Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
: หารายละเอียด : หากระทู้
[1]  
เรียนรู้คุณค่า ศิลปะ วัฒนธรรม
โพสเมื่อ : 23 ม.ค. 51 : 18:38 น.  โดย : ไทยทัวร์  


 
ความเห็นที่ 1 โพสเมื่อ : 23 เม.ย. 51 : 18:44 น.  โดย : ไทยทัวร์  


บ้านเชียง ประมาณ 5000 ปีที่แล้ว
ทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 5 ถึง 15
ศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 5 ถึง 18
ตามพรลิงค์ พุทธศตวรรษที่ 7 ถึง 19
ละโว้ พ.ศ. n/a
หริภุณชัย พ.ศ. 1206 - 1836

เป็นชาติไทย
สุโขทัย พ.ศ. 1781 - 1981
ล้านนา พ.ศ. 1802 - 2482
อยุธยา พ.ศ. 1893 - 2310
ธนบุรี พ.ศ. 2310 - 2325
รัตนโกสินทร์ 2325-ปัจจุบัน

ปล.
เชียงแสน พ.ศ. 1088 - 1181
เงินยางเชียงแสน พ.ศ. 1181 - 1805
-------------------------
ภาพ คือ จารึกเขาพระนารายณ์ เมืองตะกั่วป่า
เป็นแผ่นศิลายาว 55 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร มีอักษรจารึกด้านเดียว จารึกด้วยรูปอักษรปัลลวะ ภาษาทมิฬ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ในหนังสือประชุมศิลาจารึกสยามภาคที่ 2 กล่าวว่าศาสตราจารย์ฮูลซ์ เมืองฮัลเล ประเทศเยอรมนี เป็นคนแรกที่ทราบว่าศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ เมืองตะกั่วป่าจารึกเป็นภาษาทมิฬและได้อ่านแปลเป็นภาษาอังกฤษ พิมพ์เผยแพร่ในจดหมายเหตุของสโมสรรอแยลเอเซียติ๊ก กรุงลอนดอน เมื่อ ค.ศ. 1913 - 1914 และศาสตราจารญ์ยอร์ชเซเดส์ ได้ถอดคำจารึกพร้อมทั้งแปลเป็นภาษาไทย พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือประชุมศิลาจารึกสยามภาคที่ 2

 
ความเห็นที่ 2 โพสเมื่อ : 23 เม.ย. 51 : 22:56 น.  โดย : บักchamp  

ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น

มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย

ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว

 
ความเห็นที่ 3 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 51 : 16:24 น.  โดย : Nan  


วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีของไทยเราค่ะอีกยังที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยมากเลยค่ะ ซึ่งค้นพบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพกันค่ะของคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะเองค่ะ
เมื่อราว 5,000 กว่าปีมาแล้วค่ะ มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมากแต่โบราณแล้วละค่ะ ชาวบ้านเชียงโบราณเป็นชุมชนยุคโลหะกันนะค่ะที่รู้จักทำการเกษตรกรรมกันค่ะ เลี้ยงสัตว์ด้วยค่ะ นิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับกันค่ะจากสำริดในระยะแรกค่ะ และรู้จักใช้เหล็กในระยะต่อมาแต่ก็ยังคงใช้สำริดควบคู่กันไปด้วยค่ะ ชาวบ้านเชียงรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะสีเทาทำเป็นลายขูดขีดกันนะค่ะ ลายเชือกทาบ และขัดมัน รู้จักทำภาชนะดินเผาลายเขียนสีรูปทรงและลวดลายต่าง ๆ มากมายค่ะ กรมศิลปากรได้ส่งเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบที่บ้านเชียงนี้ไปตรวจสอบคำนวนกันนะค่ะหาอายุโดยนะค่ะใช้วิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์(Thermolumines Cense) ที่ห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียค่ะ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีอายุประมาณ 5,000-7,000 ปีแล้วนะค่ะซึ่งเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่พบที่บ้านเชียงนี้สวยงามมากเลยละค่ะ นับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าที่ค้นพบที่ประเทศสาธารณรัฐจีนมากเลยค่ะ จากความเห็นและการสันนิษฐานของนายชินอยู่ดี ภัณฑารักษ์พิเศษของกรมศิลปากรค่ะได้ให้ความเห็นว่า เป็นเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชียค่ะอาคเนย์และอาจจะเก่าแก่ที่สุดในโลกก็เป็นได้นะค่ะ

นอกจากนั้นชาวบ้านเชียงโบราณยังรู้จักทำเครื่องจักสานกันมากมายค่ะ ทอผ้า มีประเพณีการฝังศพอีกด้วยค่ะ ฝังสิ่งของเครื่องใช้กันค่ะ อาหาร รวมกับศพเป็นการอุทิศให้กับผู้ตายค่ะสิ่งของที่เป็นโบราณวัตถุ ซึ่งได้จากการสำรวจรวบรวมและขุดค้นที่บ้านเชียงรวมแหล่งใกล้เคียงมากที่สุดค่ะ เช่น ขวาน ใบหอก มีด ภาชนะดินเผาค่ะ ทั้งที่เขียนสีและไม่เขียนสีค่ะ และดินเผาค่ะ ลูกกลิ้งดินเผา แม่พิมพ์หินใช้หล่อเครื่องมือสำริดทำจากหินทรายค่ะ เบ้าดินเผา รูปสัตว์ดินเผา ลูกปัดทำจากหินสี แก้วกำไล และแหวนสำริด ลูกกระสุนดินเผา ขวาน หินขัดค่ะ และได้พบเศษผ้าที่ติดอยู่กับเครื่องมือค่ะสำริดแกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็ก เป็นต้นค่ะ ชุมชนบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ค่ะเป็นชุมชนเกษตรกรรมยุคโลหะมีความเจริญก้าวหน้ามานานแล้วค่ะ สามารถแบ่งลำดับขั้นวัฒนธรรมสังคมเกษตรกรรมที่บ้านเชียงออกเป็น 6 สมัย โดยกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์วิธีคาร์บอน 14 ว่าวัฒนธรรมสมัยที่ 1 หรือชั้นดินล่างสุดของบ้านเชียงมีอายุประมาณ 5,600 ปีมาแล้ว จากการวิเคราะห์กระดูกสัตว์และเปลือกหอยทำให้มีความคิดว่าคนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงในระยะแรกได้เลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณป่าที่ถูกถางมีการเลี้ยงสัตว์ และล่าสัตว์ด้วยพอถึงสมัยที่ 4 เมื่อราว 3,600ปีมาแล้ว รู้จักใช้เครื่องมือเหล็กเลี้ยงควาย เพื่อช่วยในการทำนาในสมัยที่ 5 เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว มีการทำภาชนะดินเผาลายเขียนสีลงลายและรูปทรงหลายแบบ พอถึงสมัยที่ 6 จึงทำแต่ภาชนะดินเผาเคลือบสีแดงหรือเขียนสีบนพื้นสีแดง ทำเครื่องประดับที่มีส่วนผสมของโลหะที่มีความวาวมากขึ้น กำหนดอายุได้ราว 1,700 ปีมาแล้ว จากการค้นพบแกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็ก การค้นพบเครื่องมือสำริดแม่พิมพ์เครื่องมือสำริด เบ้าดินเผาทำให้สามารถกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงมีความเจริญก้าวหน้าสูง รู้จักการใช้โลหะกรรมหล่อหลอมสำริดและปลูกข้าวที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่น้อยกว่า 5,000 ปีมาแล้ว มีความเจริญทางวัฒนธรรมไม่เท่าเทียมกันทั้งประเทศ กล่าวคือขณะที่พวกที่อาศัยอยู่ทางแควน้อยและแควใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ 3,700 ปี ใช้หินเป็นเครื่องมือและใช้หินกระดูกสัตว์และเปลือกหอยเป็นเครื่องประดับนั้นพวกที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมีความเจริญรุดหน้ากว่ารู้จักใช้สำริดมาทำเป็นเครื่องประดับและรู้จักใช้เหล็กทำเป็นเครื่องมือซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวข้างต้นตรงกับข้อสันนิษฐานของศาสตราจารย์ ดร. โซเฮล์ม (DR. W.G.SOLHEIM) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวายประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ให้ความเห็นว่าความเจริญทางวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าได้มีการใช้สำริดทำกันในภาตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยก่อนแหล่งอื่นในโลกภาคตะวันออก คือประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตศักราช คือประมาณ 4,472 ปีมาแล้ว
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้าน เชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้าอยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีในเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรก ใน-ประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้น- ดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุซึ่งส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเผาที่ฝัง
รวมกับศพ ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่ จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่ แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและ นิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดิน ทาง
ไปยังพิพิธ-ภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเพียง 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปาก ทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข2225 อีกประมาณ 6กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้ง แต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมคนละ5 บาท

----------------------------
ลูกปัด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ถลาง จ.ภูเก็ต

 
ความเห็นที่ 4 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 51 : 19:45 น.  โดย : Nan  


