ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 3,035

วัดป่าโมก

วัดป่าโมก

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของ ประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท ประมาณ12วา ( 22.58 เมตร) ก่ออิฐถือปูนปิดทอง ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง และผู้สร้าง แต่มีในพระราชพงศาวดารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ว่าพระองค์ก่อนจะยกทัพไปรบ กับพระมหาอุปราชได้เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการะ บูชาก่อนยกทัพไปตีพม่า และในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ประมาณปี พ.ศ. 2269 ว่าวิหารที่ประดิษฐาน อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น กระแสน้ำได้กัดเซาะตลิ่ง จนเกือบถึงพระวิหาร

พระเจ้าท้ายสระจึงโปรดฯให้ ทำการชลอพระพุทธรูปให้ห่างออกจากริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่และยากลำบากมาก ได้มอบหมายให้พระยาราชสงครามเป็นเจ้างาน และได้เสด็จมาควบคุมการชะลอองค์พระ ให้พ้นจาก กระแสน้ำเซาะตลิ่งพังไปไว้ยังวิหารใหม ่ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร ได้ในปีพ.ศ.2275 แล้วโปรดให้รวม วัดตลาดกับวัดชีปะขาวเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่าวัดป่าโมกเพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย แต่ยังไม่ได้ทันได้ฉลองก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน และได้ทำการฉลองในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นรัชกาลต่อมา ซึ่งมีโคลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ใน สมัยเป็นกรมพระราชวังบวร เรื่องการชะลอพระพุทธไสยาสน์ปรากฏอยู่ในพระวิหารด้วย
 และมาปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ว่า มีเรื่องโจษจันกันว่า พระนอน วัดป่าโมกข์พูดได้ โดยมีพยานทั้งพระและฆราวาส ความถึงพระเนตรพระกรรณ พระองค์พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ องค์พระนอน ในสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้มีมากมาย อาทิ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารเขียน มณฑปพระพุทธบาท 4 รอย พระเจดีย์ อนุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช – สมเด็จพระเอกาทศรถ วังมัจฉา เป็นต้น ทางวัดจัดให้มีงาน นมัสการพระนอน วัดป่าโมกข์ ประจำปี 2ครั้ง คือวันขึ้น 14 ค่ำ ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 4 และ วันขึ้น 12 ค่ำ ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 11


วิหารภายในวัดป่าโมกข์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่ง

ที่เที่ยวแนะนำ