ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 96

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตั้งอยู่ตำบลบางศรีเมือง ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2390 เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนี สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในเขตพระอารามสงบ สะอาด ร่มรื่น มีศิลปะสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในวัดทั้งของเดิมและของใหม่มีความกลมกลืนกัน โดยอนุรักษ์รูปแบบเดิมไว้ วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2536 จากสมาคมสถาปนิกสยาม

สถานที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลผสมจากจีน) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผา ชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก ผนังภายในพระอุโบสถเขียนสีลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก ส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระองค์จึงมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดาและวัดเฉลิมพระเกียรติ ทั้งได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นอีก 34 ปาง พระประธานหล่อเสร็จปี พ.ศ. 2389 องค์ที่อัญเชิญไปประดิษฐานวัดราชนัดดา เวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศ ตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ย ๆ มีล้อ) ประดิษฐานพระไปทับเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก 2 คน เสียชีวิต เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา พระวิหารหลวง หรือเรียกกันว่า วิหารพระศิลาขาว อยู่ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานศิลา รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาเมื่อปี พ.ศ. 2401 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เป็นพระศิลานั่งพับเพียบซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงองค์เดียว พระเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลม หรือทรงระฆัง เรียกกันว่าทรงลังกา เนื่องจากได้รับแบบอย่างมาจากลังกา พร้อมการเผยแพร่เข้ามาของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ มีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้นสูง 45 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมธาตุ ถาวรวัตถุอื่นที่สำคัญ เช่น การเปรียญหลวง อาคารแบบผสมระหว่างอาคารทรงไทยกับเครื่องบนหลังคาแบบจีน ลักษณะเป็นตึกทรงโรงมีเสาอยู่ข้างใน ภายในประดิษฐานพระชัยวัฒน์ ซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนี้ มี กุฏิทรงไทย อยู่ด้านเหนือเขตพุทธาวาสจำนวน 20 หลัง เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูง กำแพงแก้วและป้อมปราการ เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเหมือนกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีป้อมปราการทั้งสี่มุมซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมี พระศรีมหาโพธิ์ ต้นโพธิ์พันธุ์พุทธคยาซึ่งได้มาสมัยรัชกาลที่ 4

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

รุูปภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

รุูปภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ภาพมุมสูง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

พระเจดีย์ขาว

พระเจดีย์ขาว

พระเจดีย์ขาว

พระเจดีย์ขาว

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ

พระเจดีย์ขาว

พระเจดีย์ขาว

พระเจดีย์ขาว

พระเจดีย์ขาว

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา หล่อด้วยทองแดง

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา หล่อด้วยทองแดง

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ประวัติ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ประวัติ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

แผนผัง  วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

แผนผัง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ประวัติ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ประวัติ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

องค์พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

องค์พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

องค์พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

องค์พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

องค์พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

องค์พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

องค์พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

องค์พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ

ค่าธรรมเนียม

มาตรการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย

  • มีการทำความสะอาดสถานที่อย่างสม่ำเสมอ
  • มีจุดให้บริการเจลแอลกอฮอล์หรือจุดล้างมือ
  • มีจุดตรวจวัดอุณหภูมิ 
  • นักท่องเที่ยวต้องสวมหน้ากากอนามัย 
  • รักษาระยะห่าง เช่น มีแผ่นกั้นที่เคาน์เตอร์
ที่เที่ยวแนะนำ