ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 2,310

หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว

บ้านหนองบัวเป็นชาวไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองล้าแคว้น สิบสองปันนา มลฑล ยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีความเป็นมาโดยย่อดังนี้ จุลศักราช 1184 ( พ.ศ. 2365 ,ค.ศ. 1822,ร.ศ.41)แคว้นสิบสองปันนาเริ่มเกิดสงครามสู้รบแย่งชิงอำนาจกันระหว่างเจ้ามหาวังและเจ้าหม่อมน้อย ซึ่งเป็นอากับหลานทำให้แคว้นสิบสองปันนาได้แตกแยกเป็นสองฝ่าย เมืองทางฟากตะวันออกของแม่น้ำโขงประกอบด้วยเมืองล้า เมืองอูไต้ เมืองอูเหนือ เมืองเชียงของ เมืองบาง และเมืองลึง เป็นกำลังของฝ่ายเจ้าหม่อมน้อย เจ้าหม่อมน้อยหวั่นเกรงว่าจะพ่ายแพ้จึงขอรับการสนัยสนุนกำลังทหารจากพระเจ้าล้านช้างร่มขาวแห่งเมืองล้านช้าง พระเจ้าล้านช้างร่มขาวได้ส่งกำลังไปร่วมจำนวน 3,000 นาย และขอรับการสนับสนุนจากเมืองน่านอีกทางหนึ่ง ซึ่งไดรับการช่วยเหลือจากเมืองน่านเช่นกัน พระเจ้าอชิตวงศ์ขณะนั้นเป็นเจ้าราชบุตรและเจ้าราชายังเป็นเจ้าคำมน ทั้งสองท่านได้นำกำลังทหาร 70 นาย ไปตั้งหลักอยู่ที่ปากแงนในเมืองหลวงปูคา (สันนิษฐานว่าอยู่ในประเทศลาว)เพื่อเตรียมเข้าช่วยเหลือกองกำลังเจ้าหม่อมน้อย ขณะที่ตั้งหลักอยู่ที่ปากแงนนั้น เจ้าหม่อมน้อยได้มอบหมายให้พระยาอรินทร์และราชาไชยวงศ์ นำเงินจำนวนหนึ่งหมื่น ไปซื้อช้างจากพระเจ้าล้านช้างร่มขาว แต่เมื่อมาพบกับพระเจ้าราชบุตร และเจ้าคำมนเสียก่อน ท่านทั้งสองจึงอาสาป็นธุระจัดซื้อให้ท้าวโลกานำทูตของเจ้าหม่อมน้อยมาพบเจ้าฟ้าหลวงเมืองน่านเพื่อขอความเมตตาในการซื้อช้าง ซึ่งก็ได้รับการช่วยเหลือซื้อช้างได้ถึง 6 เชือก และเจ้าฟ้าหลวงเมืองน่าน ยังได้ส่งกำลังทหารไปช่วยรบอีก 70 คน 

มื่อวันเพ็ญเดือนหก (บันทึกในสมุดข่อยไม่ได้ระบุว่าเป็นจุลศักราชใด) กองกำลัง ลื้อ ลาว ชาวน่าน ได้นัดกันบุกเข้าโจมตีกองกำลังฝ่ายเจ้ามหาวัง รบกันเพียงสองวัน เมืองล้าฝ่ายเจ้าหม่อมน้อยแตก ซึ่งตรงกับเดือนหกแรมสองค่ำ กองกำลัง ลื้อ ลาว ชาวน่านแตกกระจัดกระจายไปคนละทิศ ละทาง กองกำลังฝ่ายเจ้ามหาวังตามบดขยี้อย่างไม่ลดละ ไล่ติดตามมาถึงปากน้ำแรม เจ้าราชบุตรและเจ้าคำมนพลัดหลงกันที่นั่น เจ้าราชบุตรพาพวกครัว(เสบียง) ถอยร่นมาเรื่อยๆ ซึ่งกองกำลังฝ่ายเจ้ามหาวังได้เปรียบเชิงยุทธ เมื่อถึงภาวะคับขัน ฝ่ายเจ้าราชบุตรและพวกเมืองล้าจำเป็นต้องทิ้งช้างเสีย เหลือเพียงม้าตัวเดียว เจ้าราชบุตรและพวกครัวถอยร่นมาถึงบ่อหลวง เมื่อถึงบ่อหลวงแล้วให้นึกเสียดายช้าง จึงขอให้เจ้าเมืองล้าช่วยติดตามไปเอาช้างนาที่แผงจางคืนมา เจ้าเมืองล้าได้จัดกำลัง 200 นาย ให้ท้าวนันต๊ะ เสนาและหมื่นเทพ ยกกำลังไปติดตามเอาช้างมาจนได้มา 2 เชือก ณ ที่บ่อหลวงแห่งนี้ กำลังของเจ้ามหาวังตามมาประชิดเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง 1 วัน กับ 1 คืน ฝ่ายเจ้ามหาวังหนีแตกเข้าป่าไป กำลังเจ้าราชบุตรและพวกเมืองล้า ได้ถอยร่นมาจนถึงท่าแสงและพักอาศัยอยู่ที่นั่น 5 วัน เจ้าคำมนซึ่งพลัดหลงกับเจ้าราชบุตรที่ปากน้ำแรมได้มาพบกันอีกครั้งหนึ่ง 