อาณาจักรทวารวดีเป็นชื่อบ้านเมืองแรกของบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะทางภาคกลางของประเทศไทยเราเองค่ะที่มีการติดต่อกับอารยธรรมของอินเดียด้วยค่ะ ทั้งรูปแบบทางการค้าชายฝั่งทะเลและการรับวัฒนธรรมจากอินเดียโดยตรง ชื่อทวารวดีปรากฏจากบันทึกการเดินทางของพระสงฆ์จีนค่ะชื่อ เหี้ยนจังค่ะ กล่าวถึงประเทศที่อยู่ระหว่างศรีเกษและอีสานปุระว่า โถลอปอติ บันทึกของอี้จิงก็กล่าวถึงประเทศ ตู้เหอปอตี่ ว่าอยู่ประมาณทางภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันค่ะ หลักฐานทางโบราณคดีของชื่อ ทวารวดี ได้จากเหรียญเงินซึ่งพบที่จังหวัดนครปฐมค่ะ อู่ทอง สุพรรณบุรีค่ะ และ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี บนเหรียญเงินเหล่านี้มีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤตอักษรปัลลวะว่า ศรีทวารวตีค่ะ ศวรปุณยะ แปลว่า บุญของพระราชาแห่งทวารวดีค่ะหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรทวารวดีพบอยู่โดยทั่วไปทางภาคกลางนะค่ะบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะ ตลอดไปจนถึงบางส่วนทางภาคเหนือเลยค่ะและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเราค่ะ ร่องรอยของชุมชนโบราณแบบทวารวดีขนาดใหญ่ คือ บริเวณเมืองนครไชยศรีค่ะ หรือนครปฐมโบราณนะค่ะ มีสถาปัตยกรรมที่สำคัญมากมายค่ะ คือวัดพระเมรุและเจดีย์จุลประโทนค่ะเคยได้ยินไหมค่ะ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานโบราณวัตถุด้วยนะค่ะ พบชุมชนร่วมสมัยที่คูบัว จังหวัดราชบุรีด้วยค่ะ อู่ทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงห์บุรีค่ะ จันเสนโบราณและเมืองบนจังหวัดนครสวรรค์ค่ะ จากการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยค่ะพบว่าเมืองโบราณสมัยทวารวดีมีรูปแบบและพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ติดต่อกับอารยธรรมอินเดียค่ะ และมีพัฒนาการขึ้นเป็นบ้านเมืองแล้วนะค่ะ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน บ้านเมืองเหล่านี้พัฒนาการมาจากชุมชนโบราณที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้วค่ะ และได้มีการพัฒนาการขึ้นเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบที่เรียกกันว่าเมืองแบบทวารวดีค่ะ ชุมชนโบราณเหล่านี้มีพัฒนาการต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา ค่ะวัฒนธรรมทวารวดีได้แพร่กระจายจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคกลางของประเทศไทยเราค่ะไปทั่วทุกภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ะ จากชุมชนโบราณที่โคกสำโรงค่ะ และบ้านหมี่จังหวัดลพบุรีค่ะ และเมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญจากลุ่มแม่น้ำป่าสักค่ะไปสู่ลุ่มแม่น้ำมูลค่ะ และลุ่มแม่น้ำชีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเราค่ะ ซึ่งได้พบเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดิน โบราณวัตถุและหลักฐานเสมาหินซึ่งเป็นโบราณค่ะวัตถุตามคติทางพุทธศาสนา เสมาหินที่พบมีหลายแห่งที่ปรากฏภาพสลักพุทธประวัติและชาดกทางพุทธศาสนาค่ะ รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโดม (2533 : 345-346) เสนอความเห็นว่าเสมาหินวัฒนธรรมทวารวดีค่ะ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหน้าที่ 3 อย่าง กันค่ะคือ กำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์โดยล้อมรอบเขตพิธีกรรมทางพุทธศาสนาค่ะ การสร้างขึ้นเพื่อพุทธบูชาแล้วนำไปปักไว้ในเขตศักดิ์สิทธิ์ค่ะ และเสมาหินขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่แทนพระสถูปเจดีย์ค่ะ ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอริเย แบ่งพัฒนาการของวัฒนธรรมทวารวดีออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะแรกเป็นวัฒนธรรมทวารวดีแบบดั้งเดิมนับถือ พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทค่ะ ระยะที่สอง แสดงถึงอิทธิพลจากทางภาคใต้ซึ่งนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานและได้แพร่ไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เราแล้วนะค่ะและระยะที่สามเมื่อพุทธศาสนาลัทธิมหายานเสื่อมลง พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจึงกลับมาปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดีอีกครั้ง ค่ะจากการศึกษาประติมากรรมทางพุทธศาสนา วัฒนธรรมทวารวดี นักประวัติศาสตร์ศิลปะแบ่งรูปแบบออกเป็น 3 แบบกันนะค่ะคือ รูปแบบแรกราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ รูปแบบที่สองระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16 พุทธศาสนามหายานได้แพร่เข้าไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่ะ ประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพจึงเป็นคติมหายานมีการพบรูปพระโพธิสัตว์จำนวนมากรูป แบบที่สามค่ะ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-18 ได้รับอิทธิพลศิลปะขอมเขมรโบราณแบบบาปวนจากการพบหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและชุมชนโบราณ วัฒนธรรมทวารวดีช่วงระยะแรกในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะ ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีอยู่บริเวณไหนค่ะ นักโบราณคดีบางท่านให้ความเห็นว่า ทวารวดีเป็นเพียงอาณาจักรเล็ก ๆ ที่มีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงค่ะ บางท่านเห็นว่าศูนย์กลางของอาณาจักรทวาวรวดีอยู่ที่เมืองนครปฐม เนื่องจากเมืองนครปฐมโบราณเป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบขนาดใหญ่ค่ะ ได้พบศาสนาสถานและเหรียญจารึกที่กล่าวถึงอาณาจักรทวารวดี แต่อย่างไรก็ตามเหรียญเงินที่มีข้อความจารึกกล่าวถึงทวารวดียังพบที่อู่ทองค่ะ จังหวัดสุพรรณบุรีค่ะ และอินทรบุรีค่ะ จังหวัดสิงห์บุรีเช่นเดียวกันค่ะ อย่างไรก็ตามการพบศาสนสถานและศิลปะวัตถุหลายรูปแบบและหลายชุมชนโบราณกระจายโดยกว้างนี้ นักโบราณคดีบางท่านให้ความเห็นว่า วัฒนธรรมแบบทวารวดีอาจแพร่หลายโดยกว้างขวางในชุมชนโบราณที่มีการพัฒนาการขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะตอนล่างในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 แต่ยังไม่มีอำนาจทางการเมืองแบบรวมศูนย์หากเป็นเพียงรูปแบบของเมืองเบ็ดเสร็จที่เกิดขึ้นพร้อมกันและต่างก็มีอิสระตลอดจนพัฒนาการทางวัฒนธรรมร่วมกัน เนื่องจากสามารถติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างสะดวกทั้งทางบกและทางทะเลค่ะ รวมทั้งชุมชนที่อยู่ตอนในซึ่งห่างไกลออกไปค่ะ เมืองเหล่านี้ต่างก็มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ในตัวเองทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ ความเชื่อ ศาสนาและศิลปกรรมซึ่งเมืองทั้งหมดเหล่านี้คือชุมชนโบราณที่พัฒนาการขึ้นเป็นบ้านเมืองวัฒนธรรมทวารวดีนั่นเองค่ะ
---------------------------------------
ภาพวัตถุโบราณต่างสมัยทราราวดี ขุดพบที่บ้านคูเมือง ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
ทางไทยทัวร์ได้รับอนุญาติให้ไปถ่ายทำ ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ มิได้ลักลอบถ่ายน่ะค่ะ
คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติม http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Singburi/data/place/pic-intharaburi-museum.htm

 
ความเห็นที่ 5 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 51 : 21:16 น.  โดย : Nan  


อาณาจักรศรีวิชัย ตามความเชื่อและสันนิษฐานของนักโบราณคดีของไทยเรานะค่ะว่ามีความเจริญอยู่ระหว่าง
พุทธศตวรรษของนักโบราณคดีว่ามีความเจริญอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 ค่ะมีอาณาเขตตั้งแต่
บริเวณภาคใต้ค่ะของไทยค่ะไปจนถึงเกาะสุมาตราและเกาะชวาค่ะ แต่ศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักรนั้น
นักโปราณคดีต่างก็ให้ข้อคิดค่ะเห็นไปต่างๆ กันค่ะ เช่นศาตรจารย์ยอร์ว เซเดส์ ว่าอยู่ที่ปาเล็มบังในเกาะสุมา -
ตราค่ะ นายมาร์ชุมดา ว่า อยู่แนวอำเภอไชยา สุราษฤชฎร์ธานีค่ะ ส่วน ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ว่าน่าจะอยู่แถว
สุราษฎร์ธานีค่ะ ถึงนครศรีธรรมราช แต่จดหมายเหตุราชวงค์ถังที่เพิ่งสอบทานใหม่ว่าอยู่ราวเส้นรุ้งที่ 6
องศา 7 ลิปดาเหนือ ถ้าหากการคำนวญนี้ถูกต้องก็แสดงว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยจะอยู่ไม่ต่ำกว่า
จังหวัดปัตตานีลงไปค่ะ เมืองที่น่าสนใจที่พ่อค้าจีนมักจะพูดถึงเสมอคือ เมืองเซโจค่ะถึง ซึ่งเข้าใจว่าคืออำเภาสะทิงพระ
จังหวัดสงขลาค่ะ ปัจจุบันเมื่อดูจากภาพถ่ายทางอากาศจากบริเวณ อำเภอสะทิงพระขึ้นไปจนถึงผาหัวแดงค่ะ
อำเภอเมืองสงขลา จะเห็นว่าภายในเขตเมืองมีระบบการชลประทานที่ดีมาแล้วแต่โปราณคือ การขุดตระ
พังค่ะ หรือสระน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อเก็บน้ำจืดเป็นระยะ ๆ และมีคลองเชื่อมต่อถึงกันดูเป็นเส้นตรง ปัจจุบัน
ร่องรอยของเมืองถูกทับถมอยู่ใต้พื้นทรายค่ะ แต่ก็ได้พบประติมากรรมหลายชิ้นจากบริเวณนี้
พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยค่ะ ประทับบนบัลลังก์มีซุ้มเรือนแก้ว และประภามณฑล มีศักติขนาบ 2 ข้าง มีสิงห์รองรับบัลลังก์ 2 ตัว ศิลปศรีวิชัยค่ะ
อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางค้าขายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กันเลยละค่ะได้
พบของใช้ของชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายเช่น เหรียญกษาปณ์ค่ะ ของชาวเฟอร์นิเชีย ลูกปัดโรมันที่ทุ่งตึก
จังหวัดพังงาค่ะ ที่ควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ค่ะและอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้นค่ะ
นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้วนะค่ะ อาณาจักรศรีวิชัยยังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดใน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วยค่ะลักษณะศิลปะกรรมภาคใต้หรือศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธ-ศาสนาค่ะ ลัทธิมหายาน จึงมักพบรูปพระโพธิสัตว์ เช่นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมนไตรย
โพธิสัตว์ค่ะ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ และนิยมสร้างนางคู่บารมีของพระโพธิสัตว์หรือที่เรียกว่า ศักติ ด้วย
เช่น นางตรา นางปรัชญาปารมิตาค่ะ หรือนางปัญญาบารมี นอกจากนี้ยังได้พบศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา
พราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกายค่ะ นิยมสร้างรูปพระศิวะหรือพระอิศวรค่ะ พระนารายณ์หรือพระวิษณุ พระพรหม
และพิฆเณศวรหรือคณาบดีค่ะ นอกจากนี้ก็นิยมสร้างศักติของพระเป็นเจ้าเหล่านี้เช่นเดียวกับศักติของพระ
โพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายานคือพระอุมาค่ะ หรือนางปรรพตีเป็นศักติของพระอิศวร พระลักษมี
เป็นศักติของพระนารายณ์ ค่ะ
-------------------------------------------
พระพิมพ์ดินเผา ศิลปศรีวิชัย
ได้มาจากสวนสราญรมย์ ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี

 
ความเห็นที่ 6 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 51 : 22:39 น.  โดย : ไทยทัวร์  


แถมรูปวัตถุโบราณอีกนิด
ที่พิพิธภัณฑ์อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Singburi/data/place/pic-intharaburi-museum.htm

 
ความเห็นที่ 7 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 51 : 22:41 น.  โดย : ไทยทัวร์  


พระพุทธรูปสมัยทราราวดี

 
ความเห็นที่ 8 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 51 : 22:42 น.  โดย : ไทยทัวร์  


วัตถุโบราณสมัยทวาราวดี

 
ความเห็นที่ 9 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 51 : 22:50 น.  โดย : ไทยทัวร์  


พระนารายณ์
ขนาด สูง 235 ซม.
ชนิด ศิลา
แบบศิลปะ ปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 14
พบที่ บริเวณเขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอปะกง จังหวัดพังงา

เทวรูปสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีอยู่ตลอดคาบสมุทรไทย-มลายู และดินแดนใกล้เคียง โบราณวัตถุที่ขุดพบบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกภาคใต้ของไทย เทวรูปจากตำบลเหล ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์ถลาง จ.ภูเก็ต อำนวยความสะดวกในการถ่ายทำ

http://www.thai-tour.com/thai-tour/South/Phuket/data/place/pic-thalang-museum.htm

 
ความเห็นที่ 10 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 51 : 22:52 น.  โดย : ไทยทัวร์  


เศียรนางภูเทวี
ขนาด สูง 41 ซม.
ชนิด หินชนวน
แบบศิลปะ ปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12 - 14
----------------------------------------------------
ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์ถลาง จ.ภูเก็ต อำนวยความสะดวกในการถ่ายทำ

http://www.thai-tour.com/thai-tour/South/Phuket/data/place/pic-thalang-museum.htm

 
ความเห็นที่ 11 โพสเมื่อ : 29 เม.ย. 51 : 18:21 น.  โดย : Nan  


เมืองละโว้ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มค่ะแม่น้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก เมื่อเริ่มแรกในพุทธศตวรรษที่ 12กันนะค่ะแต่ ก็มีคติความเชื่อเป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาทเหมือนกับบ้านเมืองทางฝั่งตะวันตกกันเลยละค่ะ และได้ขยายอาณาเขตขึ้นไปตามลำน้ำปิงแล้วนะค่ะ โดยจัดตั้งเมืองหริภุญไชยหรือที่ภายหลังคือ เมืองลำพูนนั้งเองค่ะ ขึ้นบนที่ราบระหว่างหุบเขาอันกว้างใหญ่ไพศาลค่ะที่ต้นแม่น้ำปิงเป็นเมืองสืบต่อมา และถ่ายทอดอารยธรรมทางพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทกันค่ะให้แก่ราชวงศ์พระเจ้ามังราย ที่เข้ามาครอบครองในภายหลังนะค่ะ
พระปรางค์สามยอด
เมืองละโว้ได้รับคติทางศาสนาพราหมณ์มานานแล้วค่ะจากราชอาณาจักรขอมกัมพูชา และพุทธศาสนาแบบมหายานค่ะที่ขึ้นมาจากทางทิศใต้ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 คติความเชื่อทั้งสองนั้นเข้ากันได้และส่งเสริมการปกครองบ้านเมืองที่รวมกันเป็นราชอาณาจักรใหญ่ค่ะ ดังนั้น เมืองละโว้จึงเป็นเมืองที่มีเครือข่ายความสัมพันธ์ไปถึงบ้านเมืองของเราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกันเลยที่เดียวค่ะแห่งลุ่มแม่น้ำมูล คือเมืองพิมายค่ะ ในจังหวัดนครราชสีมาจ้า เมืองพนมรุ้ง ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ค่ะ ไปจนถึงเมืองพระนครหลวง ในกัมพูชานะค่ะ ซึ่งทั้งเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้งต่างก็มีศิลาจารึกที่แสดงอำนาจความเป็นอิสระของการเป็นเมืองหลวงปกครองดินแดนในละแวกใกล้เคียงค่ะในระดับหนึ่งด้วย ส่วนเมืองละโว้นั้น ในช่วงเวลานี้มีเอกสารประเภทตำนานที่แสดงถึงการแตกแยกมากมายค่ะ ที่ทำให้เมืองหริภุญไชยซึ่งมีเมืองในอาณัติ คือ นครเขลางค์ค่ะ แยกออกไปปกครองตนเองโดยอิสระค่ะ เป็นอีกแว่นแคว้นหนึ่งที่ต้นแม่น้ำปิงค่ะ
ในระยะเวลาต่อมา เมืองละโว้มีบทบาทก่อให้เกิดเมืองหลวงขึ้นค่ะในประวัติศาสตร์ไทยอีกเมืองหนึ่งค่ะ คือ เมืองสุโขทัย ที่ขึ้นไปจัดตั้งไว้ที่ตอนบนของที่ราบฝั่งแม่น้ำยม ค่ะเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้นไม่นาน สุโขทัยก็แยกตัวออกเป็นอิสระแล้วละค่ะอีกแว่นแคว้นหนึ่งเช่นเดียวกับเมืองหริภุญไชยด้วยนะค่ะ เรื่องราวในศิลาจารึกสุโขทัยกันนะค่ะ หลักที่ 2 วัดศรีชุม เรื่องพ่อขุนผาเมืองค่ะ และพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพงนะค่ะ อาจเป็นเรื่องราวตอนที่สุโขทัยแยกตัวออกจากเมืองละโว้ก็ได้นะค่ะ ส่วนเมืองละโว้นั้น ก็ได้มีการขยับขยายราชธานีลงทางใต้กันนะค่ะ ตั้งบ้านเมืองในบริเวณที่แม่น้ำ 3 สายค่ะคือ แม่น้ำป่าสักด้วยค่ะ แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันค่ะ และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเมืองสุพรรณภูมิด้วยค่ะต่อมาก็ได้จัดตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงในที่สุดค่ะ
เมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งที่อาจกล่าวว่าอยู่ในขอบเขตใกล้ทะเลอ่าวไทยนะค่ะ คือ เมืองศรีมโหสถแห่งลุ่มน้ำบางปะกงไงค่ะหรือแม่น้ำปราจีนบุรีค่ะ ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในเขตอำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรีนะค่ะ เป็นเมืองที่มีศาสนสถานเป็นจำนวนมากเลยค่ะ โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองนี้อาจสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 แต่โบราณสถานที่เป็นของเมืองนี้อย่างแน่นอนค่ะ และเป็นศาสนสถานของพุทธศาสนาแบบเถรวาทนั้น คือ รอยพระพุทธบาทคู่ที่วัดสระมรกตค่ะ ซึ่งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้นะคะ สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 14 เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองศูนย์กลางปกครองดินแดนใกล้เคียงสืบต่อกันมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 จึงได้กลายเป็นเมืองในราชอาณาจักรขอมกัมพูชาค่ะ ซึ่งมีศูนย์กลางที่เมืองพระนครหลวง และมีหลักฐานแสดงการนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเองค่ะ

 
ความเห็นที่ 12 โพสเมื่อ : 29 เม.ย. 51 : 19:06 น.  โดย : คนกันเอง  


รอยพระพุทธบาทคู่สลักอยู่บนศิลาแลงที่ฝ่าพระบาทสลักรูปธรรมจักรนูนทั้งสองข้างระหว่างรอยพระบาทมีการกากบาทสลักลึกเป็นร่อง ตรงกลางมีหลุมสันนิษฐานว่า มีไว้เพื่อปักฉัตรหรือร่มรอยพระพุทธบาทคู่นี้คาดว่า สร้างขึ้นสมัยทวารวดีถึงสมัยลพบุรีนับเป็นรอยพระพุทธบาทที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

ต้องสังเกตุดีๆ จะเห็นเป็นรอยพระบาทนะครับ ผมเองตอนถ่ายภาพนี้เดินวนเวียนอยู่ 2-3 รอบ จึงรู้ทิศ
---------------------------------------
กลุ่มโบราณสถานสระมรกต จ.ปราจีนบุรี
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Prachinburi/data/place/pic_samorakot-pool.htm

