรุ้งคือเขาเขิน ร้อนหนาวในราวเนิน.........มาโลมไล้ต่างรสสุคนธ์ ย่างพระบาทที่ยาตรา.........ยาวรอบหล้าฟ้าสากล พระเสโทที่ถั่งท้น.............ถ้าไหลรวมคงท่วมไทย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
|
|
ความเห็นที่
203 โพสเมื่อ :
20 ธ.ค. 55 : 10:59 น. โดย :
กกพ.ยศ.ทบ. |
ในหลวงพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้คนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมาน สามัคคีมีความ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองคงความเป็นชาติไทยไว้ได้
ข้าราชการ กกพ.ยศ.ทบ.
|
|
ความเห็นที่
204 โพสเมื่อ :
20 ธ.ค. 55 : 11:01 น. โดย :
กกพ.ยศ.ทบ. |
สถาบันพระมหากษัตริย์จะนำพาแสงสว่างและอนาคตมาสู่ประเทศ
ข้าราชการ กกพ.ยศ.ทบ.
|
|
ความเห็นที่
205 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 08:11 น. โดย :
ร.๓๑ พัน.๓ รอ. |
คือ จอมทัพ จอมไทย จอมใจราษฎร์ คือ ขวัญชาติ ขวัญประชา นราศัย
รอยพระบาท สร้างชีวิต สร้างจิตใจ พระกรณียกิจ น้ำพระทัย ชัยพัฒนา
ศุภวาร ๖๐ ปี ที่ครองราชย์ นานาชาติ เทิดพระเกียรติ ไปทั่วหล้า
ถวายนาม องค์กษัตริย์ นักพัฒนา สมสมญา ภูมิพลังสร้างแผ่นดิน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
|
|
ความเห็นที่
206 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 09:22 น. โดย :
ข้าราชการ กอง พธ.สกอ. |
แผ่นดินที่ทรงครอง..........แผ่นดินทองแผ่นดินธรรม
คราวเข็ญเข้าครอบงำ........ทรงดับเข็ญทุกคราวครัน
เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก.....ทรงงานหนักอเนกอนันต์
วันพักเพียงสักวัน.............ก็แสนน้อยดูนานเกิน
วังทิพย์คือท้องทุ่ง............ม่านงานรุ้งคือเขาเขิน
ร้อนหนาวในราวเนิน.........มาโลมไล้ต่างรสสุคนธ์
ย่างพระบาทที่ยาตรา.........ยาวรอบหล้าฟ้าสากล
พระเสโทที่ถั่งท้น.............ถ้าไหลรวมคงท่วมไทย
|
|
ความเห็นที่
207 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 09:51 น. โดย :
พัน.สร.๑ พล.๑ รอ. |
ธ ทรงเป็นพระมิ่งข วัญอันยิ่งใหญ่
ธ ทรงเป็นหลักชัยอ ันสูงค่า
ธ ทรงเป็นร่มโพธิ์ ไทรในนภา
ธ ทรงเป็นพระราชา องข้าไทย
|
|
ความเห็นที่
208 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 10:23 น. โดย :
ผยว.กศ.รร.ป.ศป. |
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
|
|
ความเห็นที่
209 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 14:32 น. โดย :
ใบบัว |
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างระบบชลประทานตามลำน้ำสาขาต่าง ๆ ของแม่น้ำปิง ในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพื่อจัดหาน้ำสำหรับการอุปโภค - บริโภค และการเกษตรให้แก่ ราษฎร พร้อมทั้งอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ให้ มีสภาพสมบูรณ์ ตลอดจนจัดสรรพื้นที่ป่าละเมาะให้ราษฎรทำการเกษตร
สถานที่ดำเนินการ อำ เภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 279,501 ไร่ แบ่งเป็นเขตพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 107,791 ไร่ เป็นเขตไร่นา ชุมชน ประมาณ 171,710 ไร่ มีลักษณะเป็นเนินเขาและภูเขาสูงชันด้านตะวันออกโดยมีพื้นที่ราบและค่อนข้างราบบริเวณใกล้เคียงลำห้วยและริมฝั่งแม่น้ำปิง สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่ที่ทำการเกษตรเป็นป่าเสื่อมโทรม สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเสื่อมโทรม กึ่งป่าค่อนข้างสมบูรณ์จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นป่าอุดมสมบูร?์เพื่อการอนุรักษ์ไว้เป็น พื้นที่ต้นน้ำลำธารต่อไป
การพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ
ดำเนินการซ่อมแซมระบบท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำในเขตโครงการรวม 3 แห่ง พร้อมซ่อมแซมอาคารประกอบด้านท้ายฝาย บ้านห้วยปุ๊ จำนวน 1 แห่ง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร บริเวณลำห้วยแสง และห้วยคอควาย จำนวน 40 แห่ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ 400 ไร่ - ก่อสร้างโรงสูบน้ำ บ่อบาดาล และระบบส่งน้ำบ้านโรงวัว บ้านห้วยหนองสูนรวม 2 แห่ง เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก 400 ไร่
ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำบ้านห้วยพัฒนา จำนวน 1 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 300 ไร่
ขุดสระน้ำพร้อมอาคารประกอบบ้านห้วยส้ม จำนวน 2 แห่ง ความจุ 0.075 ล้านลูกบาศก์เมตรพื้นที่รับประโยชน์ 240 ไร่
ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยขะหมาหลวงพร้อมระบบส่งน้ำ ความยาว 1,250 เมตร ความจุ 0.440 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำ บริเวณแปลงจัดสรรที่ดินทำกินของราษฎร บ้านใหม่สารภี บ้านห้วยฝาง บ้านโรงวัว พื้นที่รับประโยชน์ 450 ไร่ ราษฎรจำนวน 90 ครอบครัว
ก่อสร้างระบบส่งน้ำฝั่งขวาอ่างเก็บน้ำห้วยสะแพทตอนบน จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งน้ำให้กับพื้นที่ เพาะปลูก 400 ไร่
|
|
ความเห็นที่
210 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 14:34 น. โดย :
ใบบัว |
โครงการแกล้งดิน
ในอดีตพื้นที่ลุ่มต่ำด้านใกล้ทะเลในจังหวัดนราธิวาสหลายแห่งที่ราษฎรเคยใช้ในการปลูกข้าวถูกปล่อยทิ้งเป็นนาร้างไม่มีการใช้ประโยชน์ เนื่องจากดินส่วนใหญ่ในบริเวณนี้เป็นดินเปรี้ยวจัด ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะลดลง ธาตุอาหารพืชจะถูกเปลี่ยนสภาพไม่อยู่ในรูปที่พืชจะดูดดึงไปใช้ประโยชน์ได้ในที่สุดพืชจะถูกเปลี่ยนสภาพไม่อยู่ในรูปที่พืชจะดูดดึงไปใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด พืชที่ขึ้นได้หรือปลูกได้ในบริเวณนั้นก็จะตาย หรือขึ้นได้ก็ไม่ได้ผลผลิต จะมีแต่พืชบางชนิดที่มีประโยชน์น้อยแต่สามารถทนทานต่อสภาพดินที่เป็นกรดจัดเท่านั้นที่สามารถขึ้นได้ ในการเสด็จแปรพระราชฐานที่จังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ ทรงทราบถึงความยากลำบากของเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเหล่านั้นและเข้าพระทัยถึงสาเหตุของการเกิดดินเปรี้ยวจัด ซึ่งนับวันพื้นที่นี้จะขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในจังหวัดนราธิวาสและพื้นที่ภาคใต้ พระองค์ได้มีแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาดังกล่าว
แนวพระราชดำริของพระองค์ท่านเมื่อสัก ๒๐ ปีที่ผ่านมานั้น ก็พยายามที่จะระบายน้ำออก เมื่อขุดคลองเสร็จแล้ว น้ำก็ถูกระบายออกไปก็มีประสบการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือว่าเมื่อน้ำถูกระบายออกไปแล้ว ก็มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารไพไรท์ ที่มีส่วนประกอบของกำมะถันซึ่งแต่เดิมแช่น้ำอยู่ เมื่อน้ำแห้งลงไป สารตัวนี้ก็ขึ้นมาอยู่บนผิวดิน ก็มีลักษณะเป็นสีเหลืองซีด๐ เหมือนฟางข้าว เป็นลักษณะกรดขึ้นมา เรียกว่า ดินเปรี้ยว และมีความเป็นกรดอย่างมาก ความอุดมสมบูรณ์ก็ลดน้อยลงและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้หลังจากที่มีการระบายน้ำออก เราก็ได้ประสบกับปัญหานี้ขึ้นมา พอเกิดปัญหานี้ก็เลยได้หลักการอันหนึ่งคือว่าจะต้องรักษาระดับน้ำไว้ในระดับใดระดับหนึ่ง ตอนระยะแรกๆ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็โจมตีว่า ไปยุ่งทำไมกับพรุ ซึ่งถ้าไม่ยุ่ง พรุก็ยังเป็นพรุอย่างที่เราเห็นและไม่สามารถทำประโยชน์ได้เลย อย่าลืมว่าชาวนาชาวไร่เขายากจน เขาต้องการพื้นที่ไปทำการเกษตร ในพื้นที่อนุรักษ์ก็ต้องเก็บไว้ แต่พื้นที่ที่เสื่อมสภาพแล้วก็ควรนำมาใช้ประโยชน์ เมื่อทราบสาเหตุแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เลยทรงเปิดโครงการอีกโครงการหนึ่งคือ การทดสอบทอลองปรับปรุงดินที่เป็นกรดที่เปรี้ยวจัดต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างไร จากสาเหตุนี้เป็นต้นตอของโครงการที่ทรงพระราชทานชื่อว่า โครงการแกล้งดิน
สำหรับพระราชดำริ แกล้งดิน หรือ พระราชดำริปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด จำเป็นต้องเข้ใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดินดังกล่าวให้ดีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยขึ้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานทฤษฎีการปรับปรุงดินเปรี้ยว
พื้นดินเปรี้ยวจัดมีอยู่ประมาณ ๒.๘ แสนไร่ ถ้าหากทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาก็จะสามารถทำการเกษตรและได้ประโยชน์ขึ้นมา จากจุดเริ่มต้นก็คือว่าขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดินมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาอย่างมาก และต้องทำการวิจัยเพื่อหาหนทางแก้ไข ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดินในพื้นที่สภาพจริงนั้นคือ จะมีหน้าฝนสลับกับหน้าแล้ง เดี๋ยวดินแห้ง เดี๋ยวดินเปียก สลับกันไปอย่างนี้ถ้าอาศัยขบวนการทางธรรมชาติก็คงจะต้องให้เวลานานที่เดียวกว่าที่ผลจะเกิดมาให้เห็น เพราะฉะนั้น เลยรับสั่งขึ้นมา...ควรจะเอาพื้นที่ในศูนย์การพัฒนาพิกุลทองฯ พื้นที่เล็กๆ ลองมาแบ่งเป็นล๊อคๆ แล้วทำการแกล้งดิน แกล้ง คือ ให้อยู่ในสภาพเลวที่สุดแล้วค่อยๆ ปรับปรุงคืนขึ้นมาว่าสู่สภาพดีนั้นขบวนการอย่างไรบ้าง จะต้องใส่ผลเคมี หรือต้องใช้ขบวนการชะล้าง ก็สามารถคำนวณออกมาได้อย่างแน่ชัดว่า จะต้องใช้เท่าไร อย่างไรเพราะฉะนั้น ต้นตอของชื่อว่า แกล้งดิน นั้นก็คงเป็นแนวความคิดอย่างนี้คือ แทนที่จะค่อยๆ ทดลอง ก็ทำอย่างรุนแรง แกล้งดิน เลย แกล้งดินให้เป็นกรดอย่างรุนแรงที่สุดให้เกิดการเปรี้ยวจัดมากที่สุด เพื่อว่าเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว การทดลองทดสอบก็จะได้สามารถกระทำได้สะดวกขึ้นเพราะฉะนั้น ในขบวนการแกล้งดินที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ก็เลยทำปีหนึ่งหลายรอบ ทรงรับสั่งว่า จำลองสภาพฤดูแล้งกับฤดูฝนให้กับดินเติมน้ำในดินจำลองสภาพในฤดูฝน แล้วทำให้แห้งให้แล้งขึ้นมา ก็เป็นลักษณะของฤดูแล้ง อะไรอย่างนี้เป็นต้น ทำสลับอย่างนี้หลายครั้งหลายหนและการปลูกแปลงเปรียบเทียบเมื่อเราแกล้งอย่างนี้แล้ว ผลเกิดมาอย่างไร บางทีงานใบแต่เมล็ดไม่มีในพืชพันธุ์บางอย่าง อย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น หลังจากใช้เวลาสักระยะหนึ่งแล้ว หลังจากขังน้ำให้แช่น้ำอยู่นานๆ แล้วสูบน้ำออก ปล่อยน้ำเข้าปล่อยน้ำออก จำลองสภาพ คือ จำลองฤดูกาลแล้วก็ปรากฏว่า เราก็ค้นหาวิธีที่จะแก้ไขได้ บากทีจะใช้วัสดุปูนเพื่อลดความเป็นกรด เป็นปูนมาล เป็นต้น ก็สามารถที่จะใช้ได้ ถ้าใช้ปูนมาลอย่างเดียว ค่าใช้จ่ายก็ค้อนข้างสูง เมื่อค่อนข้างสูงเกษตรกรก็อาจจะทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น บางครั้งก็ใช้ควบคู่กับน้ำชำระล้าง พระองค์ทรงรับสั่งอีกอย่างหนึ่งว่า ให้ใช้ระบบเครื่องซักผ้า หมายความว่า ใช้น้ำจืดมาทำการชำระควบคู่กันไปด้วย ค่าโสหุ้ยก็จะลดลงเพราะบริเวณจังหวัดนราธิวาสนั้นจะเห็นได้ว่า ทรงวางระบบการควบคุมน้ำสมบูรณ์เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่โครงการบางนรา ขึ้นลึกมาในแผ่นดินมีประตูน้ำเล็ก ประตูน้ำน้อย จนกระทั่งเป็นวงจรที่ครบหมด จะให้น้ำขึ้นก็ได้ น้ำลดก็ได้ ควบคุมไว้ได้สิ้นเชิง เพราะฉะนั้น เมื่อเราคุมไว้ได้อย่างสิ้นเชิงอย่างนี้แล้ว ก็มีน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเปรี้ยว แล้วแต่ต้องการจะให้เป็นแบบไหนในพื้นที่ไหน ก็ทำได้โดยง่าย อันนี้ก็เป็น
ขั้นตอนโดยละเอียด แบ่งดินเป็นล๊อคๆ เสร็จแล้วบางล๊อค เราก็แช่น้ำไว้ ปล่อยน้ำเข้าให้เกิดการแช่น้ำ เมื่อต้องการสร้างจำลองในลักษณะเป็นฤดูฝน และก็สักระยะหนึ่งอาจจะ ๔ สัปดาห์ ก็สูบออกอย่างรวดเร็ว แล้วมีสภาพจำลองของฤดูแล้งขึ้นมาทันที กรดต่างๆ ก็จะขึ้นมา สภาพดินก็มีลักษณะเปรี้ยวจัดขึ้น อันนี้วิธีแก้ก็คือว่า ประการแรกลองทดลองว่าถ้าใช้น้ำจืดล้างความเป็นกรดหลายๆ ครั้งผลจะเป็นอย่างไรบ้าง ก็วัดความเป็นกรดตลอดเวลา การชำระล้างจะเป็นได้แค่ไหนอย่างไร นอกเหนือไปจากนั้น ก็ยังใช้วัสดุปูนจะเป็นปูนมาลหรือปูนประเภทอื่นในลักษณะใกล้เคียงกันนั้นใส่คลุกเคล้าดิน เพื่อให้มีสภาพความเป็นกรด ในลักษณะสะเทิ้นความเป็นกรดควบคู่กันไปด้วย ที่นี้พอทดลองในลักษณะนั้นอยู่แล้วก็ปล่อยน้ำจืดเข้าไปขังใหม่ แล้วสูบออก สูบออกอีกทุก ๔ สัปดาห์ แล้วก็คลุกปูน ทำสลับกันไปเรื่อยอย่างนี้ แล้วก็ดูว่าความเป็นกรดนั้นมันลดลงหรือไม่และวิธีทดลองที่ดีทีสุดก็คือเอาพืชต่างๆ ไปปลูก เช่น ข้าวโพด ถั่ว เป็นต้น แล้วลองวัดดู วัดผลดู เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าพอลดลงแล้ว ก็ได้สัดส่วนอย่างแน่ชัดเลยว่า การสูบน้ำเราจะต้องสูบน้ำในช่วงใดอย่างไร การใช้น้ำจืดต้องใช้ชำระล้างในลักษณะอย่างไร ระยะเวลาสักเท่าไหร่ การใช้ปูนเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่ ๑ ไร่ ต้องใช้ปูนสักเท่าไร อย่างไร
