เพิ่มรูป แก้ไข View : 22,731

7 เขื่อนโครงการหลวง ร.9

7 เขื่อนโครงการหลวง ร.9

 7 เขื่อนโครงการหลวง ร.9

1.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลพบุรี

ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งเสือเต้น ตำบลหนองบัว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเขื่อนแห่งนี้ สร้างภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 4,860 เมตร ความสูงที่จุดสูงสุด 36.50 เมตร จุดเด่นที่น่าสนใจภายในเขื่อน ได้แก่ จุดชมวิวสันเขื่อน พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งแสดงความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรม เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

 

2.เขื่อนขุนด่านปราการชลนครนายก

นักท่องเที่ยวสามารถชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน จะเห็นทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อน และชมทิวทัศน์เมืองนครนายกด้านหลังเขื่อน ในอนาคตมีโครงการจะสร้างแก่งเทียมเพื่อการท่องเที่ยวและกีฬา และเป็นสนามสลาลอมนานาชาติ ซึ่งจะเป็นแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ หากก่อสร้างแก่งเทียมแล้วเสร็จ จะสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการด้านการท่อง เที่ยวของจังหวัดนครนายกเพิ่มขึ้น การท่องเที่ยว เขื่อนขุนด่านปราการชลเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาชมวิวเหนือสันเขื่อน สามารถมองเห็นตัวเมืองนครนายกและอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้ที่สันเขื่อน นอกจากนี้ยังสามารถเช่าเรือหางยาวเพื่อชมน้ำตกที่อยู่ลึกเข้าไปในอ่างเก็บ น้ำของเขื่อนได้

เขื่อนขุนด่านปราการชล

 

3.เขื่อนรัชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน)สุราษฏร์ธานี

อยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน ห่างจากตัวเมืองราว 70 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 401 หรือสายสุราษฎร์ฯ - ตะกั่วป่า พอถึงหลักกิโลเมตรที่ 52-53 หรือกิโลเมตรที่ 67-68 เลี้ยวขวาเข้าสู่เขื่อนได้ทั้ง 2 ทางอีกประมาณ 14 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

เขื่อนรัชประภา

 

4.เขื่อนเจ้าพระยาชัยนาท

เป็นเขื่อนขนาดใหญ่สร้างเป็นแห่งแรกของประเทศ ตั้งอยู่ที่บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 3 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา ห่างจากเมืองชัยนาท ประมาณ 13 กม. ลักษณะของเขื่อน มีความยาว 237.50 เมตร สูง 14 เมตร เขื่อนมีช่องระบาย 16 ช่อง มีประตูเรือติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง 14 เมตร ให้เรือขนาดใหญ่ผ่านเข้าออกได้ บริเวณเขื่อนมีความสวยงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของทุกๆ ปี จะมีฝูงนกเป็ดน้ำเป็นจำนวนหมื่นๆ ตัว อาศัยหากินอยู่ในแม่น้ำบริเวณเหนือเขื่อน เขื่อนนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2499 ใช้ประโยชน์ทางด้าน การชลประทาน โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย และผลิตไฟฟ้าใช้ใน จังหวัดด้วย

เขื่อนเจ้าพระยา

 

5.เขื่อนแม่กวงอุดมธาราเชียงใหม่

เป็นเขื่อนดินถมบดอัดแน่น สูง 68 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่กวง นอกจากนั้นยังได้ก่อสร้างเขื่อนดินปิดช่องเขาขาดด้านฝั่งขวาสูง 42 เมตร สันเขื่อนยาว 640 เมตร และ เขื่อนดินปิดช่องเขาขาดด้านฝั่งซ้ายอีกแห่งหนึ่งสูง 54 เมตร สันเขื่อนยาว 655 เมตร สามารถเก็บกักน้ำในอ่างด้านเหนือเขื่อนได้ประมาณ 263 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 186 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก 13 ตำบล ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนประมาณ 175,000 ไร่ 

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธาราแห่งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทาน ศึกษาการพัฒนาลำน้ำสาขาของลำน้ำแม่กวง และจัดหาที่ดินทำกินใหม่ให้แก่ราษฎร ซึ่งพื้นที่ทำกินดังกล่าวจะถูกน้ำท่วมหลังการก่อสร้างเขื่อน

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

 

6.เขื่อนภูมิพลตาก

เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งและเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ แห่งแรกของประเทศไทย เดิมชื่อเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล ลักษะของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง154 เมตร ยาว486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุสูงสุดในเอเชียอาคเนย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่17 พฤษภาคม 2507 ต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3-6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ และเครื่องที่7 กำลังผลิต 115,000กิโลวัตต์

เขื่อนภูมิพล

 

7.เขื่อนอุบลรัตน์ขอนแก่น

เรียกอีกชื่อว่า "เขื่อนพองหนีบ" เนื่องจากสร้างข้ามแม่น้ำพองโดย ปิดกั้นลำน้ำพองตรง บริเวณช่องเขา ที่เป็นแนวต่อระหว่าง เทือกเขาภูเก้าและภูพานคำการก่อสร้างเริ่มเมื่อปลายปี พ.ศ. 2506 แล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 เป็นเขื่อนเอนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมายทั้งการ ผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง การป้องกันอุทกภัย

เขื่อนอุบลรัตน์