 
ความเห็นที่ 13 โพสเมื่อ : 29 เม.ย. 51 : 19:25 น.  โดย : Nan  


เมืองโบราณสมัยละโว้

 
ความเห็นที่ 14 โพสเมื่อ : 29 เม.ย. 51 : 19:26 น.  โดย : คนกันเอง  


รอยแกะสลักหิน รอบสระทั้ง 4 ด้าน
ผนังขอบสระทุกด้านมีการแกะสลักภาพนูนต่ำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น รูปช้าง สิงห์ หมู กินรี งูพันเสา สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ชั้นสูง สันนิษฐานว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา อายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 10-11

สังเกตุดีๆ จะเห็นรูปช้างชัดที่สุด สัตว์อย่างอื่นต้องใช้จินตนาการผสม

เออ....แต่กรมศิลปนี้ก็เก่ง แฮะ ขุดเจอจนได้ คนโบราณก็เก่งทีเดียวไม่มีเครื่องมืออะไรมากแต่ขุดได้ลึกและกว้างทีเดียว แถวนี้มีหลายหลุมครับ ผมเองก็ถ่ายมาไม่น้อย
-------------------------------
กลุ่มโบราณสถานศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Prachinburi/data/place/pic_srimahosot.htm

 
ความเห็นที่ 15 โพสเมื่อ : 29 เม.ย. 51 : 20:11 น.  โดย : Nan  


ตามพรลิงค์ ปรากฏอย่างชัดเจนที่สุดในศิลาจารึกที่พบเห็นกันนะค่ะหลักที่ 24 พบที่วัดเวียงค่ะ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จารึกด้วยอักษรขอมกันไว้เป็นแน่แท้กันเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ภาษาสันสกฤต ปรากฏคำว่า ตามพรลิงเคศวระ กับ ตามพรลิงเคศวร มีทั้งสิ้น 2 คำค่ะ และมีความหมายเดียวกันคือเป็นชื่อสถานที่หมายถึงเมืองกันนะค่ะ เพราะในรูปประโยคแปลได้ความว่า พระเจ้าผู้ครองเมืองตามพรลิงค์กันค่ะ หรือ พระผู้เป็นใหญ่ในตามพรลิงค์พระผู้เป็นใหญ่ในเมืองตามพรลิงค์ในจารึกหลักที่ 24ค่ะ มีพระนามว่า พระเจ้าจันทรภาณุนะค่ะ ทรงเป็นพระธรรมราชาผู้ทรงศิริ มีราชนิติเทียบเท่าพระเจ้าธรรมาโศกค่ะ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือราชวงศ์ทั้งหมดเลยละค่ะ ทรงปกครองปัทมวงศ์ มากยิ่งขึ้น ทรงพระราชสมภพเพื่อยังประชาชนที่ถูกชนชาติต่ำปกครองมาแล้วให้สว่างรุ่งเรืองกันานแสนนาน เป็นบุญของมนุษย์ที่มีพระราชาองค์นี้ ในจารึกระบุปีศักราชตรงกับ พ.ศ. 1773นั้นเองค่ะ
ชื่อเมืองตามพรลิงค์นี้ไปพ้องกับชื่อ ตันหม่าหลิงค่ะ ในหนังสือจูฟานฉี ของนายด่านศุลกากรชาวจีนด้วยละค่ะชื่อ เจาจูกัว เขียนเมื่อ พ.ศ. 1768ค่ะ ดังนั้นชื่อตันหม่าหลิง จึงน่าจะมาจากเมืองตามพรลิงค์ค่อนข้างแน่นอนค่ะ แต่ชื่ออื่นๆในภาษาจีนก่อนหน้านี้ ได้แก่ เต็งหลิวเหมย ตันเหมยหลิว และจูเหมยหลิว คงรู้จักกันนะค่ะในปัจุบันเราหรือว่าอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วละค่ะคิดว่าคงป็นอย่างนั้นนะค่ะ แต่ก็ยังไม่อาจสรุปได้ชัดอีกนะค่ะว่าเป็นชื่อเดียวกับตามพรลิงค์หรือไม่ เพราะในรายละเอียดการบรรยายสภาพบ้านเมือง สามารถตีความได้หลากหลายโดยอาจเป็นเมืองอื่นๆบริเวณรอบอ่าวไทยแถบจังหวัดราชบุรีก็ได้ค่ะว่าไหมค่ะ เพราะมีการกล่าวถึงภูเขาที่เป็นสัญลักษณ์ในพุทธศาสนาอีกด้วยค่ะ ซึ่งที่จังหวัดราชบุรีมีถ้ำต่างๆที่แกะสลักพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีติดผนังถ้ำ เช่น ถ้ำในเทือกเขางูนั้นเองค่ะ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเป็นบ้านเมืองที่นับถือพุทธศาสนาตามที่ปรากฏในบันทึกของจีนค่ะ จึงมีนักวิชาการท่านอื่นๆตีความว่า เต็งหลิวเหมย อาจเป็นบ้านเมืองในภาคกลางก็ได้เช่นกันค่ะ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเต็งหลิวเหมยจะเป็นชื่อเดียวกับตันหม่าหลิงดวยค่ะ

ในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชหลายเล่มที่เดียวค่ะ โยงใยคำว่าตามพรลิงค์กับชื่อสถานที่ที่ปรากฏในคัมภีร์มหานิทเทศ กันค่ะ ติสสเมตเตยยสูตร ซึ่งเป็นวรรณคดีอินเดียโบราณค่ะ แต่งด้วยภาษาบาลี เข้าใจว่าน่าจะเขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 8กันนะค่ะ กล่าวถึงการเดินทางของนักเผชิญโชคเพื่อแสวงหาโชคลาภค่ะ ความร่ำรวยในดินแดนต่างๆ ชื่อเมืองที่ปรากฏในคัมภีร์มหานิทเทศน่าจะเป็นเมืองท่าในภูมิภาคต่างๆที่อยู่บนเส้นทางการค้าและการเดินเรือค่ะ ได้แก่ เมืองท่าในอินเดีย เมืองอเล็กซานเดรียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วยค่ะ ศรีลังกา พม่า ชวา และคาบสมุทรมลายูค่ะ ในจำนวนเมืองท่าเหล่านี้มีอยู่เมืองหนึ่งชื่อ กะมะลิงหรือตมะลิงนั้นเองค่ะเคยได้ยินกันไหมค่ะ บ้างก็ออกเสียงเป็น กมะลีหรือตะมะลี(Tamali)กันนะค่ะ

เมืองท่ากะมะลิงหรือตมะลิงนี้นะค่ะ นักปราชญ์ทางโบราณคดีเคยเสนอว่า ถ้านำคำว่า ตมะลิง ไปบวกกับคำว่า คม จะกลายเป็น ตมลิงคมค่ะ หรือ ตมพลิงคมค่ะ ซึ่งต่อมามีผู้นำชื่อ ตมพลิงคม ไปอ้างต่อว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นที่ปรากฏในคัมภีร์มหานิทเทศ กันนะค่ะ จึงมีผู้ตีความต่อๆกันมาเป็นลูกโซ่ว่า ชื่อเมืองตมพลิงคมนั้นเองค่ะ อันหมายถึงเมืองตามพรลิงค์นั้นมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8นะค่ะ

การตีความดังกล่าวนี้แม้ว่าพอจะมีเค้าอยู่บ้าง แต่ก็มิได้หมายความว่าเมืองท่ากะมะลิงเป็นเมืองที่มีอำนาจปกครองเมืองอื่นๆเหมือนกับเมืองตามพรลิงค์ในจารึกพระเจ้าจันทรภาณุ ค่ะ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ข้าพเจ้าอยากให้นักศึกษาประวัติศาสตร์มองบ้านเมืองในภูมิภาคนี้เชิงวิวัฒนาการค่ะ โดยระมัดระวังที่จะไม่ใช้คำว่า อาณาจักร ( Kingdom ) ในกรอบความคิดของนักวิชาการชาวตะวันตกเป็นเกณฑ์ค่ะ เช่น การกล่าวถึงขอบเขตของอาณาจักรนั้นองค่ะ หรือการกล่าวถึงอาณาจักรในยุคต้นจนถึงยุคอวสานของอาณาจักรป็นต้นค่ะ เพราะสภาพการเมือง การปกครองของเมืองโบราณในภูมิภาคนี้มีลักษณะเป็นแว่นแคว้นน้อยใหญ่ที่มีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเลือย ๆ ค่ะ เมืองๆหนึ่งไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ใหญ่โตมากก็ได้ค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาก่อนพุทธศตวรรษที่ 14 หากพิจารณาโดยอาศัยหลักฐานความก้าวหน้าของการศึกษาวิชาโบราณคดีในพื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ค่ะ จะเห็นบ้านเมืองใหญ่น้อยที่ตั้งอยู่แถบอ่าวบ้านดอนคะ สันทรายนครศรีธรรมราช คาบสมุทรสทิงพระ และที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานี โดยเห็นการสถาปนาอำนาจของผู้ปกครองและเห็นลักษณะความแตกต่างของวัฒนธรรมค่อนข้างหลากหลายมากมายเลยค่ะ

สำหรับเมืองท่ากะมะลิงในคัมภีร์มหานิทเทศนะค่ะ แม้นักประวัติศาสตร์จะสรุปตรงกันว่าอยู่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบันก็ตามค่ะ แต่ถ้าให้ชี้ลงไปในจุดเล็กๆบนแผนที่ว่า เมืองกะมะลิงเมืองท่าในพุทธศตวรรษที่ 8 ตั้งอยู่ที่ตำบล อำเภอใดของนครศรีธรรมราชนะค่ะ ทางเราคิดว่าหลายท่านคงเกิดอาการลังเลอยู่บ้างไม่มากก็น้อยนะค่ะ แต่ละท่านอาจจะชี้กันไปคนละทิศเลยก็เป็นไปได้ค่ะ

