ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 3,920

วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์

เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139 มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ“วัดพรหมมินทร์”แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์

จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค 2 ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหารและพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหาร และอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ได้จำลองพระวิหารหลังนี้ไว้ด้วย

สามร้อยปีต่อมา วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพเช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่ จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำ ไปป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆคล้ายภาพสมัยใหม่

ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ” ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น

ทางเข้าอีกด้านหนึ่ง

บรรยากาศภาพมุมสูงวัดภูมินทร์

บรรยากาศภาพมุมสูงวัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์ยังคงสวยงาม

วัดภูมินทร์ยังคงสวยงาม

มองเห็นพังวัดภูมินทร์

มองเห็นพังวัดภูมินทร์

ด้านหน้าวัดภูมินทร์

ด้านหน้าวัดภูมินทร์

กระซิบรัก

กระซิบรัก

ยังคงงดงาม สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น

ยังคงงดงาม สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น

พระประทานภายในพระอุโบสถ

พระประทานภายในพระอุโบสถ

ภาพจิตรภาพฝาผนังของวัดภูมินทร์

ภาพจิตรภาพฝาผนังของวัดภูมินทร์

ภาพจิตรกรรมฝาผนังบอกเล่าเรื่องราว

ภาพจิตรกรรมฝาผนังบอกเล่าเรื่องราว

หน้าต่างด้านบนมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

หน้าต่างด้านบนมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

จิตรภาพฝาผนังบอกเล่าเรื่องราวในอดีต

จิตรภาพฝาผนังบอกเล่าเรื่องราวในอดีต

พระประทานจุดกราบไหว้บูชา

พระประทานจุดกราบไหว้บูชา

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรูป

ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรูป

หน้าต่างด้านบนมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

หน้าต่างด้านบนมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ทิศตะวันตกเฉียงใต้

ทิศตะวันตกเฉียงใต้

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

รุูป

รุูป

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

พระประทานภายในพระอุโบสถ

พระประทานภายในพระอุโบสถ

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์

พระประทานภายในพระอุโบสถ

พระประทานภายในพระอุโบสถ

ด้านหน้าของ วัดภูมินทร์

ด้านหน้าของ วัดภูมินทร์

ด้านหน้าของ วัดภูมินทร์

ด้านหน้าของ วัดภูมินทร์

ด้านหน้าของ วัดภูมินทร์

ด้านหน้าของ วัดภูมินทร์

ป้าย วัดภูมินทร์

ป้าย วัดภูมินทร์

ด้านหน้าของ วัดภูมินทร์

ด้านหน้าของ วัดภูมินทร์

ค่าธรรมเนียม

ไม่มี

ฤดูกาลท่องเที่ยว

เที่ยวได้ทุกฤดู

ที่เที่ยวแนะนำ

-- ดูเพิ่ม --