กล่าวถึงวกเมืองล้าที่หนีตามเจ้าราชบุตรมาเมื่อถึงเมืองน่าน พวกเมืองล่าไม่มีที่ดินทำกิน จึงได้พากันเข้ากราบทูลพระเจ้าอชิตวงศ์ (เจ้าราชบุตร) จึงดำริให้พวกเมืองล้า ช่วยกันสร้างฝายกั้นน้ำขี้นมาแห่งหนึ่ง เรียกฝากแห่งนี้ว่า "ฝายขุมสิงห์" (ปัจจุบันอยู่ บริเวณบ้านดอนชัย ตำบลท่าวังผา จังหวัดน่าน) เพื่อใช้ในการเพาะปลูก พวกเมืองล้าได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของเจ้าราชบุตรและเจ้าคำมน ที่ได้อุปถัมภ์ค้ำชูจนมีที่ทำกิน ด้วยเหตุนี้จึงขยันทำไร่นา ส่งผลผลิตไปถวายเจ้าราชบุตรและเจ้าคำมน อยู่เป็นเวลาช้านาน จนลุถึงสมัยพระเจ้ามหาวงศ์ ขึ้นเสวยราช

ต่อมาพระเจ้ามหาวงศ์ได้โปรดเกล้าฯ และรับสั่งเจ้าไชยวงศ์เมืองล้าว่าจะนำเจ้าไชยวงศ์เมืองล้า ตามไปเข้าเฝ้าพระเจ้าปราสาททอง(พระเจ้าแผ่นดิน) ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในการนี้ได้ไต่ถามขอความเห็นชอบจากพวกเมืองล้าด้วย ต่อมา เจ้ามหาวงศ์ จึงได้นำเจ้าไชยวงศ์เมืองล้า ติดตามไปกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นไม่นานจึงยกเมืองล้าเป็นพญาล้า ครองหัวเมืองให้เหมือนกับเมืองทั้งหลาย แล้วให้พวกเมืองล้าออกเงินกันรวบรวมได้ 2 พัน เอาถวายเจ้าคำมนหนึ่งพัน แต่เจ้าคำมนไม่รับอีกพันหนึ่ง ถวายแก่พญาวังขวา พญาวังขวารับเสร็จแล้ว พระเจ้ามหาวงศ์ได้อวยชัยให้พรแก่เจ้าเมืองล้าพร้อมด้วยไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้มีความสุขสวัสดีสืบไป พร้อมกับคืนเงิน 1 พันให้แก่พวกเมืองล้า

หลังจากที่ได้ตั้งหลักแหล่งเป็นที่มั่นคงแล้ว พวกเมืองล้าซึ่งปัจจุบันคือ ชาวไทลื้อ บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ยังได้แผ่เครือญาติไปตั้งรกรากที่บ้านต้นฮ่าง ตำบลป่าคา, บ้านดอนมูล ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และบ้านแวนพัฒนา ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

 

การเดินทาง

จากตัวเมืองน่านใช้ทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทาง 41 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอท่าวังผามีทางแยกซ้ายไปอีก 3 กม.

ที่เที่ยวแนะนำ

-- ดูเพิ่ม --

Thailand Web Stat