 
ความเห็นที่ 16 โพสเมื่อ : 29 เม.ย. 51 : 22:03 น.  โดย : Nan  


พระพุทธรูปแกะสลักบนผา เขางู จ.ราชบุรี
ศิลปะสมัยทวารวดี
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Rachburi/data/place/pic_cave-khaongu.htm

 
ความเห็นที่ 17 โพสเมื่อ : 29 เม.ย. 51 : 22:39 น.  โดย : คนกันเอง  


อาณาจักรหริภุญชัย (ประมาณ พ.ศ. 1310-1835)
เท่าที่รู้มานะค่ะจากตำนานจามเทวีโบราณของไทยเราได้บันทึกไว้ว่า ฤาษีวาสุเทพ เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310นั้นเองค่ะ แล้วต่อมาได้อัญเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมจากเมืองละโว้ค่ะขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวี ได้นำพระสงฆ์ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ ขึ้นไปด้วยค่ะอีกทั้งยังเป็นจำนวนมากด้วยนะค่ะ ราวหมื่นคนเลยที่เดียวค่ะ พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมืองขึ้นมาอีกค่ะ ทำให้ เมืองหริภุญชัย(ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าที่ผ่านมาอีก ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร(ลำปาง)ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณด้วยค่ะในศิลาจารึกของหริภุญชัยนั้นเองค่ะ มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญไชยด้วยค่ะไว้ว่า เป็นอาณาจักรกษัตริย์หญิง นู หวาง โก่วต่อมา พ.ศ. 1824ค่ะ พระเจ้าเม็งรายมหาราช กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนาค่ะ ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบาได้ใน ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปีแล้วค่ะ มีกษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์ปัจจุบันโบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยนั้นก็คือ พระธาตุหริภุญไชยรู้จักกันไหมค่ะ ที่จังหวัดลำพูน และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ค่ะ โบาณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ด้วยค่ะ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญโบราณอยู่ไม่มากก็น้อยค่ะ
----------------------------------
วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพุน ศุนย์กลางอาณาจักหริภุญชัย
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Lampun/data/place/pic_phrathathariphuchai3.htm

 
ความเห็นที่ 18 โพสเมื่อ : 5 พ.ค. 51 : 15:35 น.  โดย : `Nan  


ประวัติกรุงศรีอยุธยามีชื่อเดิมที่ปรากฏในเอกสารชั้นต้นที่เป็นศิลาจารึกและตำนานบางเรื่องว่า กรุงอโยธยาซึ่งเป็นการนำชื่อเมืองของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์มาใช้ ชื่อกรุงอโยธยาคงจะถูกเปลี่ยนเป็นกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชค่ะ ซึ่งอยู่ในระยะเวลาตอนปลายของสมัยกรุงศรีอยุธยาค่ะ อันเป็นสมัยที่หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับที่เก่าที่สุดเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ ได้รับการเขียนและคัดลอกกันต่อๆ มา เป็นต้นฉบับตัวเขียนที่เก็บอยู่ในหอสมุดแห่งชาติค่ะ ซึ่ง หนังสือพงศาวดารฉบับนี้ก็ได้กล่าวถึงเมืองที่มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา เอาไว้ด้วย คนรุ่นหลังจึงได้เรียกชื่อนี้กันต่อมาจนถึงปัจจุบันค่ะ
ความเป็นมาของกรุงศรีอยุธยานั้นปรากฏเป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดกันในลักษณะของตำนาน โดยเฉพาะตำนานเรื่องท้าวอู่ทองค่ะ จะมีอยู่หลายตำนานและปรากฏในหลายท้องที่ ตำนานท้าวอู่ทองบางเรื่องกล่าวถึงความเกี่ยวข้องกับดินแดนแถบจังหวัดกำแพงเพชร บางเรื่องปรากฏเป็นตำนานของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางในจังหวัดสุพรรณบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เมืองนครศรีธรรมราชก็มีตำนานที่เล่าถึงท้าวอู่ทองกับพระยาศรีธรรมาโศกราชค่ะ ที่ตกลงรวมดินแดนนครศรีธรรมราชเข้ากับกรุงอโยธยาก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในหนังสือพระราชพงศาวดาร ตำนานบางเรื่องในหนังสือพงศาวดารเหนือที่รวบรวมจดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ค่ะ กล่าวถึงการเป็นเมืองที่มีความสืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ และมีเครือข่ายที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากหลักฐานด้านโบราณคดีว่า มีความเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรขอมกัมพูชาค่ะ
ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องมิติของเวลา ตำนานต่างๆ เกี่ยวกับท้าวอู่ทองและเรื่องในพงศาวดารเหนือสามารถสะท้อนภาพของส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบเข้าเป็นกรุงศรีอยุธยาได้ค่ะ อย่างไรก็ดี เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ที่กล่าวถึงเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ นั้น ได้กล่าวถึงสมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีว่าได้ไปครองเมืองลพบุรีอีกทั้งเอกสารที่เป็นจดหมายเหตุของจีนได้เรียกกรุงศรีอยุธยาเมื่อแรกสถาปนาว่า หลอหู ซึ่งเป็นคำเดียวกับที่จีนใช้เรียกเมืองลพบุรีมาก่อนด้วย จึงสันนิษฐานได้ว่า ราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นค่ะ มีความสืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีที่เป็นศูนย์อารยธรรมเก่าแก่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางมาก่อนค่ะ และเมื่อได้พิจารณาประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการพบที่อยุธยา ได้แก่ เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งเป็นศิลปะก่อนสมัยอยุธยาค่ะ ที่วัดธรรมิกราช พระพนัญเชิงซึ่งสร้างก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปทั้งสององค์มีรูปแบบศิลปะที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทองรุ่นแรกที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะลพบุรีด้วยค่ะ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ชี้อย่างชัดเจนว่า ได้มีการขยายตัวของเมืองลพบุรีลงมาทางใต้บริเวณเกาะเมืองอยุธยา ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวง เมื่อพ.ศ. ๑๘๙๓ ค่ะ การขยายตัวของเมืองลพบุรีลงมาที่อยุธยาเมื่อพิจารณาในด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจก็อาจอธิบายได้ว่า เป็นการขยายที่ตั้งการค้าออกไปใกล้ทะเลเพื่อการค้ากับดินแดนโพ้นทะเลค่ะ เพราะอยุธยามีลำน้ำเจ้าพระยาซึ่งเรือเดินทะเลใหญ่ในสมัยนั้นสามารถเข้ามาถึงตัวเมืองได้ค่ะ อีกทั้งที่ตั้งของอยุธยาเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสายคือแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะ ที่ตั้งของอยุธยาจึงมีลักษณะเป็นชุมทางที่สามารถติดต่อเข้าไปยังแผ่นดินภายในได้หลายทิศทางให้ประโยชน์ในด้านการเป็นแหล่งรวมสินค้าที่ส่งมาจากที่ต่างๆ ได้สะดวกค่ะ และสามารถเป็นตลาดกลางขนาดใหญ่ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับทั้งภายในทวีปและดินแดนโพ้นทะเลได้เป็นอย่างดีค่ะ การขยายตัวของเมืองลพบุรีมาที่อยุธยานั้นคงจะมีขึ้นตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ค่ะ ด้วยเหตุนี้ การเกิดขึ้นมามีฐานะเป็นศูนย์กลางอำนาจการปกครอง หรือเป็นเมืองหลวงของกรุงศรีอยุธยา จึงไม่เหมือนกับการเกิดขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเมืองสุโขทัยค่ะ เพราะทั้งสองเมืองมีลักษณะของการเป็นบ้านเมืองของผู้นำที่ค่อยๆ รวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าไว้ด้วยกันค่ะ และเติบโตสร้างความเป็นปึกแผ่นของแว่นแคว้นเพิ่มขึ้นๆ จนในที่สุด เมืองซึ่งเป็นที่ประทับของผู้นำของแว่นแคว้นก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของอำนาจการปกครองดินแดนที่รวบรวมเข้ามาได้ค่ะ ส่วนกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ก็เป็นเมืองที่มีพื้นฐานอันเป็นเครือข่ายของเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่แต่โบราณแล้วค่ะ คือ บ้านเมืองในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างค่ะ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำมูลที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแบบเดียวกันติดต่อไปถึงเมืองพระนครหลวงในกัมพูชา ส่วนเรื่องพระเจ้าอู่ทองในตำนานของเมืองนครศรีธรรมราชได้แสดงให้เห็นว่า เป็นดินแดนที่ได้รับการผนวกเข้ากับอยุธยาก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ค่ะ จึงไม่ปรากฏเรื่องราวการรวบรวมดินแดนนครศรีธรรมราชในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาซึ่งเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่เวลาของการสถาปนาค่ะ แต่กลับปรากฏในบันทึกของชาวยุโรปในสมัยอยุธยาตอนต้นว่า ดินแดนตลอดแหลมมลายูนั้นเป็นของสยาม ซึ่งมีศูนย์กลางเป็นเมืองใหญ่อยู่ที่กรุงศรีอยุธยา
ในพระราชพงศาวดารฉบับที่เขียนในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการกล่าวถึงกษัตริย์องค์ต่อมาหลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตว่า มาจากเมืองสุพรรณบุรีด้วยค่ะ ท่าทีที่มีอำนาจแล้วขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมาทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ที่ ๑) ได้มีการขยายความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับที่เขียนในภายหลังว่า กษัตริย์จากสุพรรณบุรีนี้คือ พ่องั่ว ผู้เป็นพี่มเหสีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แม้ว่าจะเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในภายหลังก็ตาม แต่เรื่องราวต่อๆมาในพระราชพงศาวดารก็สามารถให้ภาพรวมว่า ในช่วงระยะเวลาแรกแห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๕๒ นั้น กรุงศรีอยุธยามีกษัตริย์ที่ผลัดกันครองราชบัลลังก์อยู่ ๒ สาย สายหนึ่งคือ สายที่สืบราชตระกูลมาจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สถาปนาเมือง และอีกสายหนึ่งคือราชตระกูลที่มาจากเมืองสุพรรณบุรี การผลัดกันขึ้นสู่ราชบัลลังก์ของทั้ง ๒ ราชตระกูลนั้นเป็นการยึดอำนาจมาจากอีกฝ่ายหนึ่ง
ชื่อของเมืองสุพรรณบุรีมีที่มาจากหนังสือพระราชพงศาวดารเช่นเดียวกับชื่อของกรุงศรีอยุธยา เพราะจากเอกสารชั้นต้นที่เป็นศิลาจารึกหรือเรื่องในตำนานบางเรื่องนั้น ชื่อเดิมของเมืองสุพรรณบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนั้นคือ เมืองสุพรรณภูมิ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงที่เล่าเรื่องราวในสมัยพ่อขุนรามคำแหงก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณภูมิรวมอยู่ในกลุ่มเมืองที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง คือเมืองแพรก (ในจังหวัดชัยนาท) เมืองสุพรรณภูมิเมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี ซึ่งในท้องที่ของเมืองเหล่านี้ล้วนมีโบราณสถานที่มีอายุไม่น้อยกว่าเมืองลพบุรีอยู่ด้วย ดังนั้น การที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้ระบุชื่อเมืองสุพรรณภูมิอยู่รวมกับดินแดนของกรุงศรีอยุธยาในลักษณะของเมืองที่มีอำนาจ ที่เจ้าเมืองสามารถเข้ามาสืบราชบัลลังก์กรุงศรีอยุธยาได้ด้วยนั้น แสดงว่านอกจากการเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยาจะเป็นการสืบอำนาจต่อจากเมืองลพบุรีโดยการสืบราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แล้ว ยังประกอบด้วยดินแดนของสุพรรณภูมิที่มีกษัตริย์ต่างราชวงศ์ปกครองสืบทอดกันมาอยู่ด้วยอีกส่วนหนึ่ง
ดินแดนของกรุงศรีอยุธยาจึงมีอาณาเขตที่กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ของที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางทั้งหมด เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลครอบงำตลอดทั้งแหลมมลายูและพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือการวมตัวกันได้ระหว่างดินแดนที่สืบมาจากเมืองลพบุรีเดิมกับดินแดนของสุพรรณภูมินั้นสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการเป็นเครือญาติที่สืบเนื่องมาจากการสมรสกันของราชวงศ์ทั้งสองพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบางฉบับที่เขียนขึ้นภายหลัง ที่กล่าวว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งสุพรรณภูมิ หรือขุนหลวงพ่องั่ว เป็นพี่มเหสีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ นั้น อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันของดินแดนทั้งสองได้ กลายเป็นราชอาณาจักรที่มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงที่ชาวต่างประเทศเรียกว่า ราชอาณาจักรสยาม โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง
ในช่วงกว่าครึ่งศตวรรษแรกของการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนั้น ดังได้กล่าวแล้วว่า การรวมตัวกันระหว่างสองราชวงศ์ คือราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ กับราชวงศ์ของสุพรรณภูมิ ยังไม่ราบรื่นนักดังจะเห็นได้จากการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่างทายาทของทั้งสองราชวงศ์ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคต ราชสมบัติตกอยู่กับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งสุพรรณภูมิ โดยการยินยอมของสมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ซึ่งกลับไปครองเมืองลพบุรี แต่เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จสวรรคต สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จจากลพบุรีเข้าช่วงชิงราชบัลลังก์จากโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ภายหลังจากที่สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จสวรรคตแล้ว โอรสของพระองค์คือสมเด็จพระรามราชาธิราช ก็ได้สืบราชสมบัติต่อไปสมเด็จพระราเมศวรและสมเด็จพระรามราชาธิราช เสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาสืบทอดต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ ๒๑ - ๒๒ ปี คือระหว่าง พ.ศ. ๑๙๓๑ - ๑๙๕๒

