เพิ่มรูป แก้ไข View : 3,926

10 ที่เที่ยวยอดฮิตเมื่อล่องใต้มาสงขลา

10 ที่เที่ยวยอดฮิตเมื่อล่องใต้มาสงขลา

10 ที่เที่ยวยอดฮิตเมื่อล่องใต้มาสงขลา

1. แหลมสมิหลา

สำหรับใครที่แวะมาเที่ยงเมืองสงขลาที่ทุกคนต้องมาแวะถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก หาดสมิหลาเป็นชายหาดที่มีโขดหินขนาดย่อมยื่นลงทะเล และจากหาดสมิหลายังสามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเกาะหนูเกาะแมว 

 

2. เมืองเก่าสงขลาและสตรีทอาร์ต

เมืองเก่าสงขลา และ สตรีทอาร์ต เป็นย่านที่เก่าที่จะพาเราย้อนรอยไปสู่ความรุ่งเรืองในอดีตของสงขลาที่เปี่ยมด้วยบรรยากาศของวันวานสุดคลาสสิก เหมาะสำหรับไปเดินถ่ายรูปแบบเพลินๆ ชิวๆ

 

3. สะพานติณสูลานนท์

สะพานติณสูลานนท์ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัด เพราะเป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน

 

4. บ้านนครใน

บ้านนครในตั้งอยู่บนถนนนครใน ด้านหลังทะลุถนนนครนอก และอีกฝั่งถนนนครนอก มีช่องว่างระหว่างตึกสามารถชมวิวทะเลสาบได้

 

5. ศาลหลักเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นที่เคารพสักการะของชาวสงขลา ลักษณะของตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมืองสงขลาอันทำให้บ้านเมืองใน ละแวกใกล้เคียงมีรูปทรงแบบสถาปัตยกรรมจีน

 

6. เกาะยอ

เกาะยอ ได้เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ที่สำคัญมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของสงขลา สภาพทั่วไปบนเกาะยอนั้นส่วนใหญ่เป็นภูเขาไม่สูงนัก มีที่ราบเชิงเขาติดทะเล และมีที่ราบกว้างทางตอนใต้ของเกาะยอ

 

7. ทะเลสาบสงขลา

ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีเกาะขนาดใหญ่อยู่เกาะหนึ่ง คือ เกาะยอ และมีเกาะต่าง ๆ อีก ที่เป็นแหล่งสัมปทานเก็บรังนก คือ เกาะสี่ เกาะห้า ไฮไลท์สำคัญคือบรรยากาศดีมาก เหมาะสำหรับไปพักผ่อนมาก

 

8. ตลาดกิมหยง

ตลาดกิมหยงเป็นอีกตลาดที่มีชื่อเสียงคู่กับ ตลาดสันติสุข ซึ่งจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำหอมและเครื่องสำอาง และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งอยู่ริมถนนนิพัทธ์อุทิศ ในย่านเดียวกัน

 

9. สวนสาธารณะเทศบาลเมือง

สวนสาธารณะเทศบาลเมือง เป็นสถาน ที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวหาดใหญ่และอำเภอใกล้เคียง บริเวณสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับ อย่างงดงามมีศาลากลางน้ำ สวนนก มีร้านอาหารไว้บริการ บริเวณเชิงเขาใกล้กับสวนนก

 

10. วัดพะโต๊ะ

วัดพะโต๊ะ ลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเล พระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนให้ความนับถือมากมาย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดราชประดิษฐาน แต่ชาวบ้านก็ยังคงนิยมเรียกกันติดปากว่าวัดพะโคะอยู่อย่างนั้น