|
[1] |
กล้วยไม้ไทย ดอกไม้ประจำถิ่น |
โพสเมื่อ :
10 ธ.ค. 51 : 14:41 น. โดย
:
Neo |
|
ความเห็นที่
1 โพสเมื่อ :
1 พ.ค. 51 : 14:43 น. โดย :
Neo |
รองเท้านารี อินทนนท์-เชียงใหม่
ที่แปลงปลูก โครงการหลวงดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่
|
|
ความเห็นที่
2 โพสเมื่อ :
1 พ.ค. 51 : 14:45 น. โดย :
Neo |
อินทนนท์-ลาว พันธุ์ผสม
ที่แปลงปลูก โครงการหลวงดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่
|
|
ความเห็นที่
3 โพสเมื่อ :
1 พ.ค. 51 : 14:53 น. โดย :
Neo |
สถานที่พบรองเท้านารีอินทนนท์ ได้แก่....
ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Chiangmai/data/place/npk_indranon.htm
ดอยแม่อูอ จ.แม่ฮ่องสอน
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Maehongson/data/pic_doimaeuko.htm
อ.ภูเรือ จ.เลย
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Loei/data/place/npk_phurue.htm
|
|
ความเห็นที่
4 โพสเมื่อ :
1 พ.ค. 51 : 15:00 น. โดย :
Neo |
รองเท้านารีคางกบคอแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paphiopedilum appletonianum (Gower) Rolfe
ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ Paphiopedilum
----------------------------------------------------------------------
ลักษณะ กล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้น และแตกกอ
รูปทรง (เรือนยอด)
ใบ ใบมีจำนวนมาก รูปขอบขนานเรียงสลับระนาบเดียว ด้านบนของใบ มีลายคล้ายหินอ่อน
ดอก ออกดอกเดี่ยว สีแดงอมชมพู ส่วนโคนกลีบสีเขียว ใบประดับรูปหอก ดอกกว้าง 6 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กลีบเลี้ยง คู่ข้างเชื่อมกัน กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ ปลายกลีบบางครั้งมี แฉกขนาดเล็กสองแฉก กลีบขนานกับพื้น กลีบปากเป็นถุงลึก ขอบ กลีบด้านบนเรียบไม่ม้วนเข้า
ฤดูออกดอก มีนาคม - พฤษภาคม
พบเฉพาะในประเทศไทยที่ตราด ระยอง และจันทบุรี
การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และโดยการแบ่งแยกส่วนต่าง ๆ ของลำต้นไปปลูก การขยายพันธุ์แบบแบ่งแยกนี้ได้ปริมาณน้อย แต่คุณลักษณะของลำต้นไม่เปลี่ยนแปลง ต้นเดิมมีดอกสี และรูปร่างเป็นอย่างไร ต้นที่แยกออกมาก็จะเป็นอย่างนั้น
|
|
ความเห็นที่
5 โพสเมื่อ :
2 พ.ค. 51 : 00:30 น. โดย :
คนกันเอง |
รองเท้านารีคางกบเขมร
Paphiopedilum Spp.
|
|
ความเห็นที่
6 โพสเมื่อ :
2 พ.ค. 51 : 00:40 น. โดย :
คนกันเอง |
รองเท้านารีเมืองกาญจน์ (รองเท้านารีหนวดฤาษี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum parishii (Rchb.f.) Pfitzer
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
---------------------------------------------
ลักษณะ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นสั้นและแตกกอ ใบ รูปเข็มขัด ไม่มีลาย
รูปทรง กว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ออกเป็นช่อ ตามซอกใบ ช่อดอกยาว 30-60 ซม. จำนวน 4-7 ดอกต่อช่อ สีเหลืองแกมเขียว กลีบเลี้ยงกลีบบนแผ่ตั้งปลายแหลม กลีบดอกเรียวยาวและบิดเป็นเกลียว ยาว 7-9 ซม. มีตุ่มสีม่วงคล้ำ ที่โคนกลีบ กลีบกระเป๋าสีเขียวแกมน้ำตาล ดอกบานเต็มที่ กว้าง 6 ซม. พบตามป่าเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 1,000-1,300 เมตร
พบมาก แถวกาญจนบุรี และกำแพงเพชร
ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
การกระจายพันธุ์
และนิเ้วศวิทยา อินเดีย ไทย และลาว
|
|
ความเห็นที่
7 โพสเมื่อ :
2 พ.ค. 51 : 00:48 น. โดย :
คนกันเอง |
รองเท้านารีปีกแมลงปอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paphiopedilum sukhakulii Schoser & Senghas
วงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่ออื่นๆ : รองเท้านารีปีกสุขะกุล
---------------------------------------------
กล้วยไม้ดิน สูง 10-15 เซนติเมตร ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ 5-8 ใบ รูปขอบขนานกว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตรด้านบนสีเขียวแก่สลับเขียวอ่อน ด้านล่างสีเขียวอ่อนปลายแหลมโคนซ้อนกัน ดอก มีหลายสีในดอกเดี่ยวกัน คือ สีเขียว ม่วงอมนำ้ตาล ขาว และชมพู ออกเดี่ยวที่ปลายยอด มีก้านดอกยาว 25 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงด้านบนรูปหัวใจ ปลายแหลม สีขาว และมีเส้นเขียวพาดตามยาว กลีบเลี้ยงด้านล่าง 2 กลีบ เชื่อมกันและแคบ กลีบดอก 2 ข้างรูปขอบขนานปลายเรียว กว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 6 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน และมีเส้นสีเขียวเข้มพาดตามความยาวมีจุดสีม่วงอมน้ำตาลทั่วกลีบขอบมีขนสีน้ำตาลกระเป๋ารูปรองเท้าแตะปลายสีเขียวเหลือบโคนสีม่วงอมน้ำตาลมีเส้นสีม่วงเป็นตาข่ายกระจายทั่วไป เมื่อบานกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 2 อัน รังไข่อยู่ใต้ส่วนของดอก ผล ฝักรูปขอบขนานยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เมล็ดจำนวนมาก
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด ไทย ขึ้นที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 1000 เมตร แถวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ภูหลวง
บริเวณใบไม้ผุตามโคนต้นไม้ริมลำธาร และที่มีความชื้นสูง
ออกดอก พฤษภาคม - มิถุนายน
ขยายพันธ์ เมล็ด หน่อ
--------------------------------------
แหล่งที่พบมาก อุทยานแห่งชาติภูหลวง จ.เลย
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Loei/data/place/pk_phuluang.htm
|
|
ความเห็นที่
8 โพสเมื่อ :
2 พ.ค. 51 : 01:09 น. โดย :
คนกันเอง |
รองเท้านารีเหลืองปราจีน Paph.concolor
ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum concolor (Lindl.) Pfitzer
สกุล: Paphiopedilum
วงศ์: ORCHIDACEAE
วงศ์ย่อย: Cypripedioideae
-------------------------------------------------------
รองเท้านารีเหลืองปราจีน เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นพุ่มต้นกว้างประมาณ 20-25 ซม. สูงประมาณ 10-20 ซม. ใบกว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 10-20 ซม. ใบด้านบนเป็นลายสีเขียวสลับเขียวอ่อน ใต้ท้องใบมีจุดประสีม่วงเล็กน้อย ดอกกว้างประมาณ 3.5-7 ซม. ก้านช่อดอกค่อนข้างสั้นประมาณ 5-7 ซม. ช่อหนึ่งมี 1-2 ดอก กลีบบนและกลีบในสีเหลืองมีจุดประสีม่วงกระจายทั่วกลีบ
พบอยู่ตามภูเขาหินปูน โดยขึ้นอยู่สูง 300-500 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณป่าเบญจพรรณ ที่อยู่ใกล้ทะเลหรือใกล้ลำธาร โดยขึ้นอยู่พื้นที่ค่อนข้างแฉะ ความชื้นสูง ปกคลุมด้วยพืชชั้นต่ำพวกมอส ซากใบไม้ที่ผุพังทับถม ได้รับแสงค่อนข้างมาก เป็นรองเท้านารีที่มีการกระจายพันธุ์เป็นบริเวณกว้าง ในประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และตอนใต้ของจีน
มักตั้ชื่อตามแหล่งที่พบ เช่น ที่อุดรธานี ก็ชื่อเหลืองอุดร เหลืองกาญ์ เหลืองปราจีน เป็นต้น
ออกดอก มีนาคม-พฤษภาคม
--------------------------------------------------------------
พบมากที่ ปราจีนบุรี
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Prachinburi/main.htm
|
|
ความเห็นที่
9 โพสเมื่อ :
1 มิ.ย. 51 : 22:41 น. โดย :
คนกันเอง |
เขากวางอ่อน หรือ เอื้องเขากวางอ่อน หรือ เอื้องม้าลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phalaenopsis cornucervi (Breda) Blume & Rchb. f. เป็นกล้วยไม้ป่า มีลักษณะช่อของดกคล้ายเขากวาง ฤดูกาลออกดอกทั้งปี พบได้ตามป่าเขาในสภาพภูมิอากาศอบอุ่นชื้น พบได้ในประเทศไทยหรือประเทศใกล้เคียง
สกุล: Phalaenopsis
วงศ์: ORCHIDACEAE
วงศ์ย่อย: Vandoideae