 
ความเห็นที่ 19 โพสเมื่อ : 5 พ.ค. 51 : 15:46 น.  โดย : Nan  


วัดโลกยสุธาราม

วัดโลกยสุธารามตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางด้านหลังพระราชวังหลวง และโรงเรียนประตูชัย ใกล้กับวัดวรโพธิ์ และวัดวรเชษฐาราม

ประวัติ

วัดโลกยสุธาราม สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เนื่องจากวัดนี้มีพระพุทธไสยาสน์ ปางไสยาสน์ลักษณะสมัยอยุธยาตอนกลาง ก่ออิฐถือปูน พระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ ที่พระเศียรมีดอกบัวรองรับ พระบาทซ้อนกันเป็นมุมฉาก นิ้วพระบาทยาวเท่ากัน มีความยาว ๔๒ เมตร และสูง ๘ เมตร

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ได้รับการขุดแต่งโดยโรงงานสุรา ร่วมกับกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ คุณหญิงระเบียบ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และครอบครัว ได้บูรณะพระพุทธไสยาสน์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ นาย ธำรง และ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี
--------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Ayutthaya/data/place/pic_wat-lokayasutharam.htm

 
ความเห็นที่ 20 โพสเมื่อ : 5 พ.ค. 51 : 17:37 น.  โดย : Nan  


เจดีย์พระศรีสุริโยทัย
-------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Ayutthaya/data/place/pic_chedi_srisuriyothai.htm

 
ความเห็นที่ 21 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 11:52 น.  โดย : Nan  


วัดพุทไธศวรรย์

วัดพุทไธศวรรย์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "ตำบลเวียงเล็กหรือเวียงเหล็ก" ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง

อนึ่ง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกพม่าทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย
-------------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Ayutthaya/data/place/pic_wat-buddhaisawan.htm

 
ความเห็นที่ 22 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 12:08 น.  โดย : Nan  


วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดอยุธยา
----------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Ayutthaya/data/place/pic_watnaprameru.htm

 
ความเห็นที่ 23 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 12:14 น.  โดย : ไทยทัวร์  


วัดพระศรีสรรเพชญ์

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อ พ.ศ.2035 องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดา และองค์ที่สอง คือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระบรมเชษฐา ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปี พ.ศ.2043 ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา (16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ” ซึ่งภายหลังเมื่อคราวเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญชิ้นส่วนชำรุดของพระประธานองค์นี้ลงมากรุงเทพฯและบรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า “เจดีย์สรรเพชญดาญาณ”

สำหรับเจดีย์องค์ที่สามถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั่นไว้ซึ่งคงจะมีการสร้างในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และมีร่องรอยการบูรณะปฏิสังขรณ์หนึ่งครั้งในราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการบูรณะเจดีย์แห่งนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน วัดนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00–18.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 180 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน อันได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานศิลปากรที่ 3 โทร. 0 3524 2501, 0 3524 2448 หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร. 0 3524 2284, 0 3524 2286
หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน

------------------------------------------------------------
ภาพเจดีย์ พระศรีสรรเพชญ์ มุมที่น้อยคนจะรู้จัก ถ่ายไว้ในประมาณปี 46
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Ayutthaya/data/place/pic_watphrasisanpetch.htm

 
ความเห็นที่ 24 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 19:28 น.  โดย : Nan  


ประวัติสุโขทัย
มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายเสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการะแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุขพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยางได้ร่วมกันยึดเมืองสุโขทัยคืนมาจากขอม และตั้งเป็นอาณาจักรอิสระขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1761 ค่ะ อาณาจักรสุโขทัยจึงถือเป็นอาณาจักรแรกของคนไทเลยค่ะ โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวหรือพระนามใหม่ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเป็น ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงปกครองอาณาจักรค่ะในแบบพ่อปกครองลูก สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองและสามารถขยายอาณาเขต ได้กว้างขวางมากที่สุดค่ะ
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ภายหลังรัชสมัยนี้แล้วสุโขทัยก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง เพราะเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ท่ามกลางอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ 2 แห่งค่ะ คือ ทางด้านเหนือเป็นอาณาจักรเชียงใหม่ค่ะ ส่วนด้านใต้เป็นอาณาจักรอยุธยา ซึ่งในที่สุดสุโขทัยก็สูญเสียความเป็นเอกราชอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาค่ะ ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุโขทัยถูกรวมอยู่ในมณฑลพิษณุโลก และเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดสุโขทัยภายหลัง เปลี่ยน แปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ค่ะ
ปัจจุบันจังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 440 กิโลเมตรแบ่งการปกครองออกเป็น9อำเภอ คือ อำเภอเมือง กงไกลลาศ ศีรีมาศ บ้านด่านลานหอย สวรรคโลก ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง ศรีนคร และทุ่งเสลี่ยม
มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายเสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการะแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

 
ความเห็นที่ 25 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 19:32 น.  โดย : Nan  


วัดเจดีย์สี่ห้อง

โบราณสถานที่น่าสนใจคือ เจดีย์ที่เข้าใจว่าเป็นทรงลังกา ที่ฐานมีลวดลายปูนปั้นเป็นรูปสิงห์ขี่ช้าง รูปเทวดาทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ถือแจกันดอกไม้ ลวดลายสวยงามมาก

 
ความเห็นที่ 26 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 19:33 น.  โดย : Nan  


วัดตระพังทองหลาง

ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย

 
ความเห็นที่ 27 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 19:35 น.  โดย : Nan  


วัดช้างล้อม

เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ

 
ความเห็นที่ 28 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 19:37 น.  โดย : Nan  


