Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
: หารายละเอียด : หากระทู้
[1]  
ปราสาทเขาพระวิหารกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
โพสเมื่อ : 13 มิ.ย. 51 : 15:41 น.  โดย : Janet  


 
ความเห็นที่ 1 โพสเมื่อ : 26 มิ.ย. 51 : 15:19 น.  โดย : คนไทย  

สวัสดี เพื่อน ๆ ที่รัก
มาแบบติด ๆ อีกแล้วครับท่าน ป๋องได้ข้อคิดอย่างหนึ่งจากที่เขียนนิทานเรื่องประสาทพระวิหารให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันเล่น ๆ มาแล้ว คือน้องของป๋อง ชื่อ อ๊อฟ เป็นวิศวกรของSony-Erecson เขาไปช่วยวางแผนการดำเนินงานขยายธุรกิจอยู่ที่พนมเปญ กัมพูชา ได้ สิบกว่าวันแล้ว ต้องรีบเดินทางกลับก่อนกำหนดมาในวันนี้ (ทั้งที่แผนเดิมคือเขาถูกวางตัวให้เป็นผู้บริหารด้านวิศวกรรม
ของบริษัทที่พนมเปญ) แต่เพราะสถานการณ์ขณะนี้ค่อนข้างอันตรายสำหรับคนไทยที่อยู่ในกัมพูชา น้องรีบโทรมาหาป๋องเลย บอกว่าตอนนี้ทหารเขมร เตรียมกำลังเต็มอัตราศึก ผู้คนในเมืองก็เตรียมพากันเดินขบวน เพราะได้ข่าวว่าไทยจะยึดปราสาทพระวิหารคืน
มีผู้คนจำนวนมากถูกยั่วยุและเตรียมจัดตั้งขบวนการเรียกร้องเอาคืนปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง และเมืองละโว้(ลพบุรี) ดินแดนในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว สระบุรี และลพบุรีคืนจากไทย

เพราะเขาถือว่าดินแดนแห่งนี้เขาเคยครองมาเป็นพันปี (ไปกันใหญ่แล้ว) แต่มาถูกเผ่า"สียม" ที่เรียกตนเองว่าเป็นไทย มาแย่งเอาไปเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี่เอง แล้วแค่ปราสาทที่ปรักหักพังเขาขอขึ้นทะเบียน ทำไมคนไทยถึงทำเรื่องเป็นเดือดร้อน จะมายึดแดนแดนไล่เขาไป ไม่เห็นใจที่พวกเขาต้องเสียใจเพราะเสียดินแดนดังที่กล่าวมานี้ให้ไทยเลย

ทำให้นึกถึงข้อความที่ป๋องเขียนมาให้เพื่อนอ่านคราวที่แล้ว เห็นแล้วยัง ว่าคนที่รู้ไม่เท่าทันจิต ย่อมทุกข์ร้อนขนาดไหน จากอดีตกาล คนเผ่าสียม,กูย,เยอ,ขแมร์ลือ(ไทย) ขแมร์(กัมพูชา) ลั๊วะหรือลาว(ลาว) แกว/ญวน(เวียดนาม) มอญ/รามัญ(พม่า) ตะปือ(มาเลย์เซีย) ที่อยู่บนด้ามขวานทองสุวรรณภูมินี้มาช้านานแล้ว เคยแก่งแย่ง เคยร่วมเป้นอาณาจักรเดียวกัน เคยรบราฆ่าฟันกัน จนผู้คนในดินแดนนี้มีความสัมพันธ์จนเกือบเป็นเหมือนเชื้อสายเดียวกัน แตกต่างกันที่ภาษาเท่านั้น การแย่งดินแดน แบ่งศักดิ์ศรีความเป็นชาตินิยม ผู้คนในดินแดนนี้รู้ซึ้งมาแล้ว

