เพิ่มรูป แก้ไข View : 34,401

10 สถานที่สำคัญในกรุงเทพ

10 สถานที่สำคัญในกรุงเทพ

10 สถานที่สำคัญในกรุงเทพ 

1.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระแก้วกรุงเทพ

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗  เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา 

รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

วัดพระแก้ว

 

2.วัดพระเชตุพนวิมลมัคลารามกรุงเทพ

วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

วัดพระเชตุพนวิมลมัคลาราม

 

 3.พระบรมมหาราชวังกรุงเทพ

รัชกาลที่ 1 ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีที่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2325 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ โดยให้ถือ แนวการก่อสร้าง แบบกรุงศรีอยุธยา โดยประกอบด้วยพระมหาปราสาทพระราชมณเฑียรสถานและวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีเนื้อที่ 132 ไร่สร้างเสร็จสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2328

พระบรมมหาราชวังเปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30-11.30 และ 13.00-15.30 น. ชาวต่างประเทศ เสียค่าเข้าชมคนละ 100 บาท ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม

พระบรมมหาราชวัง

 

4.วัดอรุณฯ (วัดแจ้ง)กรุงเทพ

เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น  เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

วัดอรุณฯ (วัดแจ้ง)

 

5.วัดสระเกศ (ภูเขาทอง)กรุงเทพ

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๒๕ 

ส่วนเจดีย์ภูเขาทองนั้นเริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยทรงเลียนแบบมาจากภูเขาทองในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานนามว่า "สุวรรณบรรพต" มีความสูง 77 ม.

วัดสระเกศ (ภูเขาทอง)

 

 

6.วัดสุทัศน์เทพวรารามกรุงเทพ

เป็นวัดที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง เป็นศรีสง่าแก่พระนคร   ได้พระราชทานนามไว้ว่า "วัดมหาสุทธาวาส" แต่สร้างยังมิทันสำเร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน รัชกาลที่ 2 ได้ทรงดำเนินงานต่อ และพระราชทานนามวัดไหม่ว่า "วัดสุทัศน์เทพวราราม" สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3  ที่วัดนี้ไม่มีเจดีย์เหมือนวัดอื่น ๆ 

วัดสุทัศน์เทพวราราม

 

7.อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกรุงเทพ

ประดิษฐานอยู่ ณ เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ฝั่งพระนคร สร้างขึ้นเมื่องานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี เมื่อ พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในมหาจักรีบรมราชวงศ์ และผู้สถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย ประสูติ ณ กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 อยู่ในราชสมบัตินาน 27 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352

อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

 

8.พิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่งกรุงเทพ

เป็นที่รวบรวมรถม้าพระที่นั่งโบราณซึ่งใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 รถม้าแต่ละคัน เคยร่วมในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ มีความสง่าสวยงาม และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง

 

9.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกรุงเทพ

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขณะกำลังก่อสร้างอนุสาวรีย์นี้ เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ออกแบบโดยหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินผู้ปั้นอนุสาวรีย์คือ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2483 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม กล่าวในในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ว่า

"อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล เป็นต้นว่า ถนนสายต่างๆ ที่จะออกจากกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมืองก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรีย์นี้ ถนนราชดำเนินซึ่งเป็นแนวของอนุสาวรีย์ ก็กำลังสร้างอาคารให้สง่างามเป็นที่เชิดชูเกียรติของประเทศ และเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัย จะทำให้ถนนนี้เป็นที่เชิดชูยิ่ง"

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

 

10.สวนลุมพีนี และ อนุสาวรีย์ ร.6กรุงเทพ

สวนลุมพินี เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 ล้อมรอบด้วยถนนวิทยุ ถนนราชดำริ และซอยสารสิน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ในที่ดินเดิมเนื้อที่ 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสำหรับสร้าง "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" เพื่อจัดแสดงสินค้าไทยเป็นครั้งแรก และจัดให้เป็น “สวนสาธารณะ" สำหรับประชาชน พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า "สวนลุมพินี" ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาล แต่พระองค์เสด็จสวรรคตก่อนจึงไม่แล้วเสร็จ

สวนลุมพีนี และ อนุสาวรีย์ ร.6