วัดเชตุพน

ศิลปกรรมที่น่าสนใจ คือมณฑปสร้างด้วยหินชนวน ประดิษฐานพระพุทธรูป สี่อิริยาบถ คือ พระพุทธรูปแบบนั่ง ยืน เดิน นอน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีการใช้วัสดุทั้งอิฐหินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้างที่ประสานกันอย่างกลมกลืน ได้มีการพบศิลาจารึกหลักที่ 58 จารึกในปี พ.ศ. 2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุธรูปในวัดนี้

 
ความเห็นที่ 29 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 19:59 น.  โดย : Nan  


เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง

ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาระหว่าง เขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา เพื่อกักน้ำและชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมืองและพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะและซ่อมแซมขึ้นใหม่

 
ความเห็นที่ 30 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 20:04 น.  โดย : Nan  


วัดสะพานหิน

โบราณสถานด้านทิศตะวันตกของกำแพงเมืองที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินลูกเตี้ยสูงประมาณ 200 เมตร มีทางเดินปูด้วยหินชนวนแผ่นบางๆ จนถึงบริเวณลานวัด มีวิหารก่อด้วยอิฐ มีเสาก่อด้วยศิลาแลง 4 แถว 5 ห้อง ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัยสูง 12.50 เมตร เรียกว่า "พระอัฏฐารศ"

 
ความเห็นที่ 31 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 20:17 น.  โดย : Nan  


วัดศรีชุม

ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระอจนะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และลักษณะของวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระอจนะนั้น สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้านก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายต่างๆ ไว้มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ เพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้ เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญและด้านอื่นๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็กๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้และพูดออกมาดังๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม


 
ความเห็นที่ 32 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 20:25 น.  โดย : Nan  


วัดพระพายหลวง

ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ วัดนี้มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น มีปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ทำด้วยศิลาแลง แบบศิลปะลพบุรี ยังคงเห็นลายปูนปั้นที่ปรางค์ด้านทิศเหนือ ด้านหน้าปรางค์มีฐานวิหารเจดีย์ที่ปรักหักพัง ทางด้านประติมากรรม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางต่างๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน นอน ซึ่งส่วนใหญ่ชำรุดแล้วประดิษฐานที่มณฑปและซุ้มเจดีย์

 
ความเห็นที่ 33 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 20:26 น.  โดย : Nan  


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ใกล้กับวัดพระพายหลวง เป็นศูนย์ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองของโบราณสถานต่างๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยว ควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีต

 
ความเห็นที่ 34 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 20:27 น.  โดย : Nan  


พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่องทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูป พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้างๆ ลักษณะ พระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรมและเฉียบขาด ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย

 
ความเห็นที่ 35 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 20:28 น.  โดย : Nan  


วัดตระพังเงิน

(คำว่า "ตระพัง" หมายถึง สระน้ำ หรือหนองน้ำ) เป็นโบราณสถานสำคัญตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตก มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือดอกบัวตูมเป็นประธาน บริเวณเรือนธาตุจะมีชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนทั้ง 4 ทิศ ด้านหน้าเป็นวิหาร 7 ห้อง ฐานและเสาก่อด้วยศิลาแลง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย บริเวณตรงกลางตระพังเป็นเกาะขนาดเล็ก เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ บริเวณตระพังจะมีดอกบัวขึ้นอยู่รอบสระสวยงามมาก

 
ความเห็นที่ 36 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 20:35 น.  โดย : Nan  


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย



-------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Sukhothai/data/place/sawankalok.htm

 
ความเห็นที่ 37 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 20:41 น.  โดย : Nan  


อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัย

-----------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Sukhothai/data/place/hpk_srisatchanalai.htm

 
ความเห็นที่ 38 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 21:03 น.  โดย : Nan  

สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้วนะค่ะ พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิมค่ะ พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
ทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ ๔ (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุงนั้นเองค่ะ
ธนบุรีอยู่ ๑๕ ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
๑.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้
กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้
๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย
๓.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี
ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือค่ะ และได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก

ด้านการปกครอง
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อยค่ะ ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้นค่ะ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน ๓ ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว

ด้านเศรษฐกิจ
ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองดำลังประสบ
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก
ยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะ
เศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูกค่ะ พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ๒ ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ
การสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมืองค่ะ พระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัยผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงะนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั่งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณา
ความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากใน
กรุงธนบุรีและมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระชนมายุได้ 45 พรรษา

 
ความเห็นที่ 39 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 21:16 น.  โดย : Nan  


คำจารึกจากพระเจ้าตากสิน

 
ความเห็นที่ 40 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 21:18 น.  โดย : Nan  


ศาลพระเจ้าตากสิน อยู่ระหว่างทางขึ้นเขา
------------
ขอขอบคุณสามเณร ที่พาทีมไทยทัวร์ขึ้นไปนมัสการท่านยามวิการ....
ภาพถ่ายเมื่อ เม.ย. 50

 
ความเห็นที่ 41 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 21:20 น.  โดย : Nan  


แท่นบูชาพระเจ้าตากสิน อยู่ที่วัดเขาขุนพนม
กล่าวกันว่าท่านทรงมาบำเพ็ญเพียรภวนาในขณะเป็นพระภิกษุที่นี่หลังจากออกอุบายสละราชสมบัติ ณ ถ้ำแห่งนี้ ก่อนเสด็จสวรรณคต

 
ความเห็นที่ 42 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 21:36 น.  โดย : Nan  


คราวนี้เรามารู้จักกับกรุงรัตนโกสินทร์กันเลยนะค่ะ ซึ่งเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงประวัติความเป็นมาอย่างละเอียด ดังที่จะได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ค่ะ เมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำเจ้าพระยา เสร็จการฉลองพระนครแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ เปลี่ยนแปลงจากครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า กรุงรัตนโกสินท์อินท์อโยธยา ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้นามพระนครเป็น กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำ ว่า บวร เป็น อมรเปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยาโดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ ชื่อกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีนามเต็มว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ อันแปลได้ความว่า
กรุงเทพมหานคร
-พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร
อมรรัตนโกสินทร์
-เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต
มหินทรายุธยา
-เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้
มหาดิลกภพ
-มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง
นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์
-เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง
อุดมราชนิเวศมหาสถาน
-มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย
อมรพิมานอวตารสถิต
-เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา
สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์
-ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้
มูลเหตุที่ราชธานีใหม่จะได้นามว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องพระราชกรัณยานุสรณ์ว่า การถือน้ำในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสมาก จึงได้ทรงสถาปนาพระอารามในพระบรมมหาราชวังแล้วพระราชทานนามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เชิญพระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำในพระอุโบสถ แล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องกับการซึ่งมีพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตพระองค์นี้เป็นศิริสำหรับพระนคร นามซึ่งว่า รัตนโกสินทร์ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านรับสั่งว่า เพราะท่านประสงค์ความว่า เป็นที่เก็บรักษาไว้ขององค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้มาก จึงยกไว้เป็นหลักพระนคร พระราชทานนามพระนคร ก็ให้ต้องกับพระนามพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อถึงการพระราชพิธีถือน้ำ พระพิพัฒน์สัจจาอันใหญ่นี้ จึงได้โปรดให้ข้าราชการมากระทำสัตย์สาบานแล้วรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากรในการย้ายพระนครมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยานี้ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด ต้นสกุล บุณยรัตพันธุ์) กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมช่างและไพร่วัดที่กะสร้างพระนครและพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานใหม่ให้มีลักษณะคล้ายกรุงศรีอยุธยา
การพระราชพิธียกเสาหลักเมืองมีขึ้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ฤกษ์เวลาย่ำ รุ่งแล้ว ๕๔ นาที
จากนั้นจึงเริ่มการสร้างพระราชวังหลวง เมื่อ ณ วันจันทร์เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๒๕ ในชั้นแรกนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้น รายล้อมด้วยปราการระเนียด เพื่อใช้เป็นที่ประทับชั่วคราว เมื่อสร้างพระราชวังหลวงแล้วเสร็จทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขปขึ้น เพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่บ้านเมืองและพระองค์เอง ณ วันจันทร์ เดือน ๘ บูรพาษาฒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระปฐมกษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชดำเนินเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการก่อสร้างพระนครต่อให้บริบูรณ์
สำหรับพระนครฝั่งตะวันออก ซึ่งมีภูมิสถานเป็นแหลมโค้ง มีลำน้ำโอบอยู่สามด้าน ด้านในซึ่งติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ ได้ขุดเป็นคูเมืองไว้แต่ครั้งกรุงธนบุรี จึงมีสัณฐานคล้ายเกาะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรี เพื่อขยายกำแพงและคูพระนครใหม่ให้กว้างออกไป คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิมเริ่มจากริมแม่น้ำตอนบางลำภู วกไปออกแม่น้ำข้างใต้ บริเวณเหนือวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาธิวาสในปัจจุบัน) ยาว ๘๕ เส้น ๑๓ วา กว้าง ๑๐ วา ลึก ๕ ศอก พระราชทานนามว่า “คลองรอบกรุง” (คือคลองบางลำภูถึงคลองโอ่งอ่างในปัจจุบัน) ด้านแม่น้ำตั้งแต่ปากคลองรอบกรุงข้างใต้ไปจนปากคลองข้างเหนือ ยาว ๙๑ เส้น ๑๖ วา รวมทางน้ำรอบพระนคร ๑๗๗ เส้น ๙ วา (ประมาณ ๗.๒กิโลเมตร) จากนั้นให้ขุดคลองหลอดจากคลองคูเมืองเดิม ๒ คลองออกไปบรรจบกับคลองรอบกรุงที่ขุดใหม่โดยสายแรกขุดจากวัดบุรณศิริมาตยารามไปออกวัดมหรรณพารามและวัดเทพธิดาราม และอีกสายหนึ่งขุดจากวัดราชบพิธไปออกที่สะพานถ่าน

