ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 3,264

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

อยู่ที่ถนนศรีอยุธยา ด้านหน้าของวัดสุทัศน์ เดิมเป็นวัดร้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นแทนวัดเก่า 2 วัด คือ วัดแหลม และวัดไทรทอง โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นนายช่างออกแบบ และพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถ สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งเหลือมาจากการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่ระเบียงวัดเบญจมบพิตรสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ได้นำมาจากหัวเมือง 25 องค์ ไว้โดยรอบ นอกจากนี้พระประธานของวัดได้จำลองพระพุทธชินราชจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานไว้ด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.281-2501

ประวัติ
      วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดแหลม เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เมื่อ พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ
 
  - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ (ต้นราชสกุลกุญชร)
  - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลทินกร)
  - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล และ
  - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงศ์
 มีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์
 
      พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อแรกสร้างในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์ โดยพระราชทานนามว่า "สวนดุสิต" (พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ 2 แห่ง คือ วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูกใช้เป็นที่สร้างพลับพลา และวัดร้างอีกแห่งซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัดสำหรับตัดเป็นถนน พระองค์จึงทรงกระทำผาติกรรม สร้างวัดแห่งใหม่เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง
 
      เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัด ในการนี้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคามสีมาของวัด พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์ ต่อมา พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดฯ ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
 
      เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหารดังนั้น ชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วย "ราชวรวิหาร" ดังเช่นในปัจจุบัน

 

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร

สะพาน วัดเบญจมบพิตร

สะพาน วัดเบญจมบพิตร

คลองวัดเบญจมบพิตร

คลองวัดเบญจมบพิตร

สะพานพระรูป

สะพานพระรูป