พอศึกษาได้แล้วมีวิธีการแก้ไขอย่างไรแล้วก็เป็นเรื่องของการพัฒนา คือ ต้องกระจายผลออกไปข้างนอก ก็ได้นำเอาความรู้ความอ่านนั้นมาจัดทำเป็นคู่มือการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร ขึ้นแจกจ่ายให้กับนักวิชาการ เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ ที่บ้านโคกอิฐ โคกใน ตำบลทอน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส แต่เดิมเป็นพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดมาก และไร่หนึ่งทำนาได้ ๗-๘ ถัง ๑๐ ถังเป็นอย่างมาก หลังจากนำเอาวิธีการแกล้งดินที่สำเร็จแล้ว นำไปเสนอแนะให้แก่เกษตรกรเวลานี้เขาได้ข้าวถึง ๔๐-๕๐ ถังต่อไร่ ซึ่งนับว่าดีมาก แม้แต่พื้นที่ที่มิได้เป็นพรุ ก็ไม่สามารถผลิตได้ด้วยซ้ำไป อันนี้เป็นเรื่องที่ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มีการทดลองทดสอบวิจัยจนสำเร็จออกไปสู่พี่น้องประชาชน
ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเข้าพระทัยถึงธรรมชาติของดินและการเปลี่ยนแปลงของดิน ทรงมีสานพระเนตรที่กว้างไกลเล็งที่มาของปัญหา ทรงเน้นต้องรู้เสียก่อน รู้ที่มาของปัญหาวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ ได้ภาพรวมทั้งด้านความกว้างความลึก จนกระทั่ง มีทางออกแล้วก็มีพระราชดำริให้ริเริ่มงานในด้านที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ หรือหาทางออกที่เป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาโดยถาวรแบบยั่งยืน คือ ตลอดไปสามารถใช้ได้ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าพระอัจฉริยภาพนี้ทำให้ราษฎรที่เคยยากจนมาก่อนในอาณาบริเวณนั้นได้หลุดสภาพความยากจน อย่างน้อยสามารถปลูกข้าวได้ปีละ ๔๐ -๕๐ ถังต่อไร่เป็นผลผลิตที่ดีมาก
ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเข้าพระทัยถึงธรรมชาติของดินและการเปลี่ยนแปลงของดินทรงมีสายพระเนตรที่กว้างไกลเล็งเห็นถึงที่มาที่ไปแห่งปัญหาและวิเคราะห์ปัญหานั้นอย่างมีระบบ เป็นภาพรวมทั้งด้านกว้างและด้านลึก จึงมีพระราชดำริที่ริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัยในด้านปฏพีวิทยา อันเป็นที่มาแห่ง โครงการแกล้งดิน เมื่อแกล้งดินแล้วสิ่งที่ได้รับมิใช่เพียงความรู้หรือรายงานผลการวิจัยที่เก็บไว้บนหิ้งหนังสือ แต่ได้เป็นตำราที่เกิดจากการทดลองทำจริง จากนั้นก็นำไปใช้ได้ผลปรากฏเป็นรูปธรรมที่มองเห็นจับต้องได้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวของเกษตรกรและแก้ปัญหาได้ชัดเจน จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่องค์พระประมุขของประเทศพระราชทานแก่มวลหมู่เกษตรกรผู้ยากไร้อย่างหาที่สุดมิได้ค่ะ
|
|
ความเห็นที่
211 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 14:35 น. โดย :
ใบบัว |
"ชั่งหัวมัน" หมายถึง การชั่งน้ำหนักมันเทศ
พื้นที่ที่ตั้งของโครงการนี้อยู่ที่ บ้านหนองคอกไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี คุณดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ได้กรุณาให้ข้อมูลถึงที่มาของโครงการชั่งหัวมันว่า
ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทรงมีพระราชประสงค์ให้ นำมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวาย วางไว้บนตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ
พอพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระราชวังไกลกังวล จึงพบว่า มันเทศที่วางบนตัวชั่ง มีใบงอกออกมา จึงรับสั่งให้นำหัวมันนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หา พื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ
เป้าหมายของโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจของ อ. ท่ายาง เพชรบุรี โดยเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูก แล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วมดูแลด้วยกัน เพื่อ แลกเปลี่ยนแนวคิด
คุณดิสธร บอกว่า โครงการชั่วหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยคาดว่าอนาคตจะเป็นแหล่ง เรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม
ที่ตั้งของโครงการอยู่ที่ บ้านหนองคอกไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
พืชสวนครัว ได้แก่ มะเขือเทศ มะเขือเปราะ พริก กะเพรา โหระพา มะนาวแป้น ผักชี
ผลไม้ ได้แก่ สับปะรดปัตตาเวีย แก้วมังกร มะละกอแขกดำ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง ชมพู่เพชรสายรุ้ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก
พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ อัอยโรงงาน มันเทศญี่ปุ่น มันเทศออสเตรเลีย มันต่อเผือก มันปีนัง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวเหนียวพันธุ์ชิวแม่จัน ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวหอม ข้าวจ้างพันธุ์ลีซอ ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวขาว ยางนา ยางพารา ชมพู่เพชร
|
|
ความเห็นที่
212 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 14:37 น. โดย :
ใบบัว |
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
ในปี พ.ศ.2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจัดซื้อที่ดินจากราษฎร ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เนื้อที่ประมาณ 250 ไร่ บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองเสือ บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กองงานส่วนพระองค์ สำนักพระราชวัง เข้าพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดทำเป็นโครงการทดลองด้านการเกษตรและทรงมีรับสั่งว่าเมื่อทำเสร็จแล้วจะเสด็จไปทอดพระเนครโครงการด้วยพระองค์เอง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร
3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแปลงหรือมาช่วยงานพระองค์
การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ ประกอบด้วย
- การใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทดแทน
- การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ
- การสาธิตการปลูกสบู่ดำ
- การปลูกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ
- แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตชมพู่เพชรสายรุ้ง
- แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
- การทำปุ๋ยหมัก
- การปลูกไม้ผล พืชไร่ ประกอบด้วย แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก มะละกอ มะนาว ฟักทอง กล้วย อ้อย มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวห้าว ฯลฯ
- การปลูกพืชผัก ประกอบด้วย มันเทศ กระเพรา โหระพา พริกพันธุ์ซูปเปอร์ฮอต มะเขือเทศราชินี กระเจี๊ยบเขียว วอเตอร์เครส มะระขี้นก ผักหวานบ้าน ฯลฯ
สำหรับผลผลิตในโครงการฯ ผักและผลไม้ที่เก็บเกี่ยวได้ จากโครงการมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวโดยการล้างทำความสะอาด คัดเกรด ตัดแต่ง และบรรจุภาชนะ พร้อมนำไปจำหน่ายในสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ กองงานส่วนพระองค์ (ห้องเครื่องวังไกลกังวล และสวนจิตรดา) ,ร้านโกลเด้นเพลสทั้ง 5 สาขา ,ตลาดกลางการเกษตรหนองบ้วย อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่ 5 บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยสามารถเดินทางเข้าทางอำเภอท่ายาง ผ่านโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี ไปทางเส้นทางตำบลท่าไม้รวก ผ่านที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระปุก-เขาตอหม้อ ผ่านโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง ถึงโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ระยะทางประมาณ 47 กิโลเมตร
|
|
ความเห็นที่
213 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 14:39 น. โดย :
ใบบัว |
โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ
คุณบุญยืน เอี่ยมน้อย ผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทางเพชรบุรี ชวนผมไปเพชรบุรี บอกว่าไปดูของดีเมืองเพชร ผมก็บอกว่า เมืองเพชรเห็นมีแต่เขาวังกับขนมหม้อแกง แล้วก็หาดชะอำ
คุณบุญยืนบอกว่า ปัจจุบันนี้ยังมีเรื่องแปลกและดีกว่านั้น พี่เคยได้ยินโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริไหม ผมบอกว่ายัง ถ้ายังงั้นพี่ต้องไปดู ครับ ผมก็เลยต้องตามไปดู และผมก็ได้นัดคณะของกองบรรณาธิการ ตอนแรกก็รับปากว่าไปกันได้หลายคน แต่พอถึงวันไปจริง ๆ คือ วันที่ 3 มิถุนายน 2553 มีคนติดธุระกันมาก ก็เลยได้ไปกันเพียง 2 3 คน จุดนัดพบกับคุณบุญยืน ผู้อาสาพาไปเยี่ยมชมก็คือที่สำนักงานบำรุงทางเพชรบุรี เพราะคุณบุญยืนเองก็เป็นหนึ่งในบรรดาคณะทำงานในโครงการชั่งหัวมันตามพระราช ดำริ โดยได้รับการแต่งตั้งจากนายชาย พานิชพรพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
วันนั้น คุณบุญยืน พร้อมด้วยคุณพอพล อุทัยศรี รองผู้อำนวยการ ฯ ฝ่ายปฏิบัติการและ คุณบุญรัตน์ บัวเกตุ รองผู้อำนวยการ ฯ ฝ่ายบริหาร ได้พาคณะทีมงานวารสารทางหลวงไปที่ตั้งโครงการ ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 5 บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปประมาณ 40 กิโลเมตร
เมื่อไปถึงที่ตั้งโครงการชั่งหัวมันปรากฏว่า ทางด้านขวามือเป็นทุ่งกว้าง ทางด้านซ้ายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดย่อม ชื่อว่า อ่างเก็บน้ำหนองเสือ ในอ่างนั้นแห้งผาก ไม่มีน้ำให้เก็บ ริมอ่างขนาบด้วยเชิงเขา เมื่อไปถึง เจ้าหน้าที่ก็เชิญเข้ารับฟังคำบรรยายที่ไปที่มาของโครงการ ผู้ที่ทำหน้าที่วิทยากรบรรยายให้รายละเอียดก็คือ คุณศรราม ต๋องาม เขาเป็นสมาชิก อบต.หมู่ 8 ตำบลกลัดหลวง และได้อาสาเข้ามาช่วยงานโครงการ ก็เลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานด้วย คุณศรรามเล่าความเป็นมาของโครงการนี้ว่า เดิมทีนั้น มีข้าราชบริพารได้มาซื้อที่ใกล้บริเวณนี้ไว้ แล้วได้ไปเล่าถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับฟัง พระองค์ท่านจึงทรงตรัสว่า ท่านต้องการที่ดินเป็นส่วนพระองค์บ้าง และเพื่อต้องการพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร พอจะมีที่อยู่บ้างหรือเปล่า ข้าราชบริพารผู้นั้นก็ได้มาติดต่อกับคุณศรรามอีก คุณศรรามก็ได้ติดต่อที่ตรงนี้ขายให้จำนวนเนื้อที่ 120 ไร่ และตอนหลังซื้อขยายเพิ่มอีก 130 ไร่ รวมเป็น 250 ไร่ ทั้งคุณศรรามและผู้ขายก็ไม่ทราบว่าเขาได้ขายที่ให้ไปกับพระเจ้าอยู่หัว ต่างก็มาทราบเอาก็ในวันที่ไปโอนโฉนดกันที่สำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ในวันที่โอนกันวันนั้น อย่าว่าแต่คุณศรรามกับเจ้าของที่ดินเลยที่ตื่นเต้น เจ้าหน้าที่ที่ดินทั้งสำนักงานก็พากันตื่นเต้นไปตาม ๆ กัน
ส่วน ที่มาของชื่อ โครงการชั่งหัวมัน คุณศรรามเล่าว่า ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับที่วังไกลกังวลที่หัวหิน ได้มีราษฎรนำหัวมันเทศไปถวาย แล้วพระองค์ก็ได้นำไปไว้บนตาชั่งห้องทรงงาน หลังจากนั้นพระองค์ก็เสด็จกลับกรุงเทพ ประทับอยู่กรุงเทพประมาณ 1 เดือน พระองค์ก็เสด็จกลับไปวังไกลกังวลอีก พอกลับไปก็พบว่า หัวมันที่วางอยู่บนตาชั่งเกิดงอก มีเถา มีใบงอกขึ้นมา พระองค์ท่านจึงให้นำหัวมันนั้นไปปลูกไว้ในที่ดินที่ซื้อไว้ พระองค์ท่านจึงได้พระราชทานพื้นที่โครงการนั้นว่า โครงการ ชั่งหัวมัน และในพื้นที่นั้น ก็ยังมีศาลาที่ชื่อว่า ศาลาชั่งหัวมัน
เมื่อมองดูตามภูมิประเทศแล้ว สังเกตว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่แห้งแล้งกันดารมาก เจ้าของที่เดิมได้ปลูกไม้ยูคาลิปตัส บางพื้นที่ก็เป็นไร่สัปปะรด บางแปลงก็ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง มะนาว ซึ่งในปัจจุบันนี้สวนมะนาวกับหน่อไม้ฝรั่งนี้แหละสร้างรายได้ให้กับโครงการ อยู่บ้าง และเมื่อได้ขับรถเข้าไปชมโครงการ ปรากฏว่า มีพืชผักสวนครัวเกือบทุกชนิด มีตั้งแต่พริก มะเขือ กะเพรา โหระพา
พวกผลไม้ก็มี แก้วมังกร มะละกอ มะพร้าวน้ำหอม ชมพู่เพชรสายรุ้ง กล้วยน้ำหว้า กล้วยหักมุก เป็นต้น
นอกจากพืชผักผลไม้ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีนาข้าวอีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกหูแปลกตาเป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่ง สิ่งนั้นก็คือ กังหันลม และกังหันลมก็ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโครงการชั่งหัวมันด้วย
ความเป็นมาของกังหันลม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสให้นำพลังงานลมมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อโครงการชั่งหัวมัน ฯ และได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ศูนย์วิจัยพลังงานลมน้ำและแสงอาทิตย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดำเนินการออกแบบและติดตั้ง จำนวน 10 ตัว และมหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีน้อมเกล้าถวาย 1 ตัว ต่อมาได้มีการติดตั้งเพิ่มรวมทั้งหมด 20 ตัว
