ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 5,089

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง

ในปี พ.ค. 2525 กรมศิลปากรเป็นผู้กำหนดภูมิสถาน ออกแบบก่อสร้าง โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (วาสน์ วาสโน) ได้เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ และ ฯพณฯ พลเอกสิทธิ์ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมือง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พุทธศักราช 2525 เวลา 08.59 นาฬิกา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมองค์หลักเมือง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2527 เวลา 07.00 นาฬิกา ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ศาลหลักเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประกอบพิธีเปิดอาคารศาลหลักเมือง เมื่อวันพุธที่ 31 ตุลาคม พุทธศักราช 2527

ตามพงศาวดารกล่าวว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 พุทธศักราช 1893 ชีพ่อพราหมณ์ ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักษิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง สันนิษฐานว่าได้มีการสถาปนาหลักเมืองขึ้นในคราวเดียวกัน แต่ได้ปรักหักพังสูญไป ในคราวพุทธศักราช 2310 และมิได้สถาปนาใหม่ในสมัยกรุงธนบุรี

ที่ตั้งของหลักเมืองเดิมนั้น จากหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีบ่งว่า ศาลหลักเมืองตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬและสี่แยกตะแลงแกง เนื่องในมหามงคลสมัยสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ดำริให้สร้างศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลตามประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา

ความเชื่อในสมัยก่อนนั้น นิยมสร้างศาลหลักเมืองขึ้นเพื่อจุดประสงค์คือ เป็นที่รวมตัวประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นมิ่งขวัญ นิมิตมงคลแก่ประชาชน และเป็นสัญลักษณ์และเป็นจุด หลักบ้านหลักเมือง บ้านเมืองนั้นย่อมร่มเย็นเป็นสุข หลักเมืองต้องฝังไว้ในย่านกลางเมือง หรือในทำเลที่เป็น ชัยภูมิ ตามทิศทางของเมือง และในสมัยโบราณนั้นเมืองเอกหรือเมืองชั้นราชธานี ย่อมมีฝังหลักเมืองไว้เป็นนิมิตมงคลสำหรับเมืองทุกเมือง จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ได้พูดถึงการสร้างเสาหลักเมืองว่า คนสมัยก่อนจะถือเรื่องขวัญ ถือเรื่องของสิ่งที่จะเป็นหลักที่มั่นคง

ที่เที่ยวแนะนำ