ข้อปฏิบัติในการล่องแก่ง ก่อนที่จะทำการล่องแก่ง เราควรศึกษาและสำรวจเส้นทางของลำน้ำ และกระแสน้ำที่ไหลอย่างดีเสียก่อนว่า สายน้ำที่ไหลและทิศทางของน้ำไหลผ่านจุดใด และจุดใดเป็นช่วงยากหรือง่ายของแก่ง อุปกรณ์ในการล่องแก่งไม่ว่าจะเป็นแพยาง หรือ แพไม้ไผ่ ควรตรวจสอบให้ละเอียดก่อนที่จะทำการล่องแก่ง ก่อนการล่องแก่งควรฝึกซ้อมทักษะการพายเรือ การถ่อเรือ การจับไม้พาย และการนั่งการทรงตัวในเรือเสียก่อน ควรมีความพร้อมในการเตรียมเครื่องป้องกันตัว โดยการสวมหมวกกันน๊อค เพื่อกันกระแทกบริเวณศรีษะ และเสื้อชูชีพเพื่อช่วยในการพยุงตัว หากเกิดหลุดจากแพ หรือเรือยาง ส่วนเสื้อผ้าควรสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขาสั้น รองเท้าที่สวมควรเป็นรองเท้าที่มีสายรัดข้อเท้า ไม่ควรสวมรองเท้าแตะ ในขณะล่องแก่ง ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้บังคับหัวเรือและท้ายเรือที่ให้สัญญาณบอกสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ควรมียาประจำตัวและยาสามัญประจำบ้านติดตัวไปด้วย ฝึกกำลังใจให้เต็มที่ และตั้งสติ พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการล่องแก่ง หากมีการรับประทานอาหาร หรือไปประกอบอาหารในป่า ควรเลือกรายการอาหารที่สะดวกง่ายและ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องกระป๋อง ภาชนะประเภทกล่องโฟม ขวดน้ำ พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว เพื่อลดขยะ และมลพิษ ทุกครั้งที่เก็บแคมป์ ควรดูแลความสะอาด พยายามให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด วิธีการช่วยเหลือตนเองเมื่อตกน้ำหากพลัดตกลงไปในน้ำ ควรจดจำวิธีการช่วยเหลือเพื่อนำไปปฏิบัติตามดังนี้พยายามว่ายน้ำเข้าหาเรือ หรือเข้าฝั่งให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายจากกระแสน้ำและแก่งหิน พยายามลอยตัวอยู่เหนือน้ำในท่านอนหงาย ยกขาสองข้างขึ้นในระดับผิวน้ำ เพื่อให้เสื้อชูชีพพยุงตัวให้ลอย ในขณะที่กำลังถูกน้ำพัดไปเรื่อยๆ ให้เหยียดขาไปตามด้านที่กระแสน้ำไหล เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากการกระแทกของหิน และค่อยๆเตะขาในน้ำ เพื่อช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำที่พัด อย่างอเข่าหรือคว่ำหน้าเพราะจะทำให้ร่างกายไปกระแทกกับสิ่งที่อยู่ใต้น้ำได้ หากไม่มีโอกาสว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง พยายามตั้งสติ และหาที่ยึดเกาะเพื่อรอเรือ หรือทีมช่วยเหลือมารับ หากตกในกระแสน้ำเชี่ยว ไม่ควรรีบเกาะเรือยางเพราะกระแสน้ำจะพัดพาเรือไปด้วยความเร็ว อาจได้รับอันตรายจากโขดหินหรือ
|