จากซากปรักหักพังของปราสาทราชวัง เป็นเครื่องเตือนใจ พอมีสหประชาชาติเกิดขึ้น ก็มาทำอาณาเขตและแบ่งกันอยู่เป็นประเทศ อยู่ร่วมกันมาอย่างสงบสุข แต่เหมือนมันต้องคำสาบ พอใครคิดที่จะครองซากปรักหักพังของปราสาทพระวิหารที่มีวิญาณและซากระดูกของชนเผ่ากูย,เยอ,ลั๊ว,ขแมร์,สียม,ญวน อยู่ใต้พื้นปราสาทนี้พร้อมกับคำสาบแช่งของพวกเขา ที่พวกเขาทุกข์ทรมาน จากรุ่นแล้วรุ่นเล่า ร้อยกว่าปีที่ปราสาทแห่งนี้จะสร้างเสร็จ ได้สาบแช่งไว้ ก็เป็นเรื่องทันที
เมื่อคนไทยได้มีผู้หวังที่จะโค่นอำนาจคนอื่นเพื่อที่ตนจะได้มาครองแทน มาจุดชนวนของความอยาก โดยเอาซากปรักหักพังของปราสาทและดินแดนที่เต็มไปด้วยซากกระดูกของคนที่ถูกบังคับให้ทำงานและฆ่าเพื่อเป็นเครื่องสังเวย มันก็เป็นเรื่องเดือดร้อนจนได้ เราน่าจะใช้ปราสาทแห่งนี้สร้างเป็นจุดหรือสถานที่แห่งความรักความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ เพื่อรำลึกถึงอดีตของชนเผ่าทั้งหลายที่ได้อยู่ ได้ครองดินแดนแห่งนี้มาช้านานแล้ว ไม่ต้องแบ่งแยกว่าฉันคือไทย คือเขมร แต่น่าจะมองว่า ฉันคือมนุษย์ที่เกิดมาร่วมโลก ฉันต้องรักและสร้างโลกนี้ให้น่าอยู่มากว่า

เขมรเขาขอนำปราสาทไปจดเป็นทะเบียนมรดกโลก ก็เป็นเรื่องที่ดีงามเพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่บรรพบุรุษพวกเราร่วมสร้างกันมา ดีกว่าปล่อยให้ร้างว่างเปล่า ใหแค่ผู้คนเดินขึ้นไปดูและก็เหยียบย่ำ ไม่มีการทำนุบำรุงรักษาเลย ส่วนดินแดนก็ให้ฝ่ายที่รับผิดชอบร่วมกันเจรจาหาทางให้ลงเอยกันได้ด้วยดี
อย่าหลงยึดติดในวัตถุและเม็ดดินที่เรียกว่าดินแดนกันเลยนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อชาตินิยมแบบไร้สติ น่าจะใช้สติและปัญญา นำเอาความดีงาม ความรักเมตตาต่อกัน การอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน มันก็น่าจะมีแต่ได้กับได้ ได้ความสงบสุข ได้ความเจริญทางศิลปะวัฒนธรรม เศรษฐกิจ ร่วมกัน หรือเราอยากจะได้ สงคราม
น้ำตาแห่งความโศรกเศร้าเสียดายผู้ที่เรารักต้องตายไปเพราะการรบราฆ่าฟันกัน เหมือนพี่น้องทางใต้ อยู่อย่างหวาดระแวง ไม่เป็นอันทำมาหากิน แล้วคนที่ได้คือใครละ..พ่อค้าขายอาวุธ ขายน้ำมัน มาอันดับหนึ่ง ได้กำไรอย่างมหาศาล อันดับสองคือสื่อมวลชน ขายข่าวได้ทุกนาที เงินไหลมาเทมา... ขอพวกเราร่วมกันใช้ความรักความเมตตา แผ่ความรักความเมตตาไปให้แด่ทุกฝ่ายที่จ้องห้ำหั่นกันด้วยทุกวิถีทาง
แผ่เมตตาให้กับดวงวิญญาณที่เฝ้าปราสาทแห่งนี้ให้พ้นบ่วงกรรม ไปสู่ที่สุขคติ.. แต่ ถ้ามันไม่เป็นไปตามที่หวัง ก็จงยินดีรับในสิ่งที่มันจะเป้นไป เพราะมันเป็นธรรมดาของโลก ที่ใดมีเกิดที่นั่นย่อมมีดับ ไม่มีสิ่งใดที่จะยั่งยืนแน่นอน เพราะสิ่งที่แน่นอนแท้ ก็คือความไม่แน่นอนนี่แหละ
รักเพื่อน ๆ ทุกคน