กังหันลมผลิตไฟฟ้า 1 ชุด ประกอบด้วย กังหันลม เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมมูลค่า 700,000 บาท ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม คือ มีกำลังลมแรงเฉลี่ยตั้งแต่ 2 9 เมตรต่อวินาที ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบสายส่งตรงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เฉลี่ยเดือนละ 1,500 หน่วย เพื่อใช้ในกิจการในโครงการชั่งหัวมัน ฯ
โครงการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาเปิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2552 ในวันเปิดโครงการก็เป็นการเสด็จส่วนพระองค์จริง ๆ เพราะมีเพียงข้าราชการในท้องถิ่นบางส่วนและราษฎรที่อยู่ในพื้นที่เพียงไม่ กี่คนที่ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทรงเปิดโครงการ และหนึ่งในจำนวนข้าราชการไม่กี่คน ก็ได้มีคุณบุญยืน ผอ.สำนักงานบำรุงทางเพชรบุรีก็ได้เข้าเฝ้ารับเสด็จด้วย
ปัจจุบันนี้ ในแต่ละวันจะมีประชาชนที่ได้ทราบข่าวว่ามีโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ต่างก็มาเยี่ยมชมกันทุกวันไม่ขาดสาย ซึ่งก็ได้กลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้การพัฒนาที่ดิน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี
โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริเกิดขึ้นอย่างเข้มแข็งด้วยการร่วมมือ ร่วมใจกันของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้เกิดความก้าวหน้าในโครงการดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวที่ทรงมีพระราชดำรัสกับโครงการชั่งหัวมัน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 มีดังนี้
คนที่ไปดูก็เห็นได้ว่า เริ่มต้นด้วยไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาภายในวันเดียว ทุกคนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นก็เข้าใจว่าต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ ในระยะนี้ เราต้องร่วมมือกันทำ เพราะว่าถ้าเราไม่ร่วมมือกันก็ไม่ก้าวหน้า ไม่มีความก้าวหน้า ฉะนั้นการที่ท่านได้ทำแล้ว มีความก้าวหน้านี้เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ที่ทุกคนต้องเสียสละเพื่อให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไร ก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็นว่ากิจการที่ทำมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทำ แล้วก็ทำให้ก้าวหน้า แต่อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหนึ่ง มันทั้งหมดร่วมกันทำ และก็มีความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความหวัง มีความหวังว่าประเทศชาติจะก้าวหน้า ประเทศชาติจะมีความสำเร็จ
จากพระราชดำรัสดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า งานจะเจริญก้าวหน้าได้ ประชาชนต้องร่วมมือร่วมใจช่วยกันทำ ประเทศจะเจริญก้าวหน้า ประเทศชาติจะมีความสำเร็จ ชนในชาติต้องร่วมมือกันทำ
วันนั้นผมยืนดูรายนามของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้มาร่วมในกิจกรรมพัฒนาโครงการชั่งหัวมัน มีหลายหน่วยงาน ยกเว้นแต่หน่วยงานกรมทางหลวงของเราไม่มีชื่อในบอร์ด ทั้ง ๆ ที่หน่วยงานของเราเริ่มเข้ามาตั้งแต่เริ่มโครงการ ตั้งแต่ป้ายชื่อโครงการและเครื่องตาชั่งไฟฟ้าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ในพิธีเปิดป้ายโครงการในวันนั้น เจ้าหน้าที่ของสำนักงานบำรุงทาง คือ นายไพรสันต์ ศุภเลิศ หัวหน้างานอำนวยความปลอดภัย เป็นผู้จัดทำ รวมไปถึงการติดตั้งป้ายแนะนำเส้นทางไปโครงการติดตั้งการ์ดเรลและติดตั้งเสา ไฟฟ้าแสงสว่างในโครงการ แต่ไม่มีรายนามของหน่วยงานของเราที่ได้เข้ามาสนับสนุนช่วยงานโครงการ ผมจึงหันไปถามคุณบุญยืน ผอ.สำนักงานบำรุงทางเพชรบุรีว่าทำไมไม่มีชื่อหน่วยงานขอเรา คุณบุญยืนก็ได้ตอบว่าผมได้รับใช้สนองงานใต้เบื้องยุคลบาทของพระองค์ ผมก็ถือว่าเป็นมงคลชีวิตอันสูงสุดแล้ว ผมชอบบทเพลง ความฝันอันสูงสุด ซึ่งเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์โดยเฉพาะในท่อนที่ว่า
จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด
จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง
จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
คุณบุญยืนยังเล่าต่ออีกว่า อยู่ที่ไหน ๆ ผมก็ทำงานเช่นนี้ตลอดมา ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่ได้แจกแจงผลงานให้กับโครงการ ฯ เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์
กลับมาพูดถึงเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานการเกษตร เราจะเห็นได้ว่า ไม่มีพระมหากษัตริย์ที่ไหนในโลกนี้ที่จะลงมาปฏิบัติงานด้วยพระองค์เอง มีโครงการส่วนพระองค์ดังตัวอย่างเราจะเห็นได้ว่า พระองค์ได้สละพื้นที่ในพระราชวังดุสิต สวนจิตรลดา ส่วนหนึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นทุ่งนา คอกวัว และบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งพระองค์ได้เริ่มทรงทำนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ในพระราชวังมีโครงการทางด้านการเกษตรหลายโครงการที่เกิดขึ้น และด้วยสายพระ เนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเกี่ยวกับทางด้านการ เกษตร พระองค์ทรงเล็งเห็นประเทศของเรามีภูมิประเทศที่เหมาะสำหรับทำการเกษตร เกษตรกรรมเป็นอาชีพพื้นฐานของคนไทยมาแต่ดึกดำบรรพ์ พระองค์เคยให้พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2507 มีข้อความตอนหนึ่งว่า
เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมาแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มาใช้สร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็น สำคัญ และงานทุก ๆ ฝ่ายจะดำเนินก้าวหน้าไปได้ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของภาคเกษตรกรรม พระราชดำรัสนี้พระองค์ได้ตรัสไว้เป็นเวลา 46 ปีมาแล้ว และได้เป็นพระราชดำรัสอันทรงอมตะอยู่จนทุกวันนี้
พระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศไทยและปวงชนชาวไทยตลอด มา นับตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ในการที่จะทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ อุทิศพระชนม์ชีพเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติและเพื่อความผาสุกของ ประชาชนชาวไทย เมื่อครั้งที่พระองค์ยังมีพระวรกายที่แข็งแรง พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนมากแต่ละปีเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ที่พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศเพื่อทรงเยี่ยมเยือนประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรตามชนบท เพื่อพระองค์จะได้ทรงทราบถึงความทุกข์สุขและสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรใน พื้นที่ด้วยพระองค์เอง เมื่อราษฎรมีปัญหาในการประกอบอาชีพ เช่น พื้นที่มีน้ำท่วมในหน้าฝนหรือพื้นดินแห้งแล้งในหน้าแล้ง ไม่มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรหรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมตลอดปี ทำให้ไม่มีที่ดินทำกิน พื้นที่บางแห่งมีการตัดไม้ทำลายป่ามาก เป็นการทำลายต้นน้ำลำธาร ทำให้ขาดน้ำเพื่อการเกษตรหรือทำให้เกิดดินถล่ม สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาของเกษตรกรที่จะต้องได้รับการแก้ไข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลำบากตรากตรำเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกหนทุก แห่งในพื้นที่ทุรกันดารท่ามกลางแสดงแดดหรือสายฝนที่ตกลงมาไม่ขาดสายเพื่อทรง หาทางช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โครงการช่วยเหลือของพระองค์หลายโครงการ คือ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ และโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริแห่งนี้ก็เป็นโครงการต้นแบบอีกโครงการ หนึ่งที่พระองค์ต้องการพัฒนาในพื้นที่แห้งแล้งเพื่อแสดงให้เห็นว่า ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง ก็สามารถนำพื้นที่เหล่านั้นมาทำประโยชน์ได้
เราคนไทย นับว่าเป็นบุญอันใหญ่หลวงที่ได้มีพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศที่ เป็นนักพัฒนา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงไปด้วยทศพิธราชธรรม เพราะฉะนั้น เราคนไทยทั้งหลายจงได้ช่วยกันพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงสืบไป คู่กับประเทศไทยชั่วกัลปวสาน
|
|
ความเห็นที่
214 โพสเมื่อ :
21 ธ.ค. 55 : 14:41 น. โดย :
ใบบัว |
ชั่งหัวมัน นับเป็นโครงการตามพระราชดำริโครงการหนึ่งซึ่งชื่อโครงการสามารถดึงดูดความสนใจแก่คนทั่วไปได้ดี เพราะคำพ้องเสียงระว่างคำว่า ชั่งหัวมัน และ ช่างหัวมัน ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความสงสัยว่า ชั่งหัวมัน คืออะไร
นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง เคยเล่าถึงที่มาของโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเจ้าหน้าที่โครงการฯ ได้ทำเป็นแผ่นผ้าใบและนำมาติดไว้เพื่อให้ผู้ที่เข้าชมภายในโครงการได้ทราบถึงประวัติโดยสังเขปของโครงการนี้ว่า
ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่วังไกลกังวล ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ ทรงมีพระประสงค์ให้มันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวายวางไว้บนตาชั่งแบบโบราณ และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินมายังวังไกลกังวลอีกครั้ง จึงพบว่ามันเทศที่วางไว้บนตาชั่งมีใบงอกออกมา พระองค์ทรงรับสั่งให้นำหัวมันต้นนั้นไปแยกกระถางปลูกไว้ในวังไกลกังวลแล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หาพื้นที่ทดลองปลูกมันเทศ
โครงการตามพระราชดำริ ชั่งหัวมัน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหนองคอไก่ ต.เขากระปุก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินบริเวณนี้จากราษฎร เมื่อปี 2551 จำนวน 130 ไร่ ต่อมาในปี 2552 ทรงซื้อเพิ่มอีก 120 ไร่ รวมเนื้อที่ในโครงการจำนวน 250 ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ซึ่งเคยแห้งแล้งให้กลายเป็นศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจนานาชนิดและเพื่อเป็นแนวทางการทำการเกษตรโดยยึดหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่อ.ท่ายาง แห่งนี้
นายชนินทร์ ทิพย์โภชนา ผู้จัดการโครงการชั่งหัวมันฯ เปิดเผยถึงสภาพพื้นที่ในอดีตของโครงการฯ ภายในงานสื่อมวลชนสัญจร กปร.กับงานของในหลวง ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ว่า ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นแห้งแล้ง เนื่องจากไม่มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ชาวบ้านจึงปลูกต้นยูคาลิปตัส ซึ่งทำให้สภาพพื้นดินยิ่งเสื่อมโทรม นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านบางส่วนที่ปลูกมะนาวแป้น แต่เนื่องจากไม่น้ำจึงทำให้ได้ผลผลิตน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านจึงอยากขายที่ดิน แต่ขายไม่ได้เนื่องจากเป็นพื้นที่รกร้างและไม่สามารถทำประโยชน์ได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการชั่งหัวมัน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ความตอนหนึ่งว่า
คนที่ไปดูก็เห็นได้ว่า เริ่มต้นด้วยไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาภายในวันเดียว ทุกคนที่อยู่ในท้องที่นั่นก็เข้าใจว่าต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ ในระยะนี้ เราต้องร่วมมือกันทำ เพราะว่าถ้าไม่มีการร่วมมือกันก็ไม่ก้าวหน้า ไม่มีความก้าวหน้า ฉะนั้นการที่ท่านได้ทำแล้วมีความก้าวหน้านี้เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันเสียสละ เพื่อให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไรก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็นว่ากิจการที่ทำมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทำแล้วก็ทำให้ก้าวหน้า แต่อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหนึ่ง มันทั้งหมดร่วมกันทำ และก็มีความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความหวัง มีความหวังว่าประเทศชาติจะก้าวหน้า ประเทศชาติจะมีความสำเร็จ
จากพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานนี้เอง ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ภายในโครงการ หน่วยงานต่างๆ จำนวน 11 หน่วยงาน ได้แก่ ทางหลวงชนบทจังหวัดเพชรบุรี หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 13 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กองพันบริการ กองบริการ ศูนย์การทหาราบ กระทรวงมหาดไทย และชาวเพชรบุรรีได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาและพลิกฟื้นพื้นที่แห้งแล้งให้กลายเป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