----------------------------
ภาคเหนือ พบมากหน่อย
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/north_index.htm
|
|
ความเห็นที่
10 โพสเมื่อ :
1 มิ.ย. 51 : 22:53 น. โดย :
คนกันเอง |
ไอยเรศ, เอื้องพวงหางรอก, เอื้องหางฮอก, เอื้องไอยเรศ
ชื่อสามัญ:
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhynchostylis retusa (L.) Blume
สกุล: Rhynchostylis
วงศ์: ORCHIDACEAE
วงศ์ย่อย: Vandoideae
ประเภท:
ลักษณะ: มีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พวงมาลัย ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์
การเติบโต:
ฤดูกาลออกดอก: เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
แหล่งที่พบ:สำหรับแหล่งที่พบในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือ และอีสาน
--------------------------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/notheast.htm
|
|
ความเห็นที่
11 โพสเมื่อ :
1 มิ.ย. 51 : 22:55 น. โดย :
คนกันเอง |
แถมให้หน่อย
ไอยเรศเผือก ต้นนี้ คนขายตั้งราคาไว้ 2000 บาท
-------------
ถ่ายที่ สนามหลวง 2 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 51
|
|
ความเห็นที่
12 โพสเมื่อ :
1 มิ.ย. 51 : 22:58 น. โดย :
คนกันเอง |
เขาแกะ หรือชื่อพื้นเมืองอื่น เอื้องเขาแกะ, เขาควาย, เอื้องขี้หมา
มีลักษณะช่อดอกตั้งขึ้น ใบมีลักษณะแบนคล้ายแวนด้า ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และบางกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โคนใบซ้อนกันเป็นแผง ใบโค้งสลับกันในทางตรงกันข้าม ด้วยลักษณะนี้เองจึงได้ชื่อว่า เขาแกะ ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกทั้งกลีบนอกและกลีบในมีพื้นสีขาว มีแต้มสีม่วงครามที่ปลายกลีบทุกกลีบ ฐานของแผ่นปากและครึ่งหนึ่งของแผ่นปากที่ต่อกับฐานมีสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของแผ่นปากเป็นสีม่วงครามเช่นเดียวกับที่ปลายกลีบแต่สีเข้มกว่า ปากของเขาแกะคล้ายกับปากของไอยเรศ สีม่วงครามของเขาแกะบางต้นอาจมีสีต่างออกไป เช่น มีสีม่วงมากจนเกือบแดง เรียกว่า เขาแกะแดง บางต้นมีสีไปทางสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน บางต้นดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ เรียกว่า เขาแกะเผือก ซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก เดือยดอกยาวกว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhynchostylis coelestris Rchb. f.
ฤดูกาลออกดอก: เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
พบมากที่: ภาคตะวันออก เขาใหญ่ถึงแถวอีสานตอนกลาง
---------------------------------------------
http://www.kaoyai.info
|
|
ความเห็นที่
13 โพสเมื่อ :
1 มิ.ย. 51 : 23:04 น. โดย :
คนกันเอง |
สามปอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vanda denisoniana
ชื่อวงศ์ Vandoideae
กล้วยไม้อิงอาศัย ขนาดกลางหรือค่อนข้างใหญ่ ขึ้นตรงหรือโค้งงอ ต้นกลมแข็ง ยาว 10 - 15 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางต้นประมาณ 7 มม. ลำต้นเจริญทางปลายยอด
ลักษณะ
ใบรูปขอบขนานเรียงสลับระนาบเดียว ใบขนาด 15-20 X 1.6 ซม. ปลายเกือบตัดตรง หรือเว้าแหว่งไม่เท่ากัน
ดอก ช่อดอกแบบกระจะอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ดอกกว้าง 3.5 ซม. กลีบเลี้ยงบนและกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงคู่ข้าง รูปรีเกือบกลม ปลายกลีบปากเป็นสองแฉก กลางกลีบ คอดและมีสันสามสัน โคนกลีบสีขาวและมีแฉกข้างรูปครึ่งวงกลม เส้าเกสรสีขาว
สี เหลืองนวล
กลิ่น ดอกมีกลิ่นหอม
ออกดอก -ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
พบมากที่ ภาคเหนือ
---------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Lampang/main.htm
|
|