ข้อมูลจาก คุณป๋อง (ในอีเมล์)

 
ความเห็นที่ 2 โพสเมื่อ : 26 มิ.ย. 51 : 17:53 น.  โดย : วูชิด  

ทำไม ไทยต้องมาเซ็นกัน เวลานี้
เรื่องมีมาตั้งแต่ ปี 2505

โง่หรือฉลาด?

 
ความเห็นที่ 3 โพสเมื่อ : 26 มิ.ย. 51 : 18:44 น.  โดย : *3*  

 
ความเห็นที่ 4 โพสเมื่อ : 8 ก.ค. 51 : 10:04 น.  โดย : แบงค์  

เป็น มรดกโลกแล้ว ได้อะไร ใครรู้ ช่วยตอบทีคับ

 
ความเห็นที่ 5 โพสเมื่อ : 8 ก.ค. 51 : 10:25 น.  โดย : ต่อ  

ได้ brand
สามารถ ดึงดูดคนได้มากขึ้น
-----------------------
ได้ทราบมาบ้างแล้วว่า Unesco ประกาศให้เขมรขึ้นตัวปราสาทเป็นมรดกโลก

 
ความเห็นที่ 6 โพสเมื่อ : 11 ก.ค. 51 : 14:16 น.  โดย : tor  

รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
พ.ศ. 2550
23 มิ ย.-2ก.ค. การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ณ เมือง ไครสต์เชิรช์ ประทศนิวซีแลนด์ ไทยทักท้วง การที่กัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เนื่องจากแผนที่แนบท้ายคำขอขึ้นทะเบียนกำหนดเขตอนุรักษ์และเขตพัฒนาล้ำเข้ามาในพื้นที่ซึ่งไทยอ้างสิทธิอธิปไตย ที่ประชุมมีมติให้นำเรื่องนี้ไปพิจารณาต่อในการประชุมสทัยที่ 32 โดยให้ทยและกัมพูชา ร่วมจัดมือทำแผนบริหารจัดการ
15-17 ส.ค ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (ก.ต.) เดินทางเยือนกัมพูชา เพื่อหารือกับนายสก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยไทยชี้แจงว่ามิได้มีอคติใด ๆ ต่อกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่พื้นที่รอบปราสาทยังมีปัญหาเขตแดนยังที่ไม่ได้รับการแก้ไข ประเทศ ไทยจึงเป็นผู้มีส่วนได้สียสำคัญ ทั้งสองฝ่าย จึงจำเป็นต้องหารือกัน นอกจากนี้ แม้ว่าตัวปราสาทจะได้รับการยอมรับในคุณค่ามีความเป็นสากล แต่ควร รวมองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ในฝั้งไทย เช่น สระตราว ทำนบโบราณ แหล่งหินตัด สถูปคู่ ภาพสักนูนต่ำ เป็นต้น ทั้งนี้ ไทยยังเสนอให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชา อาทิ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และนักศึกษาในสาขาการอนุรักษ์และทำนุบำรุง โบราณสถาน เพื่อโน้มน้าวให้กัมพูชาและทุกฝ่ายหันมาใส่ใจและร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ที่กิดขึ้น