ผู้จัดการโครงการชั่งหัวมันฯ ย้อนอดีตโดยการเล่าถึงการเสด็จพระราชดำเนินมายังพื้นที่โครงการให้ฟังว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาชมพื้นที่โครงการจำนวน 3 ครั้ง ซึ่งการเสด็จฯ แต่ละครั้งเป็นการเสด็จฯ ส่วนพระองค์ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการส่วนพระองค์ และจะทรงพระสำราญพระอิริยาบทและพระราชหฤทัยทุกครั้ง ซึ่งพระองค์ได้เสด็จฯ มาทรงเปิดโครงการในวันที่ 1 สิงหาคม 2552 ในครั้งนั้นทรงขับรถจิ๊บด้วยพระองค์เอง โดยมีคุณทองแดงนั่งด้านหน้า ส่วนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมุหราชองครักษ์นั่งด้านหลัง แม้ทุกวันนี้พระองค์จะมิได้เสด็จฯ มา แต่ทรงมีรับสั่งเกี่ยวกับโครงการอย่างต่อเนื่อง ทรงแนะนำพันธุ์พืชที่ควรจะปลูกและทรงติดตามความคืบหน้าโครงการมาโดยตลอด
ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เราพัฒนาขึ้นเยอะมากๆ จากป่ายูคารกร้าง สามารถเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทางการเกษตรและทำให้ทันสมัยมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมชลประทานและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และชาวบ้านเองก็รู้สึกภาคภูมิใจที่มีโครงการในลักษณะนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ของพวกเขา ซึ่งทุกวันพฤหัสบดีชาวบ้านจะเข้ามาช่วยกันทำงานผัดเปลี่ยนไปทุกหมู่บ้านโดยไม่ได้รับค่าแรง แสดงให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันในการทำเพื่อถวายพระองค์ท่าน นายชนินทร์ ทิพย์โภชนา กล่าว
ภายในโครงการชั่งหัวมันฯ ไม่ได้มีการปลูกมันสำปะหลังอย่างเดียว แต่ยังปลูกพืชผักสวนครัว อาทิ พริก มะเขือเทศ มะเขือเปราะ ผักบุ้ง กะเพราะ โหระพา มะนาวแป้น และผักชี ส่วนผลไม้ที่ปลูกนั้นเป็นพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศ อาทิ สับปะรดปัตตาเวีย แก้วมังกร มะละกอแขกดำ มะพร้าวน้ำหอม ชมพู่เพชรสายรุ่ง กล้วยน้ำว้า และสับปะรดเพชรบุรี สำหรับพืชเศรษฐกิจนั้น เป็นพืชที่อยู่ในความต้องการของตลาด สามารถจำหน่ายได้ราคาสูง อาทิ อ้อยโรงงาน มันเทศญี่ปุ่น มันปีนัง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวเหนียวพันธุ์ซิวแม่จัน ข้าวเจ้าพันธุ์ลีซอ ยางพารา ยางนา เป็นต้น
สิ้นค้าการเกษตรจากโรงการชั่งหัวมันฯ ส่วนหนึ่งจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัว อีกส่วนหนึ่งจะส่งไปจำหน่ายที่ร้าน โกลเด้นเพลซ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทสุรรณชาติในพระบรมราชูถัมภ์ จำกัด ร้านโกลเด้นเพลซจึงเป็นซูเปอร์มาเก็ตที่ยึดนโยบายพระราชทาน เศรษฐกิจพอเพียง ขายของคุณภาพดี ราคาไม่แพง เป็นศูนย์รวมสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ สินค้าเกษตรแปรรูป จากโครงการหลวงและชุมชนทั่วประเทศ ผู้จัดการโครงการคนเดิมกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดมะเขือหยกภูพาน ซึ่งเราจะส่งไปถวายทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีข้าวสารที่ปลูกในโครงการที่ได้ได้ส่งไปถวายพระองค์ท่านด้วย สำหรับการขายสินค้า บางคนอาจเข้าใจผิดว่าเราไปแย่งตลาดของชาวบ้าน แต่ความจริงแล้วเรามีตลาดของเราเองคือ ร้านโกลเด้นเพลซ ดังนั้นจึงไม่มีการแย่งตลาดกับชาวบ้าน แต่ชาวบ้านสามารถเข้ามาเรียนรู้วิธีการเพิ่มผลผลิตและศึกษาพืชเศรษฐกิจที่เขาสามารถนำไปปลูกจากเราได้ สำหรับการดำเนินงานต่อไปจะมีการจัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้เฉพาะถิ่นสำหรับชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชบายมาแล้ว โดยเราจะดำเนินตามพระราชประสงค์ต่อไป และหวังว่าศูนย์การเรียนรู้นี้จะเป็นพื้นที่อีกแห่งหนึ่งที่สามารถสร้างความรู้ให้ชาวบ้านนำกลับไปปฏิบัติเพื่อความอยู่ดีมีสุขได้ นายชนินทร์ ทิพย์โภชนา ผู้จัดการโครงการชั่งหัวมันฯ กล่าวในตอนท้าย
เนื่องจากบริเวณพื้นที่โครงมีลมแรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้นำพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการชั่งหัวมันฯ และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ศูนย์วิจัยพลังงามลมน้ำและแสงอาทิตย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดำเนินการออกแบบและติดตั้ง จำนวน 10 ตัว โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีน้อมเกล้าฯ ถวายอีก 1 ตัว ต่อมามีการติดตั้งเพิ่มอีก 9 ตัว ขณะนี้จึงมีกังหันลมผลิตไฟฟ้าจำนวน 20 ตัว
ต่อมามีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ โดยพลังงานสะอาดเหล่านี้ ไม่ได้ใช้หมุนเวียนในไร่ แต่ใช้วิธีการนับว่าผลิตได้เท่าไรแล้วนำไปหักลบกับพลังงานที่ใช้ทุกเดือนภายในโครงการฯ ซึ่งพลังงานที่เหลือจะนำไปขายให้แก่การไฟฟ้าฯ
นอกจากนี้มีการร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงาน กปร. กรมชลประทาน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใน โครงการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพระบบจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้อ่างเก็บน้ำหนองเสือ โดยระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานทดแทน (ระบบผันน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยผาก-อ่างเก็บน้ำบ้านหนองเสือ) ต.เขากระปุก อ.ท่ายาง เพื่อนำน้ำไปใช้ภายในโครงการชั่งหัวมันฯ
โครงการดังกล่าวเป็นการออกแบบและติดตั้งระบบสูบน้ำ โดยสูบน้ำจากแหล่งต้นน้ำเพื่อกักเก็บ ไว้ที่ถังพักน้ำชุดที่ 1 ด้วยระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และระบบบศุบน้ำด้วยไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีพลังงานลมเป็นแหล่งพลังงานเสริมตามความเหมาะสมกับสภาพทางภูมิศาสตร์
จากนั้นจะสูบน้ำโดยระบบทั้งสองอีกครั้งขึ้นไปยังถังพักน้ำบนยอดเขา (ใช้การสูบต่อแบบอนุกรม) โดยให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างปริมาณน้ำที่ส่งขึ้นถังพักน้ำ และปริมาณน้ำจากถังพักน้ำไปยังแหล่งรับน้ำ (อ่างเก็บน้ำบ้านหนองเสือ) มีอัตราการสูบน้ำ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงสำหรับการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าา และมีอัตราการสูบน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงสำหรับการสูบน้ำด้วยพลังงานทดแทน หรือวันละ 960 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีระบบควบคุมและแสดงผลระบบทางไกลผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม โดยจะเริ่มทดสอบระบบในวันที่ 15 กันยายนนี้
หลังจากการติดตั้งและเดินระบบเสร็จแล้ว จะมีการวิเคราะห์ศักยภาพทั้งระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และระบบสูบน้ำด้วยพลังงานทดแทน เพื่อหาความเหมาะสมของระบบโดยรวม รวมทั้งจัดทำวิธีการบริหารจัดการน้ำผ่านระบบตรวจวัดและควบคุมทางไกลผ่านเครือข่าวโทรคมนาคม เพื่อจัดทำเป็นโครงการต้นแบบด้านการชลประทานต่อไปในอนาคต
จากการร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนส่งผลให้วันนี้ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กลายเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรด้านวิถีพอเพียงแห่งใหม่สำหรับชาวเพชรบุรีและจังหวัดใกล้เคียงได้อย่างสมบูรณ์แบบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ครูแห่งแผ่นดิน ในการทรงเป็นต้นแบบที่ทรงแสดงให้เห็นถึงพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นในการพลิกฟื้นแผ่นดินที่เคยแห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ทรงแสดงให้เห็นว่า แม้แต่แผ่นดินที่เสื่อมโทรมก็สามารถอุดมสมบูรณ์ขึ้นได้หากคนชาติมีความร่วมใจในการพัฒนาไปด้วยกัน และที่สำคัญคือ ตัวอย่างความสำเร็จเหล่านี้ จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรโดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพื่อความอยู่ดีมีสุขของตนเองและครอบครัวสืบไป
|
|
ความเห็นที่
215 โพสเมื่อ :
24 ธ.ค. 55 : 14:38 น. โดย :
กสค.ยศ.ทบ |
พ่อเหนื่อย พ่อหล้า พ่อทน พ่อทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ในใจเรา เรารัก พ่อหลวงของเรา
|
|
ความเห็นที่
216 โพสเมื่อ :
25 ธ.ค. 55 : 06:24 น. โดย :
พัน.สร.๑ พล.๑ รอ. |
ตราบ ใดที่ข้าพเจ้ายังใส่เครื่องแบบข้าราชการทหารอยู่นั้นนั่นหมายถึง ข้าพเจ้าเป็นข้าราชการของพระองค์ท่าน และจะทำงานเพื่อทดแทนพระคุณของพระองค์ท่านตราบชีวิตข้าพเจ้าจะหาไม่ และจะไม่ให้ใครผู้ใดมาทำลายแผ่นดินเกิดของข้าพเจ้าซึ่งต้องเอาเลือดเนื้อของ บรรพบุรุษที่ปกป้องและรักษามานานตราบนาน จนให้ลูกหลานอย่างข้าพเจ้ามีแผ่นดินอยู่อาศัย ..... ข้าพเจ้าขอสัญญา
|
|
ความเห็นที่
217 โพสเมื่อ :
25 ธ.ค. 55 : 11:06 น. โดย :
เด็กหนองจอก |
พระราชดำรัสของในหลวง 5 ธ.ค. 2555
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระราชทานพระบรมราชโอกาส ให้พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา คณะทูตานุทูต
ข้าราชการ และทหารรักษาพระองค์ ตลอดจนพสกนิกรทุกหมู่เหล่า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๕ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คำอวยพรเเละคำปฏิญาณสัญญา ที่ทุกท่านได้กล่าวนั้น เป็นที่ประทับใจมาก
ขอขอบพระทัยเเละขอบใจท่านทั้งหลาย ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคน
ที่พรั่งพร้อมกันมาด้วยความปรารถนาดีเเละไมตรีจิต
ความปรารถนาดีเเละความพร้อมเพรียงกันของทุกท่าน อย่างที่ได้เห็นกันในวันนี้
ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มใจ มีกำลังใจมากขึ้น ด้วยมีความเชื่อเสมอมาว่า
ความเมตตาปรารถนาดีต่อกันนี้ เป็นปัจจัยอย่างสำคัญ ที่จะยังความพร้อมเพรียงให้เกิดมีขึ้น
ทั้งในหมู่คณะเเละชาติบ้านเมือง เเละ
ถ้าคนไทยเรายังมีคุณธรรมข้อนี้ประจำอยู่ในจิตใจ ก็มีความหวังได้ว่า
บ้านเมืองไทยไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆก็จะอยู่รอดปลอดภัยเเละ
ดำรงมั่นคงต่อไปได้ตลอดรอดฝั่งอย่างเเน่นอน
ขออำนาจเเห่งคุณพระรัตนตรัยเเละสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงคุ้มครองรักษาท่านเเละชาติไทย
ให้มีเเต่ความผาสุกร่มเย็นยั่งยืนไป
|
|
ความเห็นที่
218 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 08:44 น. โดย :
ร.๓๑ พัน.๓ รอ. |
พระเสโท หยดหยาด เพื่อชาติสุข พระบาทบุก ธานินทร์ ทั่วถิ่นที่
พระทรงเคียว เกี่ยวข้าว ธ รู้ดี พระทรง ปรีชาชาญ งานฝนเทียม
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
|
|
ความเห็นที่
219 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 09:12 น. โดย :
ใบบัว |
"เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
" เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่าเราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น " พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542
|
|
ความเห็นที่
220 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 09:17 น. โดย :
ใบบัว |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรแม้ในถิ่นทุรกันดาร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเอง บางแห่งต้องทรงพระดำเนินบุกป่าฝ่าเขาในภาคเหนือ ฝ่าดงทากชุกชุมในภาคใต้ เพื่อเสด็จฯไปทรงตรวจพื้นที่ที่จะพระราชทานโครงการต่างๆ ที่เหมาะสม หรือพระราชทานเขื่อนฝายแหล่งเก็บกักน้ำให้แก่ราษฎร แม้พระเสโทหยาดเต็มพระพักตร์ แม้ทากเกาะดูดพระโลหิตจากพระวรกาย ก็มิได้ทรงย่อท้อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้าช่วยแก้ปัญหาของประชาชนตลอดเวลายาวนานกว่า ๕๐ ปี โดยเฉพาะปัญหาการอาชีพ ปัญหาเรื่องน้ำ และดิน คือ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำท่วมในฤดูฝน ทรงพระราชดำริเริ่มโครงการด้านชลประทานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ โดยทรงยึดหลักการที่ว่า ต้องมีน้ำ น้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ทรงตระหนักดีว่า น้ำ คือชีวิต น้ำมีความสำคัญต่ออาชีพเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตของราษฎรไทย โดยเฉพาะในชนบท ทรงพระราชดำริว่า การสงเคราะห์ราษฎรที่ได้ผลควรเป็นการสงเคราะห์อย่างถาวร นั่นก็คือ การช่วยราษฎรให้สามารถพึ่งตนเองได้ จึงทรงพระกรุณาดำริ ริเริ่มโครงการต่างๆ เมื่อ พัฒนาทรัพยากรน้ำ ในรูปแบบต่างๆ มาโดยตลอด
โครงการเขื่อนฝายแหล่งเก็บกักน้ำที่สำคัญ ทั้งเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม และป้องกันอุทกภัย คือ โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี เก็บน้ำได้ประมาณ ๗๘๕ ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างเสร็จเปิดใช้แล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๒ และเป็นที่ประจักษ์ว่า สามารถเก็บกักน้ำไว้เพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมและป้องกันอุทกภัยในจังหวัดภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่จังหวัดนครนายก คือ เขื่อนใหญ่สูง จุน้ำ ๓๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร จะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นการก่อสร้างเขื่อนดินผสมกับเขื่อนคอนกรีต โดยนำปูนซีเมนต์และเถ้าลิกไนต์ที่ได้จากการเผ่าถ่านหินลิกไนต์ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ผสมกับปูนทราย หิน และน้ำ บดอัดเป็นชั้นๆ สามารถลดปริมาณปูซีเมนต์ลงได้จำนวนมาก เป็นการประหยัดงบประมาณอย่างมาก เมื่อโครงการสำเร็จจะสามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ และส่งน้ำให้แก่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดนครนายก เพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ๑๖ ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำเพื่ออุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ๗ ล้านลูกบาศก์เมตร ลดอุทกภัยได้ร้อยละ ๓๔ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๕๓๙) โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีระยะเวลาดำเนินการระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๗ เป็นโครงการสำคัญโครงการหนึ่งในการแก้ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว อันเนื่องจากน้ำเค็มรุกล้ำ และน้ำเสียจากนากุ้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ ทำประตูน้ำที่ปากแม่น้ำห่างจากตัวอำเภอปากพนัง ๓ กิโลเมตร ทรงพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเค็มและสามารถทำให้ประชาชนมีน้ำบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร (สุเมธ ตันติเวชกุล - แนวพระราชดำริและการพัฒนาชนบท) นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมพระราชทานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงดินในภูมิภาคต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น พระราชทานพระราชดำริให้สร้าง เขื่อนเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ ในจังหวัดต่างๆ ทั้ง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เป็นต้นว่า เขื่อนห้วยกุ่ม เขื่อนพรมธารา จังหวัดชัยภูมิ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อ่างเก็บน้ำห้วยเสี้ยว จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำห้วยนากระจงจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ่างเก็บน้ำห้วยแดน ห้วยหีบ สกลนคร อ่างเก็บน้ำห้วยไกรทอง ประจวบคีรีขันธ์ อ่างเก็บน้ำต้นหยง นราธิวาส เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ จำนวนมากนับด้วยร้อย ได้ช่วยให้ราษฎรในพื้นที่ที่แต่เดิมเคยแห้งแล้ง สามารถเพาะปลูกเพิ่มผลผลิตเป็นพืชพันธุ์ธัญญาหารและใช้น้ำเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงโค ทำให้ระดับความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากพระราชทานพระราชดำริให้สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ ยังพระราชทาน โครงการระบายน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง เช่น โครงการระบายน้ำจาก พรุบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยทรงนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างพนังกั้นน้ำในลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณ จังหวัดหนองคาย ตามโครงการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาเป็นแนวทางทรงประยุกต์และพระราชทานให้กรมชลประทานรับไปดำเนินการ หลังดำเนินการเพียง ๔ เดือน มีผลให้ใช้พื้นดินเป็นประโยชน์ได้ถึง ๑๑๙,๐๐๐ ไร่ และพื้นที่ พรุบาเจาะ ซึ่งแต่เดิมเพาะปลูกไม่ได้เพราะน้ำท่วมได้พ้นสภาพ พรุ ราษฎรใช้ที่ดินเพาะปลูกเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ถึงอีกเท่าตัว ในการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระอุตสาหะวิริยะคิดค้น การทำฝนเทียม หรือ ฝนหลวง เพื่อจัดหาน้ำให้แก่พื้นดินแห้งแล้ง ด้วยพระปรีชาสามารถ ล้ำเลิศ ทรงกำหนดวิธีการไว้ ๓ ขั้นตอน คือก่อกวน เลี้ยงให้อ้วน และโจมตี เป็นปฏิบัติการที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ฝนเทียมนานาชาติต่างยกย่องพระปรีชาสามารถของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการค้นคว้าทำฝนเทียมของไทย โดยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นี้ ได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมทำฝนในเขตร้อนของภูมิภาคอาเซียน มีประเทศต่างๆ นำแนวทางของไทยไปใช้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และบังคลาเทศ เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๕๓๙) ในการแก้ปัญหาอุทกภัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนจากน้ำท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่เศรษฐกิจด้วย จึงทรงพระวิริยะอุตสาหะศึกษาหาทางแก้ปัญหาเพื่อป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากพระราชทานพระราชดำริให้ปรับปรุงท่อระบายน้ำในตรอกซอกซอย ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองสายหลัก ด้วยการขุดลอกขยายคูคลองต่างๆ ให้กว้างและลึกสร้างอุโมงค์ผันน้ำใต้ดิน ก่อสร้างสถานีสูบน้ำเพิ่ม จัดให้มีพื้นที่สงวนเป็นที่โล่ง ไม่ให้มีการก่อสร้างขยายเมือง เพื่อให้สามารถใช้เป็นทางระบายน้ำคลองในฤดูน้ำหลากแล้ว ยังพระราชทานพระราชดำริจัดให้มี แก้มลิง คือ สถานที่เป็นบึงเก็บพักน้ำชั่วคราว รอให้ระดับน้ำในคูคลองระบายน้ำพร่องลง แล้วจึงระบายปล่อยน้ำ เป็นการช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขังได้ดี โครงการ แก้มลิง นี้มีในหลายพื้นที่ เช่น โครงการแก้มลิงฝั่งตะวัน ออก รับน้ำจากสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ผ่านคลองธรรมชาติแนวเหนือและใต้ก่อนระบายออกสู่อ่าวไทยบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพฯ ระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น โครงการแก้มลิง นี้ ยังมีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมด้วย โดยน้ำที่ปล่อยลงจาก แก้มลิง จะช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียในคลองต่างๆ ให้เบาบางลง แล้วผลักลงสู่ทะเล (ในหลวง นายช่างใหญ่แห่งแผ่นดิน ๒๕๔๓) พระปรีชาสามารถใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านวิศวกรรม เพื่อทรงแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การบำบัดน้ำเน่าเสีย ในชั้นแรก ได้พระราชทานพระราชดำริให้บำบัดโดยวิธีธรรมชาติ บึงมักกะสัน โดยใช้ผักตบชวา รับสั่งว่า ผักตบชวา นี้ มันกินสิ่งโสโครก การบำบัดวิธีธรรมชาตินี้ สามารถลดความเน่าเสียของน้ำเฉลี่ยได้ร้อยละ ๕๐แต่ต่อมา เมื่อการทางพิเศษสร้างทางด่วนมหานครคร่อมบึงมักกะสัน ทำให้บึงขาดแสงแดด การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติดังกล่าวจึงไม่เป็นผล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยขึ้น โดยทรงนำแนวทางเริ่มต้นมาจาก หลุก อุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเรียกเครื่องกลนี้ว่า กังหันน้ำชัยพัฒนา ประดิษฐ์สำเร็จเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๖ ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลที่ ๑ งผลงานคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี ๒๕๓๖ เป็นรางวัลเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย สิทธิบัตร เลขที่ ๓๑๒๗ ในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น วันนักประดิษฐ์ (ชีวิตและทรัพยากรแห่งแผ่นดิน ใต้เบื้องพระยุคลบาท ๒๕๓๙) ปัญหาจราจรแออัดติดขัดในกรุงเทพมหานคร นั้น นอกจากจะนำเอาความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากเกือบแสนล้านบาทต่อปีแล้วยังก่อปัญหามลพิษจากท่อไอเสียเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาจราจร ทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วน เช่น โครงการขยายสะพานผ่านฟ้าสีลาศและสร้างสะพานคู่ขนานสะพานมัฆวานรังสรรค์ ปรับปรุงเพิ่มช่องทางจราจรบริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพิ่มช่องทางเลี้ยวหน้ากรมประชาสัมพันธ์เดิม เพิ่มพื้นผิวจราจรบริเวณโซนสะพานพระราม ๙ และการสร้างระบบเครือข่ายระยะยาวเช่น โครงข่ายถนนวงแหวนรัชดาภิเษก โครงข่ายถนนวงแหวนอุตสาหกรรม โครงข่ายจตุจักรทิศตะวันตก - ตะวันออก ซึ่งมีการสร้างสะพานพระราม ๘ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ จะเชื่อมต่อเส้นทางจราจรกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นตามพระราชดำริ เพื่อลดปัญหาการจราจรแออัดต่อเนื่องระหว่างกรุงเทพฯกับธนบุรีแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของพสกนิกรไทย มีอีกเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากมีโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริมากกว่า ๒,๐๐๐ โครงการ ในด้านอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร นั้น ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่ และ เศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนประเทศไทยจะตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยทรงกำหนดให้เกษตรกรแบ่งพื้นที่ประมาณ ๑๕ ไร่ เป็น ๓ ส่วนส่วน แรกประมาณ ๓ ไร่ ขุดสระกักน้ำไว้ใช้เพาะปลูก ส่วนที่สองประมาณ ๑๐ ไร่ เป็นที่เพาะปลูก ทำนาข้าว ๕ ไร่ ปลูกพืชสวน ๕ ไร่ ส่วนที่สาม ประมาณ ๒ ไร่ เป็นที่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชสวนครัว เป็นหลักการของ ทฤษฎีผสมผสานให้ราษฎรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ คือ ผืนดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการพึ่งพาตนเองได้ ช่วยให้มีที่อยู่ มีข้าวและพืชผักพอบริโภค ถ้ามีผลดีอาจขายเป็นรายได้เสริมไม่ร่ำรวยแต่ไม่อดอยาก และเป็นหลักการของ เศรษฐกิจพอเพียง ตลอดระยะเวลา ๕๔ ปี นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราช พระปัญญาคุณ พระเกียรติคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระเมตตาคุณ มิได้แผ่ปกเฉพาะพสกนิกรไทย หากแต่ยังแผ่ไพศาลไปถึงประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย และมิใช่ชาวไทยเท่านั้นที่เทิดทูน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ชาวต่างประเทศต่างก็แซ่ซ้องสดุดีสรรเสริญพระเกียรติคุณพระมหาราชเจ้าของชาวไทยดังปรากฏว่า สถาบันในนานาประเทศได้ยกย่องประกาศเกียรติคุณ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาต่างๆ เป็นจำนวนมาก ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ นี้ สถาบันวิศวกรโยธาแห่งสหราชอาณาจักร ก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่เฉลิมพระเกียรติ ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพ วุฒิวิศวกรกิตติมศักดิ์ ด้วยประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนำความปลาบปลื้มปีติมาสู่พสกนิกรชาวไทยถ้วนหน้า อีกวาระหนึ่ง ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เทอญ
|
|
ความเห็นที่
221 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 09:18 น. โดย :
ใบบัว |
โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย - คลองสนามชัย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
1. ความเป็นมาของโครงการ
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริโครงการแก้มลิงซึ่งเป็นโครงการระบายน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระรบรมมหาราชวัง เนื่องจากในช่วงฤดูฝนน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลติดต่อกันหลายวัน พร้อมทั้งน้ำทะเลหนุนสูง จึงทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งโดยปกติแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรับน้ำได้ประมาณ 3,000 ลบ.ม./วินาที โดยไม่ล้นตลิ่ง แต่เมื่อปี พ.ศ.2538 ในช่วงฤดูน้ำหลากมีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 5,500 ลบ.ม./วินาที น้ำจึงล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นอาณาบริเวณกว้างขวาง
