ช้อปปิ้ง

แก้ไข

ของฝาก, สตูล

บุหงาปูดะ
บุหงาปูดะ หรือ ขนมดอกลำเจียก เป็นขนมพื้นเมืองของจังหวัดสตูล มีการทำกันมาตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐ โดยคนในสายสกุลกรมเมือง ที่เข้าไปรับใช้อยู่ในวังเก่าเจ้าเมืองสะโตย หรือจังหวัดสตูลในปัจจุบันขนมบุหงาปูดะ มีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายหมอน ทำด้วยมะพร้าวทึนทึก และแป้งข้าวเหนียวผสมด้วยน้ำตาล เกลือ น้ำ และกะทิ เป็นขนมพื้นบ้านของชาวมุสลิมที่นิยมทำเป็นขนมใช้ในงานเทศกาลงานพิธีที่สำคัญๆทางศาสนาอิสลาม อาทิ งานเทศกาลฮารีลายอ ตรุษของอิสลาม เทศกาลถือศีลอด งานแต่งงาน และเทศกาลงานอื่นๆ อีกมากมาย และนอกจากนี้ ยังใช้เป็นขนมต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือน

ไข่มุกแท้อันดามัน
ไข่มุกแท้อันดามัน เป็นไข่มุกที่บริสุทธิ์ ไข่มุกที่มากจากหอยมุก ซึ่งมีการเลี้ยงไว้ของชาวประมง พบมากได้แก่ หมู่บ้าน
ปากบารา อำเภอละงู หมู่บ้านทุ่งบุหลัง หมู่บ้านมะหงัง และหมู่บ้านราไว อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลส่วนใหญ่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ใน
กะชัง เมื่อตัวโตเต็มที่จึงจะเก็บมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ มาเป็นสร้อยไข่มุกแท้อันดามัน
ไข่มุกแท้อันดามันของคุณมายุรี เทพวารินทร์ ตั้งอยู่ หมู่บ้านปากบารา 669 ม.2 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานและได้รับรางวัลจาก OTOP ระดับ 4 ดาว สร้างรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นและจังหวัดสตูลเป็นอย่างมาก นอกจากไข่มุกอันดามันแล้ว คุณมายุรียังจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอยอีกด้วย


ชาชักบังวร จ.สตูล
หากพูดถึงเครื่องดื่มอันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ใครๆ ก็คงนึกถึง “ชาชัก” มาเป็นอันดับต้นๆ ด้วยลีลาท่าทางการชงชาที่ฉวัดเฉวียนน่าตื่นเต้นเร้าใจ สายชาสีน้ำตาลอ่อนซึ่งไหลรินต่อเนื่องจากกระบอกชงชาที่ถูกยกขึ้นสลับซ้ายขวาเป็นจังหวะสอดคล้องพ้องประสานราวกับกำลังร่ายรำ คือ เสน่ห์ซึ่งทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกเพลิดเพลินจนเกินกว่าจะห้ามใจไม่ให้สั่งชาชักที่ดูน่าเอร็ดอร่อยนี้ได้

ข้าวเกรียบปลาสด หรือ กะโป๊ะ
ข้าวเกรียบปลาสด หรือ กะโป๊ะ ทำจากปลาทุกชนิดที่ใช้ทำเป็นลูกชิ้นปลานำมาทำข้าวเกรียบปลาได้ ซึ่งมีวิธีการผลิตใช้เทคนิคและวิธีการด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นการถนอมอาหารสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานข้าวเกรียบปลาสดนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารว่างหรือกับแกล้ม แต่ผู้รับประทานมักเข้าใจผิดว่าข้าวเกรียบปลาคงจะมีกลิ่นคาวหรืออร่อยไม่เท่าข้าวเกรียบกุ้ง ชาวบ้านจึงได้พัฒนารสชาติให้ดียิ่งขึ้น

ผ้าบาติก
ผ้า บาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียนแต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ

คำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆวิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน { wax- writing} ดัง นั้นผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติด สี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่ง

 

-- ดูเพิ่ม --