ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 3,992

ศาลหลักเมืองแพร่

ศาลหลักเมืองแพร่

เป็นหลักใหม่สร้างตามนโยบายมหาดไทย ปี 2535 ตั้งอยู่คู่กับหลักศิลาจารึกเก่าที่กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง สมัยรามคำแหงมหาราช ซึ่งในปัจจุบันวัดนี้ไม่มีแล้วกลายเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัด อักษรบนจารึกเป็นภาษาไทยอาหม ศาลหลักเมืองแพร่เป็นหลักเมืองที่ สร้างขึ้นใหม่ ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี 2535 ตั้งอยู่คู่กับหลักศิลาจารึกเก่าที่กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง สมัยรามคำแหงมหาราช ซึ่งในปัจจุบันวัดนี้ไม่มีแล้วกลายเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัด
 อักษรบนจารึกเป็นภาษาไทยอาหม ศาลหลักเมืองแพร่ เป็นสถานที่เคารพศักดิ์สิทธิ์ของคนจังหวัดแพร่ และคนต่างจังหวัดที่มาอาศัย หรือทำงานที่จังหวัดแพร่
 
 แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า สะดือเมือง ตั้งอยู่ถนนคุ้มเดิม เยื้องจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นศาลหลักเมืองที่สวยงาม สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนาลงรักปิดทอง ประกอบด้วยเสาไม้สักขนาดใหญ่ฝังในผนังปูนอย่างกลมกลืนทั้งสี่มุม
 
ศาลหลักเมืองแพร่
 เมื่อปีพ.ศ.1387ขุนหลวงพล เป็นเจ้าหลวงผู้ครองเมืองแพร่ซึ่งมีชื่อว่าเมืองพล หรือ พลรัฐนคร เป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองแพร่ ในสมัยที่ก่อสร้างเมืองขึ้นคร้งแรก บางครั้งเรียกว่า พลนคร ชื่อพลนครปัจจุบันมีปรากฎเป็นชื่อ วิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งวัดหลวงเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ เป็นวัดที่เจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มาโดยตลอดจนหมดยุคเจ้าเมืองตำนาน เมืองเหนือฉบับใบลาน ต่อมา พ.ศ.1559 พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนเรียกเมืองแพร่ว่า เมืองโกศัย หรือ โกสิยนคร เมืองแพล เป็นชื่อเรียกในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยโดยศิลาจารึก ด้านที่ 4 ระบุว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ ได้มีการขยายอาณาเขตให้กว้างยิ่งขึ้น ในตำนานเมืองเหนือเรียกเมืองแพร่ว่า เมืองพล ขณะที่ศิลาจารึกเรียก เมืองแพล แต่เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์สามารถกล่าวได้ว่า เมืองพลกับเมืองแพลเป็นเมืองเดียวกันเมืองแพร่ เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ใช้เรียก เมืองแพลโดยกลายเสียงเป็นแพรหรือเมืองแป้ หมายถึงเมืองแห่งชัยชนะ (แป้ คือ ชนะ) แล้วก็มาเป็น แพร่ ตามภาษาของภาคกลาง
 
 
 ยอดหลังคาเป็นรูปทรงเจดีย์พลิ้วงามด้วยใบโพธิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานเสาหลักเมืองแพร่เป็นเสาไม้ยมหินขนาดเขื่องจากองค์พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้อัญเชิญมาประดิษฐานในศาลหลักเมืองแพร่หลังใหม่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2537 ส่วนศิลาจารึกที่ใช้เป็นศาลหลักเมืองแพร่เดิม ตั้งไว้ด้านหลังของเสาหลักเมือง
 นอกจากที่นี่ จะเป็นที่ตั้งศาลหลักเมืองแพร่ แล้วยังเป็นที่ตั้ง จารึกศาลหลักเมือง
 
 จารึกศาลหลักเมืองแพร่ วัสดุที่ใช้ทำ แผ่นหิน ตัวอักษร ภาษาเมือง หรืออักษรลานนา เนื้อหา เป็นเรื่องราวการสร้างวัดศรีบุญเรือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ที่มา มีคนพบทิ้งไว้และเห็นว่าเป็นแผ่นหินที่มีความศักดิ์สิทธิ์

 

 

ประตูทางเข้า ศาลหลักเมือง

ประตูทางเข้า ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง จังหวัดแพร่ ด้านนอก

ศาลหลักเมือง จังหวัดแพร่ ด้านนอก