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาโครงการแก้มลิง ที่สมควรดำเนินการให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และพื้นที่ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร โดย "แก้มลิง" นี้ให้ทำหน้าที่รวบรวมน้ำ รับน้ำ และดึงน้ำท่วมขังพื้นที่ทางตอนบนมาเก็บไว้ พร้อมกับระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก และการสูบน้ำที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ..2538 โดยอาศัยคลองสรรพสามิต คลองสหกรณ์ และพื้นที่บริเวณใกล้คลองดังกล่าวนั้น จากการศึกษาข้อมูลพบว่าสภาพพื้นที่โดยทั่วไปไม่เอื้ออำนวยในการทำโครงการ อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงควรพิจารณาศึกษาโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" และคลองต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงแทน เนื่องจากคลองมหาชัย - คลองสนามชัยนี้ เป็นแหล่งรับน้ำใกล้บริเวณน้ำท่วมขังในเขตจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และกรุงเทพฯ ที่ระบายน้ำลงมา ลักษณะโครงการที่สำคัญจะประกอบด้วย การก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นคลองต่าง ๆ พร้อมด้วยสถานีสูบน้ำตามความจำเป็น ซึ่งคาดว่าจะเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนไม่มากนัก และจะได้ประโยชน์คุ้มค่า รวมทั้งยังสามารถสร้างระบบให้เชื่อมกับโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" รวมเป็นระบบในการช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษา และพิจารณาดำเนินการโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" โดยเร่งด่วนต่อไป
1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) ปิดกั้นคลองสายต่าง ๆ พร้อมสถานีสูงน้ำตามความจำเป็น โดย "แก้มลิง" จะทำหน้าที่รวบรวม รับ และดึงน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนลงมาเก็บไว้ในคลองมหาชัย - คลองสนามชัย และคลองต่าง ๆ ในพื้นที่ แล้วสูบทิ้งลงทะเลผ่านทางปากคลองมหาชัย คลองพระราม และคลองขุนราชพินิจใจ ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูง รวมทั้งการเปิดระบายออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลง ของน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นเดียวกับโครงการทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งดำเนินการได้ผลมาแล้วเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2538
1.2 ขอบเขตโครงการ
ขอบเขตของพื้นที่โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สรุปได้ดังนี้
ทิศเหนือ ติดเขต อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ โดยอาศัยคลองมหาสวัสดิ์เป็นแนวรับน้ำ
ทิศตะวันออก ติดต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้สะพานพระราม 7 ลงไปจดเขตราษฎร์บูรณะ เขตพระประแดงกิ่ง อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ โดยมีคลองขุนราชพินิจใจเป็นแนวแบ่งเขต
ทิศใต้ จดชายทะเลในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ และเขต อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
1.3 เป้าหมายโครงการ
1. เร่งระบายน้ำลงสู่พื้นที่แก้มลิงโดยเร็วที่สุด โดยแบ่งปริมาณน้ำให้ระบายไปตามคลองระบายน้ำ และแหล่งเก็บชะลอน้ำตามประสิทธิภาพที่มีอยู่เดิม และสมดุลกับปริมาณน้ำหลาก
2. ปรับปรุงคลองระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้ตามที่ได้ศึกษากำหนดแนวทางไว้
3. ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำต่าง ๆ ตามที่กำหนดและวางแผนไว้
4. ดำเนินการโครงการ โดยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ช่วยระบายน้ำท่วมขังในที่ลุ่มทิ้งลงทะเล
2. ช่วยลดระยะเวลาน้ำท่วมขังให้สิ้นลง
3. ลดปัญหาความตึงเครียดทางด้านจิตใจของราษฎรในพื้นที่น้ำท่วม
4. ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม
5. ลดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ
6. การชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย
7. ช่วยให้มีการชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย
เมื่อดำเนินการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำในแม่น้ำท่าจีนตอนล่างในเขตจังหวัดสมุทรสาครเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้มีแหล่งน้ำจืดในฤดูแล้งเพียงพอสำหรับนำมาใช้ไล่น้ำเสียได้ ปัจจุบันน้ำในคลองภาษีเจริญและคลองมหาชัย รวมทั้งทางน้ำที่ต่อเนื่องในเขต กทม. ส่วนใหญ่จะมีน้ำเสียเป็นปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งสถานีสูบน้ำต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สามารถช่วยสูบน้ำเสียออกทิ้งลงทะเลในช่วงเวลาที่เหมาะสม แล้วผันน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเข้าไปล้างคลองต่าง ๆ เหล่านั้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้จะต้องพิจารณาดำเนินการโดยรอบคอบ เพราะจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ่อกุ้ง บ่อปลา ในเขตตำบลโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วย
|
|
ความเห็นที่
222 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 09:28 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
การที่เราพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติไว้นั้นมิใช่เพียงเพื่อตัวของเราเองเท่านั้น แต่เป็นการรักษา เป็นมรดกให้กับลูกหลานของเราได้มีแผ่นดินอาศัยอยู่คู่บารมีในพระองค์ผู้ทรงธรรม
|
|
ความเห็นที่
223 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 09:30 น. โดย :
ใบบัว |
ากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัด ต่างๆ เป็นประจำได้ทรงพบเห็นท้องถิ่น หลายๆแห่ง
ประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือ ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และ การทำเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ใน ฤดูเพาะปลูกเกษตรกรจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมากเนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนาน หรือ ภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะ
วิกฤติของพืชผล คือ พืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำหรืออาจจะไม่มีผลผลิตให้เลยเป็นต้นดังนั้นภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงใน
แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง
นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากรการขยาย
พื้นที่เกษตรกรรม และ การเจริญเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรม
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรงความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปีพุทธศักราช 2498 จึงได้มีพระราชดำริ
ค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจาก ที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากรที่มีอยู่ประยุกต์ กับ
ศักยภาพของการเกิดฝนในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวและทรงมีพระราชหฤทัยเชื่อมั่นว่าวิธีการ
ดังกล่าวนี้จะทำให้การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิดความพร้อม และ ครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของน้ำ คือ
1.
การพัฒนา ระบบ การ จัดการ ทรัพยากร แหล่งน้ำ ใต้ดิน
2.
การพัฒนา ระบบ การ จัดการ ทรัพยากร แหล่งน้ำ ผิวดิน
3.
การพัฒนา การ จัดการ ทรัพยากร แหล่งน้ำ ใน บรรยากาศ
และทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัยว่าด้วยลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศจะสามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้
อย่างแน่นอน
ดังนั้นในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้
หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการศึกษาวิจัย และ การพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆตามลำดับดังนี้
ขั้นตอน ที่ หนึ่ง : "ก่อกวน"
เป็นขั้นตอนที่ เมฆ ธรรมชาติ เริ่ม ก่อตัวทางแนวตั้ง การ ปฏิบัติการ ฝนหลวง ใน ขั้นตอน นี้ จะมุ่ง ใช้ สารเคมี ไป กระตุ้นให้มวลอากาศ
เกิดการ ลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการ ชักนำ ไอน้ำ หรือ ความชื้น เข้า สู่ ระบบ การ เกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการ
ใน ขั้นตอนนี้ ไม่ควร เกิน 10.00 น. ของ แต่ละ วัน โดย การใช้ สารเคมี ที่ สามารถ ดูดซับ ไอน้ำ จาก มวล อากาศ ได้แม้จะมีเปอร์เซ็นต์
ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ) เพื่อ กระตุ้น กลไก ของ กระบวนการ กลั่นตัว ไอน้ำ ใน มวล อากาศ
(เป็นการสร้าง Surrounding ให้ เหมาะสม ต่อ การเจริญ เติบโต ของ เมฆ ด้วย) ทางด้าน เหนือ ลม ของ พื้นที่ เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่ม
เกิดมีการก่อตัว และ เจริญ เติบโต ทางตั้ง แล้ว จึง ใช้ สารเคมี ที่ ให้ ปฏิกิริยา คาย ความร้อน โปรย เป็น วงกลม หรือ เป็น แนว ถัดมาทางใต้
ลม เป็น ระยะ ทาง สั้นๆ เข้า สู่ ก้อนเมฆ เพื่อ กระตุ้น ให้ เกิด กลุ่ม แกนร่วม (main cloud core) ใน บริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็น
ศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอน ต่อไป
ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน"
เป็น ขั้นตอน ที่ เมฆ กำลังก่อตัวเจริญ เติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติการ ฝนหลวง เพราะ จะต้อง ไปเพิ่มพลังงาน
ให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไปต้องใช้เทคโนโลยี และ ประสบการณ์ หรือ ศิลปะแห่งการทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กันเพื่อตัดสินใจ
โปรยสารเคมี ฝนหลวง ชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสมเพราะต้องให้กระบวนการ
เกิด ละออง เมฆ สมดุล กับ ความแรง ของ updraft มิฉะนั้น จะ ทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี"
เป็นขั้นตอนสุดท้าย ของ กรรมวิธีปฏิบัติการ ฝนหลวงเมฆหรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้
ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมายหากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้า
ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญและอาศัยประสบการณ์มากเพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือ
ทำให้ อายุ ของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมาย ของ การทำฝนหลวง
ซึ่งมี อยู่ 2 ประเด็น คือ เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้ เกิดการกระจาย
การตกของ ฝน (Rain redistribution)
|
|
ความเห็นที่
224 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 09:42 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
ไม่มีพระราชาชาติไหน ที่ ทรงดำเนิน ท่อง ไปตาม ภูเขา ลำเนาไพร ตามที่ทุรกันดาร ในมือซ้าย ถือแผนที่ สะพายกล้อง เพื่อเยี่ยมเยียนราษฏร ถามถึงปัญหาสารทุกข์ ทั้งเหนือใต้ ออก ตก
|
|
ความเห็นที่
225 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 10:23 น. โดย :
ใบบัว |
การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจาการนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง
"
ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน
ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่งคงพอควรแล้ว
จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นสูงขึ้นตามลำดับต่อไป
การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ
ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น
ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว
และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์"
พระบรมราชโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19 กรกฎาคม 2517
จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง
สศช. จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ มาร่วมกันกลั่นกรองพระราชดำรัสฯ สรุปเป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจและนำไปประกอบการดำเนินชีวิต
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน
วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทึกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความเอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย
|
|
ความเห็นที่
226 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 10:24 น. โดย :
ใบบัว |
ความเป็นมาโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ในห้วงเวลาที่ประเทศชาติ กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และประชาชน ทุก
ระดับ ประสบปัญหาต่าง ๆปัญหาหนึ่งที่ประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่
ของประเทศถูก รุมเร้าคือปัญหาความยากจน รัฐบาลจึงได้ประกาศสงครามกับความ
ยากจน โดยได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า จะจัดให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้าโดยรัฐพร้อมที่จะเข้า
