ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 3,955

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ ๘๐๐ เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ ๘๕๐ เมตร และกำแพงสูง ๗ เมตร มีประตูเข้าออก ๔ ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ ๖ สระ

ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ.  ๒๕๓0 จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๘๐) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จารึกชื่อเมือง ๒๓ เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง และยังมีชื่อของเมือง ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย

ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองสิงห์เป็นเมืองหน้าด่าน รัชกาลที่ ๔ โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ แต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงยุบเมืองสิงห์เหลือแค่ตำบล

โบราณสถาน
โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สามารถแบ่งได้เป็นเช่นนี้

โบราณสถานหมายเลข
โบราณสถานหมายเลข ๑ สันนิษฐานว่า สร้างเพื่ออุทิศถวายพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในนิกายมหายาน ตัวปราสาทตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ประดับลวดลายปูนปั้น ศิลาแลงนั้นได้มาจากเมืองครุฑ ซึ่งเป็นแหล่งตัดหินริมแม่น้ำน้อย ห่างจากเมืองสิงห์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๕ กิโลเมตร ซึ่งการลำเลียงแท่งศิลาแลงมานี้คงจะมาทางน้ำ เช่นเดียวกับการสร้างนครวัด นครธม ที่ลำเลียงมาไกลถึง ๕๐ กิโลเมตร แต่ละแท่งหนักร่วมตัน น่าจะใช้ช้างดันลากจูงจนลงแพแล้วลอยมาตามแควนี้ มาชักลากขึ้นฝั่งแล้วใช้ถมดินเอาก้อนศิลาแลงยกขึ้นไปบนฐานโบราณสถานยังมี โคปุระ(ซุ้มประตู) ระเบียงคต อยู่รอบปรางค์ประธานทั้ง ๔ ทิศบรรณาลัย สร้างเพื่อเก็บคัมภีร์ทางศาสนา และ กำแพงแก้ว

โบราณสถานหมายเลข ๒
โบราณสถานหมายเลข ๒ ยังมีปรางค์ประธาน โคปุระ ๔ ด้าน แต่พังลงมามาก บูรณะได้น้อย สถานที่ขุดพบเทวรูป

โบราณสถานหมายเลข ๓
โบราณสถานหมายเลข ๓ ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง

โบราณสถานหมายเลข ๔
โบราณสถานหมายเลข ๔ อยู่ใกล้หมายเลข ๓ ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
หลุมขุดค้นทางโบราณคดี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งขุดค้นพบทั้งโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ ภาชนะสำริด ดินเผา เครื่องมือเหล็ก สร้องคอทำด้วยลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ซึ่งชี้ชัดว่าชุมชนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะสร้างเมืองสิงห์ เพราะเป็นศพของคนที่ตายมา ๒,๐๐๐ ปีแล้ว คงจะยุคเดียวกับคนในชุมชนบ้านเก่า

ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

บริเวณภายในของอุทยาน

บริเวณภายในของอุทยาน

ปรางค์ประธาน

ปรางค์ประธาน

ปรางค์ประธาน อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

ปรางค์ประธาน อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

ตรงกลางคือจุดกราบไหว้บูขา

ตรงกลางคือจุดกราบไหว้บูขา

บันไดทางเดินขึ้น อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

บันไดทางเดินขึ้น อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

กำแพงแก้ว จะคล้ายๆการก่อสร้า่ง

กำแพงแก้ว จะคล้ายๆการก่อสร้า่ง

กำแพงแก้วจะมองเห็นวิว รอบๆๆ

กำแพงแก้วจะมองเห็นวิว รอบๆๆ

ขุดค้นพบทั้งโครงกระดูก

ขุดค้นพบทั้งโครงกระดูก

บรรยากาศ จะร่มรื่นมาก

บรรยากาศ จะร่มรื่นมาก

ที่เที่ยวแนะนำ

-- ดูเพิ่ม --