คุณค่าความสำคัญของวันสงกรานต์
ประเพณีสงกรานต์ของไทยนั้น โดยปกติจะถือเอาช่วงวันที่ ๑๓-๑๔ เมษายน ของทุกปี เป็นช่วงระยะเวลาของเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม กำหนดช่วงเวลาสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนาดัง
คุณค่าต่อต่อครอบครัว
ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกันเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาเช่นช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านใหม่ ช่วยกันทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน ขนมไทย สงกรานต์ กะละแม ลอกช่องน้ำกะทิ ฯลฯ จัดหาผ้าใหม่มอบให้คนรักนับถือ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ คุณค่าต่อชุมชนทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ส่งขนม/ของกินให้แก่กันและกันร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์ สนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน
คุณค่าต่อสังคม
ทำให้มีความเอื่ออาทรต่อบุคคลในสังคมและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา โดยการทำบุญตักบาตร เลื้ยงพระ การปฏิบัติ ธรรมฟังเทศน์ การสรงน้ำพระ
กิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติ
การเตรียมงาน
- การเตรียมเครื่องนุ่งห่ม เป็นการเตรียมเครื่องนุ่งห่มให้สะอาดเรียบร้อย หรือจะใช้ชุดใหม่ก็ได้ รวมทั้งการเตรียมผ้าสำหรับใช้ในการไหว้บิดา มารดา หรือ ญาติผู้ใหญ่คนรักนับถือ
- การทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยบริเวณต่าง ๆ ในชุมชนที่อยู่ เช่น วัดวาอารามที่จะใช้เป็นสถานที่สำหรับทำบุญหรือที่สาธารณะอื่น ๆ การจัดงาน
- การทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปเลี้ยงพระที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว
- การก่อเจดีย์ทราย โดยขนทรายเข้าวัด แล้วร่วมกันก่อเจดีย์ทรายเป็นรูปเจดีย์หริอรูปสัตว์ต่าง ๆปักธงหลากสี ธูปเทียนและดอกไม้เป็นเครื่องบูชาพระ
- การทำทาน โดยการปล่อยนก ปล่อยให้นกไปสู่อิสระ ไปป่าปล่อยปลาปล่อยแม่ปลาหรือปลาใหญ่รวมทั้งการฟังเทศน์ถือศีลปฏิบัติธรรม
- การสรงน้ำพระพุทธรูปในบ้านและที่วัด โดยใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สดเช่น ดอกมะลิ
- สรงน้ำพระภิกษุสามเณรด้วยน้ำสะอาด แล้วถวายผ้าสบงหรือผ้าไตร
- การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ หรือตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ
- การเล่นรดน้ำ เชื่อมความสัมพันธ์กับญาติมิตรสหาย โดยใช้น้ำสะอาดและเล่นอย่างสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้อื่น
- การละเล่นรื่นเริงอื่น ๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ
กิจกรรมที่เบี่ยงเบนไปและไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง
ปัจจุบันในช่วงประเพณีสงกรานต์ มีกิจกรรมบางอย่างที่มีการปฏิบัติในลักษณะที่เบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหรือส่งผลกระทบต่อความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งควรจะมีการป้องกันและแก้ไขกิจกรรมที่เบี่ยงเบนดังกล่าว ได้แก่ กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณี กิจกรรมเบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (กิจกรรมที่ห้ามกระทำโดยเด็ดขาด)กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนมธรรมเนียมประเพณี
๑. การสาดน้ำ ได้แก่ การเล่นสาดน้ำอย่างรุนแรง เช่น ใช้ปืนฉีดน้ำชนิดอัดแรงลม การใช้น้ำสกปรก หรือ ของเหลวที่เน่าเหม็น การขว้งปาถุงน้ำแข็ง
๒. การประแป้ง หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะส่อไปในทางกระทำอนาจาร เช่นใช้มือลูบคลำ ใบหน้า หน้าอก หรือสะโพกของสุภาพสตรี
๓. การประกวดเทพีสงกรานต์ หรือประกวดในลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น แต่งกายด้วยชุดว่ายน้ำประกวดเทพีสงกรานต์ประเภท ๒ เป็นต้น
มาตรการการป้องกันและแก้ไข
๑. การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่า และสาระสำคัญของประเพณี และรูปแบบกิจกรรมการปฏิบัติที่เหมาะสมตามประเพณี
๒. การส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย
๓. การใช้มาตรการทางกฏหมายอย่างเคร่งครัดแก่ผู้กระทำผิด
กิจกรรมที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง
๑. การดื่มสุราจนมีอาการมึนเมาไม่สามารถครองสติได้
๒. ประแป้งที่บริเวณใบหน้าของสุภาพสตรีและบริเวณลำตัว
มาตรการการป้องกันและแก้ไข
หากผู้ดื่มสุรามึนเมาและกระทำการก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น จะถูกดำเนินการดังนี้
๑.๑ หากผู้ดื่มสุราแล้วเกิดอาการมึนเมาก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้อื่น จะถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นจนเป็นเหตุตนมึนเมาประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธารณะหรือ สาธารณสถาน เป็นความผิดตามประมวลกฏหมาย อาญามาตรา ๓๗๘ มีโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
๑.๒ หากเป็นกรณีขับรถในขณะมึนเมา เมื่อมีการตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดพบว่าเกิน กำหนดแล้ว จะถูกดำเนินคดีทันทีตามข้อกล่าวหา ขับรถในขณะมึนเมาสุรา เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๓(๑)(๒), ๑๔๒ กฏกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ.๒๕๓๗) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๑๕๔ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือนหรือปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ - ๑,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
๒.๑ หากการกระทำดังกล่าวเกินเลยถึงขึ้นทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ผู้กระทำความผิดจะถูก ดำเนินคดีในข้อกล่าวหากระทำอนาจารบุคคลอื่น ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๒๗๘ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๒.๒ หากการกระทำดังกล่าวเกินเลยจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำจะมีความผิดตามมาตรา ๒๘๐ (๒) ต้องระวางโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
แนวทางการดำเนินงานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
แนวทางการดำเนินงาน
- การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของประเพณี สงกรานต์โดยการดำเนินงานในหลากหลายรูปแบบและครอบคลุมอย่างกว้างขวางทั่วถึง ได้แก่
๑. การให้ความรู้ความเข้าใจทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน
๒. การใช้สื่อทุกประเภทร่วมรณรงค์ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์
๓. การส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นโดยกำหนดไว้ในหลักสูตร
การเรียนการสอน
- จัดให้มีการสาธิตรูปแบบของกิจกรรมการปฏิบัติที่เหมาะสมตามประเพณี เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ แห่งแล้วเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
- การกำหนดเขตอนุญาตให้มีการเล่นสงกรานต์บางอย่าง เช่น การเล่นสาดน้ำ
- การดำเนินงานตามมาตรการทางกฏหมายอย่างเคร่งครัด
- ราชการส่วนท้องถิ่น ออกข้อปฏิบัติข้อห้ามของ อบต. ของตนเองแล้วจับปรับเองนำเงินเข้าส่วนท้องถิ่น
โดย ผู้จัดการออนไลน์
|