ช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่ และการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่
ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบร้านค้าเครือข่ายและอินเตอร์เน็ตเพื่อ
ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการ
ของตลาด ทั้งในและต่างประเทศและได้กำหนดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2544 ประกาศ
ณ วันที่ 7 กันยายน 2544 ขึ้น โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า กอ.นตผ ซึ่งฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบ
หมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการ และให้
คณะกรรมการ กอ.นตผ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์
และแผนแม่บทการดำเนินงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กำหนดมาตรฐานและ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบลรวมทั้งสนับสนุนให้การ
ดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บท อย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
ความเห็นที่
227 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 10:40 น. โดย :
cavalry19 |
ทรง มุ่งงานหนักเพื่อพัฒนาประเทศ
พ่อหลวงของเราเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่
บุญ ของปวงประชาที่มีพ่อหลวงปกครองแผ่นดิน
พ่อหลวงทรงเป็นมิ่งขวัญของปวง ประชา
ทรงเป็นตัวอย่าง แบบอย่าง การอยู่แบบพอเพียง
ในหลวงทรงเป็นห่วง เป็นใยความทุกข์สุขของประชาชน
ทรงปกครองบ้านเมือง ด้วยความเป็นธรรม
ทรง ปกครองบ้านเมือง ด้วยความเป็นธรรม
พ่อหลวงทรงเตือนคนไทย ให้รักกันมาก ๆ ด้วยความสามัคคี
|
|
ความเห็นที่
228 โพสเมื่อ :
26 ธ.ค. 55 : 10:45 น. โดย :
พัน.สร.๑ พล.๑ รอ. |
พระชนม์ชื่น ยืนนาน วารบรรจบ
แปดสิบ ชันษาครบ เฉลิมขวัญ
เหล่าทวยราษฎร์ แซ่ซ้อง ฉลองพลัน
รวมใจมั่น รักพ่อหลวง ของปวงชน
|
|
ความเห็นที่
229 โพสเมื่อ :
27 ธ.ค. 55 : 08:52 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท จะขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป
|
|
ความเห็นที่
230 โพสเมื่อ :
27 ธ.ค. 55 : 09:20 น. โดย :
ฝธก./กพ.พล.ฑัฒนา ๒ |
กินดี อยู่ดี เพราะมีพ่อหลวง
|
|
ความเห็นที่
231 โพสเมื่อ :
28 ธ.ค. 55 : 08:20 น. โดย :
ร.๓๑ พัน.๓ รอ. |
พระคุณพ่อมากค่ามหาศาล ลูกคิดการทดแทนไม่หมดนั่น
พ่อเป็นร่มโพธิ์ไทรให้ป้องกัน พ่อฝ่าฟันทำเพื่อลูกทุกประการ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
|
|
ความเห็นที่
232 โพสเมื่อ :
28 ธ.ค. 55 : 11:13 น. โดย :
ช.พัน.202 |
ชาติไทยเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ช่วยให้บ้านเมืองฝ่าวิกฤติต่าง ๆ มาได้ ก็เพราะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักเสมอมา พระมหากษัตริย์ที่ผ่านมาทุกพระองค์ ยามเมื่อชาติบ้านเมืองมีภัยสงครามก็ทรงเป็นจอมทัพนำทัพเข้าต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างกล้าหาญ ยามเมื่อประเทศชาติบ้านเมืองสงบสุขก็ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของชนในชาติในการพัฒนาทำนุบำรุงชาติเจริญรุ่งเรืองสืบมา
|
|
ความเห็นที่
233 โพสเมื่อ :
28 ธ.ค. 55 : 11:54 น. โดย :
ข้าราชการ กอง พธ.สกอ. |
พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพี่อให้ชาติไทยเจริญรุ่งเรือง ยั่งยืน มั่นคงสถาพรสืบไป
|
|
ความเห็นที่
234 โพสเมื่อ :
29 ธ.ค. 55 : 16:08 น. โดย :
พัน.ป.ศป.ร้อย.๑ |
เทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ราชวงศ์ของไทย เหนือสิ่งอื่นใด แม้ชีวิตก็ยอมเสียสละได้
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
|
|
ความเห็นที่
235 โพสเมื่อ :
30 ธ.ค. 55 : 20:07 น. โดย :
พัน.ป.ศป.ร้อย.๑ |
ปวงชนชาวไทยไม่ว่าเชื้อชาติใด ศาสนาใด มีสุขเสรีอยู่บนผืนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองภายใต้ร่มพระบารมีในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ พระองค์ทรงเป็นพระมหาบพิตรที่สถิตย์ในดวงใจของปวงประชา
|
|
ความเห็นที่
236 โพสเมื่อ :
1 ม.ค. 56 : 14:41 น. โดย :
ร้อย.บก.ร.๒ พัน.๑ รอ. |
ข้าพเจ้า จักจงรักภักดี จะเชิดชูและรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศ
เกียรติศักดิ์ ของทหารรักษาพระองค์ ทั้งจะปฏิบัติตน
ให้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ข้าพเจ้า
จักเทิดทูนและจักยอมตายเพื่อรักษาไว้
ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ แห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
กองร้อยกองบังคับการ กองพันทหารราบที่ ๑
กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
|
|
ความเห็นที่
237 โพสเมื่อ :
2 ม.ค. 56 : 07:33 น. โดย :
พัน.ป.ศป.ร้อย.๑ |
พ่อเหนื่อย พ่อหล้า พ่อทน พ่อทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ในใจเรา เรารัก พ่อหลวงของเรา
|
|
ความเห็นที่
238 โพสเมื่อ :
2 ม.ค. 56 : 09:47 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
รักพ่อเชื่อฟังพ่อก็อยู่รอดโดยปลอดภัย รักไทยหวงแหนไทยรักษาชาติ ศาสน์ ราชัน
|
|
ความเห็นที่
239 โพสเมื่อ :
2 ม.ค. 56 : 15:21 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ไม่มีพระราชาชาติไหน ที่ ทรงดำเนิน ท่อง ไปตาม ภูเขา ลำเนาไพร ตามที่ทุรกันดาร ในมือซ้าย ถือแผนที่ สะพายกล้อง
|
|
ความเห็นที่
240 โพสเมื่อ :
2 ม.ค. 56 : 15:25 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ขอพระองค์ทรงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป
ขอพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์คู่บัลลังก์ชาติไทยตลอดไป
ขอพระองค์ทรงพระปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ประทับอยู่คู่ฟ้าวิชาชาญ
|
|
ความเห็นที่
241 โพสเมื่อ :
2 ม.ค. 56 : 15:26 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
หากเราเดินตามรอยเบื้องพยุคลบาท เราจักไม่พลั้งพลาดในการดำรงตน
โครงการตามแนวทางพระราชดำริ ในการพิทักษ์รักษ์ ธรรมชาติสำคัญยิ่ง เพราะหากธรรมชาติไม่สมดุล อาจจะก่อให้เกิดภัยพิบัติกับโลกอย่างใหญ่หลวง จนไม่มีสรรพสิ่งใด ๆ หลงเหลืออยู่อีกเลย
|
|
ความเห็นที่
242 โพสเมื่อ :
2 ม.ค. 56 : 20:31 น. โดย :
ฝสท.ร.๘ |
๓ สถาบันหลักของชาติไทยเป็นมรดกมาจาบรรพบุรุษของเรา
|
|
ความเห็นที่
243 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 08:59 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
ขอพระองค์ทรงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป
ขอพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์คู่บัลลังก์ชาติไทยตลอดไป
ขอพระองค์ทรงพระปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ประทับอยู่คู่ฟ้าวิชาชาญ
|
|
ความเห็นที่
244 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 11:36 น. โดย :
มทบ.23 |
เรารักในหลวง
|
|
ความเห็นที่
245 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 11:38 น. โดย :
มทบ.23 |
ทรงพระเจริญ
|
|
ความเห็นที่
246 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 14:22 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ นิรันดร์เป็นมิ่งขวัญ อันยิ่งใหญ่ ไทยทั้งมวล.
ดีใจมากครับที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ปลื้มใจทุกครั้งที่ได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์พ่อหลวง
|
|
ความเห็นที่
247 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 14:23 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง
ทรงส่งเสริมการกีฬา
ขอพระองค์ทรงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป
|
|
ความเห็นที่
248 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 14:27 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ขอพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์คู่บัลลังก์ชาติไทยตลอดไป
ขอพระองค์ทรงพระปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ประทับอยู่คู่ฟ้าวิชาชาญ
ขอพระองค์ทรงสุขเกษมสำราญ
|
|
ความเห็นที่
249 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 14:32 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ขอพระองค์เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ปวงชนชาวไทยตลอดไป
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
|
|
ความเห็นที่
250 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 14:34 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
พระองค์ทรงเป็นนักพัฒนา
ในหลวงทรงเป็นนักกวีที่ยิ่งใหญ่
ในหลวงคือพระเจ้าแผ่นดิน
|
|
ความเห็นที่
251 โพสเมื่อ :
3 ม.ค. 56 : 18:50 น. โดย :
พัน.ป.ศป.ร้อย.๑ |
น้อมนบอภิวาท แทบเบื้องบาทพระทรงศรี เอกองค์วงศ์จักรี สถิต ณ หทัยชน
|
|
ความเห็นที่
252 โพสเมื่อ :
4 ม.ค. 56 : 08:15 น. โดย :
พัน.ป.ศป.ร้อย.๑ |
ทรงเจนจบ ศาสตร์สรรพ์ อันหลากหลาย
ทรงสืบ ศาสนธรรม ประจำชาติ
นานารัฐ เชิดชูมิตร ทุกทิศที่
ธ ปรีชา กีฬาศิลป์ ศาสตร์ดนตรี
องค์ภูมี พลิกยากเย็น เป็นปรีดา
เย็นศิระ ปกเกล้าไทย ไปทุกเขต
นำพา เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงรักษา
|
|
ความเห็นที่
253 โพสเมื่อ :
4 ม.ค. 56 : 08:57 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุข
|
|
ความเห็นที่
254 โพสเมื่อ :
4 ม.ค. 56 : 09:45 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
พระองค์ทรงเปรี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ชาวประแซ่ซ้องสรรเสริญ
ขอพระองค์จงทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพลานามัยแข็งแรง มีแต่ความปิติในพระราชหฤทัยสืบไป
|
|
ความเห็นที่
255 โพสเมื่อ :
4 ม.ค. 56 : 09:47 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ชาติไทยพ้นวิกฤติมาได้หลายครา ด้วยพระบารมีล้นเกล้า
พระบารมี แผ่ปกคุ้มไพศาล เปรียบสายธาร อมฤตหล่อหล้า ดั่งแสงทอง นำทางชาวประชา เหล่าข้าพระพุทธเจ้าขอสดุดี
|
|
ความเห็นที่
256 โพสเมื่อ :
4 ม.ค. 56 : 09:48 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ข้าพเจ้าทั้งหลาย จักรักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยชีวิต
พระองค์ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎรทุกพื้นที่ของประเทศไทย
สัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ของชาติไทยคือสถาบันพระมหากษัตริย์
|
|
ความเห็นที่
257 โพสเมื่อ :
4 ม.ค. 56 : 09:50 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ทรงส่งเสริมอาชีพเกษตรกร
ทรงเป็นนักประชาธิปไตย
ทรงส่งเสริมการศึกษา
|
|
ความเห็นที่
258 โพสเมื่อ :
4 ม.ค. 56 : 09:51 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ทรงส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์
ทรงมีโครงการต่อต้านยาเสพติด
ทรงห่วงใยราษฎรทุกหมู่เหล่า
|
|
ความเห็นที่
259 โพสเมื่อ :
4 ม.ค. 56 : 09:53 น. โดย :
รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี |
ทรงเป็นนักประชาธิปไตย
ทรงสอนให้ทุกคนเป็นคนดี
ทรงช่วยเหลือผู้ยากไร้
ทรงช่วยเหลือผู้ป่วย
|
|
ความเห็นที่
260 โพสเมื่อ :
5 ม.ค. 56 : 09:49 น. โดย :
พัน.ป.ศป.ร้อย.๑ |
ขอให้พระองค์มีพระพลานามัยแข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยตลอดไปเทอญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
|
|
ความเห็นที่
261 โพสเมื่อ :
7 ม.ค. 56 : 08:18 น. โดย :
ร.๓๑ พัน.๓ รอ. |
เฉลิมรัช ฉัตรชัย ไอยศวรรย์ เฉลิมขวัญ ภูบดินทร์ ปิ่นเกศี
ถวัรย์ราช เถลิงศก ๖๐ ปี น้อมภักดี ถวายองค์ พระทรงชัย
ขอถวาย ชัยมงคล กุศลสวัสดิ์ เจริญพระชนม์ เพ็ญพิพัฒน์ นิรัติศัย
เจริญเกียรติ แซ่ซ้อง ก้องเกริกไกร เป็นมงคล มิ่งขวัญไทย สืบไปเทอญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
|
|
ความเห็นที่
262 โพสเมื่อ :
11 ม.ค. 56 : 23:13 น. โดย :
ร้อย ๑ ร.๒ พัน.๑ รอ. |
ทรงเป็นทุกลมหายใจ ของปวงประชาราษฎร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
|
|
ความเห็นที่
263 โพสเมื่อ :
11 ม.ค. 56 : 23:15 น. โดย :
ร้อย ๑ ร.๒ พัน.๑ รอ. |
ทรงเป็นทุกลมหายใจ ของปวงประชาราษฎร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
|
|
ความเห็นที่
264 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 12:57 น. โดย :
พัน.ป.ศป.ร้ิอย.๑ |
พระบารมีมากล้นเหลือคณา ปกเกศเกล้าชาวประชาสุขสันต์ ขอพระองค์ทรงพระเจริญนิรันดร์ เป็นมิ่งขวัญ อันยิ่งใหญ่ ไทยทั้งมวล
|
|
ความเห็นที่
265 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 14:48 น. โดย :
หมู่ ทพ.หญิง ๔๒ |
แผ่นดินที่ทรงครอง..........แผ่นดินทองแผ่นดินธรรม