พ.ศ. 2551
11-13 ม.ค. กัมพูชาร้องขอความช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ เช่น ฝรั้งเศษ สหรัฐเบลเยี่ยม อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เพื่อขอให้ช่วยเตรียมการจำทำรายงาน ความคืบหน้าที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ไทยส่งผู้เชี่ยวชาญเข่าร่วมด้วย 2 คน ประกอบด้วย นายวีระชัย พลาศรัย อธิดีกรมสนธิสัญญา และกฏหมายกระทรวงการต่างประเทศ และ นายวสุ โปษยะนันทย์ ผู้ช่วยเลขานุการสภาการโบราณสถานแห่งประเทศไทย (อิโคโมสไทย) ปรากฏว่ามีการใช้แผนที่แสดงเส่นเขตแดนล้ำเข้ามาในไทย และกันไทยออกจากมีการส่วนร่วมในการจัดทำแผนบริหาร จัดการในพื้นที่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อนกัน คณะผู้เชี่ยวชาญไทย ได้ทักท้วง และเสอนความเห็นโต้แย้งต่อรายงานของผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศษ เบลเยียม และสหรัฐต่อที่ประชุม แต่ข้อทักท้วงของไทยไม่ได้รับการใส่ใจ ผู้แทนไทยจึงกล่าวคำประท้วงพร้อมทั้งถอนตัว เพื่อไม่ให้การมีส่วนร่วมของไทยครั้งนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่เป็นผลดีต่อประเทศ

14 ม.ค. คณะผู้แทนไทยดังกล่าวดำเนินการรักษาท่าทีและสิทธิของไทยให้หนักแน่น โดยให้เอกอักคราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญแจ้งต่อที่ประชุมทูตนุทูตของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ว่าไทยขอถอนตัวจากการทำรายงานดังกล่าว และประท้วงการแผนที่ซึ้งแสดงเส้นเขตแดนล้ำฝั่งไทย
24 ม.ค. นายวีระชัย นำคณะเดินทางไปกรุงปารีส ประเทศฝรั้งเศษ เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเนสโก เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ในการประชุมจัดทำรายงานความคืบหน้าที่ประเทศกัมพูชา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญไทยถอนตัว วันเดียวกัน โมษกกระทรวงกลาโหมแถลงผลการประชุมสภากลาโหมว่า แสดงท่าทีกรณีกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียวฝ่ายเดียวว่า ประเทศไทยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติต้องกำหนดถ้าทีดังนี้
1.ให้ประท้วงกัมพูชาอย่างเป็นทางการ
2.ประณามการกระทำของกัมพูชาที่สร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเท็จและชักชาวนประเทศต่าง ๆ ให้เห็นชอบและช่วยเหลือ
3.รัฐบาลไทยต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับความเร่งด่วนเป็นวาระระดับชาติ
--------------------------------------------------------------------

ข่าวจาก โพสท์ทูเดย์ 10 ก.ค. 51

 
ความเห็นที่ 7 โพสเมื่อ : 17 ก.ค. 51 : 17:33 น.  โดย : Pui  

15 พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา
ปมปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข

แม้ปราสาทพระวิหารจะได้รับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้ปัญหาและข้อห่วงใยหมดไปซึ่ง ไม่เพียงแต่พื้นที่บริเวณรอบปราสาทซึ่งไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิอธิปไตยเท่านั้นรอบชายแดนชองทั้งสองการวิจัย ซึ่ง ประเทศกว่า 730 กิโลเมตร ยังคงมีปัญหาการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือกว่าดินแดนทับซ้อนกันอีกหลายพื้นที่ ทั้งทางบก และทางทะเล หากคำนึงถึงประโยชน์แล้วย่อมมีมากกว่าพื่นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร รอบปราสาทพระวิหาร

ปัญหาสัคัญมาจากการที่ทั้ง 2 ประเทศยึดถือแผนที่อ้างอิงแตกต่างกันซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องอ่อนไหว เนื่องจากครั้งหนึ่งประเด็นแผนที่ทำให้ไทยต้องยินยอมให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษาของศาลโลก

ดังนั้น เพื่อมิให้ประวัติศาสตร์กลับมาซ้ำรอยเดิมอีก การปักปันเขตแดนร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ จึงแนสิ่งจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันหาข้อยุติ

การแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ยุติลงได้ จะเป็นการป้องกันมิให้มีการปลุกกระแสชาตินิยมขึ้นมาทำให้สถานการณ์ขยายไปเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐ และระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศ

ข้อมูลจากภาพผนวก 1 ในจุลสารความมั่นคงศึกษา เรื่อง กรณีเขาพระวิหาร โดยโครงการความมั่นคงศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุน ซึ่ง รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านควมมั่นคง คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบรรณาธิการ ได้แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ซึ่งมีปัญหาทับซ้อนกันของทั้ง 2 ประเทศ ถึง 15 จุด
จ.สุรินทร์
จ.สุรินทร์ มีปัญหาพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาด้าน อ.กาบเชิง บัวเดช สังขะ และ กิ่ง อ.พนมดงรัก ซึ่งเขตดแนติดต่อมีลักษณะเป็นป่าทิวเขาพนมดงรักกั้นตลอดแนว ส่วนหนึ่งเป็นเขตประกาศรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นเขตแดนทางบกมีช่องการขึ้นลงจำนวนมาก

จ.สุรินทร์ มีหลักเขตแดนทั้งหมด 23 หลัก ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 2-23 มัหลักเขตแดนที่ไม่ สามารถตรวจพบ 6 หลัก คือหลักเขตแดนที่ 2 , 4,5,6 15 และ 16 ส่วนหลักเขตที่ 7 มีร่องรอยการเคลื่อนย้าย ปัญหาควมขัดแย้งที่เกิดขึ้นสำคัญได้แก่
1. กลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นปราสาทหินจำนวน 3 หลัง ตั้งอยู่แนวภูเขาบรรทัดบริเวณบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 18 ต.ตา เมียง กิ่ง อ.พนมดงรัก กลุ่มปราสาทตาเมือนประกอบด้วย ปราสาทตาเมือนธมเก่าแก่และมีขนาดใหญที่สุด ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน
2.ปรสาสาทตาควาย ตั้งอยู่ในเขตบ้านทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ต.บักได ช่วงปี 2544 ราษฏรกัมพูชาได้แพร่กระจายข่าวว่า ปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควายเป็นของกัมพูชา และกัมพูชาอาจยื่นขอเรียกร้องอ้างสิทธิเหนือกว่าปราสาททั้ง 2 แห่ง ซึ่งในการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เทคนิคไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 7-8 พ.ย. 2544 นำโดยประชา คุณะเกษมที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ และประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และนายวาร์ กิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาด้านกิจการชายแดน ประธาน ฝ่ายกัมพูชา (ปัจจุบันเป็น รมว. ต่างประเทศกัมพูชา) ฝ่ายไยเสนอว่า ขอให้จัดชุดสำรวจร่วมทำการเดินตรวจสอบแนวสันปันน้ำในภมิประเทศบริเวณปราสาท เพื่อพิสูจน์ทราบตำแหน่งปราสาททั้ง 3 หลัง โดยยึดถือตามแนวสันปันน้ำต่อเนื่องในภูมิประเทศเป็นเส้นแดน แต่ฝ่ายกัมพูชาชี้แจงว่าได้ตรวจสอบปราสาททั้ง 2 หลัง (ตาเมือนธม และ ตาเมือนโต๊ด) แล้ว ประกอบกัยหลักฐานบันทึกว่า จากการปักปันเขตแดนหมายเลขที่ 23 ระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1908 แสดงสัญลักษณ์ตัวปราสาท 2 หลัง อยู่ในเขคตกัมพูชา ขณะที่แผนที่ชุด L7017 ที่ฝ่ายไทยยึดถือและแผนที่ชุดที่ L 7016 ทึ่ฝ่ายกัมพูชายึดถือ ปราสาทตาเมือนธมอยู่ในเขตกัมพูชา และอีก 2 ปราสาท (ตาเมือนโต๊ดและตาเมือน) อยู่ในเขตไทยปัจจุบันปัญหายริเวณดังกล่าวจึงยังไม่ได้ข้อยุติ

