ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 4,915

อุทยานแห่งชาติภูเวียง

อุทยานแห่งชาติภูเวียง

เมื่อพูดถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียงนักท่องเที่ยวก็ต้องนึกถึงไดโนเสาร์ ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน ว่าบริเวณที่ ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน นั้นจะเคยเป็นบ้านของไดโนเสาร์มาก่อน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2519 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่งเข้า และเมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ชาวฝรั่งเศสวิจัยผลปรากฏออกมาว่าเป็นกระดูก หัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จากนั้นนักสำรวจ ก็ได้ทำการขุดค้นกันอย่างจริงจังเรื่อยมากระทั่งปัจจุบันบนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ 1 ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่ง มีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร

คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนามของ สมเด็จพระเทพฯ มาตั้งชื่อไดโนเสาร์พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" (Phuwianggosaurus Sirindhornae) และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกันนั้นเอง นักสำรวจได้พบฟัน ของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า 10 ซี่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า โซโรพอดตัวนี้อาจเป็นอาหาร ของเจ้าของฟันเหล่านี้ แต่ในกลุ่มฟันเหล่านั้นมีอยู่หนึ่งซี่ที่มีลักษณะ แตกต่างออกไป เมื่อนำไปศึกษาปรากฏ ว่าฟันชิ้นนี้เป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ไม่เคย ค้นพบมาก่อนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า "ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนี่" (Siamosaurus Suteethorni) ผู้สนใจสามารถเดิน ทางไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ 1 นั้นอยู่ไม่ไกลจาก ที่ทำการอุทยาน และยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 และ 3 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วยฟอสซิลของ "ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส" (Siamotyrannus Isanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่า ไดโนเสาร์ จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด (120-130 ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพฯบริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ 8 พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 68 รอย อายุประมาณ 140 ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน 2 เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้า เหล่านั้นมี ขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วย รถขับเคลื่อน 4 ล้อใช้ เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ห่างจากที่ทำการ 19 กม.

ส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่นๆที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย 150 ล้านปี จะอยู่กระจัดกระจายกันตามหลุมต่างๆ

ความน่าสนใจของที่นี่ไม่ได้มีแต่เพียงไดโนเสาร์เท่านั้น ยังมีการพบร่องรอยอารยธรรมโบราณด้วย โดยพบ "พระพุทธรูปปางไสยาสน์" ประติมากรรมนูนสูงสลักบนหน้าผาของยอดเขาภูเวียง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พุทธศตวรรษที่ 14 ลักษณะท่านอนได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระเศียรหนุนแนบกับต้นแขนขวา แขนซ้าย ทอดไปตามลำพระองค์ นอกจากนี้"ถ้ำฝ่ามือแดง" ที่บ้านหินร่องมีงานศิลปะของมนุษย์ถ้ำโบราณ ลักษณะ ของภาพเกิดจากการพ่นสีแแดงลงไปในขณะที่มือทาบกับผนังถ้ำก่อให้เกิดเป็นรูปฝ่ามือขึ้น

ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในบริเวณอุทยานฯจะมีน้ำตกอยู่สองสามแห่ง "น้ำตกทับพญาเสือ" เป็น น้ำตกเล็กๆ ตั้งอยู่ใกล้กับถ้ำฝ่ามือแดง "น้ำตกตาดฟ้า" เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร สามารถเข้าถึงได้ทางรถยนต์ อยู่ห่างจากอำเภอภูเวียง 18 กม.และขึ้นเขาไปอีก 6 กม. ตรงต่อไป จาก น้ำตกตาดฟ้าอีก 5 กม. จะถึง "น้ำตกตาดกลาง" สูงประมาณ 8 กม. นอกจากน้ำตก ก็ยังมีแหล่งท่อง เที่ยวประเภท ทุ่งหญ้าและลานหิน ซึ่งจะมีดอกไม้ป่านานาพันธุ์บานในช่วงหลังฤดูฝน ได้แก่ "ทุ่งใหญ่เสา อาราม" "หินลาดวัดถ้ำกวาง" และ "หินลาดอ่างกบ"

พื้นที่อุทยานฯครอบคลุมอำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ มีพื้นที่ 380 ตรกม. การเดินทาง จากตัวเมืองขอนแก่นใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เป็นระยะทาง 48 กม. แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 เป็นระยะทาง 18 กม. ถึงอำเภอภูเวียง แล้วใช้ เส้นทางภูเวียง-บ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงกม.ที่ 23 จะเป็นบริเวณที่เรียกว่า "ปากช่องภูเวียง" ซึ่งมี หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่ เดินทางต่อไปจนถึงกม.ที่ 30 เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าอ่างเก็บ น้ำบ้านโพธิ์ เป็นระยะทาง 7.7 กม. ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ภูเวียงที่ "ภูประตูตีหมา" ภายใน อาคารมีการจัดแสดงนิทรรศการและซากกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่ขุดพบบริเวณภูเวียง โดยมีคำ อธิบายลักษณะและการเกิดซากต่างๆ เหล่านี้

หากประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำชม ติดต่อได้ที่สำนักงานอุทยานฯบริเวณ ภูประตูตีหมา โทร. (043) 249052


อุทยานแห่งชาติภูเวียง

ร้านค้าภายในอุทยานแห่งชาติภูเวียง

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเวียง

ภายในอุทยานจะแบ่งจุดที่มีการขุดพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์

สถานที่ค้นพบแร่ยูเรเนียม

หลุมขุดค้นที่ 3 พบเศษกระดูกแตกหักกระจัดกระจายในเนื้อหินทรายแข็ง

ซากฟอสซิลที่มีการค้นพบ

บรรยากาศสวยๆ จากอุทยานแห่งชาติภูเวียง

อุทยานแห่งชาติภูเวียง

หลุมขุดค้นที่ 1 ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่ง มีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร

กระดูกของไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบ

หลุมขุดค้นที่ 2 อยู่บริเวณถ้ำเจีย พบกระดูกสันหลัง 6 ชิ้นของไดโนเสาร์ซอโรพอด

หลุมขุดค้นที่ 9 พบกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกหางของไดโนเสาร์เทอร์โรพอด

อุทยานแห่งชาติภูเวียง