 
ความเห็นที่ 43 โพสเมื่อ : 6 พ.ค. 51 : 22:09 น.  โดย : Nan  


อนุสาวรีย์พระนเรศวรมหาราช
คลิกเข้ามาดูกันได้ที่นี้นะค่ะลองดู
---------------------------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Pitsanulok/data/place/pic_narasuan-shrine.htm

 
ความเห็นที่ 44 โพสเมื่อ : 15 พ.ค. 51 : 00:29 น.  โดย : คนกันเอง  


ฐานศิวลึงค์
หินปูน พุทธศตวรรษที่ 12-14
พบที่ ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
สันนิฐานว่า อารายธรรมพราหม์-ฮินดูเข้ามาในประเทไทย ก่อนพุทธศาสนา

 
ความเห็นที่ 45 โพสเมื่อ : 19 พ.ค. 51 : 00:21 น.  โดย : คนกันเอง  


ศิลปแบบขอม สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๘๐)
--------------------------------------------------
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ ๘๐๐ เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ ๘๕๐ เมตร และกำแพงสูง ๗ เมตร มีประตูเข้าออก ๔ ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ ๖ สระ
----------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Kan/data/place/pic_prasatmuangsingh.htm

 
ความเห็นที่ 46 โพสเมื่อ : 19 พ.ค. 51 : 00:30 น.  โดย : คนกันเอง  


ทับหลัง นารายณ์ตรีวิกรม ที่ปราสาทหินพนมรุ้ง
เทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 -------------------------------------------------------
ประวัติ
นารายณ์ตรีวิกรม อวตารพระวิษณุเพื่อปลดปล่อยโลกทั้งสามจากอำนาจของอสูรพลี พระวิษณุอวตารเป็นพราหม์ชื่อ วามน เข้าร่วมพิธีบูชายัญม้าของอสูรพลีและร่ายมนต์สะกดอสูรพลีไว้ อสูรพลีสัญญาจะให้ทุกสิ่งที่ต้องการพราหมณ์วามนได้ของแผ่นดินเพียงสามก้าวย่างและเนรมิตร่างกายจนใหญ่โต ก้าวย่างเพียงสามก้าวก็ได้อาณาเขตโลกทั้งสาม
--------------------------------------------------------
อุทยานปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Buriram/data/place/hpk_phanomrung.htm

 
ความเห็นที่ 47 โพสเมื่อ : 19 พ.ค. 51 : 00:32 น.  โดย : คนกันเอง  


ศิลปะขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อีกชิ้น
-------------------------------------------
พระศิวะทรงฟ้อนรำเชื่อกันว่าการฟ้อนรำของพระองค์เป็นการสร้าการทำลายโบกไปพร้อมกันหากพระองค์ ฟ้อนรำด้วยท่วงทำนองที่พอดีโลกก็จะอยู่ด้วยความสงบสุข แต่หากทรงฟ้อนรำด้วยจังหวะที่ร้อนแรงก็จำทำให้โลกต้องพบกับภัยพิบัติถึงขั้นทำลายโลกให้พินาศลงได้ ในภาพนี้เป็นการฟ้อนรำบนเขาไกรลาส พระศิวะมีสิบกรฟ้อนรำอยู่บนแท่น เหล่าเทพที่แวดล้อมอยู่เบื้องหน้าประกอบด้วยพระกเณศ พระพรหม พระวิษณุ และหญิงหน้าตาดุร้ายทางเบื้องขวาน่าจะหมายถึงนางอุมา อีกคนหนึ่งน่าจะหมายถึง นางกาไลกา ลัมไมยาร์ สาวภผู้ภักดี
--------------------------------------------
อุทยานปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Buriram/data/place/hpk_phanomrung.htm

 
ความเห็นที่ 48 โพสเมื่อ : 19 พ.ค. 51 : 00:45 น.  โดย : คนกันเอง  


หน้าบันปรางค์ประธาน ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์
สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะปาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18
---------------------------------------------
ปราสาทเมืองต่ำน่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย เพราะถึงแม้ได้มีการขุดพบศิวลึงค์ แต่ภาพสลักส่วนมากที่ปราสาทนี้ ล้วนเป็นภาพเกี่ยวกับการอวตารของพระนารายณ์ อีกทั้งเป็นปราสาทน้ำล้อม ซึ่งเป็นลักษณะของไวษณพนิกาย ต่างจากปราสาทบนภูเขาของไศวนิกาย
---------------------------------------------
ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Buriram/data/place/pic_prasat-muangtam.htm

 
ความเห็นที่ 49 โพสเมื่อ : 19 พ.ค. 51 : 01:14 น.  โดย : คนกันเอง  


กู่ประภาชัย (กู่บ้านนาคำน้อย) อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
ศิลปะแบบบายน ราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.1720 - 1760)
--------------------------------
กู่ประภาชัย เป็นกลุ่มโบราณสถานที่สร้านด้วยศิลาแลง ประกอบด้วยปราสาทประธานมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 8x10x10 เมตร มีประตูซุ้มทางเข้า(โคปุระ) ทางทิศตะวันออกแผนผังเป็นรูปกากบาท มีขนาด 9x11.50x4.50 เมตร มีบรรษลัยอยู่ทางมุด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 25x15x2.5 เมตร และบริเวณแนกำแพงด้านทิศตะวันออกติดกับโคปุระมีการเจาะเป็นช่องประตูทางเข้าอีกช่องหนึ่ง ส่วนด้านนอกกำแพมีสระน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 17.50x21.50x4 เมตร
---------------------------------
กู่ประภาชัย จ.ขอนแก่น
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Khonkaen/data/place/pic_ku-praphachai.htm

 
ความเห็นที่ 50 โพสเมื่อ : 25 ม.ค. 52 : 21:14 น.  โดย : kiwi  




ไปทัศน ที่สุโขทัยมา

เห็นโบราณสถาน ยิ่งใหญ่มากๆค่ะ

 
ความเห็นที่ 51 โพสเมื่อ : 25 ม.ค. 52 : 21:17 น.  โดย : kiwi  


^^
Amezing !!

 
ความเห็นที่ 52 โพสเมื่อ : 25 ม.ค. 52 : 21:20 น.  โดย : kiwi  


Amezing !!

 
ความเห็นที่ 53 โพสเมื่อ : 25 ม.ค. 52 : 21:28 น.  โดย : kiwi  


Amezing !!--

 
ความเห็นที่ 54 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 52 : 13:20 น.  โดย : วง  

 
ความเห็นที่ 55 โพสเมื่อ : 22 พ.ค. 52 : 19:59 น.  โดย : เนอะ  


ประวัติศาสตร์เมืองไทยน่าศึกษาเนาะ น่าภาคภูมิใจจัง

 
ความเห็นที่ 56 โพสเมื่อ : 31 ส.ค. 52 : 16:57 น.  โดย : คนทั่วไป  


ก็โอเคนะที่ทำแบบนี้เด็กรุ่นหลังจะรู้

 
ความเห็นที่ 57 โพสเมื่อ : 8 พ.ย. 52 : 02:40 น.  โดย : กฤษฎา  

รูปชัดเจน รายละเอียดดี

มีข้อมุลที่ถูกต้อง

มีคุณค่ามากๆครับ

แต่ภาพพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่เขางู

ไม่ใช่ที่เอาขึ้นนะครับ

ที่เอามานั่นสมัยใหม่แล้วครับ

แต่สมัยทวาอยู่ในถ้ำ เป็นท่านั่งห้อยพระบาทครับ

ไม่ใช่ปางลีลา

ขอบคุณครับ

แล้วผมจะกลับมาดูผลงานดีมีคุณภาพอย่างงี้อีกนะครับ

 
ความเห็นที่ 58 โพสเมื่อ : 28 พ.ย. 52 : 11:32 น.  โดย : tc!!  

 
ความเห็นที่ 59 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 53 : 13:27 น.  โดย : ---------------  


ดีมากๆเลย อิอิอิอิอิ

 
ความเห็นที่ 60 โพสเมื่อ : 16 ม.ค. 53 : 13:34 น.  โดย : Nan  

ตอบ คห 58
หมายถึงศิลปะสมัยทรารวดี ไม่ใช่สมัย
ขอบคุณค่ะ

 
ความเห็นที่ 61 โพสเมื่อ : 28 ม.ค. 53 : 17:59 น.  โดย : โบว์  

ดีมากเลย






55+









 
ความเห็นที่ 62 โพสเมื่อ : 4 ก.ค. 53 : 12:45 น.  โดย : ..........  

เยี่ยมมมากมีงานส่งครูแล้ว

 
ความเห็นที่ 63 โพสเมื่อ : 26 ธ.ค. 53 : 17:05 น.  โดย : Moss Blackstar  

กุจาทามงาน คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของ แคว้นตามพรลิง เว้ย

 
ความเห็นที่ 64 โพสเมื่อ : 26 ธ.ค. 53 : 17:06 น.  โดย : ?  

ผู้หญิง 13มีใหม

 
ความเห็นที่ 65 โพสเมื่อ : 26 ธ.ค. 53 : 17:07 น.  โดย : c  

Oยาก มี Sex

 
ความเห็นที่ 66 โพสเมื่อ : 3 ก.พ. 54 : 13:54 น.  โดย : เจนจิรา  

ข้อมูลดีมากค่ะ

 
ความเห็นที่ 67 โพสเมื่อ : 28 ส.ค. 54 : 12:05 น.  โดย : เบน คนสุโขทัย  

สุโขทัยน่าเที่ยว....ไปแล้วติดใจ

 

[1]  

แสดงความคิดเห็น
Detail :

Picture :
Name :


 
ท่องเที่ยว