จ.บุรีรัมย์
ไม่ปรากฏปัญหาขัดแย้ง หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับเส้นเขตแดน แต่ยังมีเขตแดนเขตที่ต้องปักปัน ได้แก่ หลักเขตแดนที่ 25 บริเวณช่องสายตระกู ต.สายตระกู อ.บ้านกรวด ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะหลัดเขตสูญหาย

จ.สระแก้ว
พื้นที่ จ.สระแก้ว อยู้ในควมดูแลของกองกำบลัง (กกล.) บูรพา ตั้งแต่ อ.ตาพระเยา อ.คลองหาด (หลักเขตที่ 28-51) มีหลักเขตที่สบบรูณ์ 11 หลักเขตสูญหายจำนวน 6 หลักเขต แต่ที่มีเหตุให้เกิดการล้ำแดนคือ
1.บริเวณเขตที่ 31-32 เนิน 48 อ.ตาพระยา-บึงครอกวน อ.ตาพระยา ซึ่งหลักเขตดังกล่าวได้สูญหาย ทำให้ไม่สามารถกำหนดเส้นเขตแดนที่ชัดเจนได้ และกัมพูชายังหล่าวหาฝ่ายไทยว่าก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์บางส่วนรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา
2. หลักเขตที่ 35 บริเวณจุดผ่อนปรนตาพระยา – บึงตรอกวน อ.ตาพระยา ซึ่งหลักเขตดังกล่าวไทยได้สูยหาย ทำให้ไม่สามารถ กำหนเส้นเขตแดนไทยที่ชัดเจน และกัมพูชายังกล่าวหาฝ่ายไทยว่าก่อสร้างอเนกปประสงค์บางส่วนรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา
3.หลักเขตที่ 37-40 บริเวณเขาพนมปะและเขาพนมฉัตร อ.ตาพระยา ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ต่างยึดถือแผนที่อ้างอิงต่างกัน
4.หลักเขขตที่ 46-48 ต.โนนหมากมุ่น กิ่ง อ.โคกสูง ถูกราษฏรกัมพูชา บ้านโชคชัย จ.บันเตียมัยนเจย ประมาณ 200 คน รุกล้ำเข้ามาปลูกที่อยู่อาศัยในเขตไทย ห่างจากฃายแดนประมาณ 300 เมตร คิดเป็นเนื่อที่ประมาณ 400 ไร่ นอกจากนี้หลักเขตที่ 48 ยังถูกทำลาย
5.พื้นที่บ้านป่าไร่ใหม่ ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศใกล้หลักเขตที่ 49 ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างกำแพงคอนกรีตในบริเวณดังกล่าว แต่ยอมยุติการก่อสร้างและไทยหรื้อถอนบางส่วนซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้นำตำรวจเข้ามาตั้งฐานการปฏิบัติในเขตกัมพูชา ใกล้บริเวณดังกล่าว
6.พื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวรคลองลึก อ.อรัญประเทศ เกิดจาการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างบ่อนการพนันในเขตกัมพูชา อันเป็นเหตุให้ลำน้ำคอลงลึก คอลงพรมโหด ที่ใช้เป็นเส้นเขตแดนตื้นเขินและเปลี่ยนทิศทาง
7.หลักเขตที่ 51 บ้านคลองหาด (เขาตาง็อก) ไทยและกัมพูชาต่างใช้แผนที่อ้างอิงแตกต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลี่อมทับกันประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1875 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเข้าทำการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างไว้ และกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.)ได้เข้าเจรจาให้รื้อถอนออกไป
จ.จันทบุรี
1.หลักเขตที่ 51 (พื้นที่รอยต่อ จ.สระแก้ว-จันทบุรี) ไทยและกัมพูชาต่างใช้แผนที่อ้างอิงแตกต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 3 กิโลเมตร ฝ่ายกัมพูชาเข้าทำการปลูกสร้างสิ่งกิ่งสร้างไว่ ต่อมา กปช.จต. ได้กดดันให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้าง