ความเห็นที่
14 โพสเมื่อ :
5 มิ.ย. 51 : 23:35 น. โดย :
คนกันเอง |
รองเท้านารีดอยตุง
Paphiopedilum Charlesworthii (Rolfe) Pfitzer
สกุลย่อย Paphiopedilum
หมู่ Paphiopedilum
จำนวนโครโมโซม 2n=26
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ในพม่าและไทย ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๒,๐๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดิน
ต้น มักเจริญเป็นกลุ่ม มีพุ่มใบขนาด ๒๐-๒๕ เซนติเมตร
ใบ รูปแถบ กว้าง ๒.๕ - ๓ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน โคนกาบใบมีจุดสีม่วงเข้ม
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงแดง ยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร และมีขนสั้นๆปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด ๗-๙ เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีชมพูเป็นมัน โคนกลีบมีสีม่วงเข้ม และเส้นร่างแหสีม่วงกระจายทั่ว กลีบดอกงุ้มมาด้านหน้า ขอบกลีบย่นเล็กน้อย มีสีเหลืองอมน้ำตาล และเส้นร่างแหสีน้ำตาลแน่นหนา กระเป๋าสีเหลืองอมน้ำตาลเป็นมัน รูปทรงเป็นรูปหัวใจกลับขนาด ๐.๘ - ๑ เซ็นติเมตร กึ่งกลางมีติ่งสีเหลือง ด้านล่างหยักและมีติ่งแหลมเล็กน้อย
ฤดูออกดอก ตุลาคม - กุมภาพันธ์
ลักษณะนิสัย ชอบความอากาศเย็น ปลูกเลี้ยงง่าย ถ้าปลูกในที่ร่มดอกจะบานได้หลายวัน ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว(ในประเทศไทย) ยังพบอยู่ในรัฐฉาน พม่า จัดเป็นพันธุ์ที่หายาก ราคาแพง ถ้าฟอร์มดอกใหญ่และมีสีเข้ม
-----------------------------
ถ่ายจากโครงการหลวงดอยอ่างขาง
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Chiangmai/data/pic_doi-angkhang.htm
|
|
ความเห็นที่
15 โพสเมื่อ :
5 มิ.ย. 51 : 23:38 น. โดย :
คนกันเอง |
เหลืองอุดร
ออกดอก ทั้งปี
พบมาก อีสานตอนบน
|
|
ความเห็นที่
16 โพสเมื่อ :
16 ต.ค. 51 : 23:29 น. โดย :
คนกันเอง |
สิงโตพัดแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Cirrhopetalum lepidum (Blume) Schltr. / Bulbophyllum lepidum (Blume) J. J. Sm. (ชื่อพ้อง)
สกุล:
Cirrhopetalum
วงศ์:
ORCHIDACEAE
วงศ์ย่อย:
Epidendroideae
ถิ่นกำเนิด:
พบตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง
สกลนคร ชัยภูมิ จันทบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และกระบี่
ลักษณะ
ลำลูกกล้วยของสิงห์โตพัดแดงเป็นรูปไข่ยาว 1.5 เซนติเมตร ลำลูกกล้วยห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใบยาว 16 เซนติเมตร กว้าง 3-6 เซนติเมตร ปลายใบป้าน ฐานใบเรียว ก้านช่อยาวประมาณ 20 เซนติเมตร มีดอก 7-10 ดอก กลีบนอกบนยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร งองุ้ม สีเหลือง ขอบของกลีบนอกบนมีขนสีม่วง กลีบนอกคู่ล่างยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร ค่อย ๆ เรียวจากกลางกลีบไปหาปลายกลีบซึ่งมีลักษณะป้าน ขอบบนของกลีบนอกคู่ล่างเชื่อมติดกันตั้งแต่ปลายกลีบ่จนเกือบถึงฐานของกลีบ พื้นของกลีบสีครีมอาบด้วยสีม่วงปนชมพูตั้งแต่ปลายกลีบไปหาฐานของกลีบ กลีบในยาว 5-6 มิลลิเมตร ปลายกลีบแคบ ขอบเป็นขนสั้น ๆ ปากสีน้ำตาลอมเขียวทึบ ๆ เส้าเกสรสีเขียวอ่อนประด้วยจุดสีม่วง
ออกดอก:
ฤดูดอกบานประมาณเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม
|
|
|
ความเห็นที่
18 โพสเมื่อ :
4 ส.ค. 52 : 14:29 น. โดย :
กระเจี๊ยบ |
ดอกกล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
|
|
ความเห็นที่
19 โพสเมื่อ :
13 ต.ค. 52 : 20:58 น. โดย :
เกรซ |
อยากส่งรูปไปบางทำไง
|
|
ความเห็นที่
20 โพสเมื่อ :
4 พ.ย. 52 : 10:55 น. โดย :
nano |
ไปBrowseซิค่ะที่
|
|
|
ความเห็นที่
22 โพสเมื่อ :
18 พ.ย. 63 : 14:56 น. โดย :
policezuza123 |
gclub
จีคลับ
จีคลับ666
gclub88888
gclub8
|
[1]
|
|
|
|
|
| | | |