ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 7,311

วัดจอมคีรีนาคพรต (วัดเขา)

วัดจอมคีรีนาคพรต (วัดเขา)

วัดจอมคีรีนาคพรต (วัดเขา) อยู่บนยอดเขาบวชนาค ระหว่างสะพานเดชาติวงศ์ และค่ายจิรประวัติ ตำนานกล่าวว่า เมื่อกองทัพพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ในครั้งที่ 2 ได้แล้ว จึงร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้น เพื่อแสดงว่านับถือพุทธศาสนาเช่นกัน สิ่งที่น่าสนใจในวัด ได้แก่ รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระอุโบสถที่ชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์เทวดาสร้าง” ทุกๆ เดือน ๑๒ ของปี จะมีงานนมัสการ และปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองนี้ เรียกว่า “งานวัดเขา” ซึ่งนอกจากจะมีงานสมโภชน์ แบบงานวัดทั่วไปแล้ว ยังมีการแข่งขันเรือยาวอีกด้วย เมื่อขึ้นไปอยู่บนยอดเขาบวชนาค และมองลงมา จะเห็นทัศนียภาพที่สวยงาม ของสะพานเดชาติวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา และเขากบ


พระอุโบสถภายในวัดจอมคีรีนาคพรต

 


วัดจอมคีรีนาคพรต



ประวัติของ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

หลวงพ่อปุ้ย (พระพุทธรูปเรือนแก้วศิลปะสุโขทัยตอนต้น) พระประธานในโบสถ์เทวดาสร้าง ความยาวหน้าตัก 1.65 เมตร ความสูงตั้งแต่ศฺรประภาลงมาถึงฐาน 2.47 เมตร พุทธลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยตอนต้น เป็นดังนี้คือ พระพักตร์กลมรี ที่เรียกว่า "หน้านาง " พระเนตรหรี่ พระขนงโค้งสวย พระโอษฐ์แบบสนิท มีพรายอยู่เหนือริมพระโอษฐ์เบื้องบน เส้นพระศกละเอียดมาก มีเส้นขอบไรพระศกเล็กน้อย พระรัศมีหรือศิรประภาแข็งนิ้วพระหัตถ์งามเป็นลำเทียนแบบธรรมชาติ ต่างจากพระพุทธชินราชที่นิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน จึงรับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์พิเศษของสุโขทัยตอนต้นที่เรียกว่าพระพุทธรุปยุคอาร์เคอิก (Archaic) ช่วงสมัยนี้จะร่วมสมัยกับสมัยอู่ทองและสมัยลพบุรี

เรือนแก้วของพระพุทธรูปองค์นี้ ความสูงตั้งแต่ยอดลงมาถึงฐาน 2.75 เมตร ลักษณะเป็นยอกแหลมสามหยัก ส่วนที่อยู๋พระอังสาจะเป็นรูปมกร หรือเหราคาบนาค ซึ่งได้รับจากอิทธพลของศฺลปะบายน ส่วนที่ฐานเรือแก้วซึ่งเป็นเศียรพระยานาคทั้งสองข้างมีนางฑากินีหรือนางโยคินีรองรับ และนางมารอื่นเรียงรายไปด้านหลัง นางฑากินีกล่าวกันว่าเป็นนางบริวารของนางดารา ซึ่งเป็นศักดิ์ (เทวีคู่บารมี) ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในนิกายมหายานคือ พระณานีโพธิสัตวของพระสักยมุนีพระพุทธเจ้าหรือพระโคตมพุทธเจ้า

ด้านหลังพระพุทธรูปเรือนแก้ว มีระพุทธรูปปางประทับยืนพุทธลักษณะคล้ายพระอัฎฐารถ พระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สมัยสุโขทัย ที่ต่างไปคือ พระบาทซึ่งมีลักษณะคล้ายปางลีลา ที่สำคัญคือ พุทธศิลป์ของพระพุทธรูปยืนองค์นี้เหมือนกับพระพุทธรูปในซุ้มจระนำพระปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง วัดมหาธาตุ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นวัดสำคัญสมัยปลายกรุงสุโขทัยเชื่อมต่อกับสมัยอยุธยาต้อนต้น

พระพุทธรูปเรือแก้วองค์นี้เหมือนพระศรีสากยมุนีพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยวัดสุทัศน์วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครก็มีพระพุทธรูปปางลีลาประทับอยู่ด้านหลังองศ์พระเช่นกัน พระพุทธรูปเรือนแก้ว พุทธศิลป์สมัยสุโขทัยองค์นี้จึงน่าจะมีอายุมากกว่าพระพุทธชินราช ที่สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท และเรือนแก้วก็ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปวัดเขาบวชขนาดนี้ 
มีพระพุทธรูปเรือนแก้วที่สำคัญในประเทศไทยทั้งหมดอี 5 องค์คือ
1. พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ศิลปะสุโขทัยแท้
2. หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร เรือแก้วคล้ายพระพุทธชินราช
3. หลวงพ่อชัยสิทธิ์ วัดพิชัยปุรณาราม จังหวัดอุทัยธานี
4. พระประธานเรือนแก้ว วัดไล่ย์ จังหวัดลพบุรี
5. พระประธานเรือนแก้ววิหาร วัดพระมหาธาตุเจดีย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช



เจดีย์คู่โบราณ



เค้าว่า "โบสถ์เทวดาสร้าง"

การเดินทาง

ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเชีย ก่อนถึงสะพานเดชาติวงศ์ เลี้ยวซ้ายเข้าวัด ระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร