ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 216

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

“วัดพระงาม” หรือชื่อเดิมคือ วัดชะราม ตั้งอยู่บนเกาะนอกเมืองอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสารว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไร แต่จากหลักฐานการขุดแต่งทางโบราณคดีพบว่าวัดพระงามมีแผนผังเป็นแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขอบเขตของวัดกำหนดจากคูน้ำล้อมรอบทุกด้าน มีเจดีย์ประธานอยู่หน้าโบสถ์ ซึ่งสันนิษฐานว่า ถูกดัดแปลงมาจากวิหาร เจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมซ้อนอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม เจดีย์องค์นี้มีร่องรอยของการพอกอีกชั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปทรงเจดีย์ ลักษณะของเจดีย์สามารถนำไปเปรียบเทียบกับเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นและสืบต่อมาถึงอยุธยาตอนปลาย ส่วนโบสถ์เป็นอาคารยกพื้นมีฐานรอบอาคาร มีร่องรอยการสร้างทับอาคารเดิม จากการขุดแต่งและขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมประเภทดินเผาปูนปั้น และโลหะ กระเบื้องมุงหลังคา ลวดลายปูนปั้นรูปนาค เทวดา เทพนม ตะปูจีน ฯลฯ ส่วนประเภทรูปเคารพทางศาสนาพบส่วนหน้าตักของพระประธาน พระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องปางสมาธิ

นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น สิ่ว ผอบ หม้อก้นกลม เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาบ้านบางปูน เตาแม่น้ำน้อย เตาศรีสัชนาลัย เตาสุโขทัยภาชนะดินเผาต่างประเทศที่พบมีเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เครื่องถ้วยเวียดนามและญี่ปุ่น จากโบราณวัตถุที่พบทั้งหมดและลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สามารถกำหนดอายุได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ปลายพุทธศตวรรษที่ 19-20 ลงมาถึงอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 23-24 พบร่องรอยการบูรณะหลายครั้ง และน่าจะถูกทิ้งร้างไปหลังช่วงกรุงศรี ฯ แตกครั้งที่สอง ในปี 2310

พระอุโบสถ

เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 34 เมตร มีมุกยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีประตูทางเข้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 2 บาน มีฐานชุกชีสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ทางทิศตะวันตกของอาคาร พระอุโบสถหลังนี้ก็พบร่องรอยการบูรณะมาหลายครั้งเช่นกัน

จุดเด่นของวัดนี้คือ ประตูแห่งกาลเวลา ซุ้มประตูวัดที่ปรากฏรากของต้นโพธิ์ใหญ่ซึ่งเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธ อายุไม่ต่ำกว่า100 ปี เลื้อยพันปกคลุมอยู่โดยรอบซุ้มประตู ส่วนลำต้นก็เจริญเติบโตสูงขึ้นไปด้านบนซุ้มประแลดูคล้ายหลังคาโดมขนาดใหญ่ แต่เป็นหลังคาที่มองแล้วร่มรื่นสบายตาเหลือเกิน ยิ่งผนวกกับช่วงเวลายามอาทิตย์อัสดง แสงอาทิตย์ที่คล้อยลงต่ำค่อย ๆ ลอดผ่านซุ้มประตูออกมาช้า ๆ เพิ่มความเข้มขลังให้บรรยากาศรอบ ๆ จนดูเหมือนกับเชิญชวนให้เราก้าวเข้าไปผ่ามิติสู่อดีต อย่างไรอย่างนั้น เป็นบรรยากาศที่สวยงาม น่าประทับใจมาก สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้าชมแสงลอดซุ้มประตูแห่งกาลเวลา ที่วัดพระรามนี้คือเวลา 17.00น.เป็นต้นไปจนกว่าฟ้าจะมืด หรือช่วงเช้าตรู่หลังพระอาทิตย์ขึ้นก็ย่อมได้ และในช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน ในวันที่มีฝนตกอาจจะมีหมอกจาง ๆ เพิ่มบรรยากาศด้วย

เมื่อเดินลอดประตูแห่งกาลเวลาเข้าไปภายในบริเวณวัดจะพบกับเจดีย์แปดเหลี่ยมซึ่งเป็นเจดีย์ประธานตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา พระอุโบสถและหลวงพ่อวัดพระงามให้กราบสักการะ โดยดอกไม้บูชาพระของที่นี่จะจัดเป็นช่อขนาดประมาณฝ่ามือ ใช้ดอกไม้สดดูสดชื่นสวยงาม สามารถบูชาได้ตามกำลังศรัทธา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

ป้าย วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

ป้าย วัดพระงาม ประตูกาลเวลา

ที่เที่ยวแนะนำ