2.หลักเขตที่ 62 บ้านหนองกก ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ซึ่งตลิ่งริมน้ำถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนพังทลาย เป็นเหตุให้หลักเขตอ้างอิงที่ตั้งอยู่ริมคลองโป่น้ำรอ้นโค่นล้ม กองบัชชาการทหารสูงสุด ได้อนุมัติแนวทางติดตั้งหลักเขตแดนใหม่ โดยเจรจากับกัมพูชาดำเนินการติดตั้งแดนขึ้นใหม่ โดยเจรจากับกัมพูชาดำเนินการติดตั้งหลักเขตชั่วคราว
3.หลักเขตแดนที่ 66 และ 67 บ้านผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน ทั้ง 2 ประเทศต่างอ้างแนวเขตพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 1 ตารางกิโลเมตรซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้เข้ามาตัดต้นไม้ และยังกล่าวหา ว่าไทยทำการปิดประกาศเขตป่าสวงนแห่งชาติรุกล้ำเข้าไปใตเขตประเทศกัมพูชา
จ.ตราด
1.บริเวณบ้านคองสน บ้านคลองกวาง-ตากุจ อ.คลองใหญ่ บนเส้นเขาบรรด เนื่องจากกัมพูชาได้สร้างถนนสาย k5 ล้ำเข้ามาในเขตไทยประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าสร้างล้ำเข้ามาจริง ทาง กปช.จต. จึงได้ปิดเส้นทาง ในส่วนที่ล้ำเข้ามาพร้อมทั้งจุดตรวจและลาดตระเวนตามเส้นทางอย่างต่อเนื่อง
2.บริเวณบ้านหนองรี อ.เมือง กำลังทหารสังกัด ร้อยปชด.1 พัน ปชด.501 ได้เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณพิกัด T.U509454 ลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ 300 เมตร กปช.จต. ได้กดดันมิให้ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม
3.หลักเขตที่แดนที่ 72 และ 73 จุดผ่านแดนถาวร บ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ โดยหลักเขตที่ 72 และ 73 จุดผ่านแดนถาวร บ้านหาดเล็ก ต.หาดใหญ่ อ.คลองใหญ่ โดยหลักเขตที่ 72 สูญหาย และมีการอ้างแนวเขตจากหลักเขตที่ 73 ไปยังหลักเขตที่ 72 แตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชายึอถือค่าพิกัด TT.725886ส่วนไทยยึดถือค่าพิกัด TT.725884 ทำให้มีพื้นที่เหลื่มทับกันประมาณ 100 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาพยายามก่อสร้างถาวรในพื้นที่ แต่ กปช.จต.ได้กดดันให้ยุติ
เส้นเขตแดนทางทะเล
ไทยและกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยแตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2551 โดยลากเส้นจากจุดอ้างอิงที่ละติจูด 11 องศา 38.88 ลิปดาตะวันออก ผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะจูด 102 องศา 54.81 ลิปดาตะวันออก ผ่ายยอดเขา สูงสุดของเกาะกูด เลยไปถึงระยะกึ่งกลางระหว่างระหว่างหลักเขตที่ 73
ส่วนไทยประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อ 18 พ.ค 2516 โดยกำหนดจุดอ้างอิง ที่ 1 ที่ละติจูด 102 องศา 55 ลิปดาตะวันออก ที่บ้านหาดเล็ก แล้วลากเส้นเกาะกง จากนั้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานตรงออกเป็นมุมทิศ 211 องศา ไปยังตำแหน่ง ของจุดที่ 2 ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่มทับทางทะเลประมาณ 34043 ตารางกิโลเมตร
------------------------------------------
ข่าวจาก โพสท์ทูเดย์ 15 ก.ค. 51

 
ความเห็นที่ 8 โพสเมื่อ : 7 มี.ค. 52 : 13:41 น.  โดย : ป.ล.  

กัมพูชามันชอบแย่งของคนอื่นที่ไม่ใช่ของตัวเอง

 
ความเห็นที่ 9 โพสเมื่อ : 1 ก.พ. 55 : 16:17 น.  โดย : ayumi  

ตามหลักการแบ่งเขตแดนสากลแล้ว พื้นที่เป็นของไทย
แต่สมัยนั้นฝรั่งเศสได้ยึดตรงนั้นไป และได้ทำแผนที่ขึ้น
มันเป็นปัญหาโลกแตกนะคะ ทางที่ดีควรจะร่วมมือกันมากกว่า เพราะเถียงกันไปก็ไม่มีประโยชน์ แต่ที่เขมรไม่ให้ไทยขอขึ้นทะเบียนร่วม ก็หมายถึงเขาไม่ต้องการให้ไทยเข้าไปยุ่งเกี่ยวใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นพื้นที่โดยรอบของปราสาทก็ย่อมเป็นพื้นที่ที่เขมรต้องอ้างว่าเป็นของเขมรแน่นอนรวมถึงตัวปราสาท แต่ถ้ายึดตามแนวสันปันน้ำแล้ว ปราสาทพระวิหารและพื้นที่นั้นก็เป็นของไทย นี่ไงล่ะคะปัญหาที่ไม่รู้จักจบสิ้น
[

 
ความเห็นที่ 10 โพสเมื่อ : 1 ก.พ. 55 : 16:18 น.  โดย : ayumi  

ตามหลักการแบ่งเขตแดนสากลแล้ว พื้นที่เป็นของไทย
แต่สมัยนั้นฝรั่งเศสได้ยึดตรงนั้นไป และได้ทำแผนที่ขึ้น
มันเป็นปัญหาโลกแตกนะคะ ทางที่ดีควรจะร่วมมือกันมากกว่า เพราะเถียงกันไปก็ไม่มีประโยชน์ แต่ที่เขมรไม่ให้ไทยขอขึ้นทะเบียนร่วม ก็หมายถึงเขาไม่ต้องการให้ไทยเข้าไปยุ่งเกี่ยวใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นพื้นที่โดยรอบของปราสาทก็ย่อมเป็นพื้นที่ที่เขมรต้องอ้างว่าเป็นของเขมรแน่นอนรวมถึงตัวปราสาท แต่ถ้ายึดตามแนวสันปันน้ำแล้ว ปราสาทพระวิหารและพื้นที่นั้นก็เป็นของไทย นี่ไงล่ะคะปัญหาที่ไม่รู้จักจบสิ้น
[

 
ความเห็นที่ 11 โพสเมื่อ : 2 ก.พ. 55 : 15:35 น.  โดย : นางอัปสรา 12 นาง  


ปราสาทในประเทศเขมร

 
ความเห็นที่ 12 โพสเมื่อ : 2 ก.พ. 55 : 15:48 น.  โดย : นางอัปสรา 12  


ตามจริงแล้วมองตามสภาพพื้นที่แล้วไม่น่าเป็นของเขานะครับทางขึ้นอยู่ทางเรา ทางเขาเป็นหน้าผาครับ เขาเรียกว่า เขมรล่าง ยังจะไปเอาปราสาทมาเมือนทม ปราสาทตามเมือนตู๊ย อีก ยังไงเราต้องต้องปกป้องเอาไว้ให้ได้นะครับ ไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าให้รุ่นลูกรุ่นหลาดได้ชม
ซึ่งในจังหวัดสุรินทร์ของเรามีปราสาทมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีอยู่ 10 กว่าแห่งครับจงรักษาไว้ ด้วยความเคารพ

 
ความเห็นที่ 13 โพสเมื่อ : 1 มี.ค. 55 : 22:20 น.  โดย : N'ingfar  

อยากรู้ความสำคัญของปราสาทพระวิหาร อ่าค่ะ
ช่วยหน่อยนะคะ!

 

[1]  

แสดงความคิดเห็น
Detail :

Picture :
Name :


 
ท่องเที่ยว