คราวเข็ญเข้าครอบงำ........ทรงดับเข็ญทุกคราวครัน
เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก.....ทรงงานหนักอเนกอนันต์
วันพักเพียงสักวัน.............ก็แสนน้อยดูนานเกิน
วังทิพย์คือท้องทุ่ง............ม่านงานรุ้งคือเขาเขิน
ร้อนหนาวในราวเนิน.........มาโลมไล้ต่างรสสุคนธ์
ย่างพระบาทที่ยาตรา.........ยาวรอบหล้าฟ้าสากล
พระเสโทที่ถั่งท้น.............ถ้าไหลรวมคงท่วมไทย
|
|
ความเห็นที่
266 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 14:49 น. โดย :
ฉก.ทพ.๔๒ |
แผ่นดินที่ทรงครอง..........แผ่นดินทองแผ่นดินธรรม
คราวเข็ญเข้าครอบงำ........ทรงดับเข็ญทุกคราวครัน
เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก.....ทรงงานหนักอเนกอนันต์
วันพักเพียงสักวัน.............ก็แสนน้อยดูนานเกิน
วังทิพย์คือท้องทุ่ง............ม่านงานรุ้งคือเขาเขิน
ร้อนหนาวในราวเนิน.........มาโลมไล้ต่างรสสุคนธ์
ย่างพระบาทที่ยาตรา.........ยาวรอบหล้าฟ้าสากล
พระเสโทที่ถั่งท้น.............ถ้าไหลรวมคงท่วมไทย
|
|
ความเห็นที่
267 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 14:51 น. โดย :
ฝขว.ฉก.ทพ.๔๒ |
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยโปรดดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
และพระบรมวงสานุวงศ์ทุกพระองค์ ทรงพระเกษมสำราญปราศจากโรคภัย
และขอให้ทุกพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
|
|
ความเห็นที่
268 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 14:51 น. โดย :
ฝยก.ฉก.ทพ.๔๒ |
...ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้น คือ ความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีความเจริญให้เกิดขึ้น และระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้เป็นอุปการะอย่างสำคัญแก่การปฏิบัติตนปฏิบัติ งาน... แนวทางการปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท
|
|
ความเห็นที่
269 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 14:52 น. โดย :
ฝกบ.ฉก.ทพ.๔๒ |
อยากให้เหงื่อ พ่อแห้ง พักตร์แดงเรื่อ
องค์หน่อเนื้อ สละสุข ทุกข์ยังฝืน
หกสิบปี ที่ทรงงาน ทุกวันคืน
พ่อนั้นตื่น ทุกเวลา จนชาชิน
ลูกทั้งหลาย ได้พักผ่อน ตอนหกสิบ
องค์พ่อทิพย์ แปดสิบศก ยังผกผลิน
ทำเพื่อลูก เพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน
ทั่วโลกยิน ล้วนยกย่อง พ่อผองไทย
|
|
ความเห็นที่
270 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 14:54 น. โดย :
ฝกร.ฉก.ทพ.๔๒ |
ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ พระวรกายและ
ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ขอให้พ่อหลวงจงอยู่กับปวงชนชาวไทยไปนานๆ
"เรารักพ่อหลวง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"
ขอให้พ่อหลวงทรงหายจากพระอาการประชวร
|
|
ความเห็นที่
271 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 14:55 น. โดย :
อศจ.ฉก.ทพ.๔๒ |
แผ่นดินที่ทรงครอง..........แผ่นดินทองแผ่นดินธรรม
คราวเข็ญเข้าครอบงำ........ทรงดับเข็ญทุกคราวครัน
เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก.....ทรงงานหนักอเนกอนันต์
วันพักเพียงสักวัน.............ก็แสนน้อยดูนานเกิน
วังทิพย์คือท้องทุ่ง............ม่านงานรุ้งคือเขาเขิน
ร้อนหนาวในราวเนิน.........มาโลมไล้ต่างรสสุคนธ์
ย่างพระบาทที่ยาตรา.........ยาวรอบหล้าฟ้าสากล
พระเสโทที่ถั่งท้น.............ถ้าไหลรวมคงท่วมไทย
|
|
ความเห็นที่
272 โพสเมื่อ :
13 ม.ค. 56 : 14:55 น. โดย :
ฝกง.ฉก.ทพ.๔๒ |
พระชนม์ชื่น ยืนนาน วารบรรจบ
แปดสิบ ชันษาครบ เฉลิมขวัญ
เหล่าทวยราษฎร์ แซ่ซ้อง ฉลองพลัน
รวมใจมั่น รักพ่อหลวง ของปวงชน
|
|
ความเห็นที่
273 โพสเมื่อ :
14 ม.ค. 56 : 08:58 น. โดย :
ร.๓๑ พัน.๓ รอ. |
พระชนม์ชื่น ยืนนาน วารบรรจบ
แปดสิบสี่ ชันษาครบ เฉลิมขวัญ
เหล่าทวยราษฎร์ แซ่ซ้อง ฉลองพลัน
รวมใจมั่น รักพ่อหลวง ของปวงชน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
|
|
ความเห็นที่
274 โพสเมื่อ :
14 ม.ค. 56 : 09:23 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
...ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้น คือ ความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีความเจริญให้เกิดขึ้น และระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้เป็นอุปการะอย่างสำคัญแก่การปฏิบัติตนปฏิบัติ งาน... แนวทางการปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท
|
|
ความเห็นที่
275 โพสเมื่อ :
14 ม.ค. 56 : 10:09 น. โดย :
พัน.รพศ.ศสพ. |
การกระทำความดี ถึงแม้จะเห็นผลช้าแต่ก็ทำให้มีความสุขสมบูรณ์ได้อย่างยั่งยืน
จะเป็นคนดีของชาติต้องรักเคารพยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ พัน.รพศ.ศสพ. ขอถวายพระพร
|
|
ความเห็นที่
276 โพสเมื่อ :
14 ม.ค. 56 : 10:21 น. โดย :
พัน.สร.๑ พล.๑ รอ. |
1พระเกียรติคุณแผ่ไพศาล ประชาราษฏรเป็นสุข 2โชคดีที่ได้เกิดบนแผ่นดินนี้ แผ่นดินของในหลวงของเรา 3 ทรงมีพระชนม์ยิ่งยืนนาน 4 ขอให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง 5 ขอให้ในหลวงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน 6. จอมทัพ จอมไทย จอมใจราษฏร์ คือ ขวัญชาติ ขวัญประชา 7. น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
|
|
ความเห็นที่
277 โพสเมื่อ :
14 ม.ค. 56 : 12:24 น. โดย :
พัน.รพศ.ศสพ.ร้อญ.๓ |
ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย
|
|
ความเห็นที่
278 โพสเมื่อ :
15 ม.ค. 56 : 08:50 น. โดย :
ร.๓๑ พัน.๓ รอ. |
พระปกครอง ผองไทย ใจพันผูก
เหมือนพ่อลูก ชาวประชา หน้าตาใส
ทศพิธ ราชธรรม อันอำไพ
มีอยู่ใน พระองค์ถ้วน ล้วนสมบูรณ์
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
|
|
ความเห็นที่
279 โพสเมื่อ :
15 ม.ค. 56 : 09:33 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
เทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ราชวงศ์ของไทย เหนือสิ่งอื่นใด แม้ชีวิตก็ยอมเสียสละได้
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
|
|
ความเห็นที่
280 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 08:07 น. โดย :
ร.๓๑ พัน.๓ รอ. |
เฉลิมรัช ฉัตรชัย ไอยศวรรย์
เฉลิมขวัญ ภูบดินทร์ ปิ่นเกศี
ถวัรย์ราช เถลิงศก ๖๐ ปี
น้อมภักดี ถวายองค์ พระทรงชัย
ขอถวาย ชัยมงคล กุศลสวัสดิ์
เจริญพระชนม์ เพ็ญพิพัฒน์ นิรัติศัย
เจริญเกียรติ แซ่ซ้อง ก้องเกริกไกร
เป็นมงคล มิ่งขวัญไทย สืบไปเทอญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
|
|
ความเห็นที่
281 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 08:07 น. โดย :
ร.๓๑ พัน.๓ รอ. |
เฉลิมรัช ฉัตรชัย ไอยศวรรย์
เฉลิมขวัญ ภูบดินทร์ ปิ่นเกศี
ถวัรย์ราช เถลิงศก ๖๐ ปี
น้อมภักดี ถวายองค์ พระทรงชัย
ขอถวาย ชัยมงคล กุศลสวัสดิ์
เจริญพระชนม์ เพ็ญพิพัฒน์ นิรัติศัย
เจริญเกียรติ แซ่ซ้อง ก้องเกริกไกร
เป็นมงคล มิ่งขวัญไทย สืบไปเทอญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
|
|
ความเห็นที่
282 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 08:58 น. โดย :
กองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ |
ชาติไทยเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ช่วยให้บ้านเมืองฝ่าวิกฤติต่าง ๆ มาได้ ก็เพราะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักเสมอมา พระมหากษัตริย์ที่ผ่านมาทุกพระองค์ ยามเมื่อชาติบ้านเมืองมีภัยสงครามก็ทรงเป็นจอมทัพนำทัพเข้าต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างกล้าหาญ ยามเมื่อประเทศชาติบ้านเมืองสงบสุขก็ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของชนในชาติในการพัฒนาทำนุบำรุงชาติเจริญรุ่งเรืองสืบมา
|
|
ความเห็นที่
283 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 09:47 น. โดย :
หมู่ ทพ.หญิง ๔๒ |
พ่อหลวงทำให้พวงประชาอยู่เย็นเป็นสุข มีอยู่ มีกินแบบพอเพียง
|
|
ความเห็นที่
284 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 09:48 น. โดย :
ฉก.ทพ.๔๒ |
เทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ราชวงศ์ของไทย เหนือสิ่งอื่นใด แม้ชีวิตก็ยอมเสียสละได้
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
|
|
ความเห็นที่
285 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 09:49 น. โดย :
นธน.ฉก.ทพ.๔๒ |
ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย
|
|
ความเห็นที่
286 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 12:00 น. โดย :
ข้าราชการ กอง พธ.สกอ. |
ในหลวงคือพระผู้ให้ และผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่ขอให้พ่อหลวงของเราทรงมีพระวรกายที่แข็งแรง
|
|
ความเห็นที่
287 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 15:46 น. โดย :
อศจ.ฉก.ทพ.๔๒ |
ชาติไทยเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ช่วยให้บ้านเมืองฝ่าวิกฤติต่าง ๆ มาได้ ก็เพราะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักเสมอมา พระมหากษัตริย์ที่ผ่านมาทุกพระองค์ ยามเมื่อชาติบ้านเมืองมีภัยสงครามก็ทรงเป็นจอมทัพนำทัพเข้าต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างกล้าหาญ ยามเมื่อประเทศชาติบ้านเมืองสงบสุขก็ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของชนในชาติในการพัฒนาทำนุบำรุงชาติเจริญรุ่งเรืองสืบมา
|
|
ความเห็นที่
288 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 15:53 น. โดย :
ฝขว.ฉก.ทพ.๔๒ |
ขอพระองค์ทรงเป็นมิ่งขวัญและหลักชัยให้เหล่าประชาราษฎร์โดยทั่วหล้าตลอดกาลนาน
|
|
ความเห็นที่
289 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 15:54 น. โดย :
ฝยก.ฉก.ทพ.๔๒ |
หนึ่งคือ ผู้ครอง ใต้หล้าฟ้าไทย
หนึ่งคือ ผู้ ไม่เคย ละเลยหน้าที่
หนึ่งคือ ผู้ดูแล ประชาชนชั่วนานปี
หนึ่งนั้นมี วิสัยทัศน์กว้างขวางไกล
หนึ่งนั้นเปรียบ เหมือนดั่ง พ่อหลวง
ไทยทั้งปวง สดุดี ยกย่องให้
เพราะท่านนั้น อยู่ใน ทุกดวงใจ
|
|
ความเห็นที่
290 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 15:54 น. โดย :
ฝกบ.ฉก.ทพ.๔๒ |
คือ จอมทัพ จอมไทย จอมใจราษฎร์ คือ ขวัญชาติ ขวัญประชา นราศัย
รอยพระบาท สร้างชีวิต สร้างจิตใจ พระกรณียกิจ น้ำพระทัย ชัยพัฒนา
ศุภวาร ๖๐ ปี ที่ครองราชย์ นานาชาติ เทิดพระเกียรติ ไปทั่วหล้า
ถวายนาม องค์กษัตริย์ นักพัฒนา สมสมญา ภูมิพลังสร้างแผ่นดิน
|
|
ความเห็นที่
291 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 15:59 น. โดย :
ร้อย ทพ.4201 |
ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท จะขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป
|
|
ความเห็นที่
292 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 16:00 น. โดย :
ร้อย ทพ.4203 |
น้อมอภิวาทบาทบงพระองค์เจ้า รวมใจเราเฝ้าน้อมส่งพระทรงศรีอัญเชิญชัยให้มายุลุหมื่นปี แด่ภูมีจักรีวงศ์...ทรงพระเจริญ
|
|
ความเห็นที่
293 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 16:01 น. โดย :
ร้อย ทพ.4204 |
สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นสถาบันหลักในผืนธงชาติไทยที่เราเคารพ
|
|
ความเห็นที่
294 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 16:01 น. โดย :
ร้อย ทพ.4205 |
ในหลวงพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้คนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมานสามัคคีมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองคงความเป็นชาติไทยไว้ได้
|
|
ความเห็นที่
295 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 16:03 น. โดย :
ร้อย ทพ.4206 |
พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาทด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
|
|
ความเห็นที่
296 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 16:07 น. โดย :
ร้อย ทพ.4208 |
ปัญหาของชาติ เราคนไทยทุกคนต้องร่วมใจกันแก้ มิใช่มาซ้ำเติมหรือทำลาย
|
|
ความเห็นที่
297 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 16:08 น. โดย :
ร้อย ทพ.4210 |
ขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน
ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป
|
|
ความเห็นที่
298 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 16:09 น. โดย :
ร้อย ทพ.4211 |
คือ จอมทัพ จอมไทย จอมใจราษฎร์ คือ ขวัญชาติ ขวัญประชา นราศัย
|
|
ความเห็นที่
299 โพสเมื่อ :
16 ม.ค. 56 : 16:11 น. โดย :
ร้อย ทพ.4212 |
เดินตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงประชา
|
|
